เทศกาลและประเพณีของญี่ปุ่น ++เทศกาลและประเพณีของญี่ปุ่น++~*
ใน คืนวันที่ 31 ธันวาคม วันส่งท้ายปีเก่าที่ญี่ปุ่นนั้น ห้างสรรพสินค้า และ ร้านค้าต่างๆ จะปิดทำการเร็วกว่าปกติ ทำให้บรรยากาศดูเงียบเหงาไปถนัดตา เพราะว่าผู้คนต่างก็รีบที่จะกลับบ้านและเตรียมตัวฉลองกับคนในครอบครัว หรือ คนที่ตนรัก แต่ในทางกลับกันถ้าหากเป็นร้านอาหาร หรือ อิซะกะยะ ( ร้านสำหรับดื่มเหล้าของญี่ปุ่น ) แล้ว จะเป็นช่วงที่กอบโกยได้มากที่สุด บางร้านก็บริการลูกค้าด้วยการเปิดให้บริการโต้รุ่ง ซึ่งไม่ว่าจะเข้าออกร้านไหน ก็แน่นขนัดไปด้วยผู้คน ถึงแม้ว่าจะต้องเข้าแถวรอยาวเหยียด รอเป็นชั่วโมง ๆ ก็ยอม
และ เมื่อพูดถึงอาหาร สิ่งที่คนญี่ปุ่นนิยมทานกันในคืนวันที่ 31 ธันวาคม เพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึง ก็คือ โทชิโคชิโซบะ ด้วยความเชื่อที่ว่าจะได้มีอายุที่ยืนยาวเหมือนดั่งเส้นโซบะ ตามสถานที่ต่างๆ อาทิเช่น สวนสนุก ก็มีกิจกรรมต่างๆเพื่อร่วมต้อนปีใหม่ด้วย เช่น มีการจุดพลุ การจัดคอนเสิร์ต เพื่อให้ผู้คนได้มาร่วมกันนับถอยหลัง เฉลิมฉลองต้อนรับวันปีใหม่ด้วยกัน ในสภาพอากาศที่หนาวเหน็บ แต่แฝงไปด้วยความอบอุ่น ความรื่นเริง และเสียงหัวเราะ นอกจากนี้ รถไฟสายต่างๆ ก็ยังเปิดให้บริการเป็นพิเศษ โดยการเพิ่มเที่ยวรถไฟ และขยายเวลาทำการไปจนถึงเช้าเช่นกัน
ตาม ศาลเจ้า หรือ วัดชินโตที่ใหญ่ๆ ก็จะแน่นขนัดไปด้วยผู้คนที่มีมาร่วมฟังการตีระฆังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่หรือที่เรียกว่า โจยะโนะคะเนะ ตามประเพณีโบราณของญี่ปุ่นพระจะตีระฆังจำนวน 108 ครั้ง ซึ่งถือเป็นการขับไล่สิ่งชั่วร้าย 108 อย่างที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ เมื่อตีครบ 108 ครั้ง ก็ถือว่ากิเลสตัณหา ความโลภต่าง ๆ ที่อยู่ในตัวได้ถูกชำระออกไป พร้อมที่จะต้อนรับวันใหม่ ปีใหม่ด้วยจิตใจที่บริสุทธ์อย่างแท้จริง
และ เมื่อเข้าสู่วันที่ 1 มกราคม วันแรกของปีซึ่งเรียกว่า กังจิซึ เปรียบเสมือนวันแห่งการเริ่มต้น และต้อนรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในชีวิต ผู้คนก็จะแห่ไปทำบุญตามวัด ไหว้พระเพื่อเป็นสิริมงคล และอธิษฐานขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งจะเรียกว่า ฮาซึโมเดะ ซึ่งจะเริ่มทำกันตั้งแต่วันที่ 1 - 3 มกราคม
ใน ตอนเช้าของวันปีใหม่ หรือที่เรียกว่า กังทัน ผู้คนในครอบครัวจะอยู่กันพร้อมหน้า เพื่อรับประทานอาหารมื้อแรกของปีใหม่ร่วมกัน ซึ่งจะประกอบด้วย
โอะ โทะโซะ หรือ เหล้าสาเกใส่สมุนไพรดื่มเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองปีใหม่ และเชื่อกันว่าจะช่วยขับไล่สิ่งชั่วร้ายและรักษาสุขภาพได้อีกด้วย โอะโซนิ หรือซุปโมจิ ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นพิเศษสำหรับปีใหม่โดยเฉพาะ
โอ เซะจิเรียวริ อาหารปีใหม่ตามประเพณีอีกอย่าง ซึ่งเป็นอาหารที่เก็บได้นาน ส่วนใหญ่จะนิยมทานกันเป็นเวลา 3 วัน ประกอบด้วยอาหารหลากหลายอย่าง เช่น ปลาย่าง ไข่ปลา กุ้ง สาหร่าย ถั่วดำเชื่อม เป็นต้น
ใน วันปีใหม่นี้ก็เป็นวันที่เด็กๆ ต่างรอคอยเพื่อที่จะรับเงินปีใหม่ ซึ่งเรียกว่า โอโทชิดะมะ จากพ่อเม่ หรือญาติผู้ใหญ่ ซึ่งถ้าหากเป็นที่เมืองไทยเรา ก็คงจะเป็นเช่นเดียวกันกับช่วงเทศกาลตรุษจีน
โอะ
ใส่ไว้ข้างหน้าเพื่อให้เป็นคำสุภาพ โทชิ แปลว่า "ปี" ( อ่านแบบคุงโยะมิ) ดะมะ ถ้าแปลตามตัวเลยจะแปลว่า "เหรียญ" เมื่อนำมารวมกันก็จะมีความหมายโดยรวมก็จะหมายถึง "เงินปีใหม่" นั่นเอง
และ ในช่วงปีใหม่นี้ นอกจากจะเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นชีวิตใหม่ของทุกๆ คนแล้ว สำหรับวัยรุ่นชาวญี่ปุ่นที่มีอายุถึง 20 ปี ก็ถือว่าเป็นปีแห่งการเริ่มต้นก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ใหญ่อย่างเต็มตัวด้วย เช่นกัน นั่นหมายถึงว่า ได้บรรลุนิติภาวะแล้ว มีพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม ซึ่งที่ญี่ปุ่นจะมีพิธีที่ฉลองบรรลุนิติภาวะ เพื่อเป็นเกียรติให้กับวัยรุ่นหนุ่มสาว และถือเป็นการต้อนรับสมาชิกใหม่ของสังคม ซึ่งเรียกว่า เซอิจินชิคิ
เซอิจิน
หมายถึง "ผู้ใหญ่" หรือ ผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ชิคิ หมายถึง พิธี
ซึ่ง จะกำหนดให้วันที่ 15 มกราคม ของทุกปีเป็นวันบรรลุนิติภาวะ แต่ในปัจจุบัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการดังกล่าว โดยเปลี่ยนมาเป็นวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี ซึ่งในปีนี้จะตรงกับวันจันทร์ที่ 12 มกราคม ซึ่งในวันนี้ หนุ่มสาวชาวญี่ปุ่นที่มีอายุครบ 20 ปี จะร่วมฉลองพิธีดังกล่าวนี้ ณ สถานที่ที่ทางเขตที่ตนอาศัยอยู่กำหนดไว้ โดยภายในงานจะมีการกล่าวต้อนรับ ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสมาชิกใหม่ของสังคม พร้อมทั้งร่วมแสงความยินดีและอวยพรต่อวัยรุ่นหนุ่มสาวเหล่านี้ โดยผู้ชายจะใส่สูท ผูกเนคไท ส่วนผู้หญิงก็จะชุดกิโมโน หรือ จะเป็นชุดสูทกับกระโปรง และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก
หาก ใครมีโอกาสได้เดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงปีใหม่นี้ คงจะได้เห็นภาพหญิงสาวชาวญี่ปุ่นในชุดกิโมโนที่หรูหราและสวยงาม เดินตามท้องถนน ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจ พร้อมกับได้สัมผัสกลิ่นอายของดินแดนอาทิตย์อุทัยได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังได้ซึมซับขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อของชาวญี่ปุ่นที่ยัง คงอนุรักษ์มาถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าเสียดายที่บ้านเรา คงไม่มีภาพเหล่านี้ให้เห็นกันมากนัก โดยเฉพาะในกรุงเทพ เมืองฟ้าอมร คงไม่มีใครที่จะกล้าใส่ชุดไทยออกมาเดินตามท้องถนน เพื่อไปทำบุญตามวัดอย่างเป็นแน่ แต่ถ้าพูดถึงปีใหม่ของไทยเราก็ไม่น้อยหน้า เพราะว่าเราก็มีขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ซึ่งได้อนุรักษ์และถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมายังรุ่นลูก รุ่นหลานอย่างพวกเรา อย่างเช่น ประเพณีสงกรานต์ วันขึ้นปีใหม่ของไทย แต่ไม่ว่าจะเป็นการเฉลิมฉลองแบบใด ขอให้เรามีความสุขใจ ก็เป็นพอ
