วิธี อ่านใจมนุษย์ เเบบง่ายๆ - วิธี อ่านใจมนุษย์ เเบบง่ายๆ นิยาย วิธี อ่านใจมนุษย์ เเบบง่ายๆ : Dek-D.com - Writer

    วิธี อ่านใจมนุษย์ เเบบง่ายๆ

    เราเกิดมา เเน่นอน เราต้องอยู่ร่วมกับเปรต เทพ พรหม บุคคลทุกปรเภทจริงมั้ย ???? ทําอย่างไรใจเราจะเป็นสุข ????

    ผู้เข้าชมรวม

    781

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    781

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    1
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  22 ก.ค. 56 / 09:53 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

     ลงขื่อผู้เขียนเเป๋ว
    Usanee Junyasri
    อุษณีย์ จรรยาศรี


      

                     พระพุทธเจ้า

                            ในโลกนี้ เทพ พรหม สัตว์ เปรต มาเกิดเป็นมนุษย์มากมาย
    การที่เขาเเสดงตัวนิสัยไม่ดีออกมานั้น เพื่อให้เราได้รู้ว่า เขาเป็นเทพ พรหม สัตว์หรือเปรต เมื่อเรารู้เเล้ว ก็เมตตาเขาให้มาก เปรตเเละสัตว์เขาไม่สามารถทีจะทําตัวเป็นเช่นดั่งเทพ พรหมได้ เมื่อรู้เเล้ว ก็รีบกลับมาดูจิตตัวเองว่า เรากําลังไม่พอใจอะไรอยู่ ทําความเข้าใจ เเล้ว รีบกําจัดความไม่พอในนั้นออกจากใจโดยเร็ว ก่อนที่มันจะกัดกร่อนใจเราให้เศร้าหมอง


                                                   

    นรกสวรรค์ ๓ ประเภท

     

     

     

     

                     พระพุทธเจ้า
     

    พุทธศาสนาสอนว่า นรกสวรรค์นั้นมีอยู่จริง และได้แบ่งแยกนรกสวรรค์ไว้เป็น ๓ ประเภท คือ
    ๑. สวรรค์ในอกนรกในใจ ได้แก่อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าได้เสพอารมณ์ที่เป็นที่ตั้งแห่งความสุข เป็นที่พออกพอใจแล้วก็เรียกว่าสวรรค์ ตรงกันข้าม ถ้าอารมณ์ที่เสพไม่เป็นที่พอใจ ก็ถือว่าเป็น นรก เป็นนรกสวรรค์ที่เห็นกันได้ในปัจจุบันนี้ ชาตินี้ ไม่ต้องรอชาติหน้า

    ๒. นรกสวรรค์ในโลกนี้ที่มองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ ได้แก่ความเป็นอยู่ภายนอกของมนุษย์ในโลกนี้ ที่มีความมั่งมีศรีสุข มีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ มีเครื่องใช้สอยประณีตเหนือมนุษย์สามัญ มีความเป็นอยู่สะดวกสบายราวกับอยู่ในสวรรค์ ตรงกันข้าม ถ้าเกิดมายากจน ขาดแคลนเสื้อผ้าอาหาร บ้านก็ไม่มีต้องเที่ยวเร่ร่อนไป มีชีวิตอยู่อย่างลำบากยากแค้น หรือมีโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย เป็นคนพิการ ตาบอด หูหนวก บ้าใบ้ ง่อยเปลี้ยเสียขา อยู่อย่างทรมานไปวันๆ อย่างนี้ก็เรียว่านรก


    . สวรรค์นรกจริง ๆ ซึ่งมีอยู่อีกโลกหนึ่ง มนุษย์จะสัมผัสกับนรกสวรรค์ประเภทนี้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโลกทิพย์ ซึ่งมีสภาวะแวดล้อมและชีวิตแตกต่างจากโลกมนุษย์มาก ละเอียดกว่า สุขกว่า และทุกข์กว่าสุขกว่าในโลกมนุษย์หลายร้อยหลายพันเท่า
    คนส่วนมากเชื่อสวรรค์นรก ๒ ประเภทแรก ปฏิเสธสวรรค์นรกประเภทที่ ๓ ซึ่งเป็นสวรรค์นรกที่สำคัญที่สุดและมีอยู่จริง พวกเทพหรือสัตว์นรกในโลกทิพย์นี้ จะใช้ชีวิตอยู่เป็นระยะเวลาเป็นพันปี หมื่นปีหรือถึงแสนปี



    เราเกิดมา เเน่นอน เราต้องอยู่ร่วมกับบุคคลทุกปรเภทจริงมั้ย ????

