นิวซีแลนด์ - นิยาย นิวซีแลนด์ : Dek-D.com - Writer
×

    นิวซีแลนด์

    เกล็ดความรู้เรื่องนิวซีแลนด์

    ผู้เข้าชมรวม

    1,321

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    15

    ผู้เข้าชมรวม


    1.32K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:57 น.

    อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    นิวซีแลนด์ (อังกฤษ: New Zealand ; เมารีนิวซีแลนด์: Aotearoa [เอาเตอารัว] หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tireni [นิวทิเรนี] ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้

    นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา

    นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวทังกิ (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชนเผ่าเมารีของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบัน ความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 นิวซีแลนด์ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นประเทศอิสระที่มีรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย และอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์ของสหราชอาณาจักร นิวซีแลนด์รับผิดชอบการต่างประเทศของหมู่เกาะคุกและนีอูเอซึ่งปกครองตนเอง และปกครองโตเกเลาเป็นเมืองขึ้น

    พื้นที่ส่วนใหญ่ของนิวซีแลนด์มีภูมิอากาศเขตอบอุ่น และภูมิประเทศที่มีความหลากหลายและสวยงาม เศรษฐกิจของนิวซีแลนด์เน้นการค้าโดยมีฐานจากการเกษตร ชาวนิวซีแลนด์โดยทั่วไปเดินทางมาก และสนับสนุนการร่วมมือกันระหว่างประเทศและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมภายนอกเป็นกิจกรรมที่นิยมกันโดยเฉพาะกีฬาต่าง ๆ คือ รักบี้ คริกเกต และ เนตบอล รวมถึง กีฬาเอ็กซ์ตรีมสปอร์ตและการเดินไกล

    ประวัติศาสตร์

    นิวซีแลนด์นั้นเดิมถูกปกครองโดยชาวเมารี แต่มีนักล่องเรือชาวดัตช์ ชื่อ อาเบล ทาสมาน ได้ล่องเรือเลียบมาทางออสเตรเลียและได้พบเกาะนิวซีแลนด์เข้า แต่พบกับชาวเมารีที่ดุร้ายและจับพวกลูกเรือกินไปบ้าง จากนั้นชื่อเสียงของนิวซีแลนด์ก็เป็นที่รู้จักกันในยุโรป เพราะมีธรรมชาติที่สวยงามเหมาะกับการเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์มาก ต่อมากัปตันเจมส์ คุก ได้ล่องเรือมาบ้าง แต่โชคดีที่มีคนบนเรือสามารถพูดภาษาไวติงกิได้บ้าง จึงเจรจากับชาวเมารีได้ และพบว่าชาวเมารีเป็นชนเผ่าสายเลือดนับรบ จึงได้ตกลงแลกพืชพันธุ์กับอาวุธจากทางยุโรป และต่อมาเมื่อชาวเมารีมีอาวุธมากจึงสู้รบกันจน ชนเผ่าเมารีลดลง ทางอังกฤษ จึงได้ส่งคนมาทำสัญญา ชื่อว่า สนธิสัญญาไวทังกิ ขึ้น และส่งคนมาสำเร็จราชการแทนชื่อ วิลเลียม ฮอบสัน

    [แก้]

    การเมือง

    รัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์เป็นแบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษร คือไม่มีกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งที่บัญญัติถึงระบบการเมืองการปกครอง แต่จะมีกฎหมายอื่นๆ หลายฉบับมาประกอบกัน เช่น Constitution ACT1986 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติที่ได้รวบรวมเอาหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่กระจัดกระจายอยู่มาบัญญัติไว้ด้วยกัน และพระราชบัญญัติเลือกตั้ง เป็นต้น แต่พระราชบัญญัติเหล่านี้ไม่มีบทบัญญัติที่ว่า บทบัญญัติของกฎหมายใดที่ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับมิได้ นอกจากนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญของนิวซีแลนด์ยังรวมเอากฎหมายของอังกฤษบางฉบับที่บังคับใช้ในนิวซีแลนด์ด้วย เช่น Act of Settlement 1701 ซึ่งเกี่ยวกับการสืบราชสันตติวงศ์ของกษัตริย์อังกฤษ คำพิพากษาของศาลในคดีที่เกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ และธรรมเนียมปฏิบัติทางรัฐธรรมนูญ เป็นต้น สำหรับชาวเมารีได้ที่นั่งในรัฐสภา 7 ที่นั่ง

