วิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล .. มาใหม่แต่มาแรง~! - วิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล .. มาใหม่แต่มาแรง~! นิยาย วิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล .. มาใหม่แต่มาแรง~! : Dek-D.com - Writer

    วิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดล .. มาใหม่แต่มาแรง~!

    โดย the siXth

    วิศวะ ชีวการแพทย์ -- วิศวะอะไรชื่อแปลกๆ ?? แนะนำสาขาน้องที่มาใหม่..แต่มาแรง~!! ใครยังไม่รู้จักเข้ามาอ่านกันได้เลย

    ผู้เข้าชมรวม

    74,554

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    60

    ผู้เข้าชมรวม


    74.55K

    ความคิดเห็น


    196

    คนติดตาม


    48
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 เม.ย. 54 / 13:14 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
      Department of Biomedical Engineering, Faculty of Engineering  
      Mahidol University

       

      วิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering) (ตามราชบัณฑิตฯใช้คำนี้นะคะ)
      บางคนใช้คำว่า ชีวเวช  หรือ วิศวกรรมการแพทย์ (
      medical engineering)  
      เป็นสาขาวิชาที่นำเอาความรู้ทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์
       คณิตศาสตร์ ความรู้ทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เพื่อออกแบบ สร้าง หรือพัฒนา เครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐาน สามารถใช้งานได้จริง รวมถึงการศึกษาค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อจุดมุ่งหมายในการวินิจฉัย ป้องกัน ติดตาม บำบัด บรรเทา รักษาโรค เครื่องมือแพทย์ในที่นี้ก็รวมตั้งแต่อุปกรณ์/ผลิตภัณฑ์ ซอฟท์แวร์ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้มักต้อง
      มีประสิทธิภาพสูง ต้องการขั้นตอนการผลิตที่มีมาตรฐาน และที่สำคัญก็คือ ต้องสามารถใช้ได้โดยมีความปลอดภัยกับทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ผู้ใช้เครื่องมือ

      ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ความรู้ก็อย่างเช่น นำสมการคณิตศาสตร์มาอธิบายปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเพื่อคาดเดาเหตุการณ์ในอนาคต, ความรู้ทางกลศาสตร์และคอมพิวเตอร์ใช้ในการสร้างระบบหุ่นยนต์นำทางการผ่าตัด และเทคโนโลยีในเครื่องมือผ่าตัด, ความรู้ทางกลศาสตร์เพื่อออกแบบข้อต่อหรืออวัยวะเทียม, ความรู้ทางชีวเคมีและไฟฟ้าเพื่อออกแบบอุปกรณ์ตรวจสอบสารในเลือด, ความรู้ทางคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางการแพทย์, ความรู้ทางด้านเคมีและชีวเคมีเพื่อการสังเคราะห์โพลิเมอร์นำส่งยาเข้าสู่ร่างกาย  เป็นต้น

                         สรุปว่าสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาวิชาที่บูรณาการศาสตร์ต่างๆ ต่อไปนี้ วิศวกรรมศาสตร์ ทั้งไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ นาโน วัสดุ หรือแม้แต่ความรู้ทางวิศวกรรมโยธาก็มีประโยชน์ในสาขานี้ค่ะ รวมถึงความรู้ในสาขาแพทยศาสตร์ ชีววิทยา เคมี ชีวเคมี เภสัชศาสตร์ รังสีวิทยา เทคนิคการแพทย์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เพื่อนำความรู้มาใช้พัฒนาหรือสร้างเครื่องมือ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์โดยเฉพาะค่ะ

