ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    อารยธรรมตะวันตกสมัยโบราณ

    ลำดับตอนที่ #2 : - ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 6.33K
      10
      9 ม.ค. 52

    ปัจจัยทางภูมิศาสตร์กับการตั้งถิ่นฐาน

                   เมโสโปเตเมียแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในสมัยโบราณคำว่าเมโสโปเตเมียเป็นภาษากรีก มีความหมายว่าดินแดนระหว่างแม่น้ำที่สอง คือ แม่น้ำไทกรีส และ ยูเฟรตีส ปัจจุบันคือประเทศอิรัก มีนครหลวงคือกรุงแบกแดด แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนีย และเอเซียไมเนอร์ไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ตอนล่างเรียกว่าบาบิโลเนีย เป็นเขตซึ่งอยู่ติดกับอ่าวเปอร์เซีย มีชื่อเรียกในสมัยหนึ่งว่าชินาร์ เกิดจากการทับถมของดินที่แม่น้ำพัดพามากล่าวคือในฤดูร้อนหิมะบนภูเขาในอาร์มีเนียละลายไหลบ่าลงมาทางใต้พัดพาเอาโคลนตมมาทับถมไว้ยัง บริเวณปากน้ำทำให้พื้นดินตรงปากแม่น้ำงอกออกทุกปี โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 1 ไมล์ครึ่ง ทุกๆ ศตวรรษ อาณาบริเวณที่เรียกว่าเมโสโปเตเมีย มีทิศเหนือจรดทะเลดำ และทะสาบแคสเบียน ทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดคาบสมุทรอาระเบีย ซึ่งล้อมรอบด้วยทะเลแดงและมหาสมุทรอินเดีย ทิศตะวันตกจรดที่ราบซีเรีย และปาเลสไตน์ ส่วนทิศตะวันออกจรดที่ราบสูงอิหร่านเมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์เรียกว่าบาบิโลเนีย ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย 

                   บริเวณทั้งหมดมีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยอยู่ มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ เมื่อชาติใดมีอำนาจก็เข้าไปยึดครองและกลายเป็นชนชาติเดียวกัน นักประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ไม่มีแห่งหนตำบลใด จะมีชาติพันธุ์มนุษย์ผสมปนเปกันมากมายเหมือนที่นี่ และยังเป็นยุทธภูมิระหว่างตะวันตก กับตะวันออกตลอดสมัยประวัติศาสตร์ ดังนั้น ประวัติเรื่องราวต่างๆ ของชนชาติเหล่านี้จึงค่อนข้างสับสนประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเจริญของแต่ละแคว้นที่แยกออกจากกัน และเรื่องราวทางอารยธรรมในเมโสโปเตเมียมีหลักฐานยืนยันทางโบราณคดีว่าเก่าแก่นานนับถึง 8,000 - 7,000 B.C. เช่น การขุดพบหมู่บ้านที่เมืองจาร์โม ในอิรักใกล้แม่น้ำไทกรีสเมืองซาทาล ฮือยึค ภายใต้ของอนาโตเลีย ซึ่งเมื่อเทียบกับอิยิปต์แล้ว หลักฐานทางโบราณคดีในเมืองเก่าแก่ใกล้ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์คือที่ไฟยูม มีอายุเพียง 4,500 B.C. เท่านั้น ตัวอักษรของเมโสโปเตเมียก็ปรากฎว่าใช้มานานแล้วอาจจะก่อนอียิปต์หลายร้อยปีอีกด้วย แต่ก็ไม่ปรากฎยืนยันว่าตัวอักษรของเมโสโปเตเมียให้อิทธิพลแก่อียิปต์แต่อย่างใดชนชาติกลุ่มแรกที่มีอายุในสมัยหิน และเข้ามาอยู่อาศัยระหว่างหุบเขาริมแม่น้ำจอร์แดนประเทศอิรัก เรียกว่า เจริโค มีอายุราว 8,000 B.C. การขุดค้นหลักฐานทางโบราณคดีขุดค้นซากกำแพงยาวสร้างด้วยหิน สูงถึง 12 ฟุต หนา 5 ฟุต และพบซากหอคอยซึ่งมีความสูงถึง 30 ฟุต รูปแบบการก่อสร้างแสดงอารยธรรมดั้งเดิมของมนุษย์ทีใช้มาก่อสร้าง
    ชนกลุ่มต่อมา คือซาทาล ฮือยึค มีอายุราว 7,000-5,000 B.C.

                   นักโบราณคดีได้ขุดลงไปพบเมืองต่างๆ ที่ทับถมเป็นชั้นๆ ถึง 12 ชั้น และชั้นที่ 4 พบซากเมืองมีผังต่อเนื่องคล้ายเมืองใหญ่ แต่ไม่มีถนน ตัวอาคารเป็นห้องโถง มีภาพเขียนหนังและตกแต่งปฏิมากรรมที่ทำมาจากเขาสัตว์ งานจิตรกรรมบนผนังของ ซาทาล ฮือยึค หลังจากพิสูจน์ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ แล้วปรากฎว่ามีอายุราว 6,200 B.C. เป็นภาพหมู่บ้านที่อาศัยมากมาย มีภาพภูเขาไฟกำลังระเบิด สำหรับงานปฏิมกรรม เป็นรูปปั้นจากดินดำและรูปแกะสลักจากหินชั้นเล็กๆ สูงประมาณ 2-8 นิ้วแม้พวกเจริโคและซาทาล ฮือยึค จะเป็นชนชาติที่ปรากฎหลักฐานว่าเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปรเตเมีย แต่ก็เข้าใจว่ายังไม่มีอารยธรรมใดจะเป็นเครื่องยืนยันว่ามีความเจริญหลุดพ้นจากยุคหินหรือยุคโลหะมาได้ ชนชาติเก่าแก่ชาติแรกที่ปรากฎหลักฐานแสดงความเจริญรุ่งเรือง และมีอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมีย คือ ชนชาติซูเมอร์และบาบิโลเนีย

                   ปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เกิดอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ
    1. ความคิดสร้างสรรค์รักษา ปรับปรุงและสืบทอดในอารยธรรมของกลุ่มชน 6 กลุ่มคือ
    1.1 สุเมเรียน (Sumerians)
    1.2 อัคคาเดียน (Akkadians)
    1.3 อะมอไรท์ (Amorites)
    1.4 คัสไซท์ (Kassites)
    1.5 อัสซีเรียน (Assyrians)
    1.6 แคลเดียน (Chaldeans)
    2. แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ทำให้เมโสโปเตเมียชุ่มชื้นเกิดการรวมตัวของกลุ่มชนและกำเนิดอารยธรรมเฉพาะขึ้น
    3. พรมแดนธรรมชาติซึ่งมีส่วนช่วยเป็นกำแพงป้องกันศัตรูภายนอกแม้ไม่ดีเท่าแถบลุ่มน้ำไนล์ก็ตาม แต่ก็เอื้ออำนวยให้กลุ่มชนซึ่งผลัดกันขึ้นมีบทบาทในเมโสโปเตเมียสามารถใช้

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×