นิติวิทยาศาสตร์ ไขปมฆาตกรรมอำพราง - นิติวิทยาศาสตร์ ไขปมฆาตกรรมอำพราง นิยาย นิติวิทยาศาสตร์ ไขปมฆาตกรรมอำพราง : Dek-D.com - Writer

    นิติวิทยาศาสตร์ ไขปมฆาตกรรมอำพราง

    ไขปัญหาอาชญากรรมด้วยวิทยาศาสตร์

    ผู้เข้าชมรวม

    976

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    976

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  11 ต.ค. 49 / 16:26 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       ไขปัญหาอาชญากรรมด้วยวิทยาศาสตร์  

              มีดและเลือดคนบริสุทธิ์โดนตัดสินจำคุกก็หลาย คนร้ายที่กฎหมายไม่อาจเอาผิดก็มีเยอะ คนดีก็ฆ่าคนได้ถ้าสถานการณ์บีบคั้น! และมีแต่คนดีเท่านั้นที่ฆ่าคนแล้วยืนรอให้ตำรวจมาจับ หรือไม่ก็เดินเข้ามอบตัวเอาเองพร้อมรับสารภาพ
              คนร้ายฆ่าแล้วหนี ส่วนจะทิ้งหลักฐานร่องรอยไว้แค่ไหนย่อมขึ้นอยู่กับสติปัญญา ขวัญ และความรอบคอบจัดเจนของฆาตกรเอง แต่ไม่ว่าจะรอบคอบสักแค่ไหนก็จะต้องมีร่องรอยให้ตำรวจตามแกะ สืบสาวราวเรื่องลากคอมาเข้าคุกจนได้นั่นแหละ ถ้ามีกำลังพลพอ มีเวลาทุ่มเทกันจริงๆ และที่สำคัญ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยพยานหลักฐานต่างๆ อย่างเพียบพร้อม
              สำหรับคนธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ก้อนตะกั่วหัวลูกปืนที่ผิดรูปผิดร่างไม่ได้มีความหมายอะไรเลยแม้แต่น้อย แต่สำหรับนักพิสูจน์หลักฐานในห้องปฏิบัติการไร้หน้าต่างแห่ง Bureau of Alcohol, Tobacco and Firearms ในเมืองร็อควิลล์ มลรัฐ   แมรีแลนด์แล้ว มันคือ ทองทั้งแท่ง!
              หัวกระสุนในร่างเหยื่อรายล่าสุดที่ถูกลอบยิงอาจโยงใยไปถึงรายก่อนๆ ทำให้ตามล่าฆาตกรได้ง่ายขึ้น! 
              แม้บรรดามือปืนทั้งหลายจะสบประมาทพนักงานสอบสวน โดยการเด็ดชีพเหยื่อเพิ่มขึ้นอีก รายแล้วรายเล่า เจ้าหน้าที่ก็ยังลากมาเข้าคุกจนได้ เพราะมีคลังเครื่องมือไฮเทคไว้ช่วยสะสางคดีอย่างไม่เคยมีมาก่อน เช่น คอมพิวเตอร์วาดโครงร่างทางภูมิศาสตร์ (geographic-profiling computers) เพื่อช่วยหาตำแหน่งแน่นอนของบ้านมือสังหาร