                        ก็อย่างที่เรารู้กันอยู่ว่า การรักษานั้นต้องใช้เครื่องมือ ตั้งแต่ตรวจหาโรค วิเคราะห์ผล ลงมือทำการรักษา การดูแลไม่ให้กลับมาเป็นโรคอีก จนถึงการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย (เช่น การเดิน, การทำสิ่งเล็กๆน้อยๆได้ด้วยตัวเอง) เครื่องมือ เทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ทั้งหมดนั่นแหละค่ะที่วิศวกรสาขานี้ จะเป็นผู้เกี่ยวข้อง
                      ตอนที่เรายังไม่มีสาขานี้ ก็ต้องใช้วิศวกรในสาขาอื่น (เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล คอม ) ซึ่งไม่มีความรู้ความชำนาญเฉพาะลงไปในเรื่องของชีววิทยาและระบบร่างกายของคน หรือมีหมอเป็นผู้ทำการวิจัยซึ่งไม่มีความสามารถในด้านวิศวกรรมเพียงพอ หรือให้นักเทคนิคการแพทย์ขยับจากผู้ใช้เครื่องมือมาทดลองสร้างเครื่องมือซะเอง หรือต้องจ้างวิศวกรชาวต่างชาติมา แต่เราเองก็มีประสิทธิภาพมากพอที่จะพัฒนาในส่วนได้ด้วยตนเองนะคะ สาเหตุที่จะต้องมีการพัฒนาด้วยตนเองนั้นเพราะ ต้นทุนของเครื่องมือแพทย์ที่นำเข้ามีราคาสูงมากซึ่งจะทำให้เทคโนโลยีเหล่านี้จำกัดการเข้าถึง บางเทคโนโลยีมีความจำเพาะของงานสูงมาก ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นที่ใกล้เคียงกันได้ และด้วยลักษณะกายวิภาคของคนเอเชียและโรคของเขตร้อนซึ่งแตกต่างกับประเทศยักษ์ใหญ่ที่ผลิตเครื่องมือแพทย์ส่งให้เราอยู่นั้นทำให้ประเทศเรามีความต้องการบางอย่างที่เฉพาะลงไป

                     สำหรับน้องๆคนไหนที่มีความคิดอยากช่วยเหลือหรือมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพกายและใจของผู้ป่วยทั้งหลายซึ่งก็คือเราๆทุกคน แต่ว่ายังมีความคิดสับสนเพราะไม่ชอบงานในงานบริการในลักษณะของพยาบาล หมอ นักสาธารณสุข และอื่นๆ ..  " วิศวกรรมชีวการแพทย์ " ก็คงเป็นอีกทางเลือกที่จะทำให้น้องได้มีส่วนร่วมในการช่วยหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยวิธีและความถนัดของเรานะคะ แต่ก็ต้องเน้นว่าต้องชอบวิศวกรรมและเรื่องราวทางการแพทย์จริงๆนะคะ เพราะว่ามันก็เฉพาะทางลงไปในระดับหนึ่งแล้วค่ะ 
                        
      จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าวิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องพัฒนาควบคู่ไปกับความก้าวหน้าด้านการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ เพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพของคนไทยค่ะ

      ตัวอย่างของงานด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ได้แก่
       
      การสร้างอวัยวะเทียม (
      Artificial Organs) : ผิวหนังเทียม หัวใจเทียม 
      การสร้างอุปกรณ์ตรวจวัดทางชีววิทยา (
      Biosensors) : ที่เห็นกันทั่วๆไปก็คือ เครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือดนั่นเองค่ะ ก็สามารถนำมาวัดสารอื่นๆได้อีกมากมาย
      Computer integrated surgery : แขนหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ระบบนำทางการผ่าตัด 
      Neural network : เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยตรวจสอบหรือทำให้การทำงานของคุณหมอสะดวกมากขึ้น อย่างเช่น การทำนายการเกิดโรคมะเร็งซ้ำโดยอาศัยจากข้อมูลการรักษา, ทำนายโรคจากอาการ
      Image processing : การประมวลภาพจากเครื่องCT Scan, MRI มาประมวลให้สะดวกกับการวิเคราะห์ผล เช่น โปรแกรมตรวจหาบริเวณของการเกิดมะเร็ง จะเห็นภาพของมะเร็งเด่นชัดขึ้นมา
      Signal processing : เป็นการนำสัญญาณมาประมวลผลหาความผิดปกติของคลื่นจากร่างกาย หรือ นำไปประยุกต์กับapplicationอื่นๆ เช่น การตรวจจับสัญญาณกระพริบตาในผู้ป่วยที่พิการทางด้านการเคลื่อนไหว ขยับได้ตั้งแต่คอขึ้นมา เพื่อใช้ในการเปิด-ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า, ตรวจจับสัญญาณสมองเมื่อเกิดอาการหลับระหว่างการทำงานหรือขับรถ
      อุปกรณ์การแพทย์ : การพัฒนา
      strethoscope โดยการติดเครื่องบันทึกเสียงสามารถเก็บเสียงหัวใจผู้ป่วยในรูปแบบของไฟล์ mp3 ได้, เครื่องMonitoringผู้ป่วย เพื่อวัดความดันโลหิต ชีพจร และออกซิเจนในเลือด
      ระบบนำส่งยา
       : การพัฒนาโพลิเมอร์นำส่งยามะเร็ง(chemo)ให้เข้าสู่บริเวณเซลล์มะเร็งให้มากที่สุดโดยไม่ทำลายเซลล์ปกติอื่นๆ
      ไฟฟ้า : การกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้าในผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต
      , เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker)
      เป็นต้น

