โรคนอนไม่หลับ - โรคนอนไม่หลับ นิยาย โรคนอนไม่หลับ : Dek-D.com - Writer

    โรคนอนไม่หลับ

    โรคนอนไม่หลับคืออะไร

    ผู้เข้าชมรวม

    526

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    526

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ธ.ค. 49 / 09:39 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      หากท่านเคยมีอาการหลับยาก ใช้เวลานานกว่าจะหลับ หรือตื่นนอนเร็วมากแม้จะอดนอนและอยากจะนอนต่อก็ตามก็นอนไม่หลับแล้ว และมีอาการแบบนี้อยู่บ่อยๆ ติดต่อกัน นั่นก็แสดงว่าท่านกำลังมีปัญหาโรคนอนไม่หลับ บางครั้งแบบที่เป็น 1-2 วันอาจจะมีสาเหตุมาจากความเครียดหรือตื่นเต้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ก็เป็นได้ ทั้งนี้อาการนี้จะกลายไปเป็นอาการเรื้อรังได้โดยมีอาการติดต่อกันเป็นเดือน เป็นปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีสาเหตุมาจากความเครียด ความกังวล หรือซึมเศร้า และจะพบมากในคนสูงอายุ

      คนบางคนต้องการนอน 9-10 ชั่วโมงจึงจะรู้สึกว่าได้พัก กับอีกบางคนนอนเพียว 5-6 ชั่วโมงก็เพียงพอสำหรับเขาแล้ว ดังนั้นในคนที่มีปัญหาโรคนอนไม่หลับอาจจะได้นอนนานกว่าคนเหล่านี้ก็เป็นได้

      ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจงวิธีใดวิธีหนึ่งสำหรับโรคนอนไม่หลับ การรักษาจะแตกต่างกันไป โดยต้องสอบถามและค้นหาสาเหตุด้วยเพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

      อาการโรคนอนไม่หลับ

      -หลับยากมาก

      -หลับไม่ต่อเนื่อง หลับๆ ตื่นๆ อาจจะต้องลุกมาเดินบ่อยๆ

      -นอนหลับแต่จะตื่นเช้ามากกว่าที่ต้องการและจะไม่สามารถนอนต่อได้

      -อ่อนเพลีย ขาดสมาธิ อารมณ์เสีย

      สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
      โรคนอนไม่หลับมักจะเกิดจากปัจจัยอื่นๆ มากระทบ เช่น การเดินไปเปลี่ยนสถานที่พัก อาการปวด ความเครียด ความกดดันทางจิตใจ บรรยากาศที่นอนไม่ดี เช่น มีเสียงดัง เผชิญปัญหาชีวิต และอื่นๆ และเมื่อปัญได้รับการแก้ไข อาการนอนไม่หลับก็จะดีขึ้นจนเป็นปกติ

      ทั้งนี้อาการโรคนอนไม่หลับอาจจะถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยอื่นๆ คือ

      -คาเฟอีนและสารกระตุ้นประสาทอื่นๆที่ได้รับระหว่างวัน เช่น ชา กาแฟ หรือ ยาบางชนิด

      -เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายหลับไม่ปกติ เช่น ทำให้ตื่นบ่อย หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ

      -โรคบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ เช่น โรคหัวใจ ปอด Hyperthyroidism โรคปวดไขข้อ เป็นต้น นอกจากนี้ โรคต่อมลูกหมากโต โรคไต เบาหวาน ก็เป็นเหตุให้นอนหลับๆ ตื่นๆ หลับไม่ปกติ เพราะอาจจะต้องลุกขึ้นมาปัสสาวะกลางดึกบ่อยๆ

      -การออกกำลังหนักในช่วงบ่ายๆ

      -ภาวะตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์)