ได้ คำศัพท์สำหรับการดูดอกไม้ไปแล้ว ถ้าใครมีโอกาสมาญี่ปุ่นช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ก็หาโอกาสไป ฮานามิ อย่างคนญี่ปุ่นบ้างก็ได้นะครับ ไม่มีใครว่า แต่ถ้ามาช้าๆ ต้องเดินทางขึ้นไปดูทางภาคเหนือนะครับ ทางโตเกียวและส่วนใหญ่มักจะหมดช่วงการดูดอกไม้ ประมาณกลางเดือนเมษายน สำหรับคนที่จะมาทัวร์ญี่ปุ่นช่วงสงกรานต์อาจจะยังมีโอกาสเห็นอยู่บ้าง ถ้าโชคเข้าข้าง ช่วยทำให้ฝนไม่ตก ลมไม่พัดแรงๆ ในช่วงก่อนสงกรานต์นี้ครับ แล้วเจอกันใหม่กับผมใน เทศกาลเด็กผู้ชาย ต้นเดือนพฤษภาคมนะครับ
ปิด ท้ายนี้... ก็ขอให้ทุกคนมีความสุขตลอดปีใหม่ ฟ้าใหม่ พร้อมทั้งมีสุขภาพที่แข็งแรงตลอดทั้งปีนะคะ โคโตชิโมะ โยโรชิคุ โอเนะไงชิมัส
_________________________________
เทศกาล หิมะที่ฮอกไกโดเมืองซัปโปโร นั้นเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1950 ( 54 ปีก่อน) โดยเริ่มจากการที่นักเรียนระดับชั้นมัธยมได้นำรูปปั้นหิมะจำนวน 6 ผลงานมาตั้งแสดงไว้ที่สวนสาธารณะโอโดริ oodori kooen(สวนสาธารณะ )และมีการเล่นปาหิมะ yukigassen พร้อมมีการแสดงโชว์ต่างๆ ทำให้มีคนมาร่วมงานถึงกว่าห้าหมื่นคน นับว่าประสบความสำเร็จเกินคาด หลังจากนั้นงานเทศกาลนี้ก็มีต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกปี จากเทศกาลที่มีคนรู้จักอยู่แค่ระดับเมือง ก็เริ่มกลายเป็นเทศกาลที่มีคนรู้จักมากขึ้นมาเป็นระดับจังหวัด และจากระดับจังหวัด ก็เริ่มได้รับความนิยมไปทั่วประเทศ โดยมีนักท่องเที่ยวจากจังหวัดที่ไม่มิหิมะมากมายเหมือนฮอกไกโดมาเที่ยวชมมาก ขึ้นตามลำดับ และในปี ค.ศ.1972 ซึ่งเป็นปีที่มีการจัดโอลิมปิคฤดูหนาวขึ้นที่ซัปโปโร ทางเมืองซัปโปโรได้จัดงานเทศกาลหิมะของปีนั้นในหัวข้อ " ยินดีต้อนรับสู่ซัปโปโร " yookoso sapporo he นักท่องเที่ยวจากนานาประเทศก็ได้ให้ความสนใจและประทับใจกับเทศกาลนี้เป็น อย่างยิ่ง จนทำให้เทศกาลนี้เป็นที่รู้จักกันไปในระดับโลก
ปี นี้ ( พ.ศ.2547 ) เทศกาลหิมะ yukimatsuri ครั้งที่ 55 จัดขึ้นในวันที่ 5 ถึงวันที่ 11 เดือนกุมภาพันธ์ สถานที่ก็คือสวนสาธารณะโอโดริ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานีซัปโปโรนัก ถ้ามาจากสนาบินชินชิโตเซะ (สนามบิน)ก็สามารถโดยสารรถไฟเจอา มาลงที่สถานีซัปโปโร ( สถานี)จากนั้น ก็เปลี่ยนมาขึ้นรถไฟใต้ดินสายสีเขียว ที่เรียกว่านัมโบคุเซ็น numboku sen คือเส้นที่วิ่งระหว่างเส้นทางทิศเหนือและใต้ นั่งไปแค่สถานีเดียวก็ถึงสถานีโอโดริ เพียงแต่ว่าตอนเปลี่ยนจากรถไฟเจอามาเป็นรถไฟใต้ดินนั้น อาจจะลำบากเล็กน้อย เนื่องจากเป็นสถานีใหญ่ มีแยกไปหลายสาย คนก็มาก อาจจะหลงทางได้ ถ้าจะให้ดีก็ลองถามเจ้าหน้าที่สถานีดูว่า
yukimatsuri ni ikitai desu kedo, nanbokusen ha dokokara noremasu ka?
อยากไปงานเทศกาลหิมะค่ะ จะขึ้นรถไฟสายนัมโบคุได้ที่ไหนคะ
ถ้ายาวไปจำไม่ได้ก็อาจจะถามแค่ว่า
nanbokusen ha dokokara noremasu ka?
จะขึ้นรถไฟสายนัมโบคุได้ที่ไหนคะ
หรือ ไม่ก็เดินจากสถานีซัปโปโรไป ไม่ต้องนั่งรถไฟใต้ดินก็ได้ เส้นทางก็ง่ายแสนง่าย เพราะว่าแค่เดินตรงไปอย่างเดียวก็จะไปชนกับสวนสาธารณะโอโดริอยู่แล้ว โดยเดินไปตามถนนที่ชื่อว่าเอคิมาเอะโดริ ekimae doori (ถนน)ถ้าไม่ต้องหอบสัมภาระเยอะ คิดว่าเดินไปอาจจะดีกว่าไปหลงอยู่ที่ชั้นใต้ดิน และหากไม่แน่ใจว่าเดินถูกทางหรือไม่ ก็สามารถถามใครก็ได้ เพราะว่าทุกคนในเมืองรู้ว่าเทศกาลนี้จัดอยู่ที่ไหน โดยอาจจะถามว่า
oodori kooen ha doko desuka? สวนสาธารณะโอโดริอยู่ที่ไหนคะ ... หรือ
yukimatsuri ha doko desuka?
การ เข้าชมงานเทศกาลหิมะนี้ ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใดค่ะ แต่เนื่องจากจะต้องเดินชมงานเป็นเวลานาน สิ่งที่ควรจะเตรียมไปคือ รองเท้าที่สามารถเดินบนหิมะได้ เดี๋ยวนี้เขามีขายแผ่นที่เอาไว้สวมกับรองเท้าธรรมดา เพื่อให้สามารถเดินบนหิมะได้ด้วย เรียกว่าซุเบริโดเมะ suberidome
ซุ เบริโดเมะ suberidome มีขายตามร้านทั่วไป เช่น เซเว่น โลสัน เวลาไปหาซื้อก็บอกเขาว่า suberidome kudasai. (ขอซุเบริโดเมะหน่อยค่ะ) ราคาประมาณห้าร้อยเยนค่ะ เป็นแผ่นยางสีดำ มีสายรัดกับส้นและหัวรองเท้า ที่แผ่นก็จะมีโลหะเป็นปุ่มๆ ที่จะทำให้รองเท้าเกาะกับพื้นหิมะมากขึ้น แต่บางคนก็ว่าไม่ว่ารองเท้าจะดีแค่ไหน ถ้าเดินไม่ดีก็ล้มได้ค่ะ เพราะฉะนั้นจะให้ดี ก็ควรจะระมัดระวังเวลาเดินให้มากๆนะคะ โดยก้าวให้สั้นๆ และออกกำลังกดลงไปที่เท้าด้วย เพราะถ้าล้มไปฟาดกับพื้นหิมะ ที่เป็นน้ำแข็งแล้วละก็ มีสิทธิ์ที่จะเลือดตกยางออกได้นอกจากรองเท้าแล้ว
สิ่ง ที่จำเป็นที่จะต้องเตรียมไปก็คือ เสื้อผ้าหนาๆ สักสามชั้น ถุงมือ ถ้าเป็นไปได้ ถุงมือหนังจะอุ่นที่สุด ถุงเท้าหนาๆ อาจจะใส่ถุงน่องซ้อนกันสักสองชั้น แล้วตามด้วยกางเกงรัดรูปด้านใน ก่อนที่จะใส่กางเกงยีนด้านนอกอีกที หมวกที่ปิดมาถึงหู หรือ ที่ปิดหู คาดทับไปอีกทีก็ได้ค่ะ และอาจจะหาซื้อไคโร kairo คือถุงกระดาษที่มีสารทำให้อุ่นอยู่ด้านใน แค่ถือไว้เฉย ๆ ก็จะอุ่นได้หลายชั่วโมงค่ะ หรือจะซื้อเป็นแบบที่มีเทปกาวติดก็ได้ แบบนี้สามารถเอามาติดหลัง ติดท้อง หรือขนาดเล็กก็สามารถติดในรองเท้าได้ด้วย ก็จะอุ่นอยู่ได้ตลอดเวลาที่เดินชมงานเลยค่ะ ไคโรนี่มีขายทั่วไป ราคาประมาณหนึ่งร้อยเยนค่ะ
ที่ งานเทศกาลหิมะนี้ นอกจากจะมีผลงานการแกะสลักหิมะหรือน้ำแข็งของชาวญี่ปุ่น ที่มีตั้งแต่ขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่ที่สูงเป็นสิบเมตรแล้ว ก็จะมีผลงานการแกะสลักหิมะประกวดในระดับนานาชาติอีกด้วย เมืองไทยเราก็ส่งไปประกวดด้วยนะคะ และเราก็เคยชนะมาหลายครั้งแล้วด้วย ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 เป็นต้นมา
ทีมไทยกับผลงานรองชนะเลิศอันน่าภาคภูมิใจในปีนี้