                        สาขานี้เค้าเรียกกันว่า ' Engineering For Life ' ค่ะ ตอนเรียนเนี่ยเรียนพื้นฐานกันทุกวิชา ทุกสาขา แต่ว่าสุดท้ายแล้วแต่ละคนก็แยกกันไปทำโครงงานและงานวิจัยในสาขาที่ตัวเอง สนใจค่ะ ก็อย่างที่เห็นนั่นแหละค่ะว่าสามารถแยกย่อยลงลึกไปได้หลายทาง แล้วเครื่องมือแต่ละชิ้นนั้นก็ไม่ได้ใช้พัฒนากันแค่สัปดาห์ สองสัปดาห์ แต่ต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ หลายๆชิ้นก็เป็นหลายปีทีเดียวค่ะ

       

      *  ระดับปริญญาตรี 
      ปีการศึกษา 50 แห่งแรกเลยก็คือมีที่ มหาวิทยาลัยมหิดลที่เป็น วศ.บ.(ชีวการแพทย์) โดยตรง
        
      ส่วนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทราบมาว่าให้เลือกภาคตอนปีสอง
      ในปีการศึกษา 51 มีที่มศว. องครักษ์แล้วค่ะ
      ได้ข่าวมาว่ามหาวิทยาลัยอื่นๆกำลังดำเนินการเปิดกันอยู่หลายแห่งทีเดียวค่ะ ลองติดตามกันดูนะคะ


      ระดับป.โทและป.เอก

      ม.มหิดล ป.โท เปิดเป็นแห่งแรกตั้งแต่ พ.ศ. 2541 เปิดมากว่าสิบปีแล้วค่ะ เป็นหลักสูตรนานาชาติ
       
      โดยในช่วงแรกได้รับความร่วมมือจาก
      Imperial College University of  London และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
      และหลักสูตรป.เอกเปิดแล้วเช่นกันค่ะ
        

      เชียงใหม่ก็มีป.โท นานาชาติเหมือนกันคะ
      จุฬาฯทั้งป.โทและป.เอกในชื่อ ชีวเวช, บางมดมีป.โทสาขาที่ใช้ชื่อว่า
      biological engineering, ลาดกระบังมีทั้งป.โทและป.เอก    
      ล่าสุดปี 52 ธรรมศาสตร์เปิดแล้วค่ะ ในชื่อ
      Medical Engineering วิศวกรรมทางการแพทย์

      อีกทั้งยังมีที่เป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิต ด้วยนะคะ ชื่อวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์อุปกรณ์ชีวการแพทย์ หลากหลายสถาบันมากๆ