มีฐานข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับขีปนาวุธ (ballistics databases) เพื่อใช้พิสูจน์ริ้วรอยบนหัวกระสุนเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับหัวกระสุนที่ใช้ในอาชญากรรมรายอื่นๆ และ เทคโนโลยีติดตามร่องรอยของสาร (trace-substance technology) เพื่อแกะเงื่อนงำอะไรก็ตามที่พอจะหาได้(เช่น ลายนิ้วมือ ดีเอ็นเอ)ที่ติดอยู่บนปลอกกระสุนหรือบนไพ่ทาโร่ 
              ทว่า แม้มีข้อมูลทั้งหมดนี้ในมือ หากจะจับผู้ต้องสงสัยก็ยังอาจต้องใช้โชคช่วยหรือมีอะไรเข้าล็อกสักอย่าง แต่พนักงานสอบสวนจะมีข้อติดขัดน้อยกว่าที่เคยในแง่ของโอกาสทำงานให้สำเร็จ และสิ่งที่เปิดเผยออกมาเมื่อเร็วๆ นี้เป็นตัวอย่างเพียงไม่กี่ชนิดของเครื่องมือไฮเทคที่ใช้อยู่ ซึ่งมีอุปกรณ์กวาดตรวจสัญญาณเคมี (chemical scanners) เพื่อตรวจสอบวัตถุพยานชนิดว่ากันทีละโมเลกุลเลยทีเดียว และเครื่องตรวจสอบเกี่ยวกับความขัดแย้ง (controversial sensors) ในการใช้วิเคราะห์คลื่นสมองของผู้ต้องสงสัยเพื่อดูว่าเขารู้อะไรและไม่รู้อะไรบ้าง
              ผู้ชมทีวีในสหรัฐฯ สามารถเลือกชมละครที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายได้แทบทุกคืน เริ่มจาก CSI (ซึ่งเป็นผู้นำของละครแนวนี้)ทาง CBS (ภาพยนตร์ชุดนี้มีฉายทางช่องเคเบิลทีวีในบ้านเราด้วย - กองบก.) และมี CSI: Miami ซึ่งแตกหน่อออกมาเป็นชุดแรก เสนอทาง CBS เช่นกัน แถม Crossing Jordan เสนอทาง NBC อีก  ด้านเคเบิลทีวีนั้น The Forensics Files คือเรื่องราวเกี่ยวกับศาลในรายการทีวีที่มีผู้ติดตามชมมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในขณะที่ Autopsy เป็นการสืบสาวคดีบนเรื่องรักๆ ใคร่ๆ ซึ่งเสนอทาง HBO
              ทิม กริง กรรมการผู้อำนวยการสร้าง Crossing Jordan กล่าวว่า “การเอาวิทยาศาสตร์มาผสมผสานกับงานของตำรวจมันช่วยผลักดันให้บทละครเข้มข้นและน่าสนใจมากขึ้นจริงๆ”
             แต่ว่า มันผลักดันไปทางไหนกันล่ะ?
             ผู้ชำนาญการมากมายตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าทำให้วิทยาศาสตร์ด้านอาชญากรรมพุ่งเข้าสู่ความนิยมแล้ว มันจะเป็นเรื่องดีจริงหรือ?
             

