ศรีปราชญ์
ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน เราก็ศิษย์อาจารย์ หนึ่งบ้าง เราผิดท่านประหาร เราชอบ เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้คืนสนอง
ผู้เข้าชมรวม
2,064
ผู้เข้าชมเดือนนี้
10
ผู้เข้าชมรวม
สันนิษฐานว่า ศรีปราชญ์ คงจะเกิดในปี พ.ศ. 2196 หรือ 3 ปี ก่อนที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จขึ้นครองราชย์แทนสมเด็จศรีสุธรรมราชา พระโหราธิบดี บิดาของศรีปราชญ์เข้ารับราชการในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ครั้งหนึ่งสมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งโคลงบทหนึ่ง ว่า
อันใดย้ำแก้มแม่ | หมองหมาย | |
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย | ลอบกล้ำ | |
แล้วก็ทรงติดขัด แต่งอย่างไรก็ไม่เป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงพระราชทานให้แก่พระโหราธิบดี(บิดาของศรีปราชญ์) ซึ่งนอกจากจะมีความสามารถทางด้านพยากรณ์แล้ว ยังมีความรู้ความสามารถอื่นๆอีกรอบด้าน โดยเฉพาะทางด้านการแต่งโคลงกลอนซึ่งถือเป็นมือหนึ่งในสมัยนั้นเลยทีเดียว เมื่อพระโหราธิบดี ีได้รับแผ่นชนวนก็มีความคิดที่จะแต่งต่อเลยทันทีแต่ทว่าไม่สามารถแต่งต่อได พระโหราธิบดีจึงขอพระราชทานนำกระดานชนวนนั้นกลับมาที่บ้านเมื่อถึงบ้านแล้ว ท่านก็นำกระดานชนวนไปไว้ที่ห้องพระเนื่องจาดถือเป็นของสูง แล้วก็ไปอาบน้ำชำระร่างกาย ศรีปราชญ์บุตรชายวัย 7 ขวบก็คิดจะเข้ามาหาพ่อที่ห้องพระ แล้วก็เหลือบไปเห็นกระดานชนวนที่วางอยู่จึงแต่งต่อว่า
อันใดย้ำแก้มแม่ | หมองหมาย | |
ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย | ลอบกล้ำ | |
ผิวชนแต่จักกราย | ยังยาก | |
ใครจักอาจให้ช้ำ | ชอกเนื้อเรียมสงวน |
เมื่อพระยาโหราธิบดีอาบน้ำเสร็จ ก็เข้ามาที่ห้องพระแล้วสังเกตว่ากระดานวางอยู่ต่างจากเดิม จึงคิดในใจว่า ต้องเป็นฝีมือของเจ้าศรี บุตรชายของตนเป็นแน่ แต่ว่า เมื่อเห็นโคลงที่บุตรชายของตนแต่งต่อก็หายโกรธในทันที แล้ววันรุ่งขึ้น พระยาโหราธิบดีก็นำกระดานชนวนนั้น ไปถวายสมเด็จพระนารายณ์
พอวันรุ่งขึ้นหลังจากเข้าเฝ้าถวายแผ่นกระดานชนวนแด่องค์สมเด็จพระนารายณ์ แล้ว พระองค์ ทรงทอดพระเนตรเห็นบทโคลงที่แต่งต่อ ก็ทรงพอพระราชหฤทัย ตรัสชมเชยพระยาโหราธิบดีเป็นการใหญ่ พร้อมกับจะปูนบำเหน็จรางวัลให้ แต่ทว่า หากท่านพระยาโหราธิบดีแกรับพระราชทานบำเหน็จโดยฅกราบทูลความจริงให้ทรงทราบ หากวันใดทรงทราบความจริงเข้า โทษสถานเดียวคือ "หัวขาด" ด้วย "เพ็ดทูล" พระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น ท่านจึงกราบบังคมทูลความจริงให้ทรงทราบว่าแท้ที่จริงแล้ว
"ผู้ที่แต่งโคลงต่อจากพระองค์ มิใช่ข้าพระพุทธเจ้า แต่เป็นเจ้าศรีบุตรชายของข้าพระพุทธเจ้า ซึ่งทำไปด้วยความซุกซน ต้องขอพระราชทานอภัยโทษแก่มันด้วย ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา"
เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงสดับความจริงจากพระยาโหราธิบดี แทนที่จะทรงกริ้ว กลับทรงพอพระราชหฤทัยยิ่งขึ้น ถึงกับทรงพระสรวลลั่นท้องพระโรง และตรัสกับท่านพระยาโหรา ฯว่า
"บ๊ะ ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น พ่อเก่งอย่างไร ดูรึ ลูกชายก็เก่งปานกัน หากเราจะขอให้เจ้านำบุตรของท่านเข้าถวายตัวเพื่อรับราชการแต่บัดนี้ เจ้าจะว่ากระไร ?"
พระยาโหร ฯ ได้ยินเช่นนั้น ก็ถวายบังคมยกมือขึ้นเหนือเศียร รับใส่เกล้า ฯ ใส่กระหม่อม แล้วจึงกราบบังคมทูลว่า
"ขอเดชะ พระอาญามิพ้นเกล้า ฯ การที่พระองค์ทรงโปรดที่จะให้เจ้าศรีบุตรชายของข้าพระพุทธเจ้า เข้าถวายตัวเพื่อรับราชการนั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น แต่เนื่องจากบุตรของข้า ฯ ยังเยาว์วัยเพียง ๗ ชันษา ยังซุกซนและไม่ประสาในการที่จะรับใช้ใต้เบื้องพระยุคลบาท เอาไว้ให้เขาเจริญวัยกว่านี้สักหน่อย ค่อยว่ากันอีกที ควรมิควรแล้วแต่จะทรงพระกรุณา"
จะว่าไปแล้ว ท่านพระยาโหราธิบดีนั้น ท่านรู้อยู่แก่ใจของท่านดีว่า หากให้เจ้าศรีเข้ารับราชการเมื่อไร ก็เร่งเวลาให้เจ้าศรีอายุสั้นมากเท่านั้น ด้วยทราบอุปนิสัยใจคอลูกชายของท่านดีประกอบกับพื้นดวงชะตาที่ได้คำนวณเอาไว้ บ่งบอกชัดเจนว่า เจ้าศรีอายุจะสั้นด้วยต้องอาญา ดังนั้น เมื่อองค์สมเด็จพระนารายณ์ทวงถามเรื่องเจ้าศรีทีไรท่านพระยาโหรก็ต้องหา เรื่องกราบทูลผลัดผ่อนเรื่อยไป
จนกระทั่งเจ้าศรีอายุได้ ๑๕ ปี ได้ศึกษาสรรพวิทยาการต่าง ๆ จากท่านพระยาโหร ฯ ผู้เป็นพ่อจนหมดสิ้นแล้ว ท่านพระยาโหร ฯ จึงได้ถามความสมัครใจว่า อยากจะเข้าไปรับราชการในวังหรือไม่ ซึ่งเจ้าศรีนั้นก็ดีใจ และเต็มใจที่จะเข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ดังนั้น เมื่อพระนารายณ์ทรงทวงถามอีกครั้งหนึ่ง ท่านพระยาโหรฯ จึงไม่อาจหลีกเลี่ยงหรือผลัดผ่อนได้อีกแต่ก่อนที่จะนำเจ้าศรีเข้าถวายตัว นั้น ได้ทรงขอพระราชทานคำสัญญาจากสมเด็จพระนารายณ์ ๑ ข้อ คือ
"เมื่อเจ้าศรีเข้ารับราชการแล้ว หากกาลต่อไปภายหน้า ถ้ามันกระทำความผิดใด ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดต่อราชบัลลังก์ และมีโทษถึงตาย ก็ขอได้โปรดงดโทษตายนั้นเสียหากจะลงโทษจริง ๆ ก็ขอเพียงให้เนรเทศให้พ้นไปจากเมือง อย่าให้ต้องถึงกับประหารชีวิต"
ซึ่งพระองค์ก็ทรงพระราชทานสัญญานั้นโดยดี ทำให้ท่านพระยาโหร ฯ บรรเทาความวิตกกังวลไปได้มากทีเดียว
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ศรีปราชญ์ได้รับ อิทธิพลทางด้านกวีจากบิดา ดังนั้นจึงส่อแววว่ามีปฏิภาณด้านกวีตั้งแต่ยังเด็ก ในคืน วันหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงนิพนธ์โคลงอันไพเราะขึ้น 2 บท แต่ไม่ทันจะทรงนิพนธ์ต่อให้จบบท ด้วยมีพระราชภารกิจด่วนเข้ามาแทรกเสียก่อน จึงโปรดให้พระโหราธิบดีนำเอาไปแต่งต่ออีก 2 บาท เพื่อให้จบสมบูรณ์หนึ่งบท แล้วกลับมาให้พระองค์ในวันรุ่งขึ้น
พระโหราธิบดี พยายามอย่างดีที่สุดเพื่อแต่งโคลงอันไพเราะนั้นให้จบ แต่ทุกครั้งที่พยายามก็คิด ไม่ออก ดังนั้นท่านจึงทิ้งไว้อย่างนั้นก่อนแล้วไปรับประทานอาหารเช้าตามปกติ อย่างไรก็ตามเมื่อท่านจะนำมา แต่งต่อ ปรากฏว่าอีก 2 บาทสุดท้ายนั้นได้มีผู้เขียนต่อให้แล้ว ท่านประหลาดใจมากและถามหาผู้ที่แต่งต่ออีก 2 บาทนั้นซึ่งไพเราะมากเช่นกัน