      * วิชาที่เรียน
        
      ที่แน่นอนว่าจะต้องไม่ธรรมดา
       
      เป็นวิศวกรรมชีวการแพทย์ ก็ต้องเรียนวิศวะ เสริมด้วยชีวะ และเรื่องการแพทย์
      . . เรื่องราวของชาววิศวะเลยโดนจับโยงเข้าสู่ร่างกายตัวเอง . .
      อย่างเช่น การหาความต้านทานไฟฟ้าของร่างกายมนุษย์
        หาความต่างศักย์ในเซลล์ การศึกษาของไหลในเส้นเลือดของคน
      ฟิสิกส์ที่หาแรงตึงเชือกกัน เราก็มาหาแรงที่กล้ามเนื้อมัดนี้มัดนั้นออกแรงในการยกของ เป็นต้น
      แต่ว่าพื้นฐานเริ่มต้นก็ต้องเรียนเหมือนๆกันนะคะ เพียงแต่การประยุกต์ใช้งานจะต่างกัน

      การเรียนของเรานั้นได้รับความร่วมมือจากหลายคณะของมหาวิทยาลัยมหิดลหลักๆก็จะเป็น
      คณะวิทยาศาสตร์ ในเรื่องการเรียนการสอนวิชาพื้นฐาน และการทดลอง
      คณะแพทยศาสตร์(ศิริราช/รามา) ในเรื่องของข้อมูลเชิงการรักษา การปรึกษาเนื่องจากหมอเป็นผู้ใช้เครื่องมือจริงในการปฏิบัติงาน  โจทย์บางอย่างคุณหมอก็จะให้เรามาศึกษาด้วยค่ะ
       
      คณะสัตวแพทยศาสคร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ ในการร่วมมือการวิจัย
       และคณะอื่นๆ อีกมากมาย

      ในมหาวิทยาลัยต่างประเทศหลายๆที่ ก็จะเปิดสาขานี้อยู่ในโรงเรียนแพทย์เลยนะคะ อย่างเช่น Harvard Medical School


      ปี 1
       
      วิชาที่เรียนรวมกันทั้งชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัย
      - วิชาศึกษาทั่วไป (สังคม)
      - ภาษาไทยและอังกฤษ

      วิชาที่เรียนกันทั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์
      -
      Calculus                                        แคลคูลัส 
      -
      Ordinary Differential Equation    สมการเชิงอนุพันธ์
      -
      Physics 1 และ 2                           ฟิสิกส์
      -
      Computer Programming               โปรแกรมภาษาซี
      -
      Basic Engineering Practice          ปฎิบัติการหรือworkshop
      -
      Engineering Drawing                    เขียนแบบวิศวกรรม

      ปี 2 
      วิชาคณะวิทยาศาสตร์ที่ภาควิชาของวิศวฯอื่นๆไม่ได้เรียนค่ะ
      -
      Foundation of  Life     ชีววิทยา
      -
      Organic Chemistry    เคมีอินทรีย์
      -
      Anatomy                    กายวิภาคศาสตร์
      -
      Physiology                 สรีรวิทยา

      วิชาของชาววิศวกรรม
      -
      Engineering Maths    เลขสำหรับวิศวกรรม
      -
      Meterials                    วัสดุวิศวกรรม
      -
      Probability                  ความน่าจะเป็น
      -
      Electric Circuit Analysis     การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
      -
      Biomechanics 1 และ 2        ชีวกลศาสตร์
      -
      Computational Methods for Biomedical Eng.    วิธีคำนวณสำหรับชาวbiomed
      -
      Electronics in Medicine       อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์
      -
      Introduction to Biomedical Eng.
      - Biomedical Eng. Lab 1          


      ปี 3 วิชาของภาคแทบทั้งหมดเลยล่ะคะ
      -
      Biochemistry           ชีวเคมี  
      - Biomedical Eng. Lab 2
      - Biomedical Measurement & instrumentation      การวัดและเครื่องมือวัดทางชีวการแพทย์
      - Biomedical Signals & Systems                            ระบบและสัญญาณทางชีวการแพทย์
      - Biomedical Thermodynamics                               อุณหพลศาสตร์ทางชีวการแพทย์
      - Control systems                                                     ระบบควบคุม
      - Design for Biomedical Engineering                      การออกแบบสำหรับวิศวกรรมชีวการแพทย์
      - Digital Systems & Microprocessors                     ระบบดิจิตอลและไมโครโพรเซสเซอร์
      - Introduction to Biomaterials & Biocompatility      ชีววัสดุและการใช้แทนกันได้ทางชีววิทยาขั้นแนะนำ
      - Philosophy, Ethics & Laws for Engineers            ปรัชญา,จรรยาบรรณและกฎหมายสำหรับวิศวกร
      - วิชาเลือกเสรี