    การที่เขาเเสดงตัว เเสดงนิสัยไม่ดีออกมานั้น เพื่อให้เราได้รู้ว่า เขาเป็นเทพ พรหม สัตว์หรือเปรต เมื่อเรารู้เเล้ว ก็เมตตาเขาให้มาก เปรตเเละสัตว์เขาไม่สามารถทีจะทําตัวเป็นเช่นดั่งเทพ พรหมได้ เมื่อรู้เเล้ว ก็รีบกลับมาดูจิตตัวเองว่า เรากําลังไม่พอใจอะไรอยู่ ทําความเข้าใจ เเล้ว รีบกําจัดความไม่พอในนั้นออกจากใจโดยเร็ว ก่อนที่มันจะกัดกร่อนจิตใจของเราให้เศร้าหมอง
     




     เมื่อเราถูกรังเเกจากมนุษย์ด้วยกัน ทั้งทางกาย วาจา เเละ ใจ

    เมื่อเราโกรธเเละเกลียดใครมากๆ เเต่ไม่สามารถทําอะไรเขาทั้งหลายได้

    ( ก็ลองทําสิ ตํารวจจะมาจับเจ้าคุกหัวโต ฮาๆๆ )

     

    เราลองขึ้นไปอยู่ตึกเอาเเค่ชั้นที่ 7 เเล้วมองลงมาดูคน สัตว์ สิ่งของที่อยู่พื้นดิน เราจะเห็นมนุษย์

    ตัวเล็กมากๆถึงเล็กมากที่สุดจนมองไม่เห็นถ้าเราอยู่ในสถาณที่สูงสูงกว่านี้

    เเล้วหลับตาข้างหนึ่งมองไปที่นิ้วหัวเเม่มือเเล้วเล็งไปที่ผู้คนเเละรถจํานวนมากที่กําลังขับ

    เคลื่อนไปมาบนท้องถนน

    นําเอาความโกรธเเค้นของคุณทั้งหมดมารวมกันไว้ที่หัวเเม่มือข้างที่คุณถนัดที่สุดเเล้วใช้ห้วเเม่

    มือกดบดขยี้ผู้คนเเละรถ ทําให้ผู้คนที่คุณเกลียดเเละคนที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ต้องตายไปด้วยเเละรถเสียหายเป็นจํานวนมากโดยใช้เวลาเพียงไม่ถึงเสี้ยวของวินาที นี้คือความนึกคิด ว่าคนเองก็ยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์คนอื่นๆ

     

    เเต่ในทางกลับกันคุณอาจรู้สึกเมตตาสงสารมนุษย์ตัวน้อยๆ ที่ไม่มีทางสู้ เเต่กลับคิดว่าตัวเองยิ่งใหญ่นักหนา ช่างน่าสงสารเเละเวทนาเพื่อนมนุษย์ของคุณอย่างจับใจ เขาทั้งหลายต้องเกิด เเก่ เจ็บเเละตาย นับชาติไม่ถ้วนได้รับทุกขเวทนายิ่งนัก คุณรู้สึกโทษของการเกิด จิตเริ่มเบื่อ เบื่ออีก เบื่อมากๆอีก จนถึงกับเบื่อที่สุด จนกระทั่งจิตทั่งจิตมันยอมปล่อยวางทุกสิ่งออกจากใจ

     

    จากกิเลสขั้นหยาบจนถึงกิเลสขั้นกลาง เเละกิเลสขั้นละเอียด ละกิเลสโดยปราณีตเเละสิ้นเชิง เเละไม่ต้องการสิ่งใดๆในโลก

    บังเกิดให้จิตของคุณได้รับปิติสุขในขณะนั้นเป็นอย่างมากที่สุด นั่นคือ ทางเข้าพระนิพพาน คุณต้องทําบ่อยๆจนจิตคุณเกิดความชํานาญ เเละปล่อยวางได้จริงๆในที่สุด 

    555791

     

    เมื่อคุณลงมาข้างล่าง คุณกลับต้องการสิ่งอํานวยความสะดวก

    ต้องการเงิน ต้องการความรัก เเละความอยากอื่นๆก็ปะเดประดังเข้ามา

    ใช่เเล้วคุณกลับถูกกิเลส ตัณหา ราคะ น้อยใหญ่ครอบงําจิตคุณเสียเอง เหมือนกันกับมนุษย์คนอื่นๆเช่นกัน 555

    หรือคุณจะปฎิเสธว่ามันไม่จริง !!

