สำรวจตัวเองก่อนจะเป็น นักธรณีวิทยา
นักธรณีวิทยา ผู้อยู่เบื้องหลังการจัดหาทรัพยากร เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น นักธรณีวิทยาทำหน้าที่อะไรบ้าง? ทำอย่างไรจึงจะได้เป็นนักธรณีวิทยา? ที่นี่มีคำตอบ
ผู้เข้าชมรวม
1,371
ผู้เข้าชมเดือนนี้
9
ผู้เข้าชมรวม
ธรณี ธรณีวิทยา geologist โลก ปิโตรเลียม ธรณีศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นพิภพ เทคโนโลยีธรณี วิศวธรณี นักธรณีวิทยา แผ่นดินไหว
นักธรณีวิทยา (Geologist) คือ ผู้ศึกษา ค้นคว้า และเสาะแสวงหา เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในทุกสรรพสิ่งลึกลงไปภายใต้พื้นผิวโลก และถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลในสายงานอื่นๆ เพื่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้นอย่างสมดุลกับธรรมชาติ โดยการศึกษาข้อมูลและหลักฐานที่ได้จากการสำรวจอย่างมีระบบ
นักธรณีวิทยาจะบูรณาการความรู้ทางธรณีวิทยากับข้อมูลที่มีอยู่และถ่ายทอดเป็นความรู้ให้กับผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ โดยทั่วไปงานทางธรณีวิทยามักจะอยู่ในชั้นตอนแรกๆ ของโครงการต่างๆ หลังจากนั้นจะคอยควบคุม ให้คำแนะนำ และประเมินผลกับผู้ร่วมงานจนเสร็จสิ้นโครงการ
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
นักธรณีวิทยามีหน้าที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและลักษณะงานของแต่ละคน ผู้ที่จบจากสาขาธรณีวิทยา สามารถเลือกปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้
สภาพการทำงานของนักธรณีวิทยาล้วนแล้วแต่แตกต่างกันออกไปตามบทบาทข้างต้น มีทั้งการทำงานในห้องทำงาน และการออกสำรวจภาคสนาม ซึ่งอาจจะต้องออกสำรวจภาคสนามนานนับเดือน ในพื้นที่ห่างไกล ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งบนบกและกลางทะเล หากเป็นงานในเหมืองแร่อาจจะต้องทำงานใต้ดินอีกด้วย ซึ่งแต่ละสถานที่มีความเสี่ยงอันตรายสูง และอาจก่อให้เกิดความเครียดได้ ดังนั้นผู้ที่สนใจในอาชีพนักธรณีวิทยาที่ดีจะต้องมีจิตใจมั่นคงไม่ท้อถอย ชอบท่องเที่ยว ผจญภัย ขยันขันแข็ง ซื่อสัตย์ มีวินัย มีความคิดริเริ่ม มีความจำดี ช่างสังเกต สุขภาพแข็งแรง อดทน เรียบง่าย สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี
หลังจากที่ได้เห็นภาพรวมของธรณีวิทยาและการทำงานของนักธรณีวิทยาเบื้องต้นแล้ว ทีนี้ก็ถึงขั้นตอนของการสำรวจตัวเราเอง จริงๆ แล้วทุกคนสามารถเรียนธรณีวิทยาได้ แต่การที่จะเรียนได้ดี มีความสุข และประสบผลสำเร็จในสายอาชีพนี้ ผู้นั้นจะต้องมีบุคลิกภาพที่พร้อมต่อการใช้เชาว์ปัญญาและความคิด มีสติดี ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น ชอบคิด สังเกต มีจินตนาการ วิเคราะห์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล ชอบแก้ปัญหา ชอบใฝ่หาความรู้อยู่เสมอ เพราะความรู้ทางธรณีวิทยานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีข้อมูลที่ดีขึ้น คุณสมบัติเหล่านี้อาจจะฟังดูธรรมดาทั่วไป แต่ที่พิเศษสำหรับผู้เรียนธรณีวิทยาและจำเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ การมีใจรักธรรมชาติและการผจญภัย มีนิสัยเรียบง่าย ยอมรับความลำบาก พูดจารู้เรื่อง สายตามองเห็นภาพสามมิติ ไม่เป็นโรคกลัวความสูง และมีร่างกายที่แข็งแรง
ผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความประสงค์จะเข้าศึกษาต่อ สาขาวิชาธรณีวิทยา จะต้องมี ความรอบรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์ โดยเน้นวิชาคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา และสมัครสอบเข้าศึกษาได้โดยการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยที่เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรปริญญาตรี ได้แก่
หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.)
หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ (วศ.บ.)
แม้ว่าแต่ละมหาวิทยาลัยจะมีความหลากหลายในรายวิชาแตกต่างกันไป สังเกตได้จากชื่อของสาขาหรือภาควิชา แต่ทุกสถาบันข้างต้นจะให้ความรู้ในเนื้อหาหลักที่สำคัญของธรณีวิทยาแก่ผู้ศึกษาทุกคน รวมถึงการออกภาคสนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน
การเลือกมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับความสนใจส่วนตัว การหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนของสถาบันต่างๆ ประกอบนั้นมีความสำคัญ ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการเข้าไปดูรายละเอียดรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละชั้นปีจากเว็บไซต์ของสถาบันที่ให้ไว้ หรือสามารถขอรับคำปรึกษาจากรุ่นพี่นักศึกษา ศิษย์เก่าหรือคณาจารย์จากสถาบันเหล่านั้น สอบถามถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอน หลักสูตร กิจกรรมนักศึกษา และโอกาสในการทำงานหลังจบการศึกษา หากได้รับคำแนะนำที่เป็นการยุยง โน้มน้าว เปรียบเทียบเกินจริงด้วยข้อมูลที่มาจากการกล่าวอ้าง โปรดใช้ข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ การชวนผู้ปกครองเข้าไปเยี่ยมชมสถาบัน เพื่อสัมผัสบรรยากาศจริง หรือการเยี่ยมชมสถานที่ทำงานของนักธรณีวิทยาหรือพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ก็สามารถช่วยให้เห็นภาพของธรณีวิทยามากขึ้น
ในแต่ละปีจะมีการประกาศรับสมัครนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีสุดท้าย เพื่อรับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อระดับปริญญาตรี-โท-เอก ในสาขาธรณีวิทยา ณ ต่างประเทศ สามารถติดตามข่าวสารทุนการศึกษาได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานก.พ.
การเรียนการสอนเป็นลักษณะการบรรยายในห้องเรียน และห้องปฏิบัติการ ร่วมกับการออกภาคสนามในสถานที่ต่างๆ ทั้งในระหว่างภาคการศึกษา และช่วงปิดเทอม เนื้อหามีการท่องจำค่อนข้างมากพอสมควร โดยเฉพาะการเรียนเกี่ยวกับแร่ หิน และซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐาน มีการคำนวณบ้างแล้วแต่รายวิชา ธรณีวิทยาเป็นวิชาทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ อาจจะต้องทำงานในห้องปฏิบัติการนอกเวลาเรียนเพิ่มเติม มีการประเมินผลการทำงานเป็นกลุ่มและเดี่ยว ในรูปแบบของรายงาน การบ้าน การทำแผนที่ รายงานการสำรวจ การเขียนแบบ วาดภาพระบายสี การนำเสนอหน้าชั้นเรียน งานวิจัยค้นคว้าอิสระ การสอบที่มีทั้งการสอบข้อเขียนบรรยาย สอบปากเปล่า และการสอบแบบจับเวลา
นอกเหนือจากการเรียนการสอนแล้ว แต่ละสถาบันข้างต้นมีกิจกรรมทั้งภายในและภายนอกของกลุ่มนักศึกษาตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถติดตามได้จากเว็บไซต์ของแต่ละสถาบันเช่นกัน นอกจากนี้ทุกปีจะมีกิจกรรมที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่หมุนเวียนกันจัดขึ้นอีกด้วย
ตัวอย่างการออกภาคสนามภาคของนักศึกษาธรณีวิทยา
บัณฑิตที่จบจากสถาบันข้างต้นสามารถศึกษาต่อปริญญาโท และเอก ได้ทั้งใน และต่างประเทศ โดยสามารถศึกษาเฉพาะด้าน หรือร่วมกับสาขาอื่น เช่น วิทยาแร่ ศิลาวิทยา ธรณีเคมี ธรณีฟิสิกส์ ธรณีวิทยาเหมืองแร่ อุทกธรณีวิทยา ธรณีวิทยาปิโตรเลียม วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเหมืองแร่ ธรณีเทคนิค วิศวกรรมธรณี มากมายได้อีก ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดการเรียนการสอนในหลายมหาวิทยาลัยในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีทุนให้ศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ จากหน่วยงานราชการ และเอกชน สามารถติดตามข่าวสารทุนการศึกษาได้จากเว็บไซต์ของสำนักงานก.พ.
ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาธรณีวิทยาสามารถสมัครงานในหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
การสมัครงานเกิดขึ้นทุกปี แต่มีอัตราการรับไม่แน่นอน ซึ่งผู้ศึกษาต้องเตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ เนื่องด้วยภาวะการแข่งขันที่สูงขึ้น ผลการเรียนและภาษาอังกฤษมีความจำเป็นอย่างมากต่อการสมัครงาน ร่วมกับประวัติพฤติกรรมที่ดีตลอดการเรียนในมหาวิทยาลัย เพราะวงการธรณีวิทยาของไทยค่อนข้างแคบและรู้จักกันเป็นอย่างดี หลายหน่วยงานเปิดโอกาสให้นักศึกษาเข้าไปฝึกงานร่วมกับนักธรณีวิทยาในสภาพการทำงานจริง ซึ่งจะเป็นเวลาที่เราค้นพบว่าเราชอบและมีความถนัดในสายงานนั้นๆ จริงหรือไม่
โดยปกติกระบวนการรับสมัครจะเริ่มตั้งแต่การรับสมัครนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายก่อนจบการศึกษา หน่วยงานต่างๆ จะแวะเวียนกันมาแนะแนว รับสมัครและสัมภาษณ์ถึงในมหาวิทยาลัย แต่ก็มีหลายหน่วยงานที่ไม่สามารถมาได้ก็จะฝากข่าวประกาศแจ้งรายละเอียดการรับสมัครและสถานที่ให้ทราบผ่านภาควิชา หรือคณาจารย์ อีกรูปแบบหนึ่งสำหรับคนที่อยู่ในช่วงระหว่างการหางานประจำ คือ การรับงานพิเศษช่วงสั้นๆ เช่น งานช่วยเดินสำรวจภาคสนาม เก็บตัวอย่างหินแร่ งานวิเคราะห์ข้อมูล เป็นต้น ซึ่งมักเป็นการร้องขอให้ช่วยเหลือจากนักธรณีวิทยารุ่นพี่ และมีค่าตอบแทนให้ด้วย การรับสมัครงานบางประเภทอาจมีการกำหนดเพศ ผลการเรียน หรือผลภาษาอังกฤษของผู้สมัครด้วย
ถาม: ผู้หญิงกับธรณีวิทยา?
ตอบ: ปัจจุบันมีนักศึกษาหญิงและนักธรณีหญิงจำนวนมาก ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า ผู้หญิงสามารถเรียนและประสบผลสำเร็จในสายอาชีพธรณีวิทยาได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ
ถาม: เรียนธรณีวิทยาแล้วได้ทำงานบริษัทน้ำมัน?
ตอบ: หลายคนตั้งความหวังไว้ว่า หากเป็นนักธรณีวิทยาแล้วจะได้เข้าทำงานในบริษัทสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่ซึ่งให้ค่าตอบแทนหรือเงินเดือนค่อนข้างสูง แต่ในความเป็นจริงแล้วตำแหน่งงานที่เปิดรับในสายนี้มีจำนวนจำกัด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับจำนวนผู้เรียนจบธรณีวิทยาทั่วประเทศในแต่ละปี ดังนั้นจึงไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้ทำงานในสายนี้ งานของนักธรณีวิทยามีอย่างอื่นอีกมากมายดังที่ได้แนะนำไว้ในหัวข้อ แหล่งงานประกอบอาชีพ
ถาม: เรียนธรณีวิทยาที่ไหนดีที่สุด?
ตอบ: ทุกสถาบันที่เปิดสอนธรณีวิทยาในประเทศไทยมีมาตรฐานการเรียนการสอนในระดับดีเท่ากัน บัณฑิตที่จบจากทุกสถาบันสามารถสมัครงานในตำแหน่งนักธรณีวิทยาได้เหมือนกัน การเลือกสถานที่เรียนจึงขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัว เช่นเดียวกับการสมัครงานก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวเอง
ถาม: แนวโน้มตลาดงานธรณีวิทยาในอนาคต
ตอบ: งานในประเทศไทยจะมีจำกัด นักธรณีวิทยาไทยจะมีการทำงานในต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการสำรวจ การสมัครงานแข่งขันกับนักธรณีวิทยาต่างชาติ การศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีจะมีความจำเป็น ปัจจุบันประเทศไทยต้องการนักธรณีวิทยาด้านงานวิจัยและการสอนจำนวนมาก
รวบรวมโดย วิชาการธรณีไทย GeoThai.net
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากรุ่นพี่นักธรณีวิทยา ได้ที่ Facebook.com/GeoThai
ผลงานอื่นๆ ของ GeoThai ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ GeoThai
ความคิดเห็น