ไฟเบอรีน Fiberine
อยากรู้จักไฟเบอรีน ก็อ่านซะมีประโยชน์นะจะบอกให้
ผู้เข้าชมรวม
744
ผู้เข้าชมเดือนนี้
2
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
เป็นเส้นใยธรรมชาติ (Natural Fiber) จากพืชหลายชนิด มีทั้งชนิดละลายน้ำได้ และละลายน้ำไม่ได้ ตัวมันเองจะปลอดภัย ไม่ดูดซึมเข้าร่างกาย และตอนสุดท้ายจะถูกย่อยในลำไส้ใหญ่ โดยแบคทีเรีย และขับถ่ายออกมา เหมาะสมมากในผู้ที่ไม่ทานผักและผลไม้
ประกอบด้วยเส้นใยอาหารจากพืชผักและธัญพืชต่างๆ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้ อีกทั้งยังไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่มีประโยชน์และจำเป็นต่อสุขภาพ
ไฟเบอรีน (Fiberine) เป็น ไฟเบอร์ ซึ่งมีเส้นใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำและชนิดที่ละลายน้ำได้ โดยส่วนประกอบหลักคือ เส้นใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยเสริมปริมาณของ ไฟเบอร์ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยลดน้ำหนักอย่างได้ผล โดยรับประทานก่อนอาหาร จะทำให้รู้สึกอิ่มและรับประทานอาหารได้น้อยลง และไม่เป็นอันตรายใดๆ ต่อสุขภาพ
เส้นใยอาหารที่ละลายน้ำได้และไม่ละลายน้ำต่างกัน อย่างไร?
- เส้นใยที่ละลายน้ำคือ เส้นใยอาหาร ที่ละลายน้ำได้ เมื่อถูกน้ำจะพองตัวเป็นวุ้น เส้นใยชนิดนี้จะช่วยขัดขวางการดูดซึมน้ำตาลและไขมัน ซึ่งมีประโยชน์ต่อการควบคุมระดับคลอเรสเตอรอล และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังช่วยให้การขับถ่ายเป็นไปอย่างสะดวกและป้องกันการเกิด โรคริดสีดวงทวาร
- เส้นใยที่ไม่ละลายน้ำคือ เส้นใยอาหา รที่ไม่สามารถละลายน้ำ แต่จะอุ้มน้ำเอาไว้ เส้นใยชนิดนี้จะช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการขับถ่ายและเพิ่มปริมาณ กากอาหาร ดังนั้นจึงมีประโยชน์ในการป้องกัน โรคท้องผูก และ มะเร็งในลำไส้ใหญ่ เพราะจะช่วยให้การขับถ่ายเกิดเร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการลดการเกิดสารพิษที่เกิดจากการย่อยสลายของแบคทีเรียอันเนื่องจากการค้างของกากอาหารเป็นเวลานาน
ประโยชน์
1. ใช้ควบคุมน้ำหนัก โดยเส้นใยอาหารจะดูดซับน้ำและพองตัว ทำให้ไม่รู้สึกหิวและรับประทานอาหารได้น้อยลง
2. ช่วยลด คลอเรสเตอรอล และระดับน้ำตาลในเลือด จึงเหมาะสำหรับผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน
3. ช่วยให้ระบบขับถ่ายเป็นปกติ เหมาะสำหรับผู้ที่เป็น ริดสีดวงทวาร ผู้ป่วยโรคหัวใจ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับผนังลำไส้
4. ช่วยป้องกัน โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยเส้นใยอาหารจะช่วยให้กากอาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น ทำให้ สารก่อมะเร็งมีโอกาสสัมผัสกับผนังลำไส้ได้น้อยลง
เอกสารอ้างอิง
1. Diet and chemoprevention of colon polyps and colorectal cancer. [Review 34 refs]. Seminars in Surgical Oncology 1995;11(6):411-5.
2. The clinical uses of dietary fiber. [Review 18 refs]. American Family Physician 1995;51(2):419-26.
3. Dietary strategies for cancer prevention . [Review 40 refs]. Cancer 1993;72(3 Suppl):1005-10.
ผลงานอื่นๆ ของ ไข่มุกอันดามัน ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ ไข่มุกอันดามัน
ความคิดเห็น