    กิเลส หมายถึงธรรมชาติที่เป็นเครื่องให้เศร้าหมองหรือเร่าร้อน
    กิเลสมี ๑๐ คือ
    (๑) โลภะ ความยินดีพอใจในโลกียอารมณ์ต่างๆ
    (๒) โทสะ ความโกรธ ความไม่พอใจ
    (๓) โมหะ ความหลง ความโง่
    (๔) มานะ ความเย่อหยิ่ง ถือตัว
    (๕) ทิฏฐิ ความเห็นผิด
    (๖) วิจิกิจฉา ความสงสัยลังเลใจในสิ่งที่ควรเชื่อ
    (๗) ถีนะ ความหดหู่
    (๘) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
    (๙) อหิริกะ ความไม่ละอายต่อทุจริต
    (๑๐) อโนตตัปปะ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อทุจริต

     

    เพราะฉนั้นการอ่านจิตมนุษย์ จึงง่ายนิดเดียว

     

    เปรียบง่ายๆเมื่อคุณยืนอยู่ชั้น 7 คุณก็จะเห็นการกระทําทุกอย่างของคนที่อยู่ชั้น 1 ถึงชั้น 6

    เเต่คุณจะไม่สามารถเห็นการกระทําของคนที่อยู่ชั้น 8 9 10

     

    จิตของคุณสะอาดเเละใสเหมือนนํ้าที่สะอาดเมื่อเเรกเกิด ความต้องการความยากของกิเลสตัณหาก็เรื่มเข้าสู่จิตของคุณทําให้จิตคุณขุ่นมัวไม่ใสดังเดิม

    เปรียบเทียบจิตของคุณก็เหมือนบ่อนํ้าที่สกปรก เมื่อเริ่มชําระล้าง ละกิเลสทางกาย ทางวาจาเเละ ทางใจ จิตของคุณก็เริ่มใสดังเดิม เมื่อนํ้าใสสะอาดคุณก็สามารถเห็นปลาที่เเหวกว่ายในบ่อนํ้า ฉันใดก็ฉันนั้น คุณก็สามารถอ่านใจมนุษย์คนอื่นได้งายๆเช่นกัน เเละสามารถเห็นมิติอื่นๆอีกด้วย เขาเรียกว่ามันเป็นปัจจัตตัง รู้ได้เฉพาะตัว

     

    ยกตัวอย่างมีลูกอ๊อดตัวหนึ่งเป็นเพื่อนกับปลา นานวันเข้าลูดอ๊อดได้พัฒนาเป็นกบ เเละได้กระโดดขึันจากนํ้าเเละขึ้นมาบนบก กบตัวนี้สามารถเห็นคน เเละ รถ เเละอื่นๆบนพื้นดิน ไม่นานกบก็คิดถึงปลา กระโดดลงนํ้าเเละเล่าเรื่องต่างๆ ที่ตัวเองเห็นให้ปลาฟังทั้งหมดที่ไปเห็นมา

    ถามว่าปลาจะเชื่อมั้ย ??

    ปลาไม่เชื่อหรอกเพราะมันไม่สามารถพัฒนาตัวเอง เช่นกบได้ เป็นปลายังไงก็ยังเป็นปลาอยู่่อย่างนั้น เปรียบเหมือนคนที่ไม่เคยล้างกิเลสออกจากใจ
    ได้เเต่พอกพูนกิเลส ตัณหาใหม่ๆตลอดเวลาจนตาบอด ไม่สามารถเห็นอะไรได้ นอกจากความต้องการของตัวเองเท่านั้น

     

    เมื่อปฎิบัติมาถึงขั้นนี้ คุณอาจเหาะเหิน เดินอากาศได้ โดยการถอดจิตไป
    เเต่ความถือตัวถือตนของคุณจะยังเหลืออยู่ กามตัณหา ราคะกามารมณ์ยัง
    เหลืออยู่เเน่นอน

     

    ตอนนี้ใครจะเป็นอย่างไรจะดีจะชั่วอย่างไร ก็อย่าไปเที่ยวอ่านใจคนอื่นเขาอีกเลย ให้รีบกลัยมาอ่านใจตัวเองโดยเร็วก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป ตายก่อน ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกไม่รู้จบรู้สิ้น

    เริ่มปฎิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา

    อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่องค์พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงไว้

    อริยสัจ 4 ประกอบไปด้วย…

    1. ทุกข์ : คือความมีอยู่ของทุกข์ เป็นสภาพที่ทนได้ยาก ทั้งเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความเศร้าโศกเสียใจ ความโกรธเคือง ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัว ความผิดหวัง ความไม่ได้สมปรารถนา ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น นอกจากนี้การพลัดพรากจากของที่รัก ความเกลียด ความไม่ชอบ ความลุ่มหลง ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดทั้งปวง ล้วนเป็นทุกข์ทั้งสิ้น

    2. สมุทัย : คือต้นเหตุแห่งความทุกข์ ซึ่งเนื่องเพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถมองเห็นและเข้าใจความจริงของชีวิต เขาเหล่านั้นจึงตกอยู่ในเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉา ความเศร้าโศกทั้งปวง มีความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังอยู่ตลอดเวลา