      Summer ปี 3   เราจะต้องไปฝึกงานกันค่ะ

      ปี4     เลือกวิชาตามสาขา แล้วก็ทำ project

                      การเรียนของเราไม่เพียงแต่เข้มข้น ถึงน้ำถึงเนื้อถึงกระดูกเท่านั้นนะคะ แต่ยังมีกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และเสริมความคิดนอกห้องเรียนด้วย project หลากหลายและ การเข้า lab ของอาจารย์แต่ละท่านด้วยค่ะ เรียกได้ว่าทำโปรเจคส์ เขียนเปเปอร์ พรีเซนต์เป็นกันตั้งแต่ปีสอง ปีสามเลยค่ะ

                        วิศวกรรมชีวการแพทย์เป็นสาขาที่เปิดกว้างสำหรับผู้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆที่พร้อมจะประยุกต์มาใช้งานจริงให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า โดยที่นักศึกษาจะสามารถเลือกสิ่งที่ตนถนัดมาใช้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการศึกษาและทำงาน แต่ก็ต้องยอมรับนะคะว่าสาขานี้ยังใหม่มากในประเทศไทย

                        มักจะมีน้องๆถามเข้ามาเสมอเลยว่า ยากมั้ยคะพี่ก็ต้องขอบอกเลยนะคะว่า 'ยากค่ะ' เพราะต้องรู้หลายๆด้าน มีความรู้แค่มุมใดมุมหนึ่งก็สร้างเครื่องมือได้ไม่มีประสิทธิภาพ  ถ้าน้องๆคนไหนที่อยากจะสร้างเครื่องมือเป็นของตัวเอง หรือวิจัยการรักษาใหม่ๆแล้ว ก็ต้องทุ่มเทและให้เวลากับมันจริงๆ ถ้าใครยังไม่เทใจให้กับศาสตร์นี้เต็มร้อยล่ะก็ พี่แนะนำให้ไปเรียนวิศวกรรมสาขาอื่นที่สนใจ หรือเรียนคณะทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขก่อนก็ได้ค่ะ ลองดูว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองสนใจนะคะ

              ถึงแม้ว่าจะเพิ่งเปิด แต่ได้รับความสนใจอย่างมาก และเมื่อดูจากคะแนนที่ภาคนี้มาเป็นที่ 1 ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.มหิดล   โดยคะแนน admission เป็นดังนี้

                      ปีการศึกษา 2550                 7319 - 6306  ( รุ่นที่ 1 )
                      ปีการศึกษา 2551
                      7159 - 6637
                      ปีการศึกษา 255
      2                 8177 - 6641
                      ปีการศึกษา 2553                 21953  -18940 (ระบบใหม่)

      ถ้าใครสนใจอยากเรียนลองอ่านและหารายละเอียดเพิ่มเติมดูนะคะ ตามเวบไซต์ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศยังมีข้อมูลอีกมากเลยค่ะ และเรื่องสุดท้ายที่มีคนถามถึงมากอีกเช่นกัน คือ งาน
      วิศวกรรมชีวการแพทย์ เป็นสิ่งใหม่ในประเทศไทย เรื่องนี้เราต้องยอมรับ แต่ไม่ได้แปลว่า .. ไม่มีงาน
      งานหลายๆงานที่ควรจะเป็นวิศวกร ชีวการการแพทย์ แต่ว่าในขณะนั้นไม่มีคนที่มีองค์คามรู้ทางด้านนี้โดยเฉพาะ
      ทางองค์กรนั้นก็จะเลือก บุคลากรจากสาขาอาชีพใกล้เคียงที่มีความรู้ด้านนี้เพิ่มเติมหรือได้รับการเทรนด์เพิ่มเติมจากบริษัทไปทำงานในส่วนนั้น
       

      * เรียนจบแล้วทำอะไร ?

