โรคไบโพล่าร์ "Bipolar Disorder" - โรคไบโพล่าร์ "Bipolar Disorder" นิยาย โรคไบโพล่าร์ "Bipolar Disorder" : Dek-D.com - Writer

    โรคไบโพล่าร์ "Bipolar Disorder"

    โรคอารมณ์สองขั้วหรือที่คนทั่วไปเรียกว่า “โรคไบโพล่าร์” (Bipolar Disorder) คือความผิดปกติของสมอง

    ผู้เข้าชมรวม

    717

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    7

    ผู้เข้าชมรวม


    717

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  14 พ.ย. 60 / 12:32 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    "โรคไบโพลาร์ Bipolar "

    (ารมณ์สองขั้ว )เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย!!!

      โรคไบโพลาร์ (Bipolar) เป็นโรคทางอารมณ์ ทำให้ผู้ป่วยเป็นคนอารมณ์สองขั้ว เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย ลองไ

    ปทำความรู้จักกับ โรคไบโพลาร์ อารมณ์แปรปรวนกันให้ชัด ๆ

      


              สำหรับโรคไบโพลาร์ (Bipolar) นี้ เป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคทางด้านเรื่องอารมณ์ กลุ่มเดียวกับโรคซึมเศร้า แต่โรคซึมเศร้านั้นคือ โรคอารมณ์ที่ชัดเจน ที่มีอารมณ์เบื่อเศร้า แต่โรคไบโพลาร์ จะมีลักษณะที่มีอารมณ์ช่วงหนึ่งจะมีลักษณะครื้นเครง รื่นเริง สนุกสนานสลับกับอารมณ์ซึมเศร้าอีกช่วงหนึ่ง 


              โรคไบโพลาร์นี้มีหลายชื่อ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน, manic-depressive disorder, bipolar affective disorder, bipolar disorder ในปัจจุบันชื่อเป็นทางการคือ โรคไบโพลาร์ (bipolar disorder) ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ อาการผิดปกติของอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นแบบซึมเศร้า (depression) หรือตรงข้ามกับซึมเศร้าคืออารมณ์ดีผิดปกติ (mania) ก็ได้


    สาเหตุของโรคไบโพลาร์    

              ถ้าถามว่า คนกลุ่มไหนเป็นโรคไบโพลาร์มากกว่ากัน จากสถิติจะพบว่า ผู้ป่วยโรคนี้มักเริ่มเป็นก่อนวัยกลางคน บางรายเริ่มเป็นตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี ช่วงวัยรุ่น แต่อาการไม่ปรากฏชัด ทำให้คนไม่สังเกต แต่ก็มีบางรายที่มาเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปีได้ 

              ส่วนสาเหตุนั้น เชื่อว่า
    เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมองโดยมีสารสื่อนำประสาทที่ไม่สมดุล คือมีสารซีโรโทนิน (serotonin) น้อยเกินไป และสารนอร์เอพิเนฟริน (epinephrine) มากเกินไป นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมค่อนข้างมาก หากแพทย์ลองซักผู้ป่วยดี ๆ จะพบว่าผู้ป่วยจะมีญาติบางคนป่วยเป็นโรคนี้ด้วย ทำให้อาจบอกได้ว่า ลูกหลานของผู้ป่วยโรคไบโพลาร์มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป

    อาการของโรคไบโพลาร์

              คนที่มีอาการไบโพลาร์นั้น จะอารมณ์ดีในลักษณะที่ผิดปกติ เรียกว่า mania หมายถึงอารมณ์ดีมากเกินกว่าปกติที่ควรจะเป็น และมักจะไม่มีเหตุผลหรือไม่สมเหตุสมผล ช่วงที่มีอารมณ์ดีจะช่างพู
    ดช่างคุย คุยได้ไม่หยุด และไม่ชอบให้ใครมาขัดจะเกิดอารมณ์หงุดหงิด บางคนอารมณ์ดีจนกระทั่งตัดสินใจในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 

