วิศวกรรมศาสตร์ มจพ - วิศวกรรมศาสตร์ มจพ นิยาย วิศวกรรมศาสตร์ มจพ : Dek-D.com - Writer

    วิศวกรรมศาสตร์ มจพ

    วิศวกรรมศาสตร์ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ

    ผู้เข้าชมรวม

    460

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    460

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  3 มิ.ย. 55 / 03:25 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    X0X
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ประวัติความเป็นมา

      image_galler111

       

               การจัดการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้เริ่มต้นมาจากแผนกวิชาแผนกหนึ่งในโรงเรียนเทคนิคพระนครเหนือ  (หรือที่รู้จัก ในนาม "เทคนิคไทย - เยอรมัน") ในปี พ.ศ. 2507  โดยหลักสูตรแรกเป็นหลักสูตรในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ต่อมาในปี   2514  ซึ่งเป็นปีที่วิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือและวิทยาลัยเทคนิคอีกสองแห่งได้ เปลี่ยนฐานะมาเป็น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าที่ประกอบด้วย 3 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตพระนครเหนือ  วิทยาเขตธนบุรี และ วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะวิศวกรรมศาสตร์จึงได้ถูกจัดตั้งอย่างเป็นทางการ

             ตั้งแต่เริ่มแรกของการจัดตั้ง คณะฯ ได้ยึดถือเป็นนโยบายในการผลิตวิศวกรที่มีความรู้ ความเข้าใจในหลักการวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐาน (engineering sciences) และมีทักษะในเชิงปฏิบัติกล่าว  คือสามารถนำทฤษฎีไปประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาทางวิศวกรรมในปัญหาจริงได้อย่างมี ประสิทธิผล   คณะฯ  จึงได้รับนักศึกษาที่สำเร็จ 
      การศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) โดยผ่านการสอบคัดเลือกอย่างเข้มงวดเข้ามาศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิต  (4 ปี)  ในสาขาต่าง ๆ ต่อมาในปี พศ. 2520 คณะฯ ยังได้รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เข้ามาศึกษา ในหลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.) ซึ่งเป็นหลักสูตร 2 ปี ( เต็มเวลา )  และ 3 ปี  ( ไม่เต็มเวลา ) ด้วย  ทั้งนี้เพื่อยกระดับ ช่างเทคนิค ให้มีแนวคิดในการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรม นับได้ว่าคณะ ฯ ได้ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานตามโนบายดังกล่าวนี้  ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้ใช้วิศวกรทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนต่าง ๆ    ให้การยอมรับในความสามารถของวิศวกรของคณะ ฯ มาโดยตลอดและผู้ที่จบการศึกษาได้ออกไปประกอบอาชีพอิสระเป็นจำนวนมากทั้งใน
      ด้านอุตสาหกรรมการผลิตและอุตสาหกรรมบริการ

             การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี  2524  ถึง  2535  ที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนในการสร้างอาคารคณะวิศวกรรมศาตสร์ในปัจจุบัน และรัฐบาลสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี   ได้ให้การสนับสนุนด้านผู้เชี่ยวชาญพัฒนาบุคลากร  และอุปกรณ์การศึกษา ในการพัฒนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ในด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังและวิศวกรรมการผลิตใน ระดับปริญญาตรี ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 7 เศรษฐกิจภายในประเทศก็ได้ขยายตัวอย่างมาก และได้แปรสภาพจากเศรษฐกิจเกษตรกรรมมาเป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่บน พื้นฐานของอุตสาหกรรมการผลิตและส่งออกทำให้บุคลากรทางวิทยาศาตร์และ เทคโนโลยีเป็นที่ต้องการอย่างมากของอุตสาหกรรมและต้องการวิศวกรยุคใหม่ที่มี ขีดความสามารถในการรับรู้ ติดตาม และถ่ายทอดเทคโนโลยีใหม่ๆได้ สามารถประยุกต์ และดัดแปลง รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์เพื่อยกระดับมาตรฐาน และประสิทธิภาพในการผลิตให้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งด้วยในฐานะที่คณะฯ เป็นสถาบันการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศ จึงมีหน้าที่จะต้องตอบสนองความต้องการดังกล่าวโดยทางคณะฯ ได้ปรับปรุงการผลิตบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ ทั้งในเชิงปริมาณ และคุณภาพ กล่าวคือคณะฯ ได้เพิ่มจำนวนการรับนักศึกษามากขึ้นทั้งในภาคปกติ โครงการเร่งรัดผลิตบัณฑิตสาขาวิศวกรรมศาสตร์ของทบวงมหาวิทยาลัยและโครงการ สมทบพิเศษ และได้รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) เข้ามาสมทบด้วยเป็นครั้งแรกในปีการศึกษา 2534 นอกจากนี้คณะฯ ยังได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา    ซึ่งคณะฯ ได้เปิดทำการสอนในหลักสูตรปริญญาโท  ตั้งแต่ปี 2528 และปัจจุบัน ได้เปิดหลักสูตร ปริญญาโทแล้ว 4 สาขาวิชา และปริญญาเอก  1 สาขาวิชา

           คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ให้ความสำคัญกับความร่วมมือกับต่างประเทศมาตลอด อาทิ ความร่วมมือรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันมาตั้งแต่ปี 2524 และปี 2527 คณะฯ  ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในเยอรมันโดยการสนับสนุนทางการเงินจากสหภาพ ยุโรปในการพัฒนา   ภาควิชาวิศวกรรมเคมีและกระบวนการในปี  2532 คณะฯ ได้ร่วมมือมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศสภายใต้การสนับสนุนทางการเงินจากสหภาพยุโรป ในโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการวิจัยด้านการสันดาปในภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล และในปลายปี 2534 โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาและวิจัยในฝรั่งเศสก็ได้ เริ่มขึ้นเพื่อยกระดับมาตรฐานทางวิชาการด้านวิศวกรรมเครื่องกลโครงการนี้ได้ รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป ในปัจจุบันคณะวิศวกรรมศาสต์ร์ก็ยังมีความร่วมมือกับประเทศต่างๆ ในการจัดการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับบัณฑิตศึกษา
            ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมาคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้จัดกิจกรรมเพื่อเป็นการพัฒนาการศึกษาด้าน วิศวกรรมศาสตร์ เช่น การประเมินผลการเรียนการสอน การส่งเสริมการวิจัย ของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ กิจกรรม 5 ส. การประกันคุณภาพ และตั้งแต่ปี 2543 คณะฯ ก็ได้เริ่มกิจกรรมในการจัดการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ร่วมกับอุตสาหกรรมใน โครงการ "สหกิจศึกษา"

      ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ

      ปรัชญา

                พัฒนาคน พัฒนาวิศวกรรม สร้างนวัตกรรมและนำความรู้สู่สังคม

       

      ปณิธาน

                มุ่ง มั่นพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาการและวิจัยด้าน วิศวกรรมศาสตร์ เป็นคนดีมีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นที่พึ่งพาและชี้นำสังคมได้

       

      วิสัยทัศน์

                เป็น ศูนย์กลางความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษา วิจัยและพัฒนาด้านวิศวกรรมศาสตร์เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม ประเทศชาติ และเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

       

      พันธกิจ

                1. จัดการศึกษาและผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมที่มีความเป็นเลิศ

                2. วิจัยและสร้างสรรค์ผลงานด้านวิศวกรรม และสร้างนวัตกรรม

                3. ให้บริการงานด้านวิศวกรรมที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ถูกต้องและเป็นธรรม สามารถเป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการได้

                4. ส่งเสริม เผยแพร่ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อสืบสานความเป็นชาติและ สร้างคนที่มีความรู้คู่คุณภาพและจริยธรรม

                5. สร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและมีสิ่งแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้

       

      เป้าประสงค์

                1. เพื่อผลิตวิศวกร นักอุตสาหกรรม และนักวิจัยที่มีคุณภาพ มีจรรยาบรรณ

                2. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัย พัฒนางานด้านวิศวกรรม สร้างนวัตกรรม ที่มีผลกระทบ ต่อสังคม

                3. เพื่อมีความเชื่อมโยงกับภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในการสร้างความรู้และใช้ ความรู้อย่างมีระบบ

                4. เพื่อทำนุบำรุง อนุรักษ์และจรรโลงไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

                5. เพื่อบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

                6. เพื่อให้มีอันดับความสามารถในการแข่งขันของคณะอยู่ในตำแหน่งไม่ต่ำกว่า 5 อันดับแรก

           

      • วิศวกรรมสื่อสาร
      • วิศวกรรมไฟฟ้ากำลัง
      • วิศวกรรมควบคุมอัตโนมัติ
      • วิศวกรรมคอมพิวเตอร์

           

      • วิศวกรรมอัตโนมัติ (MAuE)
      • วิศวกรรมระบบเครื่องมือวัด (InSE)
      • อส.บ. ( เทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม )

      • วิศวกรรมโลจิสติกส์
      • วิศวกรรมขนถ่ายวัสดุ

           

      • วิศวกรรมเคมี

           

      • วิศวกรรมการบินและอวกาศ
      • วิศวกรรมเครื่องกล

      • วิศวกรรมโยธา

           

      • วิศวกรรมอุตสาหการ

           

      • วิศวกรรมวัสดุและเทคโนโลยีการผลิต

      • วิศวกรรมการผลิต
      • วิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (หลักสูตรใหม่ 2 ภาษา)

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×