    [แก้]

    การแบ่งเขตการปกครอง

    ตอนที่เริ่มตั้งถิ่นฐาน นิวซีแลนด์ได้แบ่งเป็นจังหวัดต่าง ๆ (provinces) ซึ่งได้ยกเลิกไปใน พ.ศ. 2419 เพื่อให้จัดการปกครองแบบศูนย์กลาง เนื่องด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ทำให้นิวซีแลนด์ไม่มีการแบ่งการปกครองเป็นระดับรัฐ จังหวัด หรือเขต นอกจากรัฐบาลท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ความภูมิใจในระดับจังหวัด ยังคงมีอยู่ และมีการแข่งขันอย่างรุนแรงในทั้งด้านกีฬาและวัฒนธรรม

    ตั้งแต่ พ.ศ. 2419 รัฐบาลท้องถิ่นได้ปกครองภูมิภาคต่าง ๆ ของนิวซีแลนด์ เนื่องจากแต่เดิมเป็นอาณานิคมของอังกฤษ รัฐบาลท้องถิ่นของนิวซีแลนด์จึงได้ออกแบบตามโครงสร้างรัฐบาลท้องถิ่นของอังกฤษ โดยมีสภาท้องถิ่นระดับเมือง โบโร (borough) และเคาน์ตี (county) ตามเวลาที่เปลี่ยนไป บางสภาได้รวมกัน หรือเปลี่ยนอาณาเขตตามข้อตกลงร่วมกัน และมีการสร้างสภาแห่งใหม่บางแห่ง ใน พ.ศ. 2532 รัฐบาลได้จัดรัฐบาลท้องถิ่นใหม่ทั้งหมด เป็นแบบ 2 ระดับ ในปัจจุบัน คือ สภาภูมิภาค (regional councils) และ สภาดินแดน (territorial authorities)

    ปัจจุบัน นิวซีแลนด์มีสภาภูมิภาค 12 แห่ง สำหรับการปกครองเกี่ยวกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการขนส่ง และสภาดินแดน 74 แห่ง ที่ดูแลด้านสาธารณูปโภค การสร้างถนน การระบายน้ำเสีย การอนุญาตการก่อสร้าง และเรื่องอื่น ๆ ภายในท้องถิ่น สภาดินแดนมี 74 แห่ง แบ่งออกเป็นสภานคร (city council) 16 แห่ง สภาเขต (district council) 57 แห่ง และสภาหมู่เกาะแชแทม (Chatham Islands Council) สภาดินแดน 4 แห่ง (1 นครและ 3 เขต) และสภาหมู่เกาะแชแทมทำหน้าที่เช่นเดียวกับสภาภูมิภาค จึงเรียกว่า unitary authorities เขตของดินแดนไม่จัดเป็นเขตย่อยของเขตของสภาภูมิภาค และบางดินแดนมีการคร่อมเขตของสภาภูมิภาค

    [แก้]

    ภูมิศาสตร์

    [แก้]

    สภาพภูมิอากาศ

    ประกอบด้วย 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูร้อน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ ฤดูใบไม้ร่วง มีนาคม พฤษภาคม ฤดูหนาว มิถุนายน สิงหาคม ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน พฤศจิกายน เนื่องจากตั้งอยู่ในโซนอากาศอบอุ่น ทำให้มีอากาศอบอุ่นชุ่มชื้นตลอดปี อังกฤษฤดูร้อนอากาศค่อนข้างเย็น ฤดูหนาวไม่หนาวจัดมาก มีฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจาก - ลมประจำที่พัดผ่าน คือลมฝ่ายตะวันตก - กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลียตะวันออก อากาศแตกต่างกันดังนี้ - เกาะเหนือมีอากาศอบอุ่นชื้นทั่วเกาะ - เกาะใต้ชายฝั่งตะวันตกฝนชุกกว่าชายฝั่งตะวันออก

    [แก้]