          

    1. มีปัญหาในการทำงานให้สำเร็จ  

    บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไบโพล่าร์จะไม่มีปัญหาในการเริ่มต้นทำงานต่างๆ แต่เมื่ออารมณ์ของผู้ป่วยเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานให้สำเร็จลุล่วงจะเป็นเรื่องที่ยากขึ้นเรื่อยๆ

    2. มีอาการต่างๆของโรคซึมเศร้า

    ในช่วงของโรคไบโพล่าร์ ผู้ป่วยจะมีอาการลักษณะเดียวกับคนที่กำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 

    แต่โรคไบโพล่าร์และโรคซึมเศร้าไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการเดียวกันได้ ความจริงแล้วถ้าคนที่เป็นไบโพล่าร์ทานแต่ยาต้านเศร้าเพียงอย่างเดียว อาการของพวกเขาอาจจะร้ายแรงขึ้น และอาจทำให้เขาตัดขาดตัวเองออกจากความเป็นจริง เพราะฉะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากว่าการรับประทานยาทุกชนิดต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

    3. พูดเร็ว

    การที่คนส่วนใหญ่พูดเร็วขึ้นเมื่อพวกเขารู้สึกตื่นเต้นถือว่าเป็นเรื่องที่ปกติมากและบางคนพูดเร็วกว่าคนอื่นถึงแม้ว่าสถานการณ์จะปกติ อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่การพูดเร็วเป็นสัญญาณหนึ่งของโรคไบไพล่าร์ โชคดีที่มีหลายวิธีที่ใช้ดูว่าลักษณะการพูดเร็วแบบนี้ถือว่าเป็นอาการหนึ่งของโรคไบโพล่าร์หรือไม่

    คนที่เป็นไบโพล่าร์จะพูดแทรกคนอื่นและไม่สนใจบทสนทนาของคนรอบข้าง เขามักเปลี่ยนหัวข้อสนทนาอยู่บ่อยๆ ทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับคนรอบข้างที่จะเข้าใจว่าเขากำลังพูดถึงอะไรอยู่ เขาจะพูดแบบนี้ก็ต่อเมื่อพวกเขากำลังอยู่ช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการฟุ้งพล่าน (Mania Episode)

    4. หงุดหงิดง่าย

    ในบางกรณี คนที่เป็นไบโพล่าร์อาจจะมีอาการฟุ้งพล่านและภาวะซึมเศร้าพร้อมๆกัน เมื่อมีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น พวกเขาจะหงุดหงิดง่ายมาก แน่นอนว่ามันอาจเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาว่าอาการที่เขากำลังเป็นตอนนี้เกิดจากอาการของโรคไบโพล่าร์หรือแค่อาการหงุดหงิดเท่านั้น แต่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะถึงจุดที่ความหงุดหงิดเริ่มส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันโดยเฉพาะในเรื่องของความสัมพันธ์ต่างๆกับคนรอบข้าง นอกเหนือจากนั้นพวกเขาอาจจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมตัวเองแต่รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้

    5. ใช้ยาเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

    ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ส่วนมากจะเริ่มต้นใช้ยาเสพติด กินเหล้า หรือใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันเพื่อช่วยคลายอาการซึมเศร้าระหว่างที่อยู่ในช่วงซึมเศร้า (Depressive Episode) แต่พอใช้วิธีการแบบนี้บ่อยๆเพื่อบำบัดความซึมเศร้า มันก็มักจะนำไปสู่ภาวะการติดสารเสพติด ยิ่งไปกว่านั้นยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ยังเป็นอุปสรรคในการรักษาเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของยาลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงที่ไม่ต้องการ และลดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในทุกด้านอีกด้วย

    6. อารมณ์ดีมากเกินไป (ไฮเปอร์)

