ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ

    ลำดับตอนที่ #3 : - การรวมตัวทางการเมืองของเมโสโปเตเมีย

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.91K
      3
      10 ม.ค. 52

     

    การรวมตัวทางการเมืองของเมโสโปเตเมีย

                   การรวมตัวอย่างถาวรครั้งแรกกระทำได้เป็นผลสำเร็จโดยผู้พิชิตชาวเซเมติคผู้หนึ่งซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งอัคคัตทรงพระนามว่าซาร์กอน พระองค์ทรงได้เมโสโปเตเมียไว้ในครอบครองเมื่อประมาณปี 2,370 ก่อนคริสตกาล และพระราชวงศ์ของพระองค์ปกครองอย่างยากลำบาก ต่อมาอีกหลายชั่วคน กษัตริย์ซาร์กอนทรงได้รับการยกย่องในสมัยนั้น เพราะจักรวรรดิของพระองค์เป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกที่เคยรู้จักมา ที่สามารถรวบรวมอาณาจักรอัคคัตและซูเมอร์เข้าไว้เป็นหน่วยการปกครองเดียวกันและเรื่องเล่าในสมัยต่อมา ได้ขยายให้ใหญ่โตยิ่งไปกว่า ความเป็นจริงเล่ากันว่ากษัตริย์ซากอน ได้ทรงปกครองประชาชนของดินแดนทั้งหมด ชัยชนะของพระองค์มีผลในการเร่งให้วัฒนธรรมสุเมเรียนเผยแพร่ไปทั่วตะวันออกใกล้ได้เร็วขึ้นทายาทองค์หนึ่งของกษัตริย์ซาร์กอนฝ่าฝืนขนบประเพณีของสุเมเรียน และตัดสินใจเสี่ยงด้วยการอ้างพระองค์เป็นเทพ ต่อมาราชวงศ์ซาร์กอน แห่งอัคคัตถูกอนารยชนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าทำลายล้าง ยังผลทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองอีกช่วยระยะหนึ่ง ครั้งเมื่อประมาณ 2,100 ก่อนคริสตกาล นครรัฐสุเมเรียนแห่งอูร์กลับได้อำนาจ และบรรดากษัตริย์แห่ง14 นครนี้ก็อ้างตนเป็นเทพเช่นเดียวกัน แต่ในที่สุดจักรวรรดิอูร์ก็ถูกทำลายลงด้วยการเบียดเบียนของอนารยชน และความแตกแยกภายใน พร้อมกับความหายนะของจักรวรรดิอูร์อำนาจทางการเมืองของสุเมเรียนก็สิ้นสุดลงตลอดไป