    เศรษฐกิจ

    นิวซีแลนด์ เป็นประเทศหนึ่งในเขตแปซิฟิกที่มีการทำอุตสาหกรรม เช่น การต่อเรือ โรงงานเบียร์ไวท์ โรงงานปลากระป๋อง แต่ส่วนใหญ่การอุตสาหกรรมในนิวซีแลนด์มีน้อยมาก และ มีการทำอุตสาหกรรมการเกษตร เช่นการทำผลไม้กระป๋อง อุตสาหกรรมการขุดแร่ เช่น ถ่านหิน เหล็ก อุตสาหกรรมป่าไม้ และ ยังมีการเพาะปลูกที่ทำให้นิวซีแลนด์มีรายได้มากส่วนหนึ่ง เช่น ข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และ ผลไม้เช่น สตรอเบอรี่ และแอปเปิล เป็นต้น

    [แก้]

    ประชากร

    นิวซีแลนด์ส่วนใหญ่มีเชื้อสายมาจากชาวอังกฤษ ส่วนชนเผ่าพื้นเมืองเรียกว่า ชาวเมารี (Maori) ซึ่งมีผิวสีเหลืองมีอยู่ประมาณ 151,100 คน ซึ่งมีสิทธิทางสังคมเทียบเท่ากับชาวผิวขาวทุกอย่าง โดยรัฐบาลกลางอังกฤษให้ความคุมครองทั่วถึงทุกคน ชาวนิวซีแลนด์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนส์

    [แก้]

    วัฒนธรรม

    ชาวนิวซีแลนด์ ส่วนใหญ่ได้รับอารยธรรมอังกฤษแทบทั้งสิ้นการแต่งกายจะดูคล้ายชาวอังกฤษทางตอนเหนือ มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ


    ปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea) เป็นประเทศในแถบโอเชียเนีย เป็นพื้นที่ทางตะวันออกของเกาะนิวกินี (พื้นที่ทางตะวันตกเป็นของจังหวัดปาปัวของประเทศอินโดนีเซีย) ตั้งอยู่ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก อยู่ทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะโซโลมอน

    ปัจจุบัน ปาปัวนิวกินี เป็นประเทศสังเกตการณ์ในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)

     

     

    ประวัติศาสตร์

    มีชาวพื้นเมืองชื่อว่า ชาวปาปวน ประเทศปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่เปลี่ยนเจ้าของอยู่บ่อย ๆ เช่น ประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนี ประเทศออสเตรเลีย

    [แก้]

    การเมือง

    ปกครองแบบสภาเดียว

    [แก้]

    ภูมิศาสตร์

    มีลักษณะเป็นภูเขาและชายฝั่งทะเล

    [แก้]

    เศรษฐกิจ

    ปาปัวนิวกินีเป็นประเทศที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล ทองคำ ทองแดง น้ำมันดิบ แก๊สธรรมชาติ รายได้หลักของประเทศขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการประมง เหมืองทองแดง เหมืองทองคำ และการท่องเที่ยว ส่วนด้านเกษตรกรรม ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกกาแฟ โกโก้ และมะพร้าว ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศนิวซีแลนด์ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ทองคำ น้ำมันดิบ กาแฟ ทองแดง ซุง กาแฟ และสัตว์ทะเล ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมัน เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง ส่วนประกอบรถยนต์ อาหาร และเชื้อเพลิง

    [แก้]

    ประชากร

    ปาปัวนิวกินี ประกอบด้วยชนหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวเมลานีเชียน ปาปัว เนกริด ไมโครนีเซียน และโปลินีเซียน

    มีภาษาราชการเป็นภาษาอังกฤษ เนื่องจากเคยเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร แต่มีคนพูดได้น้อย ส่วนมากจะพูดภาษา ครีโอล แต่อย่างไรก่อตาม ประชากรประเทศนี้มีประมาณ 5 ล้านคน และมีภาษามากกว่า 800 ชนิด

    ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นหลัก แต่ก็มีลัทธิศาสนาตามความเชื่ออื่น ๆ อีกมากมาย

    [แก้]

    วัฒนธรรม

    ประเทศปาปัวนิวกินีประกอบไปด้วยชนเผ่าเป็นจำนวนมาก มีภาษากว่า 500 ภาษาทำให้มีสังคมแบบชนเผ่าอย่างมากในประเทศ


     

     

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    คำนิยม Top

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    คำนิยมล่าสุด

    ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

    ความคิดเห็น