    อาจฟังดูแปลกแต่การแสดงออกทางอารมณ์ที่ดีมากเกินไปอาจเป็นสัญญาณของโรคไบโพล่าร์ได้เช่นกัน แน่นอนว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นสลับกับภาวะซึมเศร้า (Depressive States)  อาการสุดโต่งแบบนี้เรียกว่า Manic Episode แต่ผู้ป่วยไบโพล่าร์หลายคนก็ไม่ได้มีอารมณ์สุดโต่งแบบนี้ ผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะแค่รู้สึกค่อนข้างดี (Hypomanic Episode) คล้ายๆกับคนปกติและสามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ส่วนมากผู้ที่เป็นโรคไบโพล่าร์จะประสบกับภาวะทั้ง 2 แบบสลับกันไปคือ บางครั้งจะเป็น Manic Episode และบางครั้งก็จะเป็น Hypomanic Episode

    7. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

    เป็นเรื่องปกติที่โรคไบโพล่าร์จะมีผลข้างเคียงต่อการนอนของผู้ป่วย คนที่เคยมีประสบการณ์ของภาวะฟุ้งผล่าน (Manic Episode) จะมีปัญหาในการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอแต่จะไม่เคยรู้สึกเหนื่อยล้า ในทางกลับกัน ช่วงที่ผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าจะนอนหลับมากขึ้นแต่ยังรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอยู่ดี แน่นอนว่าการที่นอนหลับมากเกินไปหรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำและพฤติกรรมนี้ยังสามารถทำให้อาการของโรคไบโพล่าร์แย่ลง ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่ายกายในแต่ละวันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคไบโพล่าร์

    8. มีพฤติกรรมที่สม่ำเสมอ – ไม่คิดหน้าคิดหลัง

    เวลาที่ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์อยู่ในช่วงฟุ้งพล่าน (Manic Episode) เขามักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูงมากจึงทำให้มักจะแสดงกิริยาโอ้อวด ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยแสดงออกโดยที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างๆที่จะตามมาในภายหลัง ทำให้ผู้ป่วยทำสิ่งต่างๆที่พวกเขาไม่มีทางทำหากอยู่ในภาวะปกติ บ่อยครั้งที่โรคไบโพล่าร์เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงหรือใช้เงินฟุ้มเฟือยอย่างน่ากลัว และอาจมีการแสดงออกในรูปแบบของพฤติกรรมอื่นๆร่วมด้วยเช่นกัน

    ลักษณะพฤติกรรมและอาการต่างๆที่ได้ระบุไว้ข้างต้นคือสิ่งที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ แต่อาการต่างๆเหล่านี้ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคอื่นได้ด้วยเช่นกัน โรคไบโพล่าร์สามารถรักษาได้หากได้รับการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธีจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างมีความสุข  

              ถ้าอาการนี้เริ่มเป็นมาตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น อาจทำให้ผู้ป่วยไม่มีสมาธิในการเรียน ผลการเรียนตกลง มีปัญหาทางพฤติกรรม ทะเลาะกับเพื่อนฝูง ครูอาจารย์ รู้สึกอยากไปเที่ยวกลางคืน ออกไปเตร็ดเตร่ ซึ่งถ้าพ่อแม่ไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ลูกอย่างใกล้ชิดก็จะไม่รู้สึกถึงความผิดปกติเลย

              อย่างไรก็ตาม อาการของโรคไบโพลาร์ไม่จำเป็นต้องสลับกับช่วงซึมเศร้า บางคนเป็นโรคนี้อยู่ช่วงหนึ่ง อาจจะประมาณ 4-6 เดือนก็สามารถกลับคืนเป็นปกติได้เองโดยไม่ต้องรักษา ทำให้คนรอบข้างไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาถ้าไม่สังเกตอย่างใกล้ชิด เมื่อเป็นปกติแล้วเขาจะดำเนินชีวิตได้ปกติ พอถึงช่วงหนึ่งจะรื่นเริงอีก หรืออาจจะสลับไปขั้วตรงข้าม เป็นแบบซึมเศร้า อาการก็จะเริ่มตั้งแต่แยกตัว เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เบื่อ ๆ เข้าก็รู้สึกว่าตัวเองไม่มีค่า ที่สำคัญที่สุดคือการฆ่าตัวตาย   

