พร้อมยังกับ “แก๊สโซฮอล์” - พร้อมยังกับ “แก๊สโซฮอล์” นิยาย พร้อมยังกับ “แก๊สโซฮอล์” : Dek-D.com - Writer

    พร้อมยังกับ “แก๊สโซฮอล์”

    พร้อมยังอ่ะครับที่จะใช้มัน

    ผู้เข้าชมรวม

    691

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    691

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  15 ม.ค. 50 / 15:07 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ช่วงนี้ราคาน้ำมันถีบตัวสูงขึ้นทุกวัน หลายๆ คนที่ใช้รถยนต์คงมีปัญหากับเงินในกระเป๋าไม่น้อยใช่ไหมครับ หลายๆ ท่านก็คงจะเคยได้ยินชื่อ แก๊สโซฮอล์กันใช่ไหมครับ เกร็ดความรู้ฉบับนี้นำความรู้เกี่ยวกับแก๊สโซฮอล์มาฝากกันครับ

      แก๊สโซฮอล์ เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่เล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำมันและปัญหาพืชผลทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ศึกษาถึงการนำอ้อยมาแปรรูป เป็นแอลกอฮอล์ โดยการนำแอลกอฮอล์ที่ผลิตได้นี้มาผสมกับน้ำมันเบนซินผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์” (Gasohol) เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน

      ส่วนประกอบของแก๊สโซฮอล์
      แก๊สโซฮอล์ที่ปตท. ออกจำหน่ายเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงได้จากการผสมระหว่างเอทานอล หรือที่เรียกว่า เอทธิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol) ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% โดยปริมาตร ผสมกับน้ำมันเบนซินชนิดธรรมดาไร้สารตะกั่ว (ULR 91) ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอธานอล 1 ส่วน จึงได้เป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซินชนิดพิเศษไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95 การผสมแอลกอฮอล์ลงในน้ำมันเบนซินในข้างต้น เป็นในลักษณะของสารเติมแต่งปรับปรุงค่า Oxygenates และออกเทน (Octrane) ของน้ำมันเบนซิน ซึ่งสามารถใช้ทดแทนสารเติมแต่งชนิดอื่นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ Methyl-Tertiary-Butyl-Ether (MTBE) อนึ่ง เอทานอล หรือ เอทธิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด ฯลฯ

      คุณสมบัติของแก๊สโซฮอล์ที่ออกจำหน่าย
      แก๊สโซฮอล์ที่ ปตท. ออกจำหน่ายขณะนี้มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว ออกเทน 95 (สีเหลือง) มีความเหมือนกันในด้านการใช้งานกับรถยนต์ที่ต้องการออกเทน 95 สามารถใช้ได้กับรถยนต์ทุกรุ่นที่ใช้น้ำมันเบนซิน ไม่มีความแตกต่างกันในเชิงคุณสมบัติของน้ำมันตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับปัจจุบัน สำหรับคุณภาพน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วชนิดออกเทน 95 กล่าวคือ คุณสมบัติที่สำคัญยังคงมีคุณสมบัติอยู่ในเกณฑ์กำหนด
      1. ค่าออกเทนไม่ต่ำกว่า 95.0 ค่าออกเทนของน้ำมันเบนซินจะบ่งถึงคุณภาพในการต้านทานการน็อค หรือความสามารถของน้ำมันเบนซินที่จะเผาไหม้โดยปราศจากการน็อคในเครื่องยนต์
      2. ค่าความดันไอไม่สูงกว่า 62 kpa. ค่าความดันไอเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความสามารถในการระเหย ซึ่งจะมีผลต่อการสตาร์ทเครื่องยนต์
      3. สำหรับคุณสมบัติอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงนี้ แก๊สโซฮอล์จะมีคุณสมบัติเหมือนกับน้ำมันเบนซิน ออกเทน 95 ทุกประการ ยกเว้นสาร Oxygenate Compound ที่กำหนดให้มีการเติมในน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน 95 ในปริมาณ 5.5-11%Vol ซึ่งโดยโดยทั่วไปในน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ที่ใช้ในตลาด ปัจจุบัน จะเติม MTBE (Methyl tertiaryl Butyl Ether) แต่ในแก๊สโซฮอล์จะใช้ Ethyl Alcohol 99.5% ทด แทนในปริมาณ 10-11 % ซึ่งจะยังคงทำให้ คุณสมบัติในการใช้งานกับเครื่องยนต์เหมือนกันกับน้ำมัน เบนซิน ออกเทน 95 ทุกประการ รถยนต์สามารถเติมแก๊สโซฮอล์ผสมกับน้ำมันที่เหลืออยู่ในถังได้เลย โดยไม่ต้องรอให้น้ำมันในถังหมด และผู้ใช้รถไม่ต้องดำเนินการปรับแต่งเครื่องยนต์แต่อย่างใด เพราะ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเครื่องยนต์ และมีคุณสมบัติทำให้เกิดการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์

      ข้อดีของการใช้แก๊สโซฮอล์
      1. สามารถช่วยลดปริมาณมลพิษจากท่อไอเสีย โดยสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนและคาร์บอนมอนอกไซด์ลง 20-25%
      2. ทำให้เกิดการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ที่สมบูรณ์
      3. ผู้ที่ใช้แก๊สโซฮอล์เติมในรถยนต์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์
      นอกจากนั้นยังมีผลดีกับเศรษฐกิจของประเทศ คือ
      1. ประหยัดการใช้น้ำมัน ขณะนี้ประเทศไทยมีความต้องการใช้น้ำมันเบนซินวันละประมาณ 20 ล้านลิตร หากนำแอลกอฮอล์มาผสมร่วมกับน้ำมันเบนซิน จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำมันลงได้ประมาณ 10% หรือวันละ 2 ล้านลิตร และประหยัดเงินตราต่างประเทศในการซื้อน้ำมัน
      2. ใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำผลิตผลทาง การเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง กากน้ำตาล มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกอฮอล์ เพื่อใช้ผสม ในน้ำมันเบนซิน
      3. ลดงบประมาณในการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรลงได้ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เพราะ สามารถนำผลิตผลทางการเกษตรมาแปรรูปใช้ประโยชน์ทางด้านพลังงานได้

      อย่าลืมแวะมาหากันบ่อยๆล่ะ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×