      -การสูบบุหรี่

      -การรับประทานอาหารมื้อเย็นมากหรือน้อยเกินไป

      -ที่นอนไม่ดี

      ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับได้ให้ความเห็นว่า อาการนอนไม่หลับมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการนอนของผู้ป่วยที่ปฏิบัติต่อเนื่องมานาน เช่น การใช้เวลาอยู่บนเตียงมากเกินไป อาจจะนั่งเฉยๆ หรือนั่งเล่นโดยไม่ได้นอนหลับ การใช้ยาบางชนิด การพฤติกรรมการงีบหลับบ่อยๆ และความกังวล ทั้งนี้ยิ่งกังวลเกี่ยวกับการนอนมาก เท่าไหร่ก็จะยิ่งหลับยากเท่านั้น

      สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ โรคการหายใจติดขัดขณะนอนหลับ (sleep apnoea and hypopnoea syndrome -OSAHS) ซึ่งจะเกิดจากการที่หลอดลมเกิดการบีบตัวทำให้การหายใจเกิดการหยุดชะงัก โดยมีอาการกรนเสียงดังเป็นอาการหลักของโรคนี้ ทำให้ผู้ป่วยจะหลับไม่ต่อเนื่อง หลับๆ ตื่นๆ การรักษาต้องใช้เครื่องมือในระหว่างนอนหลับเพื่อขยายกล้ามเนื้อบริเวณคอ เพื่อลดอาการดังกล่าว

      การรักษาและการป้องกัน
      การรักษาด้วยยาจะถูกใช้บ่อยๆ เป็นการรักษาแบบง่ายๆ ที่แพทย์ทั่วไปมักนิยมใช้กัน โดยจะให้ยานอนหลับซึ่งแพทย์มักจะบอกให้ใช้ได้ชั่วคราว หรือเมื่อต้องการเท่านั้น ห้ามใช้ยาต่อเนื่องเพราะอาจจะทำให้เกิดการติดยาได้ ทั้งนี้บางทีผู้ป่วยอาจจะต้องการแค่ยาแบบอ่อนๆ เพื่อเริ่มหลับได้เท่านั้น ไม่ถึงกับต้องใช้ยานอนหลับก็เป็นได้

      บางทีคนที่อาการนอนไม่หลับอาจจะต้องการยากลุ่มยาแก้อาการซึมเศร้า (Antidepressant) หรือกลุ่ม Anti-anxiety มากกว่าจะต้องการยานอนหลับ ซึ่งน่าจะลองปรึกษาแพทย์ดูเพื่อให้มีทางเลือกมากขึ้น

      แต่หากปัญหาการนอนหลับยังคงเป็นแบบต่อเนื่องและเรื้อรัง แนะนำให้ไปปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชขาญการนอนหลับ เพื่อหาสาเหตุโดยละเอียด และหาวิธีวางแผนการรักษาต่อไป ซึ่งจะมีทั้งการแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวร่วมด้วย เช่น ไปที่เตียงเฉพาะเมื่อจะไปนอนเท่านั้น การฝึกการผ่อนคลาย นอนให้เป็นเวลา

      นอกจากนี้ยังมีวิธีการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกที่อาจจะช่วยได้เช่น การฝังเข็ม การนวด การนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียด ซึ่งอาจได้ผลไม่แพ้การรักษาด้วยยานอนหลับ แต่ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อน โดยสอบถามถึงวิธีการอื่นที่ท่านสนใจกับแพทย์ ทั้งนี้ไม่แนะนำให้หยุดยาที่แพทย์จ่ายให้ด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์

      อาหารอะไรที่ช่วยได้
      จากที่ค้นมาพบว่ามีการศึกเกี่ยวพืชชื่อ "Valerian" มีคุณสมบัติช่วยในเรื่องการนอนหลับได้ดี และควรใช้สลับกับพืชชนิดอื่นๆ จะยิ่งให้ผลดียิ่งขึ้น เช่น Chamomile, Melissa, Kava ล้วนแต่เป็นพืชที่ไม่มีและไม่มีขายในเมืองไทยเลย แต่มีคำเตือนเกี่ยวกับ Kava ให้ระมัดระวังในการใช้เพราะมีผลข้างเคียงต่อตับ