หิมะ ที่ใช้ในการแกะสลักนั้น ทุกปีทหารป้องกันประเทศของญี่ปุ่นที่เรียกว่าจิเอไต jieitai จะเป็นผู้รับหน้าที่ไปขนหิมะมาจากบนเขา ปีนี้เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ทำให้ทางญี่ปุ่นต้องส่งทหารดังกล่าวบางส่วนไป ที่ประเทศอิรัก ทำให้ชาวเมืองซัปโปโรเกรงว่างานเทศกาลหิมะนี้อาจจะต้องมีการยกเลิกกันไป อย่างกระทันหัน แต่เนื่องจากเป็นเทศกาลที่ทำเงินให้กับเมืองซัปโปโรเป็นอย่างมาก ดังนั้นทางซัปโปโรจึงพยายามที่จะจัดงานให้สำเร็จลุล่วงไปเหมือนอย่างทุกๆปี ที่ผ่านมา
รางวัลชนะเลิศ ประเทศสวีเดน
รางวัลที่สอง ประเทศมาเลเซีย
รางวัลที่สาม ประเทศจีน
_________________________________
เมื่อ ย่างเข้าฤดูใบไม้ผลิ ( haru)ในวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี ญี่ปุ่นถือเป็นวันเทศกาลเด็กผู้หญิง หรือเทศกาลตุ๊กตา (hina matsuri)ซึ่งเทศกาลสำหรับเด็กผู้หญิงนี้ เด็กผู้หญิงมักจะรอคอยการเวียนมาของวันนี้ในแต่ละปี เพราะว่าบ้านที่มีลูกสาวมักจะมีการนำตุ๊กตา ( hina ningyou )มาประดับจัดวาง และมีการฉลองกันเล็ก ๆ ในครอบครัว แต่เทศกาลเด็กผู้หญิงนี้ไม่ถูกนับให้เป็นวันหยุดราชการเหมือนวันเด็ก (ผู้ชาย) ซึ่งตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปีเช่นกัน วันนี้ คงไม่ได้มาคุยกันเรื่องป้ายเท่าใดนัก แต่เนื่องจากเป็นเทศกาลที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กผู้หญิงในญี่ปุ่น ผมจึงอยากพูดถึงเรื่องราวต่างๆ และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้ หวังว่าท่านผู้อ่านคงไม่ว่ากันนะครับ
เทศกาล เด็กผู้หญิงนี้ เป็นประเพณีเก่าแก่ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน ตามความเชื่อนั้น ถือว่าเป็นการขอพรเพื่อปัดเป่าภัยอันตราย ( yakuyoke)ต่างๆ ที่จะมีต่อสุขภาพร่างกายในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาถึง ซึ่งประเพณีที่จัดขึ้นในวันที่ 3 เดือน 3 นี้แต่เดิมเรียกว่า (joushi no sekku) บางครั้งเรียกว่า ( momo no sekku) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทศกาลตามฤดูกาลในรอบปี ซึ่งประกอบไปด้วย 5 เทศกาลด้วยกัน รวมเรียกว่า (gosekku)ได้แก่
gosekku เทศกาลทั้ง 5 ประกอบด้วย
วันที่ 7 เดือน 1 ( jinjitsu ) วันที่ 3 เดือน 3( joushi ) วันที่ 5 เดือน 5( tango ) วันที่ 7 เดือน 7( shichiseki )
วันที่ 9 เดือน 9 ( chouyou )
ระบบ เทศกาลทั้ง 5 นี้ได้ถูกยกเลิกไปในสมัยเมจิ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย) แต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ทำกันมายาวนาน จึงยังคงเหลือเทศกาลบางอย่างที่ประชาชนทั่วไปถือปฏิบัติกันสืบต่อมา
ส่วน การที่กำหนดให้วันที่ 3 เดือน 3 เป็นวันของเทศกาลดังกล่าวนี้ มีมาตั้งแต่สมัยจีนโบราณยุคสามก๊ก อาจจะเป็นเพราะความเชื่อที่ว่า เนื่องจากวันที่มีตัวเลขของวันที่ และเดือนเป็นเลขเดียวกัน เป็นวันที่พลังของเทพเจ้า ส่งผลดีมายังมนุษย์ ในญี่ปุ่นนั้น กล่าวกันว่า เริ่มมีเทศกาลตามฤดูกาลทั้ง 5 นี้มาตั้งแต่สมัยมุโรมาจิ ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ในสมัยโบราณจะมีธรรมเนียมการนำตุ๊กตาที่ทำมาจากกระดาษและฟาง มาใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบพิธีกรรมเพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งไม่ดีต่างๆ โดยนำตุ๊กตาป็นสื่อกลางในการนำสิ่งไม่ดีต่างๆ ของตัวเอง มาใส่ลงในตุ๊กตาแล้วนำไปลอยในแม่น้ำหรือทะเล เพื่อสะเดาะเคราะห์ ซึ่งธรรมเนียมนี้ เรียกว่า (nagashi bina ) ตุ๊กตาลอยน้ำ
nagashi bina
nagashi bina อีกรูปแบบหนึ่ง
บาง ตำราก็ให้ความเห็นเกี่ยวกับเทศกาลทั้ง 5 นี้ว่า จริง ๆ แล้ว คือวันที่บรรดาพวกผู้หญิงจะได้พักผ่อนบ้างหลังจากที่ปรกติต้องตรากตรำทำงาน มาตลอด สาว ๆ จะได้ออกไปไหนมาไหน และเที่ยวเล่นตามป่าตามเขาบ้าง ได้ทานของที่ปรกติไม่ได้ทานบ้าง ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ( sekku )จึงมีความหมายอีกนัยยะหนึ่งว่า วันที่ได้ออกไปเที่ยวเล่นข้างนอก นั่นเอง คำ นั้นกล่าวกันว่า น่าจะเพี้ยนมาจากคำ ๆนึง ซึ่งหมายถึง อะไรที่เล็กๆ ซึ่งในสมัยเฮอันนั้น หมายความถึง ตุ๊กตาตัวเล็กๆ ที่ทำมาจากกระดาษ หรือการเล่นเของเล่น (ตุ๊กตา) ขนาดเล็ก ที่เรียกว่า (hihina asobi) ซึ่งมีหลักฐานกล่าวถึงใน(genji monogatari) ซึ่งเป็นมหาอมตะนิยายของญี่ปุ่นเลยทีเดียว แต่การเล่นดังกล่าวไม่ได้จำกัดแต่เด็กผู้หญิงเท่านั้น แต่เป็นการละเล่นของเด็กโดยทั่วไป
นอก จากนั้น ในสมัยเฮอันจะมีการทำพิธีปัดรังควานโดยการนำตุ๊กตา ที่เรียกว่า(amagatsu)และ(houko)มาวางไว้ข้างหมอนของเด็กที่เพิ่งเกิด เพื่อเป็นการปัดเป่าภยันตรายที่จะมีต่อทารกให้แคล้วคลาด ซึ่งตุ๊กตาทั้งสองนั้น มีรูปร่างหน้าตาดังรูปนี้แหล่ะครับ
จาก รูปแบบของตุ๊กตาที่ใช้ในการสะเดาะเคราะห์ และของเล่น ที่พัฒนากลายมาเป็นสิ่งเดียวกัน ทำให้ในสมัยเอโดะ บรรดาบ้านขุนนาง หรือนักรบชั้นสูง มักจะนิยมที่จะทำตุ๊กตาhina ขึ้นมากันอย่างแพร่หลาย ในช่วงต้นของสมัยเอโดะนั้น ตุ๊กตาhina นั้น เป็นแค่ตุ๊กตาลักษณะยืนทำด้วยกระดาษ เรียกว่า(tachibina)หรือ (kamihina)แต่ด้วยก้าวหน้าของเทคนิคการผลิตตุ๊กตาในเวลาต่อมา ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง จนเกิดตุ๊กตาที่อยู่ในท่านั่ง และมีการทำเสื้อผ้าจากผ้าจริงๆ สวมใส่อยู่ด้วย
ใน ช่วงกลางของสมัยเอโดะ มีการเปลี่ยนการเรียก (joushi no sekku) มาใช้คำว่า(hina matsuri) แทน และบรรดาเด็กผู้หญิงและหญิงสาว ต่างพากันประดับประดาตุ๊กตาเพื่อความสวยงาม และเพื่อเป็นสีสันให้กับการใช้ชีวิต ในช่วงฤดูดังกล่าว จนเป็นที่ปฏิบัติต่อกันมา นอกจากนั้น ยังเกิดเป็นธรรมเนียมการให้ตุ๊กตาเป็นของรับขวัญเมื่อมีการให้กำเนิดเด็ก ผู้หญิงอีกด้วย ทำเป็นตุ๊กตา เป็นที่นิยมไปอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา
จะ เห็นได้ว่า ตุ๊กตานั้นมีพัฒนาการทางหน้าที่ที่เปลี่ยนไปจากการที่เป็นพิธีการในขจัดปัด เป่าเคราะห์และโรคต่างๆ มาเป็น ตุ๊กตาเครื่องรางป้องกันภยันตรายให้กับเด็กทารก และพัฒนามาเป็นพิธีการเพื่อการขอความสุขและสุขภาพที่ดีสำหรับเด็กผู้หญิงใน ช่วงต่อมา รูปแบบของตุ๊กตา และการประดับประดาตุ๊กตา อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น กล่าวกันว่าเป็นรูปลักษณ์ที่พัฒนาได้อย่างเต็มรูปแบบในสมัยเอโดะตอนปลาย นอกจากนั้นการที่ภาวะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้มีการแข่งขันในการผลิตตุ๊กตา ที่มีความวิจิตรงดงามเพิ่มขึ้น
