ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #23 : ผลกระทบของการขยายอิทธิพลของประเทศในยุโรป : ทวีปเอเชีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.94K
      3
      14 พ.ย. 56

    ผลกระทบต่อทวีปเอเชีย


     
    การเมืองการปกครอง

          
             อำนาจและบทบาททางการเมืองของชนชั้นปกครองพื้นเมือง และสถาบันทางการเมืองแบบเดิม ถูกทดแทนด้วยผู้ปกครองชาวตะวันตกและสถาบันทางการเมืองและสถาบันทางการเมืองการปกครองแบบใหม่ที่ดำเนินอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ ในอาณานิคมแห่งสถาบันทางการเมืองเดิมได้ถูกยกเลิกไป แต่อำนาจและบทบาททางการเมืองได้ถูกถ่ายโอนไปที่ข้าหลวงที่เป็นชาวตะวันตก นอกจากนี้ดินแดนบางแห่งถูกกำหนดให้เป็นดินแดนในอารักขา โดยชาวตะวันตกเข้าควบคุมด้านการทหาร การคลัง และการต่างประเทศ





             สำหรับประเทศจีนซึ่งมีอิทธิพลในทวีปเอเชียนั้นแม้จะไม่ได้เป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างพ่อค้าจีนกับพ่อค้าชาวอังกฤษนำสู่สงครามฝิ่นเมื่อ ซึ่งจีนเป็นฝ่ายแพ้สงครามและต้องยอมทำสนธิสัญญาหนานจิง (Treaty of Nanjing ) กับอังกฤษตามสนธิสัญญานี้จีนต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ รวมทั้งเปิดเมืองท่า 5 แห่ง ให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ชาวต่างชาติที่อาศัยบนแผ่นดินจีน

     
    สนธิสัญญาหนานจิงที่จีนเซ็นกับอังกฤษ


    เศรษฐกิจ

        
     
              เป้าหมายสำคัญของจักรวรรดินิยมตะวันตกอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจของสังคมพื้นเมืองในเอเชียให้กลายเป็นแหล่งป้อนวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมของโลกตะวันตก และเป็นตลาดระบายสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งโดยการบังคับด้วยกำลังโดยตรง และโดยอาศัยการบังคับผ่านกลไกทางด้านภาษีอากร การปล่อยสินเชื่อ และการสร้างแรงจูงใจทางด้านการลงทุน ทำให้ระบบเศรษฐกิจแบบพอยังชีพเดิมต้องเสื่อมสลายไป วิถีชีวิตของชาวนาและคนชั้นล่างส่วนใหญ่เริ่มถูกครอบงำจากระบบเศรษฐกิจที่มุ่งผลิตเพื่อการขาย และหารายได้เพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
    ประเทศอินเดียในฐานะอาณานิคมของอังกฤษ ได้ก้าวเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม ที่สำคัญได้แก่ การทอผ้า กระสอบ เหล็ก กระดาษ และเครื่องหนัง ทำให้สินค้าหัตถกรรมเก่าแก่ของอินเดียต้องถูกทำลายลง
     
    อุตสาหกรรมเครื่องหนังในอินเดีย
     
            ประเทศญี่ปุ่น ถูกวางรากฐานให้เป็นประเทศอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องอุปโภคบริโภค โดยรัฐบาลได้สร้างถนน และทางรถไฟเพื่อความสะดวกในการขนส่ง นอกจากนี้รัฐบาลยังเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารอีกด้วย
     

    สังคม

    รัฐแบบใหม่ ระบบราชการ และการผลิตในระบบทุนนิยม นำไปสู่การขยายตัวของสังคมเมือง ซึ่งเป็นทั้งศูนย์ราชการและศูนย์กลางการค้า ในระบบเศรษฐกิจแบบใหม่นี้ภาคเกษตรแบบพอยังชีพในชนบทเสื่อมโทรมลง ในขณะที่โอกาสทางเศรษฐกิจ บริการทางสาธาณูปโภค สาธารณสุขและการศึกษา นำไปสู่การเกิดวัฒนธรรมเมือง เช่น จาร์กาตา บอมเบย์ ย่างกุ้ง สิงคโปร์ ไซง่อน
     
    สิงคโปร์


    ย่างกุ้ง

     
     
