เจ็ดสิ่งมหัสจรรย์รักษาสิ่งแวดล้อม - เจ็ดสิ่งมหัสจรรย์รักษาสิ่งแวดล้อม นิยาย เจ็ดสิ่งมหัสจรรย์รักษาสิ่งแวดล้อม : Dek-D.com - Writer

    เจ็ดสิ่งมหัสจรรย์รักษาสิ่งแวดล้อม

    เจ็ดสิ่งมหัสจรรย์ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลองเข้ามาอ่านดูนะ

    ผู้เข้าชมรวม

    799

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    799

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  6 ต.ค. 50 / 11:42 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์รักษาสิ่งแวดล้อม

                              1.   ผัดไท (Pad  Thai)

                  อย่าเพิ่งตกใจ  เป็นเรื่องจริงที่    Mr.John  ยกก๋วยเตี๋ยวผัดไท  เป็น  1  ใน  7  สิ่งมหัศจรรย์ในหนังสือเล่มนี้  สรุปว่าโดยเฉลี่ยคนไทยกินเนื้อสัตว์ไม่ถึงหนึ่งในห้าของคนอเมริกัน  (ไม่รู้ว่าเพราะไม่มีจะกินหรือเปล่า)  และคนไทยกินปลามากกว่าคนอเมริกันเล็กน้อย  มีวิธีทำผัดไท  และสรุปว่าผัดไท  ประกอบด้วยแป้งและผัก  ไขมันน้อย (เจอผัดด้วยน้ำมันหมูจะรู้สึก)  กระทบสิ่งแวดล้อมน้อย  เพราะกินจานเดียวได้อาหารครบ  5  หมู่   Banana  Flower  (หัวปลี)  กินกับผัดไทอร่อยที่สุด   Mr.John  เข้าร้านอาหารไทยเมื่อไร  จะสั่งแต่  ผัดไท  เท่านั้น 

      2.       ราวตากผ้า (The  Clothesline) 

                  แสงแดดและลมทำให้ผ้าแห้ง  โดยไม่มีค่าใช้จ่าย  แสงแดดยังมีรังสี  UV  ใน การฆ่าเชื้อโรคอีกด้วย  ในขณะที่เครื่องอบผ้าต้องใช้ไฟฟ้าหรือแก๊ส  เครื่องอบผ้าจะต้องใช้ไฟฟ้าโดยเฉลี่ย  85  เหรียญสหรัฐต่อปี  หรือประมาณ  1,100  เหรียญ  ตลอดอายุการใช้งานของเครื่องอบผ้า   เครื่องอบผ้าอัตโนมัติ  ผลิตขึ้นครั้งแรกในปี  ค.ศ. 1939  ในปี  ค.ศ. 1960   1 ใน 5  ของบ้านอยู่อาศัยในประเทศสหรัฐอเมริกามีเครื่องอบผ้า  และ  1 ใน  8   ของบ้านอยู่อาศัยในประเทศแคนนาดามีเครื่องอบผ้าปัจจุบัน  3 ใน 4 ของบ้านอยู่อาศัย  ในทั้ง  2  ประเทศ  มีเครื่องอบผ้า  ทำไมไม่ใช้ราวตากผ้าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้ไฟฟ้าและแก๊สเพื่อให้เครื่องอบผ้าทำงาน 

                              3.  แมลงเต่าทอง  (The  Ladybug) 

                  ธรรมชาติสร้างความสมดุล  สำหรับการอยู่ร่วมกันของคน  สัตว์  พืช  และภายหลังมนุษย์ได้ประดิษฐ์สิ่งกำจัดวัชพืชและแมลง  เกษตรกรหันมาใช้ยาฆ่าแมลง  ยากำจัดวัชพืช  สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง   เกิดมลภาวะทั้งในน้ำ  ในดิน  หากที่ใดไม่ใช้ยาฆ่าแมลง  ยากำจัดวัชพืช  ที่นั่นจะเห็นการอยู่ร่วมกันตามธรรมชาติ  เห็นเต่าทองซึ่งเป็นแมลงที่น่ารัก  เชื่อว่าเด็กไทยสมัยนี้บางคนไม่เคยเห็นตัวจริงของแมลงชนิดนี้

                           4.  รถจักรยาน  (The  Bicycle) 

                  รถยนต์วิ่งด้วยน้ำมัน   ทำให้เกิดฝนกรด  เกิดคาร์บอนมอน๊อกไซด์  ในขณะที่รถจักรยานไม่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล  หรือนำเข้าน้ำมัน   ใช้คาร์โบไฮเดรตในร่างกายคนขี่  รถจักรยานไม่ทำให้การจราจรติดขัด  และไม่ต้องการที่จอดรถขนาดใหญ่  แต่รถจักรยานก็มีข้อจำกัดในเรื่องของการเดินทางระยะไกล ๆ  ดังนั้น  จะเดินทางโดยพาหนะใด  ก็ไตร่ตรองให้เหมาะสม  จะเดินทางโดยรถยนต์ก็ใช้ระบบ  Car Pool  ขับด้วยความเร็วไม่เกิน  90  กิโลเมตร/ชั่วโมง  ร่วมโครงการไปรถต่อเรือช่วยชาติ  ถือว่าเป็นการบริหารพาหนะในการเดินทางที่ถูกต้อง  เหมาะสม 

                           5.  พัดลมติดเพดาน  (The Ceiling Fan)

