แลหน้า 15 ปี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล บนถนนสู่ "มหาอำนาจด - แลหน้า 15 ปี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล บนถนนสู่ "มหาอำนาจด นิยาย แลหน้า 15 ปี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล บนถนนสู่ "มหาอำนาจด : Dek-D.com - Writer

    แลหน้า 15 ปี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล บนถนนสู่ "มหาอำนาจด

    แลหน้า 15 ปี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหิดล บนถนนสู่ "มหาอำนาจดนตรีโลก"

    ผู้เข้าชมรวม

    278

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    278

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 เม.ย. 53 / 19:16 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
     
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      ไม่ว่าจะเป็นรางวัลระดับประเทศหรือระดับโลกที่นักเรียนนักศึกษาจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับในหลายรายการหรือการก้าวไปสู่การเป็น 1 ใน 9 สถาบันดนตรีของเอเชีย ที่สถาบันเรนโกล ประเทศอังกฤษ ได้เลือกนำมาตีพิมพ์ใน คู่มือแนะนำสถาบันดนตรีของโลกจาก 198 สถาบันดนตรี ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จทั้งหมดนี้ยากที่จะเกิดขึ้นหากขาด ผู้บริหารคิดนอกกรอบอย่าง "รศ.ดร.สุกรี เจริญสุข" ผู้ก่อตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ปลุกเร้าเสียงคุณค่าของดนตรีให้ดังขึ้นในใจคนไทยอีกครั้ง

      แม้จากนี้ รศ.ดร.สุกรีจะมาเข้าทำงาน ในตำแหน่งคณบดีวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการมาแล้วกว่า 4 สมัย ซึ่งตามระเบียบของมหาวิทยาลัยจะไม่สามารถอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อได้ แต่การทำงานในตำแหน่งใหม่ก็ไม่ได้สร้างความต่างให้กับความคิดของผู้นำความเจริญ งอกงามมาสู่โรงเรียนดนตรีที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทยแห่งนี้

      จากปีแรกที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีนักศึกษาและอาจารย์เพียงหลักร้อย และต้องย้ายไปเปิดการสอนการเรียนตามตึกต่าง ๆ ถึงแม้จะมีตึกของตนเองแต่อาจารย์ก็ยังต้องถือหนังสือพร้อมกับหิ้วพัดลมไปสอนเพราะตึกไม่มีแอร์ จนมาวันนี้ที่วิทยาลัยมีอายุครบ 15 ปี จำนวนนักศึกษารวมทุกระดับเพิ่มขึ้นแตะหลักพัน มีคณาจารย์ทั้งไทยและต่างชาติเกิน 100 คน ที่สำคัญตั้งอยู่ในสถานที่และมีอาคารที่อาจเรียกได้ว่าสวยที่สุด

      วิทยาลัยดุริยางคศิลป์อาจดูเป็นคณะน้องใหม่ที่อาจไม่ได้รับการจัดสรร งบประมาณมากเท่าคณะแพทย์หรือคณะอื่น ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล แต่การเป็นหางราชสีห์ที่ได้รับงบประมาณถึง 100 ล้านบาทเพื่อก่อตั้งก็นับว่ามากพอที่จะสร้างวิทยาลัยดนตรีดี ๆ จนสามารถประเมินได้ว่าจะสร้างชื่อเสียงให้กับตนเองได้โดยไม่ต้องใช้งบฯไปกับการโฆษณา

      รศ.ดร.สุกรีเล่าถึงแนวคิดในตอนนั้นว่า สาเหตุที่เลือกมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นที่ก่อกำเนิดวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เนื่องจาก เห็นว่าเป็นมหาวิทยาลัยแพทย์ ซึ่งแน่นอนว่าจะมีแพทย์เป็นผู้บริหารที่มีทั้งความฉลาดมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี พูดอะไรคนเชื่อถือ ทำให้โอกาสที่วิชาดนตรีจะเติบโตก็มีมาก เพราะธรรมชาติของหมอจะตัดสินใจเร็ว เมื่อมีคนป่วยเร่งด่วนมาไม่ต้องมาประชุมว่าค่าใช้จ่ายเท่าไร แต่ลงมือรักษาเลย ช่วยชีวิตคนก่อน

      "ตัวชี้วัดความสำเร็จวันนี้คือสังคมรับรู้และมีความรู้สึกที่ดีกับเราโดยไม่ได้เสียงบฯโฆษณา เงินทุกบาทที่ได้มาใช้กับการพัฒนาวิทยาลัยทั้งหมด เพราะเชื่อว่าฆ้องดีไม่ต้องตีมันก็ดัง แต่หากฆ้องไม่ดีตีให้ตายก็ไม่ดัง"

      เด็กเก่งเบนเข็มเรียนดนตรีแทนแพทย์ วิศวะ

      ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นเด่นชัดในวันนี้ หลังจากที่ รศ.ดร สุกรีได้พลิกโฉมหน้าอาชีพดนตรีปัจจุบัน จากที่เคยเห็นว่าเป็นวิชาชีพที่ไม่มีความแน่นอน ก็พลิกสถานการณ์ด้วยการให้นักดนตรีที่มีฝีมือออกไปเล่นเครื่องดนตรีราคาเรือนแสนอย่างแซกโซโฟนตามริมถนนกลบเสียงซอของวณิพกริมทาง เพื่อสร้างมุมมองใหม่ให้กับอาชีพดนตรี รวมถึงการผลิตคนที่มีฝีมือออกไปประดับวงการไม่น้อย คนจึงเริ่มเห็นภาพว่าวิชาดนตรีเป็นหนทางสู่การสร้างรายได้ ไม่แพ้อาชีพหมอ วิศวกร หรือนักธุรกิจ