( hina ningyou) รูปแบบของตุ๊กตา ?? ในปัจจุบัน
ปัจจุบัน ในครอบครัวคนญี่ปุ่น มักจะทำการประดับตุ๊กตา ในวันที่ 3 มีนาคมแรกที่เวียนมาถึงหลังจากที่ลูกสาวถือกำเนิดมาในครอบครัว โดยประดับร่วมกับดอกท้อ ขนมกรอบอาราเร่ ( hina arare) เป็นต้น ซึ่งปรกติตามธรรมเนียมแล้ว ตุ๊กตาทั้งชุดมักจะถูกส่งมาจากญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายมารดา (ส่วนมากมักเป็นคุณตา คุณยาย นั่นแหล่ะครับ) โดยในปีแรกที่ประดับตุ๊กกตา นั้นโดยทั่วไปแล้วมักจะมีการฉลองกันในหมู่ญาติและเพื่อนฝูง ทั้งนี้ถือเป็นการรับขวัญลูกสาวที่เกิดมา เรียกว่า (hatsuzekku ) ฤดูกาลแรก และโดยทั่วไปมักจะประดับตุ๊กตาในปีต่อ ๆ มาด้วย แต่งานฉลองอาจจะทำหรือไม่ทำก็ได้ บางครอบครัวประดับตุ๊กตาจนกว่าลูกสาวจะแต่งงานเลยก็มีครับ
ถึง แม้ว่าวันเทศกาลเด็กผู้หญิงจะมีในวันที่ 3 มีนาคม แต่โดยธรรมเนียมแล้ว การเริ่มนำตุ๊กตาออกมาประดับนั้นมักกระทำกันก่อนถึงวันเทศกาลประมาณ 2 - 3 สัปดาห์เลยทีเดียว แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักเริ่มประดับกันในวัน (usui no hi) ซึ่งตรงกับวันที่ 19 กุมภาพันธ์ แต่ถ้านับตามธรรมเนียมดั้งเดิมแล้ว จะตรงกับวันที่ 12 หลังจากวัน (setsubun no hi หรือวันแบ่งฤดู ที่มีเทศกาลโปรยถั่ว) เมื่อมีวันเริ่มประดับตุ๊กตาแล้ว ก็ย่อมมีกำหนดวันเก็บตุ๊กตาเช่นกัน โดยทั่วไป ตุ๊กตา ?? นี้ จะถูกประดับในบ้าน จนถึงวันอาทิตย์แรกหลังจากวันที่ 3 มีนาคม ทั้งนี้เพราะมีความเชื่อว่า ถ้าหากประดับตุ๊กตา ?? ไว้นานไปหลังหมดเทศกาลแล้ว เด็กผู้หญิงนั้นจะแต่งงานช้า
ที นี้รูปแบบของตุ๊กตา ในปัจจุบันนี้ ก็มีความหลากหลายอยู่มาก เพราะว่าโดยปรกติแล้ว ตุ๊กตาที่จัดในงานนี้ จะต้องจัดเป็นชุด ไม่ใช่ว่าเอาตุ๊กตาตัวเดียวมาตั้งวางไว้นะครับ ความหลากหลายที่ว่านั้นขึ้นอยู่กับจำนวนตุ๊กตาในชุด จำนวนชั้นวางตุ๊กตา วัสดุที่นำผลิต รวมทั้งเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผู้ผลิต ซึ่งราคาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป จำนวนชั้นจัดวาง และจำนวนตุ๊กตานั้น จะเป็นเท่าไหร่จะมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน และจำนวนตุ๊กตาก็จะถูกกำหนดโดยชั้นวางอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อชั้นวางมีน้อยชั้น จำนวนตุ๊กตาก็จะน้อยไปด้วย ซึ่งในภาษาญี่ปุ่นจะเรียกการจัดตามจำนวนชั้น เช่น (~dankazari ประดับ(~) ชั้น)ซึ่งจะใช้กับการจัด 3 ชั้น 5 ชั้น และ 7 ชั้น ในขณะที่การจัดแบบชั้นเดียวจะเรียกว่า(hirakazari หมายถึงการประดับตามแนวราบ)
และ จำนวนตุ๊กตา มีตั้งแต่ชุด 2 ตัว 5 ตัว 10 ตัว 12 ตัว และ15 ตัว และเครื่องประกอบ) เช่น ชุดตุ๊กตา 2 ตัว ไม่มีเครื่องประกอบ ชุดตุ๊กตา 2 ตัวมีเครื่องประกอบ ชุดตุ๊กตา 3 ชั้น 5 ตัว ( gonin sandankazari)จนถึงชุดใหญ่ๆ ที่มี 7 ชั้น ตุ๊กตา 15 ตัว พร้อมด้วยเครื่องประกอบต่างๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังมีตุ๊กตา ที่ทำมากจากไม้ ดินเผาเขียนลาย หรือแบบที่ใช้ผ้าแบบทอพิเศษกันเลย สนนราคาฟังแล้วอย่าตกใจนะครับ มีตั้งแต่ ราคา 2-3 พันเยน (ในแบบประยุกต์ ตัวเล็กๆ ทำจากดินเผา) ไปจนถึง 8-9 แสนเยนต่อชุดเลยก็มีครับ
การจัดตุ๊กตา 3 ชั้น 5 ตัว
การจัดตุ๊กตา 5 ชั้น 15 ตัว
การจัดตุ๊กตา 7 ชั้น 15 ตัว
ไม่ ว่าจะเป็นชุดไหนก็ตาม ตุ๊กตาที่ขาดไม่ได้นั้นมีอยู่ 2 ตัวด้วยกันครับ เรียกตามภาษาง่ายๆ คือ ตุ๊กตาเจ้าหญิง กับเจ้าชาย ก็ได้นะครับ ซึ่งตัวเจ้าหญิงนั้นจะเป็นตัวหลักของเทศกาลนี้เลย สองตัวนี้เรียกว่า (odairisama คุณในวัง)(dairi)แปลว่า พระราชวังของจักรพรรดิ์ ส่วน (sama) เป็นคำต่อท้ายความหมายเหมือน(san)ที่แปลว่า คุณ เป็นคำที่ใช้ในสมัยก่อนโดยทั่วไป แต่ปัจจุบันนี้มักใช้เรียกเพื่อความสุภาพ และใช้กับคนชั้นสูง ดังนั้นตุ๊กตาสองตัวนี้จึงเปรียบเสมือนเป็นเจ้าชาย และเจ้าหญิงนั่นเอง ทำให้มีการเรียกชื่อ ตุ๊กตาชายนั้นว่าotonosama คุณท่าน หรือเจ้าชาย) ส่วนตุ๊กตาผู้หญิงนั้น เรียกกันว่า (ohimesama คุณเจ้าหญิง) อ้อ เกือบลืมไปครับ การวางตุ๊กตาสองตัวนี้มีความแตกต่างกัน ระหว่างทางแถบคันโต กับคันไซครับ คือว่า ทางโตเกียวหรือทางคันโตนั้น เมื่อหันหน้าเข้าหาชั้นวาง จะวางเจ้าหญิงไว้ทางขวา ในขณะที่ทางเกียวโต หรือแถบคันไซ นั้น จะวางสลับกันโดยจะวางตัวเจ้าหญิงไว้ทางซ้ายมือ ทั้งนี้เป็นความแตกต่างของการให้ความสำคัญต่อเพศ ซึ่งตุ๊กตาสองตัวนี้ จะถูกวางอยู่ที่ชั้นบนสุดของแท่นวางเสมอ
ใน ขณะที่ในชั้นที่ 2 เป็นตุ๊กตาผู้หญิง 3 ตัว เรียกว่า(kanjo)เป็นผู้ติดตามเจ้าหญิง ทำหน้าที่เป็นเสมือนนางสนองพระโอษฐ์ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถทางด้านต่างๆสูง (kan) หมายถึง ราชการ
ชั้น ที่ 3 เป็นชั้นวาง ตุ๊กตาผู้ชาย 5 ตัว แต่ละตัวถือเครื่องดนตรีอยู่ เรียกว่า(goninbayashi) (hayashi แปลว่า เครื่องดนตรี) ประกอบด้วยกลองชนิดต่างๆ 3 ชนิด ขลุ่ย และคนขับร้อง
ชั้น ที่ 4 เป็นชั้นวาง ตุ๊กตา 2 ตัว เรียก(zuishin) เป็นเสมือนมนตรีที่คอยติดตามเจ้าชาย สองตัวนี้ อายุต่างกัน ตัวที่วางทางขวา เป็นชายหนุ่ม ส่วนคนทางซ้ายเป็นคนสูงอายุ
ส่วน ชั้นที่ 5 เป็นชั้นที่วางตุ๊กตาคนชั้นล่างสุด เป็นตุ๊กตาผู้ชาย 3 ตัว เรียกว่า(jichou)เป็นคนทำงานหน้าที่ต่างๆในวัง ถืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไม้กวาด รองเท้า นอกจากนั้น ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากตุ๊กตาตัวอื่นมีอากัปกิริยาประกอบ คือ ตัวทางซ้ายทำหน้าตาโกรธ ตัวกลางร้องไห้ ส่วนตัวทางขวา หัวเราะ
