เปิดสนาม “เชลล์อีโคมาราธอน” แข่งรถประหยัดพลังงาน ลานไอเดียขอ - นิยาย เปิดสนาม “เชลล์อีโคมาราธอน” แข่งรถประหยัดพลังงาน ลานไอเดียขอ : Dek-D.com - Writer
×

    เปิดสนาม “เชลล์อีโคมาราธอน” แข่งรถประหยัดพลังงาน ลานไอเดียขอ

    เราอาจจะคุ้นเคยกับการวิ่งฉิวของรถแข่งในสนามทั่วไปที่ชิงชัยกันด้วยความเร็ว คันไหนวิ่งครบรอบก่อนคือ ผู้ชนะ แต่ที่การแข่งขัน เซลล์อีโคมาราธอน ผู้ชมต้องลุ้นออกแรงเชียร์ให้รถที่เข้าแข่งขันวิ่งได้ครบรอบหรือไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าถึงเส้นชัยแล้วก็ใช่จะ

    ผู้เข้าชมรวม

    327

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    5

    ผู้เข้าชมรวม


    327

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  17 พ.ค. 52 / 00:00 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    เราอาจจะคุ้นเคยกับการวิ่งฉิวของรถแข่งในสนามทั่วไปที่ชิงชัยกันด้วยความเร็ว คันไหนวิ่งครบรอบก่อนคือ ผู้ชนะ แต่ที่การแข่งขัน เซลล์อีโคมาราธอน ผู้ชมต้องลุ้นออกแรงเชียร์ให้รถที่เข้าแข่งขันวิ่งได้ครบรอบหรือไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ถ้าถึงเส้นชัยแล้วก็ใช่จะว่าจะเฮได้ทันใด เพราะผู้ชนะที่แท้จริงคือผู้ที่เหลือเชื้อเพลิงในถังมากที่สุด
           
           กว่า 25 ปีแล้ว ที่เหล่านักเรียนนักศึกษาจากหลายสถาบันทั่วโลกต่างมุ่งมั่นสร้างรถประหยัดพลังงาน ทั้งแบบใกล้เคียงความจริง หรือออกแบบตามฝันล้ำสมัย เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน เชลล์อีโคมาราธอน (Shell Eco Marathon) ที่ผู้ชนะคือผู้ที่ใช้พลังงานน้อยที่สุด ในระยะทางการวิ่งตามที่กำหนดไว้
           
           และแล้วในปีนี้ เวลานัดหมายของพวกเขาก็ตรงกับวันที่ 7-9 พ.ค.52 ที่สนามยูโรสปีดเวย์ เลาซิตซ์ (EuroSpeedway Lausitz) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยบรรดาศิษย์และอาจารย์จาก 29 ประเทศทั่วโลกกว่า 2,500 คน รวมประมาณ 200 ทีม มาปักหลักกางเต็นท์กินนอนกันที่สนามแข่ง เพื่อปรับปรุงรถแข่งในโค้งสุดท้าย พร้อมๆ กับอาสาสมัครของเชลล์ในฐานะสปอนเซอร์หลัก ที่อำนวยความสะดวกต่างๆ ให้แก่เหล่าเยาวชน
           
           ทั้งนี้ 1 ใน 3 ของทีมที่เข้าแข่งยังเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นระดับมหาวิทยาลัยและสถาบันเทคนิคหรืออาชีวศึกษา โดยในการแข่งขันแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ เออร์เบินคอนเซ็ปต์ (Urban Concept) เป็นรถประหยัดพลังงานชนิดที่มีความเป็นไปได้ในการขับขี่ตามท้องถนน ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือต้นแบบ (Prototype) ที่มุ่งพัฒนาให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด
           
           สำหรับพลังงานที่เป็นโจทย์ในการแข่งขันคือ น้ำมันเบนซิล ดีเซล แอลพีจี และพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน เชื้อเพลิงชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ และ จีแอลที (Gas-to-Liquid) โดยการแข่งขันจะพิจารณาปริมาณการใช้พลังงานเมื่อรถวิ่งครบตามรอบที่กำหนด
           
           การแข่งขันวันแรกพร้อมกับพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 17.00 น. ของวันที่ 7 พ.ค. (ตรงกับเวลา 22.00 น.ของประเทศไทย) ประเดิมสนามด้วยสีสันในประเภทเออร์เบินคอนเซ็ปต์ จากนั้นก็ทยอยกันแข่งในประเภทต้นแบบ กันอีกหลายสนาม
           