      1. เรียนต่อ 
                  ตอนนี้ในประเทศมีหลายที่ให้นักศึกษาสามารถศึกษาต่อได้ อย่างที่มหิดลมีหลักสูตร ป.โท และ ป. เอก และยังมีที่อื่นๆอีกหลายที่เช่น จุฬา บางมด เชียงใหม่ ลาดกระบัง สงขลา ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าสาขานี้กำลังเริ่มเป็นที่รู้จักกัน อย่างเด็กที่จบจาก ป. โท จากสาขานี้ยังไม่ตกงานสักคน และมีบริษัทจากที่ฮ่องกงโทรมาถามว่ามีเด็กจบออกไปอีกไหม อยากได้มาทำงานที่บริษัท และถ้าใครสนใจจะไปเรียนต่อต่างประเทศ สาขานี้มีที่ให้น้องเรียนต่อได้มากมาย เพราะเป็นที่สนใจอย่างมากในต่างประเทศค่ะ  ไปดูหลักสูตรในต่างประเทศ เปิดกันเยอะมากเลยค่ะ แทบจะทุกมหาวิทยาลัย โดยแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีความถนัดเฉพาะต่างๆกันไป ก็ลองดูให้ตรงกับความสนใจของเรานะคะ


      2. ทำงาน

      2.1 ทำงานบริษัท 
                      เนื่องจากความรู้ที่เราได้ศึกษาจากสาขานี้เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีได้เอง จึงแตกต่างจากการไปเรียนรู้แค่การใช้งานเครื่องมือเหมือนในสาขาอื่นๆ อย่างเทคนิคการแพทย์นั้น นักศึกษาจะได้เรียนรู้ว่าเครื่องมือแพทย์นั้นทำงานอะไร แล้วใช้อย่างไร แต่ถ้าจบจากสาขาวิศวกรรมชีวการแพทย์จะทราบถึงหลักการทำงาน และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือเหล่านั้นเพื่อให้เราสามารถพัฒนาและ ปรับปรุงเครื่องมือเหล่านั้นได้เอง กล่าวคือเราสามารถสร้างและผลิตอุปกรณ์ที่ทำงานลักษณะนั้นได้เอง โดยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีต่างประเทศ เพราะฉะนั้นงานที่รองรับนักศึกษา นอกจากจะมีบริษัทด้านการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ บริษัทด้านยา ทั้งฝ่ายผลิต ฝ่ายพัฒนางานวิจัย(R&D) ฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดการระบบและเทคโนโลยี ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญในการผลิต

                      บริษัทเครื่องมือแพทย์ ก็จะแบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ local distributor กับ บริษัทแม่ เจ้าของผลิตภัณฑ์
                      ตำแหน่งงานที่น่าสนใจ คือ ตำแหน่ง Product Specialist ซึ่งจะเป็นวิศวกรผู้มีความเชี่ยวชาญพิเศษในอุปกรณ์นั้นๆ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา หรือบางครั้งต้องสอนการใช้เครื่องมือให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ดูแลความเหมาะสมในการใช้เครื่องมือขึ้นกับชนิดของเครื่องมือนั้นๆ และอีกตำแหน่งก็คือ Service Engineer ก็จะมีทั้งส่วนของ Hardware และ Software ขึ้นอยู่กับเครื่องมืออีกเช่นกัน ซึ่งอาจจะต้องออกไปตามโรงพยาบาลต่างๆเพื่อดูแลเครื่องมือของบริษัทว่ามีปัญหาอย่างไร และต้องดำเนินการต่อไปอย่างไร