                        อนาคตของเมโสโปเตเมียจึงอยู่ในมือของพวกเซไมท์ในช่วงระยะที่เกิดความวุ่นวายคือประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าเซเมติคกลุ่มใหม่หลายกลุ่มพากันอพยพเข้ามายังดินแดนลุ่มแม่น้ำ กลุ่มหนึ่งของชนเผ่านี้คือพวกอะมอไรท์จากซีเรียเข้ามายึดครองนครต่างๆ รวมทั้งบาบิโลนเมืองที่ไร้ความสำคัญพระเจ้าฮัมมูราบี กษัตริย์อะมอไรท์แห่งบาบิโลนผู้สามารถและมีชื่อเสียง เข้าพิชิตดินแดนแห่ง อัคคัตและมูเซอร์ได้ทั้งหมดและขยายอำนาจไปจนทั่วดินแดนรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ตั้งแต่ทะเล เมดิเตอร์เรเนียนมาจนถึงอ่าวเปอร์เซีย เพียงชั่วเวลาอันสั้น บาบิโลนก็เปลี่ยนจากเมืองเล็กๆ ที่ไร้ความหมายมาเป็นนครหลวงของจักรวรรดิที่ทรงอำนาจสิ่งที่จะต้องเน้นไว้ในที่นี้ก็คือหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการทางการเมืองเหล่านี้มีอยู่น้อยและไม่ชัดเจน และรายละเอียดบางประการในการประติดประต่อเรื่องของเราอาจผิดพลาดได้ ศักราชในช่วงสมัยเริ่มแรกนี้ก็อาจผิดไปถึงศตวรรษหรือมากกว่านั้นอย่างไรก็ตามลำดับเหตุการณ์ต่างๆ นั้นจัดได้อย่างถูกต้อง และไม่น่าสงสัยว่าพระเจ้าฮัมมูราบี ผู้ได้รับแนวความคิดจากขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมสุเมเรียนซึ่งได้แพร่หลายอยู่เกือบ 2,000 ปีแล้ว จะไม่สามารถสร้างสรรค์โครงสร้างทางการเมืองที่มีประสิทธิภาพยอดเยี่ยมขึ้นมาได้ ประมวลกฎหมายอันลือชื่อของพระองค์เป็นเสมือนหน้าต่างเผยให้เห็นชีวิตประจำวันในจักรวรรดิบาบิโลเนีย กฎหมายฉบับนี้ยึดถือประมวลกฎหมายที่มีมาแล้วและที่ย่นย่อของชาวสุเมเรียน และได้มาจากประเพณีของสุเมเรียนเป็นส่วนใหญ่ พระเจ้าฮัมมูราบีมิได้ทรงอ้างพระองค์เป็นเทพเจ้า แต่ทรงรับบทบาทตามขนบธรรมเนียมเดิม คือ ผู้รับใช้บรรดาเทพเจ้า สังคมที่ทรงปกครองแบ่งออกเป็นชั้นต่างๆ คือ ชั้นขุนนาง เสรีชน และทาส รายละเอียดของกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการค้า แสดงให้เห็นถึงชีวิตค้าขายที่ตื่นตัวและสลับซับซ้อน แต่ทว่าประมาณกฎหมายของฮัมมูราบีนั้นเข้มงวดว่ากฎหมายสุเมเรียนที่ถือกำเนิดขึ้นก่อนอย่างเห็นได้ชัด แสดงถึงการใช้อำนาจเผด็จการในระดับสูงกว่าเดิม การลงโทษหนักปรากฎบ่อยๆ ในขณะที่แต่ก่อนนี้แทบจะไม่มีเลยและความคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมโดยให้ผลกรรมตามทัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตาต่อตา นั้นได้นำปฏิบัติอย่างรุนแรงน่าสะพึงกลัว ดังเช่น ถ้าบ้านหลังหนึ่งทรุดตัวลง ทำให้เจ้าของบ้านเสียชีวิตผู้สร้างบ้านหลังนั้นย่อมถูกประหารชีวิต ถ้าคนไข้ตายในระหว่างการผ่าตัด แพทย์ผู้ผ่าตัดถูกประหาร ถ้าผู้ป่วยเสียนัยตาข้างหนึ่งแพทย์จะต้องถูกตัดนิ้วทิ้ง นับเป็นการลงโทษชนิดที่ทำให้แพทย์ผู้นั้นมิอาจประกอบอาชีพได้อีกการรุกรานจากภาคเหนือ : ประมาณปี 1,750 ถึง 1,550 ก่อนคริสตกาล แม้ในขณะที่จักรวรรดิบาบิโลนกำลังมีอำนาจสูงสุด บริเวณตะวันออกใกล้ทั้งหมดก็ยังได้รับการกระทบกระเทือนจากการรุกรานของอนารยชนที่อพยพเข้ามาอยู่เรื่อยๆ บรรดาชนกลุ่มใหม่นี้อพยพจากภูเขาทางเหนือและตะวันออกเฉียงหนือสู่ดินแดนเมโสโปเตเมียเอเซียน้อย กรีก เกาะครีต และแอฟริกาภาคเหนือ ชนเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันอย่างรวมๆ ว่าพวกอินโด-ยูโรเปียน



    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×