            
    แนวทางในการรักษาโรคไบโพลาร์

                   
              

                 โรคไบโพลาร์สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ได้แก่ ยาในกลุ่มยาควบคุมอารมณ์ (mood stabilizers), ยาแก้โรคจิต (antipsychotics) และยาแก้โรคซึมเศร้า (antidepressants) ดังนี้

              1. ใช้ยาไปช่วยในการปรับสารสื่อนำประสาทตรงให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ เรียกชื่อกลุ่มยานี้ว่า กลุ่มปรับอารมณ์ให้คงที่ mood stabilizer ซึ่งจะมียาเฉพาะไม่กี่ตัวที่จะใช้ในการรักษาที่จะช่วยอาการนี้ได้

              ช่วงระยะการรักษาช่วงแรกจะเป็นการคุมอาการให้กลับ
    มาเป็นปกติที่สุดภายใน 1 สัปดาห์ก่อน หรืออย่างช้า 1 เดือน หลังจากนั้นจะเป็นการรักษาต่อเนื่อง อาจต้องใช้ยาคุมอาการ ระยะเวลาการรักษาขึ้นอยู่กับอาการคนไข้เป็นสำคัญ ในคนไข้บางราย 1 ปี อาจมาพบหมอแค่ 2-4 ครั้งเท่านั้น ไม่ต้องอยู่โรงพยาบาลตลอด 


              2. ยาหลักที่นิยมใช้รักษาและได้ผลดี คือ lithium ควบ
    คุมอาการ mania ได้ดีมาก แต่ผู้ป่วยอาจต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากโรคนี้อาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้ ตัวยายังสามารถป้องกันได้ทั้งอาการ mania และอาการซึมเศร้า ยาอื่น ๆ ที่ได้ผลดี ได้แก่ valproate, carbamazepine, lamotrigine, gabapentin และ topiramate


              3. สำหรับอาการซึมเศร้าตอบสนองดีต่อยา clozapine, olanzapine, risperidone, quetiapine และ ziprasidone 

              อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่สุด คนรอบข้างต้องเข้าใจในผู้ป่วยที่เป็นภาวะเช่นนี้ด้วย ตัวผู้ป่วยเองก็ต้องดำเนินชีวิตในทางสายกลาง ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยก็วันละ 6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหาและลดความเครียด และอย่าใช้ยากระตุ้นหรือสารมึนเมา เช่น เหล้า หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง 

              ถ้ามีผู้ป่วยในครอบครัว คนรอบตัวต้องเข้าใจและช่วยกันป้องกันผู้ป่วยในช่วงก่อนโรคกำเริบรุนแรง เพราะว่ามีโอกาสกลับไปเป็นซ้ำอีก 
    ช่วงอายุที่มีโอกาสเป็นโรคอารมณ์แปรปรวนมากที่สุด คือ 15-25 ปี กลุ่มนี้จะเริ่มต้นด้วยอาการขยันผิดปกติ หรือที่เรียกว่า "ไฮเปอร์แอ็คทีฟ" ต่อมา บางช่วงของการเจ็บป่วยก็จะเปลี่ยนเป็นซึมเศร้า เป็นมาก ๆ อาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย 


              สรุปแล้วโรคนี้รักษาได้ หากคนรอบตัวมีอาการผิดปกติทางอารมณ์อย่างที่บอกมา ควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัย เพื่อจะได้รีบรักษาให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติเหมือนคนทั่วไป จะช่วยลดความสูญเสียทางด้านหน้าที่การงาน และเงินทอง เวลาผู้ป่วยมีอาการ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความรุนแรง เป็นปัญหาสังคมได้ 

      

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×