      2.2 ทำงานในโรงพยาบาล

                      โดยปกติแล้วตามโรงพยาบาลจำเป็นจะต้องมีวิศวกรหรือผู้ทำหน้าที่ดูแลเครื่องมือแพทย์ การจัดการให้เครื่องมือแพทย์เพียงพอกับการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ถ้ามีเครื่องเสียก็ทำการส่งซ่อม ดูแลการสอบเทียบ การจัดซื้อเครื่องมือต่างๆภายในโรงพยาบาล ตำแหน่งนี้ในประเทศไทยไม่ได้บังคับให้ต้องมีนะคะ ตอนนี้มีเพียงในบางโรงพยาบาลเท่านั้น แต่อยู่ระหว่างดำเนินการของทางกพ. กำลังมีการผลักดันให้มีข้อบังคับขึ้น ซึ่งก็ต้องติดตามรายละเอียดกันต่อไปค่ะ

      อีกตำแหน่งงานหนึ่งที่สามารถทำได้ก็คือ เป็นวิศวกรผู้ดูแลเครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่งเฉพาะเจาะจงเลยก็ได้ค่ะ

                      แล้วยังมีตำแหน่งอื่นๆภายในโรงพยาบาลอีกด้วยค่ะ เช่น การดูแลระบบสารสนเทศภายในโรงพยาบาล การประมวลผลภาพรังสี หรือจริงๆแล้วในแต่ละวอร์ดก็จะมีโจทย์ที่แตกต่างกันไปค่ะ ถ้าหากโรงพยาบาลนั้นมีความต้องการที่จะแก้ปัญหา เราก็สามารถใช้ความรู้ทางวิศวกรรมไปช่วยแก้ไขได้

      2.3 เปิดบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์เอง

      เพราะขณะนี้ตลาดด้านอุปกรณ์ทางการแพทย์ในประเทศเป็นที่ต้องการสูง เนื่องจากเราต้องนำเข้าเครื่องมือแพทย์มาซึ่งมีราคาแพง ถ้ามีวัสดุหรืออุปกรณ์ที่ราคาถูกลง น่าจะเป็นประโยชน์กับคนจนในประเทศเรามากเลยค่ะ

      2.4 งานวิจัย

      ถ้าผู้เรียนชอบในสายวิชาการ ก็ทำงานตามศูนย์วิจัยซึ่งมีมากมายในปัจุบัน ทั้งส่วนของโรงพยาบาลและของหน่วยงานต่างๆที่สนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นคณะแพทย์หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ, MTEC, NECTEC, BIOTEC หรือศูนย์วิจัยจุฬาภรณ์ เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้น ตามบริษัทเอกชนที่เราอาจคิดไม่ถึงว่าจะมีงานในส่วนของเราให้ทำก็ยังมีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยล่ะค่ะ อย่างเช่นบริษัทรถยนต์ บริษัททำสื่อโฆษณา

      2.5 งานด้านการจดทะเบียนเครื่องมือแพทย์

      การนำเข้าเครื่องมือแพทย์ทุกชิ้นจะต้องมีการขึ้นทะเบียนกับกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ อย.ก่อน งานนี้ก็เป็นอีกสายนึงที่สามารถทำได้ สำหรับคนที่สนใจค่ะ


      เรื่องงานนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีน้องๆถามกันมามาก พี่ก็จะขอตอบเอาไว้ตรงนี้เลยแล้วกันนะคะ
      เราต้องยอมรับว่าสาขานี้เป็นสาขาที่ใหม่มากในประเทศไทย ถ้าเราจะไปหาข้อมูลตามบริษัทที่รับแล้วล่ะก็มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลยที่จะ required วิศวกรรมชีวการแพทย์ เพราะสาขานี้ยังใหม่และไม่เป็นที่รู้จักมากนักสำหรับคนไทย ซึ่งในส่วนนี้ทางเราก็กำลังดำเนินการประชาสัมพันธ์กันอยู่ อีกทั้งบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ที่ตั้งอยู่ในไทยส่วนใหญ่จะทำหน้าที่เป็นเพียงบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายเท่านั้น บริษัทส่วนใหญ่จึงไม่ได้จำเป็นจะต้อง required สาขานี้โดยตรง อาจจ้างวิศวกรไฟฟ้ามาแล้วนำเข้าอบรมเรื่องอุปกรณ์การแพทย์เพื่อทำงานในด้านการซ่อมแซมแทนก็ได้ และที่สำคัญคือ ในขณะนี้ยังไม่มีจำนวนคนที่จะสามารถป้อนให้กับตลาดแรงงานได้มากนักจึงไม่ต้องหวังจะเห็นชื่อสาขานี้โดยทั่วไป