    สังคมของญี่ปุ่นในสมัยโบราณที่เคยแบ่งชนชั้นตามระดับตามหลักการของลัทธิขงจื๊อ โดยแบ่งสังคมออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ซามูไร ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า ต่อมาในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษ 19 ในสมัยเมจิ มีการยกเลิกการแบ่งคนในสังคมเป็น 4 ชนชั้น และประกาศการยกเลิกสิทธิพิเศษของซามูไร แล้วให้ประชาชนทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันรัฐบาลประกาศใช้นโยบายการศึกษา ซึ่งประชาชนญี่ปุ่นมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาทั่วถึงกัน    
          ชาวเอเชียอยู่ภายใต้การควบคุมของชาติตะวันตก ก่อให้เกิดความรู้สึกแบบชาตินิยมขึ้น ระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ประกอบกับการศึกษาสมัยใหม่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งชะตากรรมทางการเมืองภายใต้การปกครองของชาวตะวันตก เห็นได้จากบรรดาผู้นำของขบวนการชาตินิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ผ่านระบบการศึกษาสมัยใหม่ของชาวตะวันตก เช่น โฮเซ รีซัล ชาวฟิลิปปินส์ อองซาน ชาวพม่า และอะห์เม็ด ซูการ์โน ชาวอินโดนีเซีย









           โฮเซ รีซัล ชาวฟิลิปปินส์ 


























      อองซาน ชาวพม่า 
















     






    อะห์เม็ด ซูการ์โน ชาวอินโดนีเซีย

















     
    วัฒนธรรม

           ชาวเอเชียมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มหรือชนชาติ เมื่อชาวตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลในดินแดนแถบนี้ได้รวบรวมชนชาติต่างๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายใต้กฎที่เคร่งครัด วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่มจึงเปลี่ยนเป็นวัฒนธรรมของชนหมู่มาก เช่น
           ภาษา  ชาวอินเดียตั้งแต่โบราณมีความแตกต่างกันในด้านการใช้ภาษาท้องถิ่นเป็นอย่างมาก การที่อังกฤษนำภาษาอังกฤษเข้ามาใช้เป็นภาษาราชการ จึงหมายถึงการเป็นสื่อกลางความเข้าใจในหมู่คนอินเดียด้วยกันเอง 
            ศาสนา  เมื่อสเปนเข้ามาหาผลประโยชน์ในฟิลิปปินส์ ได้นำคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแผ่ จนในที่สุดคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกกลายเป็นศาสนาที่มีชาวฟิลิปปินส์นับถือมากที่สุด

     
    ศิลปกรรม

           ศิลปกรรมและความเจริญทางด้านความคิดถือว่าเป็นมรดกดั้งเดิมของชาวเอเชีย ซึ่งเป็นที่สนใจของชาวตะวันตก เช่น การศึกษาปรัชญาของชาวจีน การศึกษาภาษาสันสกฤตของอินเดีย การแปลวรรณกรรมสำคัญของชาวเอเชียเป็นภาษาต่างๆ
    ในขณะที่ชาวตะวันตกสนใจศิลปกรรมของชาวเอเชียนั้น ในทางกลับกันชาวเอเชียก็ได้รับอิทธิพลของชาวตะวันตกด้วย เริ่มจากชนชั้นปกครองและกลุ่มชนชั้นกลางที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก รับศิลปกรรมตะวันตกในรูปแบบผสมผสาน กล่าวคือ ใช้วิธีคิดที่เป็นเหตุเป็นผลของชาวตะวันตกรวมกับมรดกทางปัญญาที่มีอยู่ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรม ต่อมาศิลปกรรมตะวันตกก็มีรูปแบบชัดเจนขึ้นจนกลายเป็นแบบตะวันตกอย่างแท้จริง

     
    สถาปัตยกรรม

            เมืองโตเกียวหลังจากไฟไหม้ใน ค.ศ. 1872 ถนนสายหลักของเมืองที่กินซ่าสร้างด้วยอิฐ และมีการใช้ตะเกียงก๊าซให้แสงสว่าง มีการจ้างสถาปนิกจากประเทศอังกฤษเข้ามาอำนวยการก่อสร้าง นอกจากนี้ยังมีการสร้างตึกแบบยุโรป เช่น ตึกโระกุเมะอิคัง ซึ่งเป็นสถานที่จัดเลี้ยงแบบตะวันตก
     
    ตึกโระกุเมะอิคัง
     

    จิตรกรรม
           มีการวาดภาพตามแบบยุโรป เช่นผลงานของขรัวอินโข่ง จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ 4 วาดภาพแบบสามมิติ ซึ่งแตกต่างจากจิตรกรรมไทยประเพณีที่เป็นแบบสองมิติ
     
    ผลงานของขรัวอินโข่ง


    วรรณกรรม

          มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ภาษา กล่าวคือ ใช้ภาษาพูดในการเขียนวรรณกรรมแทนภาษาเขียนที่ใช้อยู่เดิม เนื่องจากภาษาพูดเข้าใจง่าย วรรณกรรมจึงเป็นที่แพร่หลายในหมู่ผู้อ่านอย่างกว้างขวาง รวมทั้งมีแนวคิดใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์เนื้อเรื่องของวรรณกรรมอย่างแนวคิดสัจนิยมที่นักเขียนจีนและญี่ปุ่นสะท้อนให้เห็นความทุกข์ของกรรมกรในโรงงานอุตสาหกรรม ความเสื่อมโทรมของสังคม
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×