นอก จากตุ๊กตารูปคนทั้ง 15 ตัวแล้วนั้น ยังมีข้าวของเครื่องใช้ที่เจ้าหญิงจะใช้อีกมากมาย เช่น โคมไฟ พุ่มดอกไม้ ถาดใส่อาหาร ถาดใส่ของสำคัญ ตู้เสื้อผ้า เกวียน เป็นต้น ถ้าชั้นวางมีน้อยชั้น จะต้องตั้งตุ๊กตาจากชั้นบนลงมาก่อน เป็น อย่างไรบ้างครับ บ้านใครมีลูกสาว อยากจัดตุ๊กตาอย่างนี้บ้างไหมครับ ผมจะกลับมาเล่าเรื่องวันเด็กผู้ชายอีกครั้ง เมื่อใกล้จะถึง ต้นเดือนพฤษภาคมนะครับ เทศกาลเด็กผู้ชาย จะต่างกับเทศกาลเด็กผู้หญิงมากน้อยเพียงใด คอยติดตามนะครับ
_________________________________
สวัสดี ครับท่านผู้อ่านคอลัมภ์ทุกท่าน ย่างเข้าเดือนเมษายนแล้วนะครับ ที่ญี่ปุ่นถือว่าเริ่มเข้าฤดูใบไม้ผลิ ( haru)อย่างจริงจังแล้วครับ ฤดูของที่ญี่ปุ่นนั้นมี 4 ฤดูอย่างที่ทราบๆ กันอยู่ เริ่มกันด้วย
haru ฤดูใบไม้ผลิ natsu ฤดูร้อน aki ฤดูใบไม้ร่วง fuyu
แต่ เมื่อเอาฤดูทั้งสี่มาเรียงกันแล้ว คนญี่ปุ่นจะอ่านแบบองโยมิ (แบบจีน) ว่า (shun ka shuu tou) ฤดูไบไม้ผลินั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วครับว่า เป็นฤดูกาลของความชุ่มชื่น การผลิดอกออกผลของต้นไม้นานาชนิด เป็นฤดูแห่งสีสันอันสวยงามของไม้ดอกประเภทต่าง ๆ ที่มีให้เห็นกันดาษดื่นทั่วทั้งประเทศทีเดียวครับ
สำหรับ ในฤดูใบไม้ผลินั้น สิ่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่นเฝ้ารอ ก็คือการได้ชมความงามของดอกไม้ชนิดต่างๆ ที่เรียกว่า ohanami (อย่าไปคิดว่าเป็นชื่อขนมขบเคี้ยวชื่อดังในเมืองไทยนะครับ) ซึ่งเริ่มผลิดอกอันงดงามให้ชมกันตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์แล้ว โดยเริ่มด้วย
แต่สุดยอดของความสวยงามของการชมดอกไม้ คือ
ส่วน คำศัพท์ของ ฮานามิ นั้น มาจาก hana wo mini iku ซึ่งหมายความถึง การไปชมดอกไม้ หรือการสนุกสนามกับการชมดอกไม้ hana wo mite tanoshimu koto สามารถแยกอธิบายได้อย่างง่าย ๆ ดังนี้
hana ดอกไม้ mi (ru) ดู มอง ชม i (ku) ไป tano shimu
ส่วน ตอกไม้ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมไปชื่นชมก็คงไม่พ้น ดอกไม้ประจำชาติของเขา คือซากุระ นั่นเองครับ ซากุระ เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ เป็นพืชจำพวกเดียวกับกุหลาบ มีกระจายอยู่ทางเอเชียตะวันออก ต้นซากุระเองนั้นมีหลายพันธุ์ หลายชนิด ซึ่งความหลากหลายนี้ทำให้ซากุระมีความแตกต่างกันในเรื่องสีของดอก ลักษณะของดอก ใบ หรือลำต้น ซึ่งปัจจุบันคาดว่าเฉพาะในญี่ปุ่นอย่างเดียวมีพันธุ์ต่างๆ ของซากุระมากกว่า 300 ชนิด
แต่ ซากุระที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปของคนญี่ปุ่นและกล่าวว่ามีจำนวนมากที่ สุด คือ พันธุ์ someiyoshino เป็นซากุระกลีบเดี่ยวที่นิยมปลูกกันมากตามสวนสาธารณะ ริมแม่น้ำ สถานศึกษามาตั้งแต่สมัยเมจิ (ประมาณช่วงเดียวกับรัชกาลที่ 5) ทั้งนี้เพราะเป็นพืชที่มีโตเร็ว นอกจากนี้ยังมี yaezakura ซึ่งเป็นซากุระที่มีลักษณะที่แตกต่างไปจาก someiyoshino ที่ลักษณะของกลีบดอก จะมีกลีบซ้อนกันหลายชั้นคล้ายกุหลาบ
ซากุระพันธุ์ someiyoshino
ซา กุระโดยทั่วไปมีลักษณะเด่นอย่างหนึ่งคือ จะผลิดอกทั้งต้น ก่อนที่จะผลิใบ หลังจากการผลัดใบในช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่ผ่านมา ซึ่งก่อนที่ซากุระจะผลิดอกให้เห็นนั้น จะดูเหมือนต้นไม้ที่แห้งแล้งเหมือนต้นไม้ตายซากอย่างไรอย่างนั้นเลยครับ แต่หลังจากผ่านพ้นความหนาวเย็นของช่วงฤดูหนาวไปแล้ว ต้นซากุระจะเริ่มแตกตา ( tsubomi ) ออกมาเต็มต้นไปหมด และค่อย ๆ โตทีละน้อย ๆ พร้อม ๆ กับอากาศที่อุ่นขึ้นในแต่ละวัน แต่ว่าตาที่ผลิออกมานั้นแทนที่จะเป็นใบอ่อน กลับกลายเป็นดอกสีขาว สีชมพูเต็มต้นไปหมด ก่อนที่จะมีใบอ่อนสีเขียว ที่จะเริ่มผลิออกมาแซมสีของดอกเองในช่วงเวลาสัก 2 สัปดาห์ให้หลัง
ช่วง การเริ่มบานของดอกซากุระจะเป็นช่วงประมาณปลายเดือนมีนาคม ต่อเนื่องไปถึงต้นเดือนพฤษภาคม (แล้วแต่สถานที่) ทำให้ซากุระ เป็นสัญลักษณ์ที่ผูกพันธ์กับการเริ่มต้นอะไรหลายๆอย่างในชีวิต เช่น การสำเร็จการศึกษา การเข้าศึกษา การเข้าทำงาน ซึ่งมักจะเริ่มในช่วงปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน จนมีสำนวนที่พูดกันบ่อยๆ เช่น sakura ga saku หมายถึง การสอบเข้า ( เรียน หรือทำงาน ) หรือมีความแฝงว่า ประสบความสำเร็จ เป็นต้น
นอก จากนั้น ซากุระ ยังเป็นต้นไม้ที่มีความสัมพันธ์กับอากาศค่อนข้างมาก ดอกซากุระจะบานในช่วงวันที่มีอากาศอบอุ่น และจะบานจากทางใต้ไล่ไปทางเหนือ ซึ่งจะสลับทิศทางกับการดูใบไม้เปลี่ยนสี ( kouyou) ในฤดูใบไม้ร่วง ส่วนการที่ดอกซากุระจะบานเร็ว บานช้าอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับภูมิอากาศในช่วงนั้นครับว่า อากาศเย็นหรืออบอุ่น ยิ่งอบอุ่นมากเท่าใด ซากุระจะยิ่งบานเร็วขึ้นครับ
Ohanami นั้นเป็นการพักผ่อนหย่อนใจของชาวญี่ปุ่นมาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้เพราะดอกซากุระเป็นดอกไม้ที่มีช่วงเวลาบานอยู่ประมาณ 10 วันถึง 2 สัปดาห์ ทำให้คนญี่ปุ่นมักจะออกไปชื่นชมกับดอกซากุระกันเป็นจำนวนมาก และการที่ซากุระจะผลิดอกช่วงต้นเดือนเมษายน ทำให้บรรดามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายอยากที่จะไปล้อมวงเพื่อชื่นชมกับบรรยากาศ ใต้ต้นซากุระ พร้อมกับได้สนุกสนาน กับการดื่มกิน ร้องรำทำเพลง พูดคุยกันอย่างเต็มที่หลังจากที่เลิกงานแล้ว ยิ่งคนมากเท่าไหร่ ยิ่งได้บรรยาการการ hanami ของจริงเท่านั้น
แต่ เนื่องจากพื้นที่ในการจัด hanami ดังกล่าวมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้มีคำกล่าวว่า (sakura no shita wa senjou หรือสนามรบใต้ต้นซากุระ) หมายถึงว่า การที่จะจัดการชมดอกไม้ ในช่วงที่ดอกซากุระผลิบาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเลิกงาน และวันหยุดนั้น เป็นสิ่งที่ต้องแย่งชิงพื้นที่ ทำให้มักจะเป็นหน้าที่ของบรรดาพนักงานเข้าใหม่ของบริษัท ที่จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ในการไปจับจองพื้นที่ที่สวยงามที่สุดเท่าที่จะทำ ได้ใต้ต้นซากุระ ด้วยการเอาพลาสติกรองพื้นไปปูจอง หรือทำให้เห็นเขตการจับจอง เพราะเพิ่งเข้าไปทำงาน ยังไม่มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบมากเท่าใดนัก ซึ่งยิ่งถ้าจะไปชมซากุระที่เป็นสถานที่ที่เรียกว่า (ohanami meisho หรือ สถานที่ชมซากุระที่มีชื่อเสียง) เช่น สวนสาธารณะ (kouen)ด้วยละก็ผู้ที่มีหน้าที่จองพื้นที่จะต้องรีบออกไปจับจองตั้งแต่ เนิ่นๆ และมักต้องอยู่เฝ้าพื้นที่กันเลยทีเดียวครับ