      สำหรับตลาดต่างประเทศ
       biomed เป็นที่ต้องการสูง ยิ่งเทคโนโลยีด้านอื่นก้าวเร็วเท่าไร biomedก็ยิ่งต้องได้เท่านั้น
      เพราะส่งผลถึงสุขภาพ คุณภาพชีวิต และอายุขัยของประชากร ซึ่งส่งผลกระทบต่อไปในอีกหลายมุม
      ในต่างประเทศ
       Biomedical Engineer มี rank อันดับเงินเดือนอยู่อันดับต้นๆของทุกสาขาของวิศวกรเลยล่ะค่ะ

      ทั้งหมดนี้ก็เป็นรายละเอียดคร่าวๆ สำหรับน้องๆที่สนใจในสาขานี้ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
      ถ้ายังมีคำถามคาใจสงสัย หรืออยากให้อธิบายอะไรเพิ่มเติมก็ถามเข้ามาได้เลยนะคะ

               
              สุดท้าย ขออนุญาตแนะนำหนังสือวิศวกรรมชีวการแพทย์ขั้นพื้นฐาน (Introduction to Biomedical Engineering)
      เป็นการแนะนำศาสตร์ของวิศวกรรมชีวการแพทย์อย่างเป็นทางการจากคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ รู้ลึก และรู้จริงค่ะ
      เขียนโดย อ.ปัณรสี และคณาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ ม.มหิดลค่ะ
       
      คลิกดูตัวอย่างหนังสือได้ในเว็บไซต์สำนักพิมพ์
       ที่นี่ และอยู่ในหมวดหนังสือแนะนำ เว็บไซต์วิชาการ คลิก ที่นี่ ค่ะ
      มีจำหน่ายที่ร้าน
       Se-Ed book และร้านหนังสือทั่วไปนะคะ
      แนะนำให้น้องคนไหนที่กำลังสงสัยว่าต้องเรียนอะไรกัน แล้วเราสนใจมั้ย ลองหยิบไปอ่านกันดูนะคะ จะได้รู้จักวิศวกรรมชีวการแพทย์มากขึ้นค่ะ :)
       

      uild
      M edical
      E
       xcellent


      ติดตามเรื่องราวทางวิชาการของวิศวกรรมชีวการแพทย์ได้ที่นี่เลยค่ะ
      fanpage ใน facebook ชื่อว่า Biomed Wichakarn
      -
       http://www.facebook.com/bme.wichakarn 

      เวบที่พี่รุ่น ๑ ได้รวบรวมข้อมูล E-book บทความ และเวบไซต์เอาไว้ ลองเข้าไปอ่านดูได้นะคะ
      http://biomedexplorer.wordpress.com/
      - www.domo409.wordpress.com 


      Recommend Website
      วิศวกรรมชีวการแพทย์ "อนาคตประเทศไทยกับ 10 อาชีพสุดฮิพ" โดย ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์

      แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
      -
         คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

      ·    สำนักงานเครือข่ายวิจัยประยุกต์ทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และชีวการแพทย์(Bart lab) มหาวิทยาลัยมหิดล 

      ·    สมาคมวิศวกรรมการแพทย์และชีววิทยาไทย มหาวิทยาลัยมหิดล  

      ·     โครงการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ชีวการแพทย์   สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มหาวิทยาลัยมหิดล

      ·      สมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย (ThaiBME)

      ·      สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

      ·      Thai Biomedical Engineering Society of Thailand  

      ·       ชุมนุมวิศวกรรมชีวเวชแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

      ·       ศูนย์วิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

      ·       Biomedical Signal and Image Processing Laboratory, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang  

       
      International references
      -
       Biomedical Engineering Society
      -
       Whitaker International Fellows and Scholars Program 
      -
       The Biomedical Engineering network
       

      อ้างอิงจาก

      - เอกสารหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×