       การกระเพื่อมในหลุมดำที่ตรงกับเ
      แดนดริดจ์ นักตรวจสอบหัวตะกั่ว ศึกษาร่องรอยต่างๆ บนหัวกระสุน .223 พบว่าเหมือนกับที่ใช้โดยนักซุ่มยิง

      การคลี่คลายปัญหาอาชญากรรมแต่ละครั้งใช่ว่าจะทำได้รวดเร็วและแม่นยำเหมือนที่เห็นในละครตอนละ 46 นาทีจบ งานสืบสวนสอบสวนอาจใช้เวลาหลายเดือน หลักฐานอาจจะซับซ้อนสับสน จนศาลซึ่งยังแคลงใจเกี่ยวกับเครื่องมือใหม่ๆ พวกนี้ ลังเลที่จะเชื่อถืออยู่บ่อยๆ เคยมีครับ อัยการท่านหนึ่งพยายามตะลุยเข้าไปจนถึงกับเอาคลื่นสมองและดีเอ็นเอของ  ผู้ต้องสงสัยยื่นต่อศาล ก็ยังเจอปัญหาจนได้ คือไม่อาจตอบคำถามทางกฎหมายได้อย่างชัดเจนจนเป็นที่พอใจของศาล! 
              นับตั้งแต่มีการใช้ดีเอ็นเอเป็นหลักฐานในคดีทางเพศของ โอ.เจ. ซิมป์สัน เป็นต้นมา นิติวิทยาศาสตร์ในความรู้สึกของคนจำนวนมากก็มักจะเกี่ยวเนื่องกับดีเอ็นเอทั้งสิ้น ความสามารถในการแยกเซลล์จากของเหลวในร่างกายหรือเนื้อเยื่อ เพื่อใช้มันบ่งบอกตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของด้วยความแม่นยำเกือบเต็มร้อยที่ว่านี้ มันเขย่าวงการอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
              ในขณะที่เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการแยกดีเอ็นเอได้เก่งขึ้นจากตัวอย่างที่เล็กลงกว่าเดิม เทคโนโลยีก็ยิ่งก้าวหน้าและใช้ประโยชน์ได้มากขึ้นด้วย ช่วยให้สามารถแยกเซลล์ที่อุดมด้วยหลักฐานจากคราบเหงื่อ น้ำตา น้ำลาย และคราบเลือดที่มีขนาดเท่าหัวไม้ขีด! 
              แต่ไม่ว่าการตรวจดีเอ็นเอจะน่าทึ่งและมีความน่ามั่นใจแค่ไหน มันก็ไม่ใช่เทคโนโลยีที่ทำให้บรรดานักนิติวิทยาศาสตร์ หรือนักสร้างละครทีวี ตื่นเต้นสักเท่าใดนัก สิ่งที่ทำให้คนพวกนี้ตาลุกที่สุดกลับเป็นฮาร์ดแวร์หรือเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ เช่น กล้องส่อง (scope) สแกนเนอร์ และ วิธีแมสสเปกโทรมิเตอร์ (mass spectrometers) (เครื่องวัดสเปกตรัมแสงสีชนิดครอบคลุมทุกจุดประสงค์) ซึ่งช่วยให้ผู้ตรวจวิเคราะห์สามารถรีดเอาข้อเท็จจริงออกจากหลักฐานใดๆ ที่รับมา ด้วยความแม่นยำอย่างน่าทึ่ง
              หากต้องการตรวจวิเคราะห์หลักฐานชิ้นเล็กๆ ซึ่งยังไม่ทราบองค์ประกอบทางเคมี ก็เพียงเอาของสิ่งนั้นใส่เข้าไปในแก๊สโครมาโทกราฟ ซึ่งโดยเนื้อแท้มันคือเตาอบความร้อนสูงจัด มันจะเผาหลักฐานชิ้นนั้นให้กลายเป็นไอ ก๊าซที่ได้จะหลั่งไหลเข้าไปในท่อที่ขดเป็นวงๆ ที่บรรจุสารเคมีไว้ข้างใน ซึ่งจะเป็นตัวทำให้สารต่างๆที่เป็นส่วนประกอบของก๊าซหลุดรอดออกไปในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน จากนั้นก็จะนำเอาส่วนประกอบเหล่านี้ไปแยกแยะแบ่งประเภทตามนheหนักอะตอมแล้วแปลงเป็นกราฟ ผู้ตรวจสอบจะใช้ข้อมูลที่ได้(จากคอมพิวเตอร์)นี้เปรียบเทียบกับข้อมูลอ้างอิงซึ่งจัดไว้ในห้องสมุด เพื่อดูว่าหลักฐานชิ้นนั้นทำขึ้นมาจากอะไรบ้าง
              อย่างไรก็ตาม ปัญหาในการใช้เครื่องมือใหม่สองตัวนี้ก็คือ หากต้องการวิเคราะห์หลักฐานชิ้นใด คุณจำเป็นต้องทำลายมัน(จนไม่เหลือ)ไปด้วย นั่นแปลว่า คุณจะต้องทำให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ในครั้งแรกเลย มิเช่นนั้นก็เท่ากับทำลายหลักฐาน! 
