"จักรยานขาว" ในรั้วศาลายา - "จักรยานขาว" ในรั้วศาลายา นิยาย "จักรยานขาว" ในรั้วศาลายา : Dek-D.com - Writer

    "จักรยานขาว" ในรั้วศาลายา

    "จักรยานขาว" ในรั้วศาลายา

    ผู้เข้าชมรวม

    314

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    3

    ผู้เข้าชมรวม


    314

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 เม.ย. 53 / 19:08 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ความเคลื่อนไหวใต้ร่มไม้ที่ผูกกันคล้ายซุ้มธรรมชาติลู่ลมไปตามถนนสายหลักภายในมหาวิทยาลัยมหิดล จักรยานกับชุดนักศึกษาดูจะเป็นอะไรที่เข้ากันได้อย่างลงตัว ภาพสองล้อถีบเป็นภาพที่เห็นได้ทั่วไปในรั้วมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จักรยานเหมือนเป็นวัฒนธรรมหนึ่งของที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เกิดขึ้นเนื่องจากในมหาวิทยาลัยมหิดล 
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
       



      เมื่อสมัยก่อนยังมีถนนภายในมหาวิทยาลัยไม่กี่เส้น อาคารต่าง ๆ ก็มีจำนวนน้อย การขี่จักรยานจึงถือว่าเป็นการเดินทางที่สะดวก ต่อมา มหาวิทยาลัยเริ่มจัดให้มีรถรางบริการนักศึกษาและบุคลากร เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก โดยแบ่งเป็นสายวิ่งจากต้นทางบ้านศรีตรัง (หอพัก 11) ไปยังสถานที่ต่าง ๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ ตามเบอร์และสีของรถราง และเนื่องจากมีนักศึกษาและบุคลากร ใช้บริการรถรางเป็นจำนวนมาก และไม่เพียงพอ
         
        จุดเริ่มต้นที่เกิดโครงการจักรยานสาธารณะจึงเกิดขึ้น โดย รองศาสตราจารย์ปรีชา สุนทรานันท์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและกิจกรรมพิเศษได้มองเห็นว่าในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีจักรยานจำนวนมาก และได้ขึ้นทะเบียน 5,000 กว่าคัน มีทั้งนักศึกษาที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง และมีบางส่วนที่ไม่ขึ้นทะเบียน และเนื่องจากในมหาวิทยาลัยมีจักรยานจำนวนมากที่ไม่มีเจ้าของ เนื่องจากนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ได้นำกลับ ท่านรองฯ ปรีชา จึงจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลโครงการจักรยานสาธารณะดังกล่าว โดยให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ถาวร กมุทศรี รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เป็นประธานกรรมการ





         

        อาจารย์ถาวร เล่าถึงความเป็นมาว่าจักรยานสาธารณะ เป็นการเปิดตัวครั้งแรก นับตั้งแต่งานรวมพลคนปั่นจักรยานที่ผ่านมา โดยมีหลายแนวคิด จนกลายเป็นจักรยานสาธารณะ อีกส่วนหนึ่งมองว่า เวลาที่นักศึกษาจบไป จะมีนักศึกษาส่วนหนึ่งทิ้งจักรยาน ซึ่งมีจำนวนไม่น้อย จักรยานที่ตกค้างในหอพักหลายร้อยคัน
         
        "การนำจักรยานเก่ามาซ่อมแซม เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้ ควรจะเป็น จักรยานสีขาว ซึ่งการสัญจรไปมาภายในมหาวิทยาลัยจักรยานน่าจะเป็นพาหนะที่สะดวกที่สุด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยสามารถปั่นจักรยานจากลานจอดรถมายังตึกสำนักงานได้ เพราะบุคลากรส่วนใหญ่ไม่มีจักรยานใช้ส่วนตัว และ Concept ของโครงการนี้ จักรยานสาธารณะ คือ จักรยานที่ทาสีขาวทั้งคัน ใครก็สามารถหยิบจักรยานนำมาใช้ได้ จอดที่ไหนก็ได้ ทั้งนักศึกษาและบุคลากร แต่ห้ามนำออกนอกมหาวิทยาลัย
         
        จุดเริ่มของโครงการนี้ คือ การนำจักรยานมาทดลองใช้ก่อน จำนวน 20 คัน เป้าหมายในอนาคตส่วนหนึ่งจะขอสปอนเซอร์บริษัทเอกชน เพื่อเปิดตัวโครงการนี้อย่างเต็มตัวในวันเปิดภาคเรียนของปีการศึกษาที่จะถึงนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่มีจักรยานมากที่สุดในพื้นที่ ในยุคก่อนนั้นจะเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ปัจจุบันนี้มีสภาวการณ์เปลี่ยนแปลง
         