    3. นิโรธ : คือความดับทุกข์ คือความเข้าใจความจริงของชีวิต ซึ่งนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งปวง อันยังให้เกิดความสงบ ความสุขและความเบิกบาน

    4. มรรค : คือหนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ ซึ่งได้แก่ มรรค 8 หรืออริยมรรค ซึ่งจะทำให้การดำรงชีวิตของเราเป็นไปอย่างมีสติ ดดยความมีสตินี้จะนำไปสู่สมาธิและปัญญานั่นเอง

     

    อริยมรรค ซึ่งมีองค์ 8 ประกอบไปด้วย…

    1. สัมมาทิฏฐิ คือ การมีปัญญาเห็นชอบ ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
    2. สัมมาสังกัปปะ คือ การดำริชอบ คิดชอบ ซึ่งหมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
    3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ ซึ่งหมายถึง การพูดจาดี พูดจาสุภาพ พูดในสิ่งที่เป็นความจริงและสร้างสรรค์
    4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติที่ดีงาม ทั้งทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งหมดทั้งปวง
    5. สัมมาอาชีวะ คือ ความทำมาหากินอย่างสุจริต เป็นสุจริตชน ไม่คดโกงเบียดเบียนใคร ไม่เอาเปรียบผู้อื่น
    6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะ มานะพยายาม ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคทั้งปวง
    7. สัมมาสติ คือ ความไม่ปล่อยให้จิตเลื่อนลอย ไม่ปล่อยให้จิตพลั้งเผลอ มีความรู้ตัวอยู่เป็นปกติตลอดเวลา
    8. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิตใจ มีใจที่สงบ ปราศจากจากกิเลสและนิวรณ์อยู่เป็นปกติตลอดเวลา

      
    พระพุทธเจ้า

     

    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔


    กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา

    [๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธาตุดินโดยความ
    เป็นธาตุดินจริง ครั้นทรงรู้ธาตุดินโดยความเป็นธาตุดินจริงแล้วย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดิน ย่อมไม่
    ทรงสำคัญในธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญโดยความเป็นธาตุดิน ย่อมไม่ทรงสำคัญธาตุดินว่า ของเรา
    ย่อมไม่ทรงยินดีธาตุดิน ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลิน
    เป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ
    ทั้งหลายเราจึงกล่าวว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา
    ดับตัณหา สละตัณหา สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง
    ย่อมทรงรู้ยิ่งธาตุน้ำ ... ธาตุไฟ ... ธาตุลม ... สัตว์ ... เทวดา ... มาร ... พรหม ...
    อาภัสสรพรหม ... สุภกิณหพรหม ... เวหัปผลพรหม ... อสัญญีสัตว์ ... อากาสานัญจายตนพรหม ...
    วิญญาณัญจายตนพรหม ... อากิญจัญญายตนพรหม ... เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ... รูปที่ตน
    เห็น ... เสียงที่ตนฟัง ... อารมณ์ที่ตนทราบ ... วิญญาณที่ตนรู้แจ้ง ... ความที่สักกายะเป็นอันเดียว
    กัน ... ความที่สักกายะต่างกัน ... สักกายะทั้งปวง ...
    ทรงรู้ยิ่งพระนิพพานโดยความเป็นพระนิพพาน ครั้นทรงรู้พระนิพพานโดยความเป็นพระ
    นิพพานแล้ว ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญในพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญ
    โดยความเป็นพระนิพพาน ย่อมไม่ทรงสำคัญพระนิพพานว่า ของเรา ย่อมไม่ทรงยินดีพระนิพพาน
    ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เรากล่าวว่า เพราะทรงทราบว่า ความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์ เพราะ
    ภพจึงมีชาติ สัตว์ผู้เกิดแล้ว ต้องแก่ ต้องตาย เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เราจึงกล่าวว่า
    พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะสิ้นตัณหา สำรอกตัณหา ดับตัณหา สละตัณหา
    สละคืนตัณหาเสียได้ โดยประการทั้งปวง.
    กำหนดภูมินัยที่ ๘ ด้วยสามารถพระศาสดา.
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสมูลปริยายนี้จบแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความพอใจชื่นชมภาษิตของ
    พระผู้มีพระภาค ฉะนี้แล.
    จบ มูลปริยายสูตร ที่ ๑



    .....................................................

     


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    กิเลส 10 จาก
    คู่มือการศึกษาหลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะโท
    ฝ่ายวิชาการ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

    รูปภาพจาก
    www.hi5.com
    รูปพระพุทธเจ้า



    ลงขื่อผู้เขียนเเป๋ว Usanee Junyasri
    อุษณีย์ จรรยาศรี


     





     

     

     

     

     

     

     

     


     

     

     

     

     

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×