      Melatonin ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบการรักษาและการป้องกันฮอร์โมนธรรมชาติที่เกี่ยวกับการนอนหลับ คนที่เดินทางไปเมืองนอกบ่อยๆ จะนิยมรับประทาน Melatonin เพราะช่วยได้ดีในเรื่องอาการ Jet lag ซึ่งในที่ป่วยเรื้อรังแนะนำให้ใช้ Melatonin สลับกับ Valerian และจะได้ผลดีขึ้นหากใช้สลับกับ GABA (gamma-aminobutyric acid) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่จะขัดขวางการสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับความเครียด อีกตัวก็ 5-HTP (เป็นกรดอมิโนชนิดหนึ่ง) ที่จะช่วยเพิ่มระดับการนอนหลับได้ดีขึ้น โดยการไปเพิ่มการสร้างสารชื่อ Serotonin

      การที่ร่างกายขาด Calcium หรือ Magnesium ก็จะส่งผลให้เกิดการนอนไม่หลับหรือนอนหลับยากในบางคน อีกทั้ง มันยังไปช่วยเสริมประสิทธิภาพของ 5-HTP ให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

      อย่างไรก็ตามหากอาการโรคนอนไม่หลับมีสาเหตุมาจากภาวะซึมเศร้า (Depression) แนะนำให้เริ่มต้นด้วยพืช St. John's wort ซึ่งมีการศึกษาวิจัยมากมายในการช่วยบรรเทาอาการภาวะซึมเศร้า (Depression) อย่างได้ผลดีทีเดียว แต่เนื่องจาก St. John's wort เป็นพืชชนิดหนึ่งซึ่งเป็นสารธรรมชาติจะออกฤทธิ์ช้าดังนั้นควรรับประทานต่อเนื่องกันอย่างน้อย 1 เดือนถึงจะเริ่มเห็นผลเต็มที่

      วิธีดูแลรักษาด้วยตนเอง

      -ควรนอนหลับอย่างเป็นเวลาไม่ว่าจะเป็นวันทำงานหรือวันหยุด พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงการงีบหลับระหว่างวัน

      -งดชา กาแฟและเครื่องดื่มที่ผสมอัลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

      -งดสูบบุหรี่

      -ออกกำลังกายเบาๆ ซึ่งมันจะช่วยลดความเครียด และทำให้หลับง่ายขึ้น (อย่างไรก็ดีควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในเวลาช่วงเย็น เพราะอาจจะทำให้ง่วงช้าลง)

      -พยายามผ่อนคลายสักชั่วโมงก่อนจะถึงเวลานอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูทีวี แต่หลีกเลี่ยงที่จะดูเรื่องที่ตื่นเต้น เร้าใจ

      -อาบน้ำให้สบายและผ่อนคลายโดยอาจจะใช้สมุนไพร Chamomile ผสมในน้ำอุ่นอาบน้ำ ก็จะช่วยผ่อนคลายได้มาก

      -หลีกเลี่ยงการทำงานบนที่นอน หรือดูทีวีบนที่นอน

      -ลุกจากเตียงหากว่าเกิดตื่นขึ้นมากลางดึกและไม่สามารถนอนหลับได้ จนกว้าจะรู้สึกเริ่มง่วง
      หลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่อาจจะทำให้หลับยาก เช่น โสม Gaurana Kola-Nut

      เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์

      -มีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันมากกว่า 1 เดือนและยังหาสาเหตุไม่ได้

      -รู้สึกเพลียทั้งวัน และงีบหลับในระหว่างวันบ่อยๆ

      -รู้สึกเหนื่อยมากๆ จนรบกวนการทำกิจกรรมปกติของเรา

      -มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับหลังจากเกิดเหตุการณ์ที่รุนแรงกับชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ตกงาน เป็นต้น
      273 อ่าน

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×