              เป็นไปได้ว่า เทคโนโลยีสำหรับสู้กับอาชญากรรมชิ้นใหม่ที่มีอนาคตที่สุด ซึ่งยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ คือกระบวนการที่รู้จักกันในนาม ลายพิมพ์สมอง (brain fingerprinting) หลักการเบื้องหลังเทคนิคอันนี้ก็คือ เมื่อสมองสร้างภาพที่มันรู้จัก มันจะปล่อยแรงกระตุ้นทางไฟฟ้าอันมีค่าจำเพาะออกมาซึ่งสามารถจับได้โดยอุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ติดไว้กับหนังศีรษะ การตอบรับในเชิงบวกต่อภาพสถานที่เกิดเหตุอาจชี้ชัดได้ว่าผู้ต้องสงสัยอยู่ที่นั่น และในทางตรงกันข้าม หากเป็นสิ่งที่มันไม่เคยเห็นมาก่อนก็จะให้ผลออกมาเชิงลบ ซึ่งจะช่วยยืนยันคำแก้ตัวที่ว่า ไม่ได้อยู่ในที่เกิดเหตุด้วยเช่นกัน
             สำหรับชาวบ้านผู้รับรู้นิติวิทยาศาสตร์จากเพียงแหล่งเดียวคือละครในช่วงเวลาที่มีคนชมมากที่สุดนั้น ไม่ว่าอะไรก็ดูจะง่ายและสวยงามไปหมด ความเป็นจริงก็คือ ห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ทั้งหลายต่างก็แย่งชิงเงินงบประมาณจากถุงใบเดียวกันซึ่งเหลืออยู่ไม่มากหลังจากจ่ายเงินเดือนให้ตำรวจผู้ตรากตรำไปแล้ว มันไม่มีทางที่จะทำอะไรหรูหราแบบนั้นได้เลยแม้แต่น้อย ยิ่งเครื่องมือแบบแมสสเปกโทรมิเตอร์ในทีวีที่ทำไว้อย่างสวยหรู และมีแสงวูบวาบพร้อมภาพบนจอ ยิ่งไม่มีทางเป็นไปได้
              ในทีวีนั้น คดีอาชญากรรมไม่ยืดเยื้อ การสืบสวนใช้เวลาไม่เกินหนึ่งชั่วโมงนับตั้งแต่ก่อเรื่องจนถูกจับ ประชาชนหวังจะให้รู้ผลการตรวจดีเอ็นเอในสองชั่วโมง ซึ่งความเป็นจริงอาจต้องใช้เวลาถึงสองเดือน
              ความเชื่อที่ถูกกล่อมให้คล้อยตามนิยายว่า การปราบปรามอาชญากรรมทำได้เร็วและง่าย อาจเริ่มกลายเป็นแนวทางของการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย เหล่านักนิติวิทยาศาสตร์ได้พูดถึงสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า CSI effect หรือผลกระทบจาก CSI ที่ทำให้ประชาชนเกิดความคาดหวังสูงขึ้นเรื่อยๆ ว่าห้องปฏิบัติการของตำรวจสามารถทำได้ทุกอย่างตามที่ห้องปฏิบัติการในทีวีทำได้
              เรื่องนี้คงจะไม่สบอารมณ์บรรดาอาชญากรนัก แต่มันก็อาจทำให้นักนิติวิทยาศาสตร์พันธุ์ใหม่ผิดหวังได้เช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นแฟนประจำของ CSI และ Crossing Jordan อยู่ก่อนแล้วละก็ พวกเขาอาจไม่ได้เตรียมตัวมาพบของจริงที่ว่า นิติวิทยาศาสตร์มิใช่จะเร็ว สนุก หรือสวยงามเสมอไป แต่มันเป็นงานที่ต้องอาศัยความทรหดในการทดลอง อดทนกับผลที่คลาดเคลื่อน ไม่สิ้นหวังเมื่อเจอทางตัน และต้องอดทนกับการทดสอบอย่างเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าตลอดหลายอาทิตย์หรือหลายเดือน กระทั่ง... ในที่สุด สักวันหนึ่ง เมื่อทุกแง่มุมทุกข้อปล้องของมันลั่นกริกเข้าสู่จุด คนชั่วก็อยู่ในอุ้งมือของคุณจนได้!
              มันอาจจะไม่ใช่เรื่องหรรษา แต่ก็น่าปลื้มมิใช่หรือ? 



      **อ้างอิงจาก http://update.se-ed.com/193/forensic.htm

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×