      "เห็นได้ชัดว่า เมื่อก่อนคนเรียนดนตรีจะเป็นเด็กที่สอบเข้าที่ไหนไม่ได้ หรือมีฐานะยากจนก็จะมาเรียนดนตรีทำให้วิชาดนตรีดูด้อย แต่ปัจจุบันคนฉลาดและมีฐานะมาเรียนดนตรี ทั้งที่เมื่อก่อนคนเก่งจะเลือกเรียนหมอ วิศวะ ทำให้เปลี่ยนภาพดนตรี ให้เป็นวิชาของนักปราชญ์ ประเด็นสำคัญคุณภาพของนักดนตรีต้องดีเพราะจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนความคิดคน สิ่งที่กำลังจะตายต่อไปคือคนที่มีแต่ฐานะหรือหน้าตาแต่ไม่มีฝีมือก็จะไม่ได้รับความนิยม เแต่เมื่อคนเห็นของดีก็จะเกิดความศรัทธาและเข้าไปอยู่ในใจคน"

      สร้างคนออกไปสร้างงาน

      ตามทรรศนะของ รศ.ดร.สุกรี วิชาดนตรีเป็นอาชีพที่ได้ค่าตอบแทนแพงที่สุดในโลก เพราะรับค่าจ้างเป็นวินาที อย่างเขียนเพลงประกอบรายการโทรทัศน์ วิทยุ หรือบางครั้งเขียนเพลง 1 เพลงได้ 5 แสนบาท เพราะศิลปะดนตรีมีราคาไม่ตายตัว แต่ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์และรสนิยม จึงไม่ห่วงว่าเด็กที่จบไปจะมีงานทำหรือไม่ แต่จะเน้นที่การติดอาวุธจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็ก

      "ตามเกณฑ์ที่วัดกันนี่จะดูว่าบัณฑิตได้งานทำกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าทำอย่างนั้นสร้างเด็กออกไปหางานทำ เด็กก็ตกงานหมดเพราะงานมีเท่าเดิม แต่คนทำงานมีมากขึ้น เราจึงเน้นว่าต้องสร้างคนออกไปสร้างงาน ทำอย่างไรให้เด็กมีความรู้และจินตนาการ หากมีฝีมือ มีคุณภาพไม่ต้องห่วงเรื่องจะมีงานทำหรือไม่"

      อนาคตมหาอำนาจวิชาการดนตรี

      ปลายปี 2554 หรืออีก 2 ปีข้างหน้าโครงการต่าง ๆ ที่ รศ.ดร.สุกรีวางไว้ ทั้งหอแสดงดนตรี 2,106 ที่นั่ง ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หอพักนักเรียนดนตรี 120 ห้องที่เก็บเสียงรบกวน มีเปียโนใส่ไว้ทุกห้อง หรือพิพิธภัณฑ์ดนตรี (Music Musium) ที่จะเป็นสวนสนุกแหล่งความรู้ความบันเทิงและเป็นที่รวบรวมผลงานของภูมิภาคอุษาคเนย์ ก็จะเสร็จพร้อมรองรับนักเรียนทั้งชาวไทยและต่างชาติ

      รวมไปถึงการใช้พิพิธภัณฑ์ต่อยอดเป็นแหล่งรวบรวบและพัฒนาวิชาการ เช่น เปิดสอนวิชาดนตรีพื้นบ้านหรือวิชาดนตรีโลก

      "ถ้าเราจะสอนวิชาดนตรีลาวสัก 3 หน่วยกิต 10 วัน หาศาสตราจารย์ด้านดนตรีจากลาวพร้อมนักดนตรีมาแสดงให้ดู เปิดรับนักศึกษาจากทั่วโลกเข้ามาเรียน คิดค่าเรียน 500 ยูโร หากรับ 100 คน ก็สร้างรายได้ประมาณ 2,500,000 บาท ถ้าเราจ่ายให้อาจารย์กับนักดนตรีลาวสัก 1,000,000 บาท ถามว่าเขาจะรักเราไหม ทำแบบนี้กับอาจารย์และนักดนตรีของอาเซียนใครก็อยากมาเพราะได้ค่าตอบแทนมากกว่าอยู่ในประเทศของเขา"

      สิ่งที่ได้มากกว่านั้น ดร. สุกรี บอกว่า คนทั่วโลกจะรู้จักมหาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์โดยที่ไม่ต้องเซ็น MOU กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เรียนแล้วสามารถโอนเครดิตไปได้เลยกลายเป็นมหาอำนาจทางวิชาการที่สำคัญ ทำให้วิชาดนตรีซึ่งดูกระจอกของภูมิภาคนี้ให้เป็นวิชาการ แล้วโลกรู้จัก

      นั่นเป็นทิศทางของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล จากนี้และหากวันนั้นมีใครตั้งคำถามว่า มหิดลมีดนตรีด้วยหรือ ? อาจารย์สุกรีก็จะตอบแบบติดตลกว่า ระวังนะว่าอีก 5-10 ปีคนจะถามว่า "มหิดลมีหมอด้วยหรือ ?"

      ประชาชาตธุรกิจ



      ขอขอบคุณข้อมูลดีดี จาก   UNIGANG

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×