ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติศาสตร์

    ลำดับตอนที่ #14 : พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่ : การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 9.74K
      8
      11 พ.ย. 56

    การขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก




    การสำรวจเส้นทางการเดินเรือ


                 


                 ระหว่างค.ศ. 1450 – 1750 ยุโรปได้เข้าสู่ยุคการสำรวจเส้นทางการเดินเรือและขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจ อันนำความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงมาสู่สังคมตะวันตก  การเปิดน่านน้ำกับโลกตะวันออก ทำให้พ่อค้าตะวันตกสามารถติดต่อค้าขายทางทะเลโดยตรงกับอินเดียและประเทศตะวันออกอื่นๆ และจัดตั้งสถานีการค้าตั้งแต่เมืองบาสรา ในบริเวณอ่าวเปอร์เซียจนถึงประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนควบคุมเส้นทางการค้าเครื่องเทศในบริเวณช่องแคบมะละกา นอกจากนี้การสำรวจเส้นทางการเดินเรือยังทำให้ค้นพบทวีปอเมริกาและจัดตั้งเมืองท่าสำคัญๆทางชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกทั้งในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้

    สาเหตุของการสำรวจเส้นทางการเดินเรือ
                        ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ชาวยุโรปได้หันมาใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวอีกครั้ง การติดต่อกับโลกตะวันออกในสงครามครูเสดซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างคริสต์ศาสนิกชนตะวันตกกับพวกมุสลิมตะวันออกกลางและการฟื้นตัวของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกันทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารายธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆและวิทยาการอื่นๆของกรีกและมุสลิม ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตนเองมากขึ้น ตลอดจนท้าทายแนวความคิดทางธรรมชาติและจักวาลวิทยาของคริสต์ศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลาง



                       บรรยากาศของการแสวงหาและการค้นหาคำตอบให้กับตนเองเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัวได้ผลักดันให้ชาวยุโรปในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา
    หันมาสนใจท้องทะเลที่กั้นขวางพวกเขากับโลกของชาวตะวันออก โดยเฉพาะความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของปโตเลมี
        ความสนใจดังกล่าวได้ทวีมากขึ้น เมื่อพวกมุสลิมสามารถยึดครองกรุงคอนสแตนติโนเบิล (ปัจจุบัน คือ นครอิสตันบูล ในประเทศตุรกี) และดินแดนในจักรวรรดิไบแซนไทด์ได้ทั้งหมด ซึ่งมีผลกระทบให้การค้าทางบกระหว่างตะวันออกกับตะวันตกชะงักงันแต่สินค้าต่างๆจากตะวันออก
    ยังเป็นที่ต้องการของตลาดตะวันตก ดังนั้นการติดต่อค้าขายทางทะเล
    จึงสำคัญมากสำหรับพ่อค้า
                       นอกจากนี้ความรู้ในการใช้เข็มทิศและการพัฒนารูปทรงและขนาดเรือให้มีความเหมาะสมและมีความคงทนแน่นหนาขึ้น พร้อมติดตั้งอาวุธปืนใหญ่ ทำให้ชาติตะวันออกต่างๆต้องยินยอมเปิดสัมพันธไมตรีด้วย และมีผลให้อิทธิพลของชาติตะวันตกหลั่งไหลสู่โลกตะวันออกได้อย่างกว้างขวาง
        นอกจากเครื่องเทศที่เป็นสินค้าหลักที่พ่อค้าตะวันตกต้องการ
    ชาติตะวันตกยังมุ่งแสวงหาแหล่งแร่เงินและแร่ทองคำซึ่งเชื่อว่ามีอยู่มากมายทางซีกโลกใต้ เพื่อนำไปใช้ซื้อสิ่งของต่างๆจากประเทศทางตะวันออก และใช้จ่ายเป็นค่าจ้างทหารและเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ

    การค้นพบเส้นทางเดินเรือสู่ดินแดนทางตะวันออกและการค้นพบโลกใหม่ของชาติตะวันตก
    1. โปรตุเกสและสเปน
                        นับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษทื่ 15 เป็นต้นมา ชาวยุโรปเริ่มให้ความสนใจและพยามแสวงหาเส้นทางเดินเรือมายังตะวันออก เจ้าชายเฮนรีนาวิกราชทรงจัดตั้งโรงเรียนราชนาวีขึ้นที่แหลมซาเกรสให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆในการเดินทะเล และเป็นแหล่งรวบรวมการสำรวจเส้นทางเดินเรือประกอบกับความรู้ในการใช้เข็มทิศ และเทคนิคการสร้างเรือขนาดใหญ่ที่สามารถต้านทานคลื่นลมได้ ทำให้นักเดินเรือของโปรตุเกสสามารถเดินทางจนถึงแหลมกรีนในทวีปแอฟริกา
                       หลังจากที่เจ้าชายเฮนรีนาวิกราชสิ้นพระชนม์ บาร์โธโลมิว ไดแอส สามารถเดินเรือเลียบชายฝั่งทวีปแอฟริกาจนผ่านแหลมกู๊ดโฮปได้สำเร็จ และ
    นักเดินเรือชาวโปรตุเกสอีกผู้หนึ่งคือ วัสโก ดา กามา แล่นเรือในเส้นทางสำรวจของไดแอสจนถึงเอเชีย และหลังจากใช้เวลาเดนทางได้ 93วัน ก็ขึ้นฝั่งที่เมืองกาลิกัตของอินเดีย และสามารถซื้อเครื่องเทศจากอินเดียโดยตรง
    นำกลับไปขายในยุโรปได้กำไรมากมาย
                       ระยะก่อนหน้านั้น คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ก็รับอาสากษัตริย์เดินทางสำรวจเส้นทางการเดินเรือไปประเทศจีน และค้นพบทวีปอเมริกาได้ในที่สุด ซึ่งทำให้สเปนได้ครอบครองดินแดนส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาใต้ อเมริกากลาง และส่วนใหญ่ของดินแดนที่เป็นประเทศสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
                      ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นระยะเวลาแห่งการเริ่มต้นแข่งขันในด้านเศรษฐกิจและอำนาจทางทะเลระหว่างสเปนกับโปรตุเกส ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาสัมพันธไมตรีต่อกัน สมเด็จพระสันตะปาปา
    อเล็กซานเดอร์ที่6 ทรงให้สเปนและโปรตุเกสทำสนธิสัญญาทอร์เดซียัส กำหนดให้เส้นเมอร์ดิเตอร์เรเนียนที่ 370 ทางตะวันตกของหมู่เกาะเคปเวิร์ด (เส้นเมริเดียนที่51) ทางตะวันตกของกรีนิช เป็นเส้นสมมติที่แบ่งโลกออกเป็น 2 ส่วน โดยสเปนมีสิทธิในดินแดนทางด้านตะวันตกของเส้นเมริเดียนที่51 และโปรตุเกสได้สิทธิทางด้านตะวันออก อาณาเขตที่เกิดจากการแบ่งเส้นสมมติดังกล่าวนำไปสู่การครอบครองทวีปอเมริกาใต้ของสเปนเกือบทั้งหมด ยกเว้นบราซิลซึ่งตกเป็นของโปรตุเกสตามข้อตกลงของสนธิสัญญานี้ และนำไปสู่การสร้างจักรวรรดิทางทะเลของโปรตุเกสในเอเชีย
                      โปรตุเกสประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการกำจัดอำนาจของพวกมุสลิมในมหาสมุทรอินเดียจนสามารถควบคุมเมืองต่างๆ และยึดเมืองกัว ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการของสันนิบาตมุสลิมในมหาสมุทรอินเดียได้และใช้เมืองกัวเป็นเมืองหลวงของจักรวรรดิโปรตุเกสในตะวันออก
        อาฟองโซ เดอ อัลบูเกร์เก ข้าหลวงโปรตุเกสสามารถขยายอำนาจและแผ่อิทธิพลจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้ายึดครองมะละกาซึ่งเป็นชุมทางของเรือสินค้าจากอินเดีย อาหรับ อียิปต์ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน การยึดครองดินแดนดังกล่าวคือ บริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซียต้องตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของโปรตุเกส และสร้างความมั่งคั่งอย่างมหาศาลให้แก่โปรตุเกสจากการผูกขาดการค้าเครื่องเทศ
                       ในค.ศ.1519 เฟอร์ดินันด์ มาเจลลัน นักเดินเรือชาวโปรตุเกสมายังหมู่เกาะเครื่องเทศโดยทางมหาสมุทรอินเดีย และคุมเรือสเปน 5ลำ ออกค้นหาเส้นทางเดินเรือสายใหม่มายังตะวันออก การเดินทางของมาเจลลันครั้งนี้นับเป็นการเดินเรือครั้งแรกที่ข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกมายังทวีปเอเชีย และสามารถพิสูจน์ได้ว่าเอเชียตั้งอยู่คนละทวีป คนละซีกโลก และรู้ว่าเกาะเฮติและคิวบาไม่ใช่ญี่ปุ่นและจีนตามที่ชาวตะวันตกเข้าใจผิดกันมาตั้งแต่โคลัมบัสค้นพบอเมริกา
                        อย่างไรก็ตาม มาเจลลันไม่มีโอกาสได้แล่นเรือกลับสเปน เขาถูก
    คนพื้นเมืองฆ่าตาย แต่ลุกเรือที่เหลือโดยการนำของเซบาสเตียน เดล กาโน สามารถหลบหนีออกจากฟิลิปปินส์ได้ และเดินทางต่อไปจนพบโมลุกกะหรือหมู่เกาะเครื่องเทศ ได้แวะซื้อเครื่องเทศจากชาวพื้นเมือง บรรทุกจนเต็มลำเรือวิคโตริโอ และสามารถหลบเรือโปรตุเกสกลับสเปนทางมหาสมุทรอินเดียได้สำเร็จ เรือวิคโตริโอนับได้ว่าเป็นเรือลำแรกที่แล่นรอบโลกและสามารถพิสูจน์ทฤษฎีโลกกลมว่าเป็นจริง
                        การค้นพบเส้นทางการเดินเรือมายังตะวันออกของดา กามา และ
    มาเจลลันเป็นการเปิดน่านน้ำให้เรือจากทวีปยุโรปสามารถแล่นมายัง
    ทวีปเอเชียทางมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกได้ และเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้อารยธรรมตะวันตกหลั่งไหลมายังเอเชียก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                        ในค.ศ.1580 ได้เกิดความผันผวนทางการเมืองในโปรตุเกส ทำให้โปรตุเกสต้องตกอยู่ในอำนาจของสเปนจนถึง ค.ศ.1640


