วันพ่อของชาต - วันพ่อของชาต นิยาย วันพ่อของชาต : Dek-D.com - Writer

    วันพ่อของชาต

    ยังไงก็ใกล้จะถึงวันพ่อเข้ามาทุกทีแล้ว แล้วสำหรับปีนี้ ก็มีความสำคัญกับประเทศไทย รวมทั้งชาวไทยทุกคนด้วยล่ะ เลยเป็นของฝากให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันดีกว่า แบบว่า...อาจจะก่อนซักหลายเดือนนะ แต่.."เราจะอ่านเดือนไหนก็ได้นิ" ช่ายมะ

    ผู้เข้าชมรวม

    583

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    583

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  11 ก.ค. 49 / 22:58 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      วันพ่อของชาติ

      เดือนธันวาคมเวียนผ่านมาอีกรอบ เป็นสัญญาณว่าปีใหม่ใกล้มาถึงแล้ว... อันที่จริงนับเป็นเดือนที่เต็มเปี่ยมไปด้วยบรรยากาศแห่งความสนุกสนานอีกเดือนหนึ่งของปี เพราะเป็นช่วงเวลาของเทศกาลงานรื่นเริง   เช่น คริสตมาสต์ หรือวันสิ้นปี เป็นต้น

                      แต่สำหรับคนไทยแล้ว เดือนธันวาคมมีความพิเศษสุด เพราะเป็นศุภวาระมงคลที่พสกนิกรทั้งหลายจะได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นยิ่งกว่าประมุขของชาติ แต่เปรียบประดุจ พ่อแห่งแผ่นดิน 

                      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกกับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมาท์ออเบิน เมืองเคมบริดจ์    มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา 

                      เมื่อพระชนมายุได้ ๕ พรรษาพระบรมราชชนกทิวงคต พระองค์ได้เสด็จนิวัติประเทศไทยและทรงเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพฯ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี พระเชษฐภคินีและพระเชษฐา เพื่อทรงศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น 

                      ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระเชษฐา เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  จึงทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้า น้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช  แต่ทั้งสองพระองค์ก็ยังประทับอยู่ต่างประเทศต่อมา

                      หลังจากนั้นพระองค์ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลกลับประเทศไทยอีกครั้ง ในพุทธศักราช ๒๔๘๑ โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตเป็นการชั่วคราว แล้วเสด็จกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ จึงเสด็จกลับมาประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง โดยครั้งนี้ประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง 

                      ในวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์ในวันเดียวกันนั้น แต่เนื่องจากยังทรงมีพระราชภารกิจด้านการศึกษา จึงจำต้องทรงอำลาประชาชนชาวไทย เสด็จพระราชดำเนินกลับไปยังประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง ในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและวิชารัฐศาสตร์ แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม 

                      ระหว่างที่ประทับศึกษาอยู่ในต่างประเทศนั้น ทรงพบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร  ธิดาในพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว (สนิทวงศ์) กิติยากร และในเวลาต่อมาทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์     ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ 

                      ในพุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินนิวัติพระนคร ประทับ      ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายน ปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ณ พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า  ในวังสระปทุม

      ในวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามแบบอย่างโบราณราชประเพณีขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง      เฉลิมพระบรมนามาภิไธย ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทร      มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร และในโอกาสนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี  มีพระราชโอรส พระราชธิดาทั้งสิ้น ๔ พระองค์

                      ในพุทธศักราช ๒๕๐๐ ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปประทับที่   พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต จนถึงปัจจุบัน 

                      แม้จะทรงพระราชสมภพในต่างประเทศ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความผูกพันกับประเทศไทยและประชาชนไทยเป็นอย่างยิ่ง สถานที่สำคัญอันเนื่องด้วยพระราชประวัติยังคงฉายร่องรอยแห่งความรักและอดีตอันงดงาม บนแผ่นดินที่พระประมุขทรงมีพระบรมราชานุญาติให้ราษฎรสามารถเข้าไปชื่นชมพระบารมี และยลยินความสงบ สง่างามของพระราชนิเวศน์ทั้งหลาย สื่อถึงสายสัมพันธ์อันลึกซึ้งระหว่าง พ่อ กับ ลูก   ทรงเปิด"บ้าน" ต้อนรับประชาชนทุกผู้ทุกคน ตั้งแต่พระบรมมหาราชวัง พระราชวังดุสิต หรือสถานที่สำคัญอันเนื่องมาจากพระราชประวัติต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้สัมผัสและ"เข้าถึง"พระองค์อย่างถ่องแท้ และเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในมรดกอันล้ำเลอค่าของบรรพชนไทยให้จารึกอยู่ในใจไทยชั่วนิรันดร์ .

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×