หลังจากทราบความจริง ท่านก็แอบชมความฉลาดของบุตรชายอยู่ในใจ และคิดว่าบุตรของท่านจะมี อนาคตที่ดี หลังจากได้รับโคลงจากพระโหราธิบดีแล้ว สมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยมาก แต่ ก็ทรงทราบได้ทันทีว่า 2 บาทหลังนั้นไม่น่าจะแต่งโดยคนแก่อย่างเช่นพระโหราธิบดี ดังนั้นพระองค์จึงตรัส ถามความจริง และหลังจากได้ทรงทราบความจริง ก็ทรงระแวงว่าลูกชายของพระโหราธิบดีผู้นี้ อาจจะมีอะไร ละลาบละล้วงแอบแฝงกับสตรีฝ่ายใน จึงตรัสถามว่าบุตรชายของพระโหราธิบดีอายุเท่าไร และก็ต้องทรง ประหลาดใจเมื่อได้รับการกราบทูลให้ทรงทราบว่า เด็กคนนั้นมีอายุเพียง 9 ขวบเท่านั้นเอง พระองค์จึงเรียก ตัวศรีปราชญ์เข้าเฝ้าในทันที แล้วทรงแต่งตั้งให้ทำงานในราชสำนักเหมือนบิดาของตน และถึงแม้ว่า พระโหราธิบดี จะมีความถาคภูมิใจกับอนาคตอันสดใสของบุตรชาย แต่ท่านก็ยังวิตกกังวลว่าในอนาคต ศรีปราชญ์อาจจะเผลอไผลจนกระทบกระเทือกพระราชหฤทัยของสมเด็จพระนารายณ์ หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ท่านอื่น ๆ ก็ได้ด้วยความทระนงในความฉลาดของตน ศรีปราชญ์อาจจะหลงตนเองก็เป็นได้ ดังนั้น พระโหราธิบดีจึงกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ขอให้โปรดพระราชทานอภัยโทษไว้ถ้าหากว่าจะต้องราชทัณฑ์ ถึงประหารชีวิตขอให้พิจารณาลดหย่อนเพียงเนรเทศเท่านั้น พระองค์ก็ทรงยินยอม และให้การเลี้ยงดูดุจดังพระโอรส หลังจากรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมาพอสมควรท่านก็ได้รับพระราชทินนามว่า “ ศรีปราชญ์ ” เป็นรางวัลสำหรับผลงานด้านกวีที่ยอดเยี่ยม
เพียงชั่วระยะเวลาไม่นานชื่อเสียงของศรีปราชญ์ก็โด่ง ดังไปทั่วราชอาณาจักร และตามวิสัยของคนหนุ่มย่อมหนีความรักไปไม่พ้น และในฝ่ายในเองก็มีหญิงสาวเป็นจำนวนมากที่รับใช้ พระบรมวงศ์ศานุวงศ์ และบางคนก็เป็นที่ต้องตาต้องใจของศรีปราชญ์ เมื่อเป็นที่ไว้วางพระทัยของสมเด็จพระนารายณ์ ศรีปราชญ์สามารถเข้านอกออกในได้โดยสะดวก และด้วยเหตุนี้จึงมีโอกาสเกี๊ยวพาราสีพระสนมเอกของสมเด็จพระนารายณ์ นามว่า“ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ”
อันว่าท้าวศรีจุฬาลักษณ์นั้นเป็นสตรีที่มีหน้าตางดงาม ยิ่งนักเป็นที่สบพระราชหฤทัยแก่ สมเด็จพระนารายณ์ ศรีปราชญ์ก็ชอบนางอยู่แม้จะรู้ตัวดีว่าใครก็ตามที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พระสนมของพระมหากษัตริย์จะมีโทษถึงประหารชีวิต ศรีปราชญ์ได้แต่งโคลงเกี๊ยวพาราสีนางโดยที่ไม่ทราบว่าท้าวศรีจุฬาลักษณ์นั้น มีการติดต่อฉันชู้สาวกับพระอนุชาของสมเด็จพระนารายณ์ภายหลังนางเกิดตั้ง ครรภ์ สมเด็จนารายณ์ทรงกริ้วมากและรับสั่งให้สำเร็จโทษตามกฎมนเทียรบาล
และถึงแม้ว่าศรีปราชญ์จะไม่ได้มีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว กับนาง แต่ก็แสดงความประพฤติอันไม่เหมาะสมต่อพระสนมของพระมหากษัตริย์ โดยการเขียนโคลงเกี๊ยวพาราสีนางความประพฤติของศรีปราชญ์เป็นการล่วงละเมิดกฎ มนเทียรบาล ซึ่งห้ามการกระทำเช่นนั้นและผู้ล่วงละเมิดจะต้องมีโทษถึงประหารชีวิต ศรีปราชญ์เองไม่ต้องโทษประหารก็เพราะว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงรักษาสัญญาที่ เคยให้ไว้แก่ พระโหราธิบดี แต่ศรีปราชญ์เองก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงโทษสถานเบาไปได้ศรีปราชญ์จึงถูกเนรเทศ จากกรุงศรีอยุธยา ไปยังเมืองนครศรีธรรมราชที่ซึ่งเขาสามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีกเช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทำให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปราน เขา แต่โชคร้ายที่ศรีปราชญ์ตอบแทนไมตรีจิตนี้ด้วยการไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาว กับภรรยาน้อยของท่านเจ้าเมืองเข้า ท่านเจ้าเมืองโกรธมากและหึงหวงภรรยาน้อย จึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง และก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหาร ศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้กับพื้นธรณีว่า
ธรณีนี่นี้ | เป็นพยาน |
---|---|
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ | หนึ่งบ้าง |
เราผิดท่านประหาร | เราชอบ |
เราบ่ผิดท่านมล้าง | ดาบนี้คืนสนอง |
ในขณะที่ถูกประหารนั้นศรีปราชญ์มีอายุประมาณ 30 หรือ 35 ปี ได้ข่าวการประหารศรีปราชญ์ แพร่ไปถึงพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์ผู้ซึ่งใคร่จะเรียกตัวศรีปราชญ์มาใช้ งานในเมืองหลวงพระองค์ทรงพระพิโรธเจ้าเมืองนคร ฯ ผู้ซึ่งกระทำการโดยปราศจากความเห็นชอบของพระองค์ และเมื่อพระองค์ได้ทราบถึงโคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์จึงมีพระบรมราชโองการ ให้นำเอาดาบที่เจ้าพระยานคร ฯ ใช้ประหารศรีปราชญ์แล้วนั้นนำมาประหารชีวิตเจ้านคร ฯ ให้ตายตกไปตามกัน สมดังคำที่ศรีปราชญ์เขียนไว้เป็นโคลงบทสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิตว่า “ ดาบนี้คืนสนอง ”
แง่คิด : กรรมใดใครก่อก็ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น
สาเหตุของการเนรเทศ
ตอนที่สมเด็จพระนารายณ์เดินทางไปประพาสยังป่าแก้วพระยารามเดโชโดนลิง อุจจาระลงศีรษะบรรดาทหารต่างๆก็หัวเราะสมเด็จพระนารายณ์ ์ที่ทรงบรรทมอยู่จึงตื่นขึ้นแล้วตรัสถามอำมาตย์แต่ไม่มีใครกล้ากราบบังคมทูล เพราะกลัวจะไม่สบพระราชหฤทัยสมเด็จพระนารายณ์จึงเรียกมหาดเล็กศรีมาถาม ฝ่ายเจ้าศรีรับใช้มานานจนทราบพระราชอัธยาศัยจึงกราบบังคมทูลด้วยคำคล้องจอง ว่า พยัคฆะ ขอเดชะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยารามเดโช สมเด็จพระนารายณ์พอพระทัยเป็นอย่างมากแต่นั่นก็เป็นการสร้างความขุ่นเคือง ให้พระยารามเดโชเป็นอย่างมาก สมเด็จพระนารายณ์ถึงกับตรัสว่า ศรีเอ๋ย เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ตั้งแต่บัดนี้เถิด
ในคืนวันลอยกระทงศรีปราชญ์ได้ดื่มสุราแล้วเมาจากนั้นก็เดินไปข้าง ๆ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เพราะฤทธิ์สุรา ท้าวศรีฯ เห็นศรีปราชญ์มายืนข้างๆก็ไม่พอพระทัยจึงว่าศรีปราชญ์เป็นโคลงว่า
หะหายกระต่ายเต้น | ชมจันทร์ | |
มันบ่เจียมตัวมัน | ต่ำต้อย | |