        เนื้อที่จำนวน 1,200 กว่าไร่ เหมาะสำหรับการปั่นจักรยานมาก กับการสัญจรไปมาระยะทาง 1-2กิโลเมตร ไม่ทำให้เหนื่อยมาก อีกทั้งมีผู้ใช้บริการรถรางเพิ่มมากขึ้น จักรยานสาธารณะจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสัญจรไปมาที่สะดวก และส่วนเส้นทางสัญจรทางจักรยาน (bike lane) ที่ทำใหม่ด้านหน้าตึกสำนักงานอธิการบดี มาถึงหน้าสถาบันโภชนาการ ในอนาคตจะมีการเพิ่ม (bike lane) ให้มากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการเดินทาง โดยได้การรองรับจากงบประมาณของมหาวิทยาลัย เพราะโครงการจักรยานสาธารณะทำให้เกิดประโยชน์จริง ในปีการศึกษาหน้าจะขอรับบริจาคจักรยานจากนักศึกษาที่ไม่นำจักรยานกลับเมื่อศึกษาจบแล้ว เพื่อนำจักรยานที่ทิ้งเปล่านำมาใช้ประโยชน์"
         



        จุดเริ่มต้นจักรยานจำนวน 20 คัน และในอนาคตจะเพิ่มเป็น 200 คัน มีการทำสัญลักษณ์เป็นสติ๊กเกอร์เพื่อให้ทราบว่าเป็นจักรยานสาธารณะ หรือติดเบอร์ที่จักรยาน ไม่จำเป็นต้องเป็นสีขาวทั้งคัน แต่ทุกคนต้องมีวัฒนธรรมว่าไม่นำจักรยานออกนอกมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ทางทีมงานในชุดที่ดูแลอยู่ จะมีหน่วยที่ซ่อมแซมบำรุงจักรยาน ส่วนในเรื่องความปลอดภัยกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม กับกองกิจการนักศึกษา เป็นผู้ดูแลในเรื่องดังกล่าว ท้ายนี้อาจารย์ได้กล่าวว่า จะขยายโครงการนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสุดความสามารถในการหาจักรยานและจากการสนับสนุนในด้านงบประมาณของมหาวิทยาลัย
         
        “ปาณัท พัดแก้ว” นักศึกษา ปี 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ นักศึกษาที่เคยใช้บริการจักรยานสาธารณะ โครงการจักรยานสาธารณะตนคิดว่า เป็นโครงการที่ดีมาก สำหรับนักศึกษาที่ไป – กลับ จากหอพัก เวลาไปเรียน มีนักศึกษาหลายคนที่ไม่มีจักรยาน และเร่งรีบในการไปเรียน รวมถึงช่วยอำนวยความสะดวกในกิจกรรมต่างๆ ของนักศึกษา "อยากให้มหาวิทยาลัยเพิ่มส่วนของ bike lane และอยากให้เพิ่มอาคารเชื่อมต่อที่มีหลังคา เพราะเมื่อเวลาถึงฤดูฝนจะได้ขับจักรยานโดยไม่เปียกฝน"
         

        ส่วน “จดูรพร กิรติเสวี” นักวิชาการสารสนเทศ งานบริหารงานเอกสาร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี บุคลากรที่ใช้จักรยานเป็นพาหนะตั้งแต่ปี 2548 "ขณะนี้จักรยานมีคนใช้อยู่ หรือไม่มี จะได้ทราบว่าขณะนี้จักรยานคันนี้มีคนใช้อยู่ และขอเพิ่มเติมเรื่องเส้นทางจักรยาน เพราะว่าเส้นทางจักรยานมีน้อย อาจจะทำให้การขับขี่จักรยานผิดกฎระเบียบได้"
         
        จากแนวทางการทำงาน และความร่วมมือของส่วนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ทำให้ภาพหลังอาน 2ล้อ กลับมามีบทบาทอีกครั้ง อีกทั้ง ยังเป็นการลดมลภาวะในมหาวิทยาลัยเพื่อพื้นที่สีเขียวของเราจะได้กลับมาสดใสอีกครั้ง



      ขอขอบคุณข้อมูลดีดี  จาก Manager.co.th  และ UNIGANG

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×