           ระหว่างการแข่งขัน รถประหยัดพลังงานที่ผ่านการตรวจเช็คจากฝ่ายเทคนิคและความปลอดภัย ก็จะได้ทยอยกันลงสนามเพื่อบันทึกความเร็ว ก่อนจะประกาศผลในค่ำวันสุดท้ายคือ 9 พ.ค. พร้อมด้วยรางวัลประเภทต่างๆ อีกมากมาย อาทิ การออกแบบ, ความสร้างสรรค์, ความเป็นไปได้ทางการตลาด, เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และรางวัลการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อยที่สุด
           
           แน่นอนว่าผู้เข้าแข่งขันส่วนใหญ่มาจากยุโรป เฉพาะฝรั่งเศสก็นำพากันมานับสิบทีม นั่นก็เพราะการแข่งขันส่วนใหญ่จัดขึ้นที่ฝรั่งเศส แต่ที่น่าสนใจคือเริ่มประเทศที่เข้าร่วมเป็นครั้งแรกในปีนี้ได้แก่ ออสเตรีย จีน ลักแซมเบอร์ มาเลเซีย ปากีสถาน รวมถึง ประเทศไทย
           
           ทีมจากไทยที่ได้เข้าร่วมแข่งขันเป็นปีแรกใช้ชื่อทีมว่า ไทยเกอร์ (ThaiGer) โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร กับสถาบันฟาคโฮคชูเลอ (Fachhochschule) ในเมืองสตราลซุนด์ (Stralsund) ซึ่งพัฒนารถต้นแบบชนิด 3 ล้อ โดยใช้ไฮโดรเจนจากเซลล์เชื้อเพลิงเป็นพลังงาน ซึ่งในช่วงนี้ทีมงานกำลังง่วงอยู่กับการตรวจสอบขั้นสุดท้าย หากผ่านแล้วก็จะสามารถเข้าคิวรอแข่งขันจริงในสนาม โดยทีมข่าววิทยาศาสตร์ เอเอสทีวีผู้จัดการออนไลน์ จะรายงานให้ทราบต่อไป
           

           ส่วนสถิติที่น่าสนใจในการแข่งขัน โดยเฉพาะสถิติที่เหล่านักเรียนนักศึกษาได้สร้างไว้ โดยในปี 2004 ทีม Lycée La Joliverie จากฝรั่งเศสใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงที่เทียบเท่ากับน้ำมัน 1 ลิตรวิ่งรถได้ไกลถึง 3,410 กิโลเมตร และในปี 2005 ทีมจาก ETH Zurich สวิตเซอร์แลนด์ใช้พลังงานไฮโดรเจนทีเทียบเท่าน้ำมัน 1 ลิตร วิ่งได้ไกล 3,836 กิโลเมตร นั่นเท่ากับการเดินทางจากปารีสถึงมอสโกวเลยทีเดียว
           
           หากนำไปเทียบปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้กับรถยนต์ในท้องตลาดแล้ว แม้รถที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในขนาดนี้ ก็ไม่สามารถวิ่งได้ไกลในปริมาณพลังงานที่เท่ากัน นั่นก็เพราะบรรดารถประหยัดพลังงานที่นักศึกษาพัฒนาขึ้นนั้น ออกแบบเพื่อให้วิ่งได้อย่างเต็มที่คือ 15-30 ไมล์ต่อชั่วโมง (23-48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) อีกทั้งเพื่อให้เกิดการประหยัดพลังงานอย่างที่สุด และใช้เชื้อเพลงน้อยที่สุด จึงไม่ได้ติดตั้งระบบป้องกันภัย หรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ รวมทั้งตัวถังภายนอกส่วนใหญ่ไม่ได้ทำจากเหล็ก
           
           ทั้งนี้ การแข่งขันเชลล์อีโคมาราธอนมุ่งหวังให้เยาวชนทั่วโลก เกิดแรงบันดาลใจในการพัฒนาและออกแบบรถประหยัดพลังงานขึ้น เพื่อให้ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมยานยนต์ประหยัดพลังงาน หรือใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต อีกทั้งเมื่อได้ร่วมการแข่งเยาวชนเหล่านี้ก็จะได้มีโอกาสได้ศึกษาเรียนรู้จากวิศวกรและฝ่ายเทคนิคมืออาชีพ และได้เงินรางวัลติดไม้ติดมือกลับบ้านไป
           
           สำหรับการแข่งเชลล์อีโคมาราธอนจัดขึ้นมาแล้วถึง 25 ปีในยุโรป ได้รับความสนใจจากเยาวชนทั่วโลกเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเริ่มจัดขึ้นในอเมริกาเป็นครั้งแรกเมื่อ 3 ปีก่อน และต่อเนื่องมาจนถึงการแข่งขันครั้งล่าสุดในเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันนักเรียนนักศึกษาในแถบเอเชียก็ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น จึงได้มีโครงการเชลล์อีโคมาราธอนