แพทย์อังกฤษเตรียมฉีด สเต็มเซลล์ เข้าหัวใจ - แพทย์อังกฤษเตรียมฉีด สเต็มเซลล์ เข้าหัวใจ นิยาย แพทย์อังกฤษเตรียมฉีด สเต็มเซลล์ เข้าหัวใจ : Dek-D.com - Writer

    แพทย์อังกฤษเตรียมฉีด สเต็มเซลล์ เข้าหัวใจ

    แพทย์อังกฤษกำลังเตรียมการทดลองฉีด สเต็มเซลล์ ให้แก่ผู้ป่วยที่หัวใจวายไม่เกิน 5 ชั่วโมง หลังมีหลักฐานชี้ว่าสเต็มเซลล์ จากไขกระดูกสามารถนำไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย

    ผู้เข้าชมรวม

    466

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    466

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    2
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  27 ธ.ค. 49 / 10:41 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      การฉีด สเต็มเซลล์ เข้าสู่หัวใจ 1.ใช้เครื่องมือแพทย์แทรกเข้าไปในเส้นเลือด 2. ขยายหลอดเลือดหัวใจตีบตัน 3.แยกต้วอย่างไขสันหลังสร้างเป็นเซลล์ต้นแบบ 4.ฉีดเซลล์ต้นแบบกลับเข้าสู่หัวใจ 5.เซลล์ต้นแบบพัฒนาเป็นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ (ภาพจากบีบีซี)

      เอเจนซี/บีบีซีนิวส์ – แพทย์อังกฤษกำลังเตรียมการทดลองฉีด สเต็มเซลล์ ให้แก่ผู้ป่วยที่หัวใจวายไม่เกิน 5 ชั่วโมง หลังมีหลักฐานชี้ว่าสเต็มเซลล์ จากไขกระดูกสามารถนำไปซ่อมแซมกล้ามเนื้อหัวใจที่ถูกทำลายได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันหัวใจล้มเหลวได้อีกด้วย
             
             การทดลองฉีด สเต็มเซลล์ หรือ เซลล์ต้นกำเนิด แก่ผู้ป่วยหัวใจวายนี้มีขึ้นเป็นครั้งแรก โดยโรงพยาบาลบาร์ตส์ (Barts Hospital) ในลอนดอน จากการสนับสนุนของมูลนิธิเซลล์ต้นกำเนิดแห่งสหราชอาณาจักร ( UK Stem Cell Foundation ) ซึ่งจะเริ่มการทดลองหลังช่วงคริสต์มาสโดยใช้อาสาสมัคร 100 คน
             
             โรคหัวใจวาย คร่าชีวิตชาวอังกฤษถึง 108,000 คนในแต่ละปี และเชื่อว่ายังมีผู้ที่ต้องประสบกับ โรคหัวใจ ที่ยังมีชีวิตอยู่อีกประมาณ 660,000 ราย
             
             แม้ว่าช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การทำ บอลลูน เพื่อรักษา โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ( angioplasty ) สำหรับผู้ป่วย หัวใจวาย ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตกะทันหันหลังหัวใจวาย กระนั้น ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนระยะยาว เช่น หัวใจล้มเหลวที่จู่โจมอย่างเฉียบพลัน ยังคงสูงมาก
             
             สำหรับการทดลองใหม่จะประกอบด้วยการรักษา โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เบื้องต้น และการฉีด สเต็มเซลล์ เพื่อต่อสู้กับปัญหาทั้งหมด
             
             สเต็มเซลล์ นั้นเป็นเซลล์อ่อนที่สามารถพัฒนาไปเป็นเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้
             
             ศาสตราจารย์จอห์น มาร์ติน (John Martin) ซึ่งช่วยออกแบบการทดลองนี้ กล่าวว่า การนำผู้ป่วยโรคหัวใจไปยังศูนย์ที่สามารถขยายหลอดเลือดหัวใจตีบได้ทันที ช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตและลดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ
            

             "การศึกษาก่อนหน้าชี้บ่งชี้ว่า การฉีดเซลล์ต้นแบบเข้าสู่หัวใจมีความปลอดภัย และเรากำลังจะศึกษาต่อไปว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลกับอาการหัวใจวายรุนแรงหรือไม่ โดยการศึกษาของเราจะรวมเอาวิธีรักษาผู้ป่วยหัวใจวายสองแบบใหม่เข้าด้วยกันเป็นครั้งแรก"
             
             กลุ่มตัวอย่างในการทดลองนี้คือ ผู้ป่วยหัวใจวายที่ถูกนำส่งโรงพยาบาลทรวงอกลอน (London Chest Hospital) และโรงพยาบาลหัวใจ (Heart Hospital) ในลอนดอน เพื่อขยายหลอดเลือดหัวใจ
             
             ภายหลังการทำ บอลลูน เพื่อขยายหลอดเลือด วใจตีบตัน แพทย์จะสกัดเซลล์ต้นแบบจากไขสันหลังของผู้ป่วยที่เซ็นเอกสารยินยอมรับการบำบัดด้วยวิธีนี้ และเมื่อเซลล์พร้อมแล้ว แพทย์จะฉีดตัวอย่างเซลล์กลับเข้าไปในหลอดเลือดที่ตีบตัน โดยกระบวนการทั้งหมดนี้ใช้เวลา 5 ชั่วโมงหลังหัวใจวาย
             
             หลังจากนั้น แพทย์จะติดตามอาการคนไข้นานหลายเดือน เพื่อดูว่าการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์ช่วยป้องกันหัวใจล้มเหลวและฟื้นฟูกล้ามเนื้อหัวใจที่เสียหายได้หรือไม่
             
             ดร.แอนโธนี มาเธอร์ (Anthony Mathur) ผู้ร่วมทำการทดลองครั้งนี้ เผยว่า ถ้าสามารถแสดงให้เห็นถึงของผู้ป่วยที่ดีขึ้น จะกลายเป็นก้าวสำคัญในการรักษาโรคหัวใจ เพราะการใช้สเต็มเซลล์จากผู้ป่วยลดกระแสต่อต้านทางจริยธรรม และยังลดปัญหาการปฏิเสธทางภูมิคุ้มกัน
             
             ด้านศาสตราจารย์ปีเตอร์ เวสเบิร์ก (Peter Weissberg) ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของมูลนิธิหัวใจแห่งอังกฤษ ( British Heart Foundation ) แสดงทัศนะว่า การบำบัดด้วย สเต็มเซลล์ คือความหวังใหม่สำหรับคนไข้โรคหัวใจ กระนั้น การทดลองนี้ยังเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งที่ทำให้แพทย์และคนไข้มีความรู้ความเข้าใจโรคนี้มากขึ้น และยังต้องใช้เวลาอีกนานในการค้นหาวิธีรักษา โรคหัวใจ ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

      โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 พฤศจิกายน 2549

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×