นิทานพื้นบ้าน หมายถึง เรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมา ดั้งเดิมนั้นถ่ายทอดกันด้วยมุขปาฐะ( การเล่าปากต่อปากกันมา การบอกเล่าต่อๆกันมา โดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์ ) แต่ก็มีอยู่มากที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร และนิทานพื้นบ้านต้องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา ภาษาชาวบ้านทั่วๆไป เป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมาช้านาน หลายชั่วอายุคน ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าดั้งเดิม ต้นเรื่อง
วัตถุประสงค์ในการเล่า นิทานพื้นบ้าน คือ ? |
เพื่อให้เกิดความบันเทิง ความสนุกสนานเบิกบานใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด เป็นคติเตือนใจ ช่วยอบรมบ่มนิสัย ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อเสริมศรัทธาในศาสนา เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์
เนื้อเรื่องของนิทานพื้นบ้าน |
เนื้อเรื่องของนิทานเป็นเรื่องนานาชนิดแตกต่างกันไป อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัย ความรัก ความโกรธ เกลียด ริษยา อาฆาต ตลกขบขัน หรือแม้แต่เรื่องแปลกประหลาดผิดปกติธรรมดา
มีลักษณะต่างๆกัน อาจเป็นคน ยักษ์ ครุฑ นาค เจ้าหญิง เจ้าชาย อมนุษย์ แม่มด เทวดา นางฟ้า แต่ให้มีความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมต่างๆเหมือนคนทั่วไป หรืออาจจะเหมือนที่เราอยากจะเป็น
นิทานพื้นบ้าน แต่ละท้องถิ่น |
นิทานในแต่ละท้องถิ่นมีเนื้อเรื่องส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน เพราะเมื่อนิทานตกไปอยู่ในท้องถิ่นใดก็มักมีการปรับเนื้อเรื่องให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของถิ่นนั้น ส่วนรายละเอียดจะแตกต่างไปบ้างตามสภาพแวดล้อมและอิทธิพลของวัฒนธรรมความเชื่อของ แต่ละท้องถิ่น
นิทานพื้นบ้านในภาคอีสาน มีเรื่องดังต่อไปนี้
เข้าไปอ่านนิทานกันดีกว่า!!! O W E N TM.
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น