สำหรับ พื้นที่ที่คนญี่ปุ่น (ในโตเกียว) มักจะไปชมซากุระกันมากๆ นั้น มีอยู่หลายแห่ง เช่น สวนสาธารณะอุเอโนะ และบริเวณสวนสาธารณะบริเวณริมแม่น้ำสุมิดะทั้งสองฝั่ง ปัจจุบันสิ่งที่มักเตรียมไปสำหรับการร่วมงานฮานามินั้น มักจะเป็น อาหารเครื่องดื่ม เกม วิทยุเทป หรือเครื่องเล่นคาราโอเกะ เป็นต้น
นอก จากที่จะไปสนุกสนานรื่นเริงกับบรรดาเพื่อนๆ ใต้ต้นซากุระแล้ว ยังมี ohanami อีกแบบหนึ่งคือ การไปท่องเที่ยวเพื่อชมซากุระตามที่ต่างๆ ซึ่งจะเป็นการไปดูความสวยงามของซากุระจริงๆ และเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เช่น ชมซากุระตามวัดและศาลเจ้าต่าง ๆ ( jisha มาจาก วัด และ ศาลเจ้าชินโต ) หรือ ไม่ก็ตามแนวซากุระที่ถูกปลูกเอาไว้เรียงรายไว้อย่างสวยงามที่เรียกว่า (sakura namiki) ถึงแม้ว่าจะไม่ได้นั่งดื่มด่ำชื่นชมบรรยากาศใต้ต้นซากุระ แต่ก็ยังได้บรรยากาศของการชมดอกไม้อยู่ดี สถานที่ที่นิยมไปชมกันมากๆ เช่น สวนสาธารณะชินจุกุเกียวเอ็นที่โตเกียว ศาลเจ้าเมจิที่เกียวโต บริเวณสวนสาธารณะรอบปราสาทโอซาก้าที่โอซาก้า ถ้าเป็นตามภูเขา สถานที่ที่มีชื่อเสียงในการชมซากุระนั้นอยุ่ที่ ภูเขาในเขตเมืองโยชิโนะ จังหวัดนารา เขตอาราชิยาม่า ที่เกียวโต เป็นต้น โดยเฉพาะที่เกียวโตนั้น ในช่วงระยะเวลาที่ซากุระบานนั้น เป็นช่วงหนึ่งที่มีนักท่องเที่ยวจากที่ต่างๆ มักจะมาเที่ยวชมเมืองเกียวโตกันอย่างมากมาย และตามวัดและสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนนสายปรัชญา( tetsugaku no michi) เป็นต้น
และ ตามสถานที่ต่าง ๆ มักจัดรายการพิเศษให้เข้าชมเป็นพิเศษ คือ การติดตั้งไฟสปอร์ตไลท์เพื่อการชมซากุระในช่วงเวลากลางคืน เรียกว่า (yozakura)ซึ่งจะได้บรรยากาศอันน่าซึมซับอีกรูปแบบหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยส่วนใหญ่ทางวัดต่างๆ จะจัดให้เข้าไปนั่งชมความสวยงามของซากุระในยามค่ำคืนตามระเบียงอาคารวัด พร้อมกับเปิดเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีญี่ปุ่นขับกล่อมไปด้วย วัดที่มีชื่อเสียงและมีคนไปชมมากเช่นที่ วัด kiyomizudera เป็นต้น
นอก จากนี้ ผมยังมีสำหรับคำศัพท์ที่ใช้สำหรับการดูดอกไม้นั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง มักจะเป็นคำที่ใช้บอกว่า ตอนนี้ระดับการบานของดอกซากุระเป็นอย่างไร ซึ่งคำที่มักพบบ่อยมีดังนี้
tsubomi ยังเป็นดอกตูมๆ อยู่ หรือเป็นตา kaika เริ่มบาน gobu saki บานครึ่งต้น shichibu saki บาน70% mankai บานเต็มต้น migoro ช่วงกำลังสวยงาม chirihajime
_____________________________________
สวัสดี กลับมาเจอกันอีกครั้งตามสัญญานะครับ หลังจากที่ผมได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับเทศกาลตุ๊กตา และวันเด็กผู้หญิงเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนนี้วันเวลาก็ผ่านมาถึงอีกเทศกาลหนึ่งอีกแล้วครับ นั่นคือ เทศกาลวันเด็ก (ผู้ชาย) ซึ่งทางการญี่ปุ่น นับว่า เป็นวันเด็ก และนับเป็นวันหยุดราชการ
วัน เด็ก (ผู้ชาย) นี้ เป็นวันเทศกาลหนึ่งในห้าของเทศกาลประจำฤดูกาล ( gosekku )เรียกว่า ( tango no sekku )ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นธรรมเนียม
hashi, hata : tan หมายถึง เริ่มต้น uma : go
ความหมายจริงๆ แล้วหมายถึง ม้า แต่ในที่นี้หมายถึง เลขห้า
เมื่อ นำมาเขียนรวมกันให้ความหมายว่า ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ไม่ได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงลงไปว่า คือวันที่ 5 เดือน 5 แต่อย่างใด แต่ไม่ทราบว่าตั้งแต่เมื่อไหร่ ที่มีการนำเสียง go ที่เหมือนกันของการอ่านออกเสียงอักษรคันจิ และ มาแทนกัน ทำให้ กลายเป็นวันที่ 5 ของเดือน 5 ไปโดยปริยาย ซึ่งนับว่าเป็นสำคัญวันหนึ่งที่ทำ (yakubarai) หรือการปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไปจากชีวิต
ประเพณี นี้ คาดว่าเริ่มมีขึ้นในญี่ปุ่นเมื่อประมาณสมัยนารา ต่อกับสมัยเฮอัน ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการนำ หรือประเพณีเกี่ยวกับชีวิตทั้ง 5 เข้ามาใช้ ซึ่งมีธรรมเนียมปฏิบัติโดยทำการขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไปจากชีวิต ในช่วงสมัยเอโดะ ถือว่าเป็นประเพณีของเด็กผู้ชาย และในปี 1948 ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้กำหนดให้วันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปีเป็นวันเด็ก (kodomo no hi)และให้ถือเป็น (shukujitsu)หรือวันหยุดเฉลิมฉลองอีกวันหนึ่งด้วยตั้งแต่นั้นมา สัญลักษณ์ประจำวันเด็กของญี่ปุ่นที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ คือ ธงรูปปลาคาร์ฟ (koi nobori) และการประดับตุ๊กตาชุดนักรบ
iwa?u : shuku ฉลอง hi : jitsu วัน koi ปลาคาร์ฟ nobori
ซึ่ง ในตอนแรกเป็นการฉลองวันเด็กสำหรับเด็กผู้ชาย แต่ปัจจุบันนี้ถือเป็นการฉลองวันเด็กทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ซึ่งนับได้ว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติวันเดียวในห้าวันของ ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ
ตาม ตำนานนั้นกล่าวว่า ในสมัยจีนโบราณนั้นในวัน นี้ จะต้องออกไปหาหญ้าสมุนไพรที่เรียกว่า (shoubu) มาต้มอาบเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และเป็นการขจัดสิ่งชั่วร้ายออกไป เมื่อประเพณีดังกล่าวถูกนำมาสู่สังคมญี่ปุ่น ได้เริ่มแพร่หลายจากสังคมในพระราชวัง มาสู่บรรดาตระกูลนักรบ ทำให้ประเพณีนี้เป็นประเพณีเพื่อการเฉลิมฉลองในสมัยเอโดะ ทางรัฐบาลโชกุนได้ให้ความสำคัญกับวันที่ 5 เดือน 5 บรรดาไดเมียวและทหารใกล้ชิดโชกุนได้เตรียมเครื่องแต่งกายที่ใช้ในงานพิธี (shikifuku)เพื่อเป็นของขวัญส่งไปยังปราสาทเอโดะ