    2. ฮอลันดา
         - อาจเรียก ฮอลแลนด์ หรือ เนเธอร์แลนด์
         - อยู่ในทวีปยุโรป
         - ในศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ถูกปกครองโดยสเปน(พระเจ้าฟิลิปที่2)ต่อมาเจ้าชายวิลเลียมแห่งออเรนจ์และขุนนางจำนวนหนึ่ง ได้ก่อการปฏิวัติต่อสมเด็จพระราชาธิบดีฟิลิปที่ 2 แห่งสเปน เพื่อเรียกร้องให้ประชาชนเนเธอร์แลนด์และได้สถาปนาสาธารณรัฐดัตช์และ สามารถนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ได้
         - จึงทำให้พระเจ้าฟิลิปที่ 2 ประกาศปิดท่าเรือ ลิสบอน ซึ่งทำให้พ่อค้าชาวดัตช์ไปซื้อเครื่องเทศที่โปรตุเกสไม่ได้ แต่ในที่สุดฮอลันดาก็สามารถยึดครองอำนาจการค้าเครื่องเทศของโปรตุเกสได้ใน ค.ศ. 1598
         - ฮอลันดาเป็นชาติแรกที่พบทวีปออสเตรเลีย เนื่องจากในค.ศ.1606 บริษัท อินเดียตะวันออกของฮอลันดาได้ส่ง Willem Jansz คุมเรือ Duyfken เพื่อหาเกาะทองคำ ซึ่งการเดินทางครั้งนืทำให้ฮอลันดาพบทวีปออสเตรเลีย
         - ค.ศ. 1648 จึงได้มีการลงนามในสนธิสัญญามุนสเตอร์ เพื่อสงบศึกระหว่างเนเธอร์แลนด์และสเปน ซึ่งดำเนินมาถึง 80 ปี และถือเป็นการประกาศเอกราชของเนเธอร์แลนด์
         -หลังจากได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน ชาวดัตช์ได้ร่วมกันฟื้นฟูประเทศจนในที่สุดได้เข้ามาสู่ยุคทอง เช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกสและสหราช-อาณาจักร ซึ่งเป็นมหาอำนาจทางทะเลในการแสวงหาโอกาสทางการค้าในดินแดนต่าง ๆ ของโลก
         - เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก


    3. อังกฤษ
         - แพร่อิทธิพลมาในตะวันออกในเวลาใกล้เคียงกับฮอลันดา
         - ค.ศ. 1600 “Queen Elizabeth I” ได้พระราชธานกฏบัตรให้บริษัท อินเดียตะวันออกของอังกฤษ ให้มีสิทธิพิเศษในการทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮปจนถึงช่องแคปมาเจลลัน
         -สลายอำนาจทางการทะเลของโปรตุเกสที่ควบคุม มหาสมุทรอินเดีย จนเข้าไปมีอำนาจและอิทธิพลในอินเดียและอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งทำให้อังกฤษเป็นคู่แข่งทางการค้าในตะวันออกกับฮอลันดา
         -ทำสงครามกับฮอลันดาและฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสแพ้จึงหมดโอกาสควบคุมตลาดการค้าในตะวันออก

    ผลของการค้นพบดินแดนของชาติตะวันตก
    1. การเผยแผ่ศาสนา
         - แบบสันติวิธี : โดยมีบาทหลวง ทำหน้าที่ สอนศาสนาและให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการศึกษาแก่คนพื้นเมือง
         - แบบวิธีรุนแรง : บีบบังคับให้มานับถือคริสต์ศาสนา เช่น สเปนได้ส่งกองทหารเข้าทำลายล้างอารยธรรมของเผ่ามายา, แอสเต็ก และอินคา และบีบบังคับให้นับถือคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิก

    2. การเปลี่ยนแปลงเศษฐกิจและระบบการค้า
         - ทำลายระบบสมาคมอาชีพ
         - ขยายตัวทางการค้าอย่างรวดเร็ว จนเกิดการปฏิวัติการค้า
         - ใช้เงินตรา
         - เกิดระบบพาณิชยนิยม  
              1) รัฐบาลของกษัตริย์เข้าควบคุมการผลิตและการค้า
              2) เน้นส่งออก
              3) กีดกันสินค้านำเข้า
              4) แสวงหาอาณานิคมเพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบและระบายสินค้า
         - ค.ศ.1600-1700  โลกตะวันตกยึดถือนโยบายแข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นนโยบายหลัก ในช่วงนี้พ่อค้านายทุนได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทรวมทุน เปิดโอกาสให้บุคคลร่วมกันลงทุนเพื่อขยายการค้าผูกขาดสินค้าต่างๆโดยมีรัฐหรือกษัตริย์สนับสนุน
         - บริษัทรวมทุนจะทำการค้าในนามของประเทศและมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมประเทศของตนให้สามารถยึดครองดินแดนต่างๆได้ เช่น บริษัทอันเดียตะวันออกของอังกฤษได้ก่อตั้งมลรัฐเวอร์จิเนียและมลรัฐเมสซาชูเชตส์ในทวีปอเมริกาเหนือและเบิกทางให้รัฐบาลอังกฤษสามารถเข้าคอบครองอินเดียได้ในเวลาต่อมา
         - ค้นพบเหมืองแร่เงินและทองในทวีปอเมริกา ซึ่งทำให้สินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพมีราคาสูงขึ้นและทำให้เกิดเงินเฟ้อในภายหลัง

    3. การเปลี่ยนแปลงด้านอื่นๆ
         - ด้านสิ่งแวดล้อม :  ก่อให้เกิดการกระจายและแพร่พันธุ์สัตว์,พืชและเชื้อโรค เช่น ชาวดัตช์นำต้นกาแฟจากตะวันออกกลางมาปลูกที่เกาะชวาแทนเครื่องเทศที่ทำกำไรได้น้อยลงจนในที่สุดกาแฟได้เป็น
    สินค้าหลักอย่างหนึ่งของภูมิภาคนี้
         - ทำให้มีความรู้ด้านภูมิศาสตร์ของชาติต่างๆมากขึ้น             - มีการพัฒนาด้านวิชาการและเทคโนโลยีมากขึ้น เช่น การสำรวจ             - อารยธรรมเก่าแก่ถูกทำลาย ซึ่งทำให้สภาพสังคม,เศรษฐกิจในดินแดนเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลง





    ผู้จัดทำ
    นางสาว วรินทร       ตั้งไตรธรรม      ม.6.1     เลขที่  33
    นางสาว ศุภวรรณ   อร่ามสีจันทน์      ม.6.1     เลขที่  36





    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×