                  พัดลมติดเพดานระบายอากาศได้ดีกว่าเครื่องปรับอากาศทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นลงประมาณ  5  องศาเซลเซียส   พัดลมติดเพดานใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า  1 ใน  10  ของเครื่องปรับอากาศ  ที่ราคาค่าไฟเฉลี่ยของประเทศสหรัฐอะเมริกา  เปิดพัดลม  12  ชั่วโมงต่อวัน  จะเสียค่าไฟฟ้า   1.50  เหรียญ/เดือน  แต่หากใช้เครื่องปรับกาอาศ  จะเสียค่าไฟฟ้มากกว่า  20  เหรียญ/เดือน   คงเคยนั่งรถเก๋งหรือรถตู้ติดเครื่องปรับอากาศเดินทางไกล  หากนั่งไปหลาย ๆ คน  นั่งนาน ๆ  จะมีความรู้สึกง่วงลงเรื่อย ๆ  เนื่องจากอากาศไม่ถ่ายเท  ออกซิเจนลดลง  หากนั่งรถทางไกลในลักษณะนี้  ควรเปิดกระจกระบายอากาศบ้าง  นี่เป็นสิ่งยืนยันว่า  พัดลมติดเพดานระบายอากาศได้ดีกว่าเครื่องปรับอากาศ

                              6.  ห้องสมุดสาธารณะ   (The  Public  Library)

                  ความรู้จากหนังสือช่วยให้เข้าใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อม  และรู้จักวิธีการในการรักษาสิ่งแวดล้อม  อีกทั้งควรรณรงค์หรือปลูกฝังนิสัยในการใช้ห้องสมุดสาธารณะมาก ๆ  การอ่านหนังสือในห้องสมุดหรือยืมไปอ่าน  เป็นการประหยัดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อ  คนอเมริกันเสียภาษีโดยเฉลี่ยคนละ  20  เหรียญ/ปี  ในการสนับสนุนห้องสมุดสาธารณะ  หากยืมหนังสือจากห้องสมุดเพียง  6 เล่มต่อปี  จะประหยัดเงินในการซื้อถึง  50  เหรียญ  ไม่ต้องมีชั้นวางหนังสือ  ตู้หนังสือตามบ้านซึ่งนาน ๆ  จะเปิดอ่านซักครั้งหนึ่ง  การผลิตหนังสือ  ต้องตัดไม้ทำลายป่าเข้าโรงงานผลิตกระดาษเสียพลังงานไฟฟ้า  ปล่อยของเสียจากโรงงานกระทบสิ่งแวดล้อม  แต่หากคิดกันได้เช่นนี้ทั้งหมด  คนเขียนหนังสือคงไม่ได้เงินจากยอดจำหน่าย  คนขายหนังสือมือสอง  คงต้องเปลี่ยนอาชีพ  ปัจจุบันคนส่วนหนึ่งลดค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือ  รวมทั้งลดการเข้าห้องสมุดเนื่องจากสามารถหาข้อมูลความรู้ต่าง ๆ  ทางอินเตอร์เน็ต

                        7.  ถุงยางอนามัย  (The  Condom)

                  ว่ากันว่าในแต่ละวันมนุษย์บนพื้นพิภพแห่งนี้  มีเพศสัมพันธ์กันไม่น้อยกว่าหนี่งร้อยล้านครั้ง  หากไม่มีสิ่งมหัศจรรย์สิ่งนี้จำนวนประชากรคงมีมากมายกว่านี้  คงแย่งกันใช้  ทำลายสิ่งแวดล้อมกันมากกว่านี้  ขนาดมีสิ่งมหัศจรรย์ตัวนี้ใช้  ประชากรโลกในปัจจุบัน  ยังมีมากกว่า  6,000  ล้านคน  (คนที่ 6,000  ล้าน  เป็นทารกเพศชาย  เกิดเมื่อ  12  ตุลาคม  2542  เวลา  00.02  น.  เป็นลูกของนาย จัสมินโก  และฟาติมะ  เมวิช  มุสลิมชาวเมืองซาราเจโว )  และประชากรโลกยังคงต้องเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  โดยเฉลี่ยปีละ  78  ล้านคน 

                  แต่ถุงยางอนามัยก็ยังมีข้อเสีย  เพราะกว่าจะได้มาก็ทำลายสิ่งแวดล้อมไปพอสมควร  หากใช้ถุงยางอนามัยสำหรับการมีเพศสัมพันธ์ทั่วโลกใน  1  วัน  ใช้ถุงยางอนามัยทั้งสิ้น   หนี่งร้อยล้านชิ้น  ใช้ยางธรรมชาติไป  200  ตัน  (ยางธรรมชาติ สำหรับยางรถยนต์  5  เส้น ผลิตถุงยางอนามัยได้  1,100  ชิ้น )  ยังไม่รวมถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  เนื่องมากจากกระบวนการผลิต  จำหน่าย  นอกจากนี้หลังการใช้งานเพียงครั้งเดียวก็ทิ้ง  ไม่นิยมนำมาใช้อีก  ย่อยสลายยากมิฉะนั้นคงไม่มีข่าวที่ว่าห้องน้ำตามหอพักนักศึกษาตันเพราะถุงยางอนามัย  นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมตัวยง  คงจะต้องอยู่เป็นโสด หรือใช้ระบบ  Reuse  หลาย ๆ  ครั้ง  สำหรับสิ่งมหัศจรรย์สิ่งนี้

       

        ข้อมูลจาก   http://glr.banharn1.ac.th/link/29.htm
      - Pe ko-

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×