หลัง จากนั้นในหมู่บรรดาบ้านตระกูลนักรบ เมื่อมีเด็กผู้ชายถือกำเนิดมาจะนำธงสัญลักษณ์ประจำตระกูล หรือสิ่งที่มีสัญลักษณ์รูปม้าไปติดไว้ที่หน้าประตูทางเข้าบ้าน และเมื่อธรรมเนียมดังกล่าวแพร่หลายไปยังประชาชนทั่วไป เนื่องจากประชาชนทั่วไปไม่ได้รับอนุญาตให้มีติดตั้งธงประจำตระกูลได้ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนธงประจำตระกูลให้เป็นธงรูปปลาคาร์ฟ (koi) เพื่อเป็นการอธิฐานเพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญก้าวหน้า
เรา ทราบถึงที่มาของการประดับธงปลาคาร์ฟไปแล้วนะครับ แต่เรายังขาดอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของวันเด็กของญี่ปุ่นไป นั่นคือการประดับตุ๊กตาชุดนักรบ ในตอนกลางของสมัยเอโดะนั้นบรรดาตระกูลนักรบ ได้เริ่มทำการประดับชุดเกราะ (ของจริง) (kacchuu)พร้อม ๆ กับติดธงประจำตระกูลที่หน้าทางเข้าบ้านเมื่อมีเด็กผู้ชายเกิดในบ้านอย่างที่ กล่าวมาข้างต้นในเดือน 5 ส่วนประชาชนทั่วไปนั้น เนื่องจากไม่มีชุดเกราะ จึงมีการทำตุ๊กตานักรบ มาติดตั้งแทน บางครั้งเรียกกันง่าย ๆ ว่า ตุ๊กตาเดือน 5 หรือ ( 5 gatsu ningyou )ทั้งนี้เพราะความเชื่อที่ว่าชุดเกราะเป็นเครื่องป้องกันตัว ดังนั้นจึงประดับเพื่อให้ปกป้องคุ้มครองเด็กผู้ชายที่ถือกำเนิดมาในครอบครัว และเพื่อเป็นการขออำนวยพรให้เด็กที่เกิดมาได้เติบโต มีความเข้มแข็งสง่างามเยี่ยงบรรดานักรบ
การ ประดับตุ๊กตาเดือน 5 ในปัจจุบันนี้ มีพัฒนาการหลากหลายรูปแบบเช่นเดียวกับตุ๊กตาฮินะ ของเทศกาลวันเด็กผู้หญิง ทั้งนี้เนื่องจากสภาพบ้านเรือนและครอบครัวในปัจจุบันของคนญี่ปุ่น ไม่เอื้ออำนวยต่อการประดับอะไรที่ใช้เนื้อที่มากนัก ทำให้ชุดตุ๊กตาเดือน 5 ได้รับการออกแบบให้มีความกระทัดรัดมากขึ้น จากรูปแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นแบบเต็มชุด มีหลายชั้น เป็นแบบที่มีชั้นเดียว มีตู้กระจกจัดใส่ไว้โดยเฉพาะ รูปแบบส่วนใหญ่จะมีแบบ หมวกนักรบ ชุดเกราะ ตุ๊กตาที่สวมใส่ชุดนักรบ
kabuto หมวกนักรบ yoroi ชุดเกราะ taishou ทหาร kazari
ซึ่ง นอกเหนือจากตุ๊กตานักรบแล้ว ยังมีการทำเป็นรูปของตัวเอกในตำนาน เช่น โมโมทาโร่ คินทาโร่ บางครั้งยังอาจเป็นรูปมิกกี้เมาส์อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในบรรดาการประดับตุ๊กตาชุดนักรบนั้น สิ่งประกอบสำคัญที่จะเห็นอยู่เสมอคู่กับชุดเกราะ หรือ หมวกนักรบ คือ ธนู และดาบซามุไร
สำหรับ เรื่องราวของเทศกาลต่อไป หลังจากวันเด็กนี้แล้วนั้น คือเทศกาลทานะบาตะซึ่งฉลองกันในเดือนกรกฎาคมนะครับ ผมจะพยายามสรรหาสาระมาบอกกล่าวกันต่อไป คอยติดตามนะครับ
_________________________________
สวัี สดีมาพบกันอีกเช่นเคยกับคอลัมน์เรียนจากป้ายสไตล์ญี่ปุ่น ผมมีความรู้สึกไม่นานมานี้ยัีงสวัสดีปีใหม่กันอยู่เลย นี่ก็ย่างเข้าเดือนกลางปีแล้ว แถมที่ประเทศญี่ปุ่นก็เริ่มย่องเข้่าสู่ฤดูฝน ซึ่งเป็นที่รู้กันดีของชาวญี่ปุ่นว่า ความเหนียวเหนอะหนะตัวเนื่องจากอากาศที่ร้อนอบอ้าวกำลังจะมาเยือน ไม่ใช่เป็นแค่อากาศอย่างเดียวที่ร้อน แต่เ่ดือนมิถุนายนก็เป็นเดือนของความร้อนที่แสนอบอุ่นอีกแบบหนึ่งนั่นก็คือ เดือนแห่งการแต่งงาน ซึ่งการแต่งงานจะเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ( kekkon)
kekkon การแต่งงาน ketsu ทั่วไปจะอ่านว่า ??"เขซึ" ซึ่งเมื่อมีคำมาต่อท้ายการออกเสียงตัว "ซึ"จะลดรูปจะออกเสียงโดยมีตัวอักษรหน้าของคำถัดมา มาควบเป็นตัวสะกด (ในกรณีนี้ อักษรตัวหน้าของคำหลังคือ "ค" จึงออกเสียงเป็น "เขค") คำนี้หมายถึง ผูกมัีดรวมกัน เชื่อมต่อกัน kon
หมายถึง การไปเป็นลูกเขยหรือลูกสะใภ้ เมื่อรวมกันแล้วก็หมายถึง การแต่งงานนั่นเอง
ยังมีคำอื่นที่เกี่ยวข้องเช่น "คอนหยะขุ" หมายถึง การหมั้น
คำว่า "หยะขุ" แปลว่า ประมาณ หรือคร่าว ๆ ก็คือประมาณคร่าว ๆ ว่าจะแต่งงาน
นอกจากนี้เมื่อเติมคำว่าอ่านว่า "ชิคิ" ซึ่งหมายถึง พิธี ต่อท้ายคำว่าแต่งงานเป็น พิธีแต่งงานนั่นเอง
ทำไมเดืิอนมิถุนายนถึงเป็นเดือนของการแต่งงาน? เดิมที เดียวในประเทศญี่ปุ่นไม่ค่อยนิยมการแต่งงานในญี่ปุ่นในช่วงเดือนมิถุนายนสัก เท่าไร เนื่องจากเป็นฤดูฝน ( อ่านว่า tsuyu : ซึยุ ) คู่สมรสไม่ค่อยจัดงานแต่งงานกันเพราะอากาศไม่ค่อยเป็นใจ นอกจากนี้แขกที่มาร่วมงานอาจลำบากในการเดินทางมาร่วมงาน ดังนั้นทางโรงแรมหรือสถานที่จัดงานแต่งงานที่หัวใส (ไม่ใช่หัวล้านนะครับ) จึงคิดหาวิธีให้คนมาใช้บริการมากขึ้นโดยเอาชื่อของเทพธิดากรีักโรมัีน จูโน (ชื่อพ้องกับเดือนหก June) ซึ่งเป็นเทพธิดาคุ้มครองผู้หญิงให้มีความสุข ทำให้เกิดความเชื่อว่าแต่งงานในเดือนหกแล้วจะมีความสุขนั่นเองครับ ซึ่งก็เป็นกลวิธีทางธุรกิจเช่นเดียวกับการมอบช็อคโกเลตของคนญี่ปุ่นในวันวา เลนไทน์นั่นเอง
คน ญี่ปุ่นโดยเฉพาะสุภาพสตรีในปัจจุบัน มักจะใฝ่ฝันที่จะจัดงานแต่งงานในโบสถ์แบบศาสนาคริสต์ เพราะดูหรูหราทันสมัยเป็นแบบตะวัีนตก ทั้งๆที่ส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือศาสนาคริสต์กันเลย ซึ่งก็มีการพูดล้อเล่น (แต่ทีจริง) ของชาวต่างชาติว่าตกลงคนญี่ปุ่นเขานับถือศาสนาอะไรกัีนแน่ เพราะตอนเกิดใหม่ก็จะพาเด็กไปทำพิธีที่วัดนิกายชินโต พอ จะแต่งงานก็เข้าโบสถ์ แต่พองานศพกลับทำบุญที่วัดศาสนาพุทธ ถ้ามองในแง่ที่ไม่ดีก็จะเห็นว่า คนญี่ปุ่นไม่มีศาสนาที่นับถือที่แน่ชัด แต่มองในแง่้ดีแล้วเป็นไปได้ที่คนญี่ปุ่นคิดว่าสิ่้งไหนที่ดีหรือเห็นดีด้วย ก็ทำในสิ่งนั้น ไม่ต้องติดยึดกับตัวชื่อของศา่สนานั่นเอง
jinja ศาลเจ้า , วัดนิกายชินโต kyoukai โบสถ์ otera
เมื่ิ อประมาณ 10 ปีก่อน ในสมัยที่เศรษฐกิจยังดี ๆ อยู่ มีคู่สมรสไม่น้อยที่ดั้นด้นไปจัดงานแต่งงานถึงต่างประเทศ โดยเฉพาะดารานัีกแสดงดัีงๆ จึงทำให้เป็นที่เลียนแบบของประชาชนในยุคสมัยนั้น ในปัีจจุบันคนญี่ปุ่นไม่นิยมจัีดพิธีแบบเก่าซึ่งก็คือจัดในวัดนิกายชินโต เนื่องจากดูโบราณไม่สนุก แต่ทางผู้ใหญ่ก็มักจะนิยมแบบเก่า ดั้งนั้นบางคู่ก็จัดทั้งสองแบบให้สมใจทั้งเจ้าสาวและผู้ใหญ่ บางคู่ก็แค่จดทะเบียนและเลี้ยงกันในหมู่ญาติพี่น้องคนสนิทเนื่องจากที่ ญี่ปุ่นนั้นจะแต่งงานกันที ( ก็แต่งกันทีเดียวหล่ะครับ) ต้องใช้เงินงบประมาณมาก แต่ีงทีแทบจะหมดตัว มีคนญี่ปุ่นใกล้ตัวผมเคยเล่าให้่ฟังว่าวันก่อนงานแต่งงานเหลือติดตัวเงินแค่ 2-3 พันบาทเอง