นกยูงหางกระสัน | ถึงเมฆ | |
มันบ่เจียมตัวน้อย | ต่ำต้อยเดียรฉาน |
ศรีปราชญ์ได้ยินดังนั้นก็รู้ว่าพระสนมเอกได้หาว่าตนเป็นเดียรฉานจึงย้อนไปเป็นโคลงว่า
หะหายกระต่ายเต้น | ชมแข | |
สูงส่งสุดตาแล | สู่ฟ้า | |
ระดูฤดีแด | สัตว์สู่ กันนา | |
อย่าว่าเราเจ้าข้า | อยู่พื้นเดียวกัน |
สนมเอกได้ฟังก็ไม่พอพระทัยจึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์จึงให้ศรีปราชญ์ไปอยู่ในคุกหลวงแต่ไม่ต้องไปทำงานเหมือนนักโทษคน อื่นๆ พระยารามเดโชเห็นดังนั้นจึงให้ศรีปราชญ์มาทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ ฝ่ายศรีปราชญ์นั้นเก่งแต่ทางโคลงมิได้เก่งทางด้านการใช้แรงงาน ทางสนมเอกฯ ได้ข่าวก็เสด็จไปที่ที่ศรีปราชญ์ขุดคลองอยู่ เมื่อพระสนมเอกได้ตรัสว่าศรีปราชญ์สมพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับ แต่ต้องสวนกลับทางที่ศรีปราชญ์ได้ขนโคลนไปแล้ว พวกนางรับใช้ของพระสนมเอกหมั่นไส้จึงขัดขาศรีปราชญ์ ดังนั้นโคลนจึงหกใส่พระสนมเอกซึ่งมีโทษถึงประหาร แต่พระโหราธิบดีได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่า หากเจ้าศรีทำผิดแล้วมีโทษถึงประหาร ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชนี้เองที่ศรีปราชญ์สามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีก เช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทำให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปราน เขา แต่แล้วศรีปราชญ์ไปมีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับภรรยาน้อยของท่านเจ้าเมือง เข้า ท่านเจ้าเมืองโกรธมากและหึงหวงภรรยาน้อย จึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าสถานที่ใช้ล้างดาบที่ใช้ประหารชีวิตศรีปราชญ์นั้น ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชจังหวัดนครศรีธรรรมราช เรียกว่า "สระล้างดาบศรีปราชญ์"และก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้กับพื้นธรณีว่า
ธรณีนี่นี้ | เป็นพยาน | |
เราก็ศิษย์อาจารย์ | หนึ่งบ้าง | |
เราผิดท่านประหาร | เราชอบ | |
เราบ่ผิดท่านมล้าง | ดาบนี้คืนสนอง |
ในขณะที่ถูกประหารนั้นศรีปราชญ์มีอายุประมาณ 30 หรือ 35 ปี ได้ข่าวการประหารศรีปราชญ์ แพร่ไปถึงพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์ผู้ซึ่งใคร่จะเรียกตัวศรีปราชญ์มาใช้ งานในเมืองหลวงพระองค์ทรงพระพิโรธเจ้าเมืองนคร ฯ ผู้ซึ่งกระทำการโดยปราศจากความเห็นชอบของพระองค์ และเมื่อพระองค์ได้ทราบถึงโคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์จึงมีพระบรมราชโองการ ให้นำเอาดาบที่เจ้าพระยานคร ฯ ใช้ประหารศรีปราชญ์แล้วนั้นนำมาประหารชีวิตเจ้านคร ฯ ให้ตายตกไปตามกัน สมดังคำที่ศรีปราชญ์เขียนไว้เป็นโคลงบทสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิตว่า “ ดาบนี้คืนสนอง ”
ผลงานอื่นๆ ของ ช้าสยบเร็ว อ่อนสยบแข็ง... ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ช้าสยบเร็ว อ่อนสยบแข็ง...
ความคิดเห็น