พันธะไอออนิก - นิยาย พันธะไอออนิก : Dek-D.com - Writer
×

    พันธะไอออนิก

    พันธะไอออนิก ความหมายและการเกิดพันธะไอออนิกพันธะไอออนิก ( Ionic bond ) คือแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสารโดยที่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชั่นต่ำให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชั่นสูง กลายเป็นไอออนที่ประจุบวกและประจุลบ เมื่

    ผู้เข้าชมรวม

    15,892

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    13

    ผู้เข้าชมรวม


    15.89K

    ความคิดเห็น


    19

    คนติดตาม


    8
    จำนวนตอน :  0 ตอน (จบแล้ว)
    อัปเดตล่าสุด :  20 ก.ย. 49 / 10:49 น.
    e-receipt e-receipt
    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    การเขียนสูตรและการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

    ก. การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก ใช้หลักดังนี้

    1. เขียนไอออนบวกของโลหะหรือกลุ่มไอออนบวกไว้ข้างหน้า ตามด้วยไอออนลบของอโลหะหรือกลุ่มไอออนลบ

    2. ไอออนบวกและไอออนลบ จะรวมกันในอัตราส่วนที่ทำให้ผลรวมของประจุเป็นศูนย์ ดังนั้นจึงต้องหาตัวเลขมาคูณกับจำนวนประจุบนไอออนบวกและไอออนลบให้มีจำนวนเท่ากัน แล้วใส่ตัวเลขเหล่านั้นไว้ที่มุมขวาล่างของแต่ละไอออน ซึ่งทำได้โดยใช้จำนวนประจุบนไอออนบวกและไอออนลบคูณไขว้กัน

    3. ถ้ากลุ่มไอออนบวกหรือไอออนลบมีมากกว่า 1 กลุ่ม ให้ใส่วงเล็บ ( ) และใส่จำนวนกลุ่มไว้ที่มุมล่างขวาล่าง ดังตัวอย่าง

    จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกต่อไปนี้ ก. Na+ กับ O2- ข. Ca2+ กับ Cl- ค. NH4+ กับ SO42-

    ข. การอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก

    1. สารประกอบธาตุคู่ ถ้าสารประกอบเกิดจาก ธาตุโลหะที่มีไอออนได้ชนิดเดียวรวมกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวก แล้วตามด้วยชื่อธาตุอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (ide) เช่น

    อออซิเจน เปลี่ยนเป็น ออกไซด์ (oxide)

    ไฮโดรเจน เปลี่ยนเป็น ไฮไดรด์ (hydride)
    คลอรีน เปลี่ยนเป็น คลอไรด์ (chloride) ไอโอดีน เปลี่ยนเป็น ไอโอไดด์ (iodide)

    ตัวอย่างการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกธาตุคู่

    NaCl อ่านว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloridr) CaI2 อ่านว่า แคลเซียมไอโอไดด์ (Calcium iodide)
    KBr อ่านว่า โพแทสเซียมโบรไมด์ (Potascium bromide) CaCl2 อ่านว่า แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride)

    ถ้าสารประกอบที่เกิดจากธาตุโลหะเดีนวกันที่มีไอออนได้หลายชนิด รวมตัวกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวกแล้วตามด้วยค่าประจุของไอออนของโลหะโดยวงเล็บเป็นเลขโรมัน แล้วตามด้วยอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (ide) เช่น Fe เกิดไอออนได้ 2 ชนิดคือ Fe 2+ และ Fe 3+ และCu เกิดอิออนได้ 2 ชนิดคือ Cu + และ Cu 2+ สารประกอบที่เกิดขึ้นและการอ่านชื่อ ดังนี้

    FeCl2 อ่านว่า ไอร์ออน (II) คลอไรด์ ( Iron (II) chloride ) CuS อ่านว่า คอปเปอร์ (I) ซัลไฟด์ ( Cupper (I) sunfide )
    FeCl3 อ่านว่า ไอร์ออน (III) คลอไรด์ ( Iron (III) chloride ) Cu2S อ่านว่า คอปเปอร์ (II) ซัลไฟด์ ( Copper (II) sunfide )

    2. สารประกอบธาตุสามหรือมากกว่า ถ้าสารประกอบเกิดจากไอออนบวกของโลหะ หรือกลุ่มไอออนบวกรวมตัวกับกลุ่มไอออนลบ ให้อ่านชื่อไอออนบวกของโลหะหรือชื่อกลุ่มไอออนบวก แล้วตามด้วยกลุ่มไอออนลบ เช่น

    CaCO3 อ่านว่า แคลเซียมคาร์บอนเนต (Calcium carbonatX KNO3 อ่านว่า โพแทสเซียมไนเตรต (Potascium nitrae)
    Ba(OH)2 อ่านว่า แบเรียมไฮดรอกไซด์ (Barium hydroxide) (NH4)3PO4 อ่านว่า แอมโมเนียมฟอสเฟต (Ammomium pospate)

    การละลายของสารประกอบไอออนิก

    สารประกอบไอออนิกบางชนิดละลายน้ำได้ดีและบางชนิดไม่ละลายน้ำ การที่สารประกอบไอออนิกละลายน้ำได้เนื่องจากแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับไอออนมีค่ามากกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบ เช่น เมื่อนำโซเดียมคลอไรด์มาละลายในน้ำ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำกับโซเดียมไอออน และน้ำกับคลอไรด์ไอออนมีค่าสูงกว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนทั้งสอง โซเดียมคลอไรด์จึงละลายน้ำได้ เมื่อไอออนเหล่านี้หลุดออกจากโครงสร้างเดิม แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้วยโมเลกุลของน้ำหลายๆโมเลกุล โดยน้ำจะหันขั้วที่มีประจุตรงกันข้ามเข้าไอออนที่ล้อมรอบ

    ในการละลายน้ำของสารประกอบไอออนิก จะมีขั้นย่อยๆของการเปลี่ยนแปลง 2 ขั้นตอน ดังนี้

    ขั้นที่ 1 ผลึกของสารประกอบไอออนิกสลายตัวออกเป็นไอออนบวกและลบในภาวะก๊าซ ขั้นนี้ต้องใช้พลังงานเพื่อสลายผลีก พลังงานนี้เรียกว่า พลังงานโครงร่างผลึก ( latece energy ) , E1

    ขั้นที่ 2 ไอออนบวกและไอออนลบในภาวะก๊าซรวมตัวกับน้ำ ขั้นนี้มีการคายพลังงาน พลังงานที่คายออกมาเรียกว่า พลังงานไฮเดรชัน (Hydration energy ) , E2

    พลังงานของการละลาย ( D E) มีค่า = E1 + E2 พลังงานของการละลายพิจารณาจากพลังงานโครงร่างผลึก ( E1 ) และพลังงานไฮเดรชัน ( E2 ) ดังนี้

    1. ถ้าค่า D E< 0 ( E1 < E2 ) การละลายจะเป็นแบบคายพลังงาน
    2. ถ้าค่าD E > 0 ( E1 > E2 ) การละลายจะเป็นแบบดูดพลังงาน
    3. ถ้าD E = 0 ( E1 = E2 ) การละลายจะไม่คายพลังงาน
    4. ถ้า พลังงานโครงร่างผลึกมีค่ามากกว่าพลังงานไฮเดรชันมากๆ ( E1 >>>> E2 ) จะไม่ละลายน้ำ

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น