นอก จากส่วนของงานแต่งงานยังมีส่วนของงานเลี้ยงซึ่งส่วนใหญ่จะจัดกันที่โรงแรม หรือตามร้านอาหารชั้นเลิศแบบญี่ปุ่น โดยคู่บ่าวสาวจะแต่งตัวในชุดแบบญี่ปุ่น แต่บัจจุบันคู่สมรสส่วนใหญ่ใฝ่ฝันที่จะจัดงานในคฤหาสน์หรือบ้านที่ดูหรูหรา ที่มีไว้สำหรับเช่าในการจัดงาน นอกจากจะดูสวยงามแล้วยังมีลักษณะเป็นบ้าน ดูอบอุ่นเป็นกันเองมากกว่า ตัวบ้านสามารถเปลี่ยนตกแต่งได้ตามความชอบ ซึ่งการจัดการทั้งหมดก็จะมีบริษัทที่ให้คำปรึกษาและดำเนินงานจัดงานแต่งงาน ให้หมดทุกอย่างเรียกว่าให้สมดังใจก็ว่าได้ ซึ่งอาชีพนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศญี่ปุ่น
งาน แต่งงานถือว่าเป็นพิธีมงคลดังนั้นจึงมักจะพบเห็นคำว่า"โคะโตะบุคิ" หมายถึง สิ่งที่เป็นมงคล การเฉลิิมฉลอง เช่น คำว่า "โช่จุ" คำว่า "โช่" หมายถึงยาว คำว่า "จุ" เป็นการอ่านแบบองโยมิ(แบบจีน)ของคำว่า เมื่อรวมสองคำนี้ก็หมายถึง อายุยืนนาน นั่นเอง มี คำหนึ่งที่มักจะใช้กับเจ้าสาว เป็นสิ่งที่่สาวๆญี่ปุ่นใฝ่ฝันมากที่สุดนั่นก็คือคำว่า "โคะโตะบุคิไทชะ" คำว่า "ไท" หมายถึงออกมา ส่วนคำว่า "ช่า" หมายถึง บริษัท ก็หมายถึง การลาออกที่เป็นมงคล นั่นก็คือ การลาออกจากบริษัทเพื่อที่จะแต่งงานนั่นเอง
คน ญี่ปุ่นในปัีจจุบันมีอายุยืนมากขึ้น ไม่ต้องพูดถึงประเภทน้องๆเกิน 70-80 ปีเลยครับ เกินหนึ่งร้อยปีก็มีไม่น้่อย ทำให้ระยะเวลาของการครองชีวิตคู่นั้นยาวนานขึ้น จึงมีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่หย่าร้างกัน เรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า "จุคุเนนริคอน" คำว่า"จุคุ" หมายถึง สุกงอม คำว่า"เนน" หมายถึง ปีหรืออายุ เมื่อรวมสองคำแรก หมายถึง ผู้สูงอาุยุ ส่วน คำว่า "ริ" หมายถึง แยก ห่างออกมา เมื่อรวมกับคำว่า ก็หมายถึงการหย่าร้าง ในปัจจุบันมีคู่สามีภรรยาผู้สูงอายุที่หย่าร้างกันประมาณ 2-3 หมื่นคู่ต่อปีั โดยจะพบมากในกรณีหลังจากสามีเกษียณอายุ
jyuku หมายถึง สุกงอม nen ปีหรืออายุ jyukunen ผู้สูงอายุ ri
ตาม ความคิดของคนทั่ว ๆ ไปมักจะคิดว่าเมื่อแก่ตัวมาก็ใช้ชีวิตที่เหลือดูแลกันอย่างมีความสุข แต่ในทางตรงกันข้่ามบางคนอาจจะมองว่า มีเวลาอยู่กับสามีมากเกินไป ขาดเวลาที่เป็นของตนเอง ลูกก็โตเป็นผู้ใหญ่สา่มารถรับผิดชอบตนเองได้ ไม่ต้องมีห่วงอะไร ถ้าคิดจริงๆแล้วอาจจะมีชีวิตที่เหลืออีกหลายสิบปีที่จะสามารถหาความสุขให้ กับตนเอง ซึ่งปัญหานี้ไม่ใช่เป็นปัญหาของครอบครัวนั้นเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะขยายไปเป็นปัญหาหลักปัญหาหนึ่งของประเทศก็ได้ในอนาคต เนื่องจากประชากรของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นี่ก็ปลายเดือนมิถุนายนแล้วนะครับ ใครอยากสละโสดก็รีบ ๆ ละกันนะครับ แล้วพบกันใหม่คราวหน้่าครับ
_________________________________
สวัสดี ครับมาพบกันอีกเช่นเคย คราวนี้ัขอนำเอาเรื่องเทศกาลฤดูร้อนที่เป็นที่รู้จักกันดีของชาวญี่ปุ่นมา เล่าสู่กันฟัง นั่นก็คือ อ่านว่า "tanabata matsuri ทะนะบะตะมะซึริ" อักษรตัวแรก แปลว่าเจ็ด โดยปกติคำนี้จะอ่านว่า"นะนะ" หรือ "ชิชิ " ( "ชิ" สองตัวออกเสียงไม่เหมือนกันครับ ถ้าให้อธิบายง่ายก็คือตัวหน้าจะออกเสียงโดยไม่มีการเอาลิ้นกั้นลมเวลาออก เสียง ส่วนตัวหลังจะกั้นลมด้วยลิ้่นที่ปุ่ีมเหงือกแล้วดันลมออกเสียงออกมา)
อักษร ตัวที่สอง อ่านว่า yuu "ยู" แปลว่า ยามเย็น แต่พอรวมกันแล้วจะอ่านว่าทะนะบะตะ (คำที่มารวมกันแล้วอ่านเป็นอีกอย่างต่างกับหลักปกติยังมีอีกมากมาย ซึ่งคำพวกนี้มักจะทำให้คนต่างชาติปวดหัวอยู่บ่อยๆ) ส่วนคำถัดมาถ้าเป็นผู้ติดตามคอลัมน์นี้มานานอาจจะจำได้ว่าเคยแนะนำคำนี้ไปแล้ว คือคำว่า อ่านว่า matsuri "มะซึริ" หมายถึง งานเทศกาล ซึ่งเทศกาลทะนะบะตะนั้่นจะจัดทุกวันที่เจ็ดเดือนเจ็ด (เดือนกรกฏาคม ของทุกปี )
nana , shichi เจ็ด yuu ยามเย็น matsuri
ที่ มาของเ้ทศกาลนี้เป็นตำนานเกี่ยวกัีบความเชื่ิิอเกี่ยวกับดวงดาว มีตำนานของจีนโบราณเล่าสืบต่อกันมาว่า มีเจ้าหญิงชื่ิิอโอะริฮิเมะ ทำงานทอผ้่าให้กับเหล่าเทพทั้งหลาย
hoshi ดวงดาว ori การทอผ้า hime
เจ้า หญิงเป็นผู้่ที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งจนเป็นที่ยอมรับจากเหล่าเทพทั้งหลายใน เรื่องฝีมือ แต่มีปัญหาก็คือเจ้าหญิงไม่สนใจเรื่ิิองอื่นใด ๆ ทั้งสิ้นรวมถึงการหาคู่ครอง ทำให้บิดาเป็นห่วงอย่างยิ่งว่าจะต้องอยู่คานทองธานี จึงจัดการหาคู่มาให้ดูตัวกัน โดยฝ่ายชายก็เป็นผู้ที่ขยันเอาการเอางานเช่นกันชื่อฮิโกะโบะชิ ทำงานเลี้ยงสัตว์ พอทั้งคู่ได้มาเจอกันก็เข้ากันได้ดีเลย ทำให้เริ่มไม่สนใจทุ่มเทในงานของตนเหมือนก่อน เอาแต่เที่ยวสนุกไปเรื่ิอย ๆ ( ถ้าแปลเป็นภาษาง่าย ๆ ก็คือใจแตกนั่นเอง) ทำให้เกิดผลกระทบต่อเหล่าเทพที่รอผ้าที่สั่ง และผลผลิตจากสัตว์ที่เลี้ยงไว้ จนบิดาของฝ่ายหญิงโกรธจึงสั่งให้แยกกัน โดยมีแม่น้ำสายใหญ่คั่นกลางเป็นเขตกักบริเวณ โดยมีเงื่อนไขว่าถ้าตั้งใจทำงานอย่างเมื่อก่อน จะให้มาพบกันปีละครั้งในวันที่เจ็ดเดือนเจ็ดของทุกปี
ดัง นั้นทั้งคู่จึงกลับไปตั้งใจทำงานของตนเหมือนเดิมเพื่อที่จะได้มาพบกันอีก ครั้ง โดยแม่น้ำจะลดระดับลงทำให้ทั้งคู่ได้พบกัน ถ้าฝนตกจะมีนกพาบินข้ามมาพบกันซึ่งผู้คนก็จะเอาใจช่วยให้อากาศดีในวันนั้น แต่ช่วงนั้นอยู่ในช่วงฤดูฝนพายุมักจะเข้า ตามสถิติแล้วจะมีวันที่อากาศดีฟ้าแจ้งแจ่มใสน้อยมาก ฟังดูแล้วเป็นที่น่าสงสารอย่างยิ่ง แต่มีนักแสดงตลกญี่ปุ่นคนหนึ่งได้กล่าวเล่นๆว่า จริงๆแล้วไม่ใช่เรื่องที่น่าสงสารอะไรหรอก พอผมฟังแล้วก็งงว่าเพราะอะไร เขากล่่าวว่าจริงๆแล้วพวกเราน่าสงสารกว่่าเพราะถึงแม้เราจะพบกันทุกวันตลอด ชีวิต ก็ยังไม่เท่ากับจำนวนเวลาที่ทั้งคู่พบกันตั้งแต่โลกเกิดถึงแม้ว่าจะปีละ ครั้งก็ตาม ทำให้ผมรู้สึกว่า เออจริงแฮะ (ภาษาญี่ปุ่นจะใช้คำว่า นารุโฮะโดะ ซึ่งใช้พูดรับเวลาเข้าใจในสิ่งที่ถูกอธิบายอยู่ คำนี้มักจะได้ยินบ่อยๆเวลาสนทนากับคนญี่ปุ่น)
งาน %
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ผลงานอื่นๆ ของ SHIPS
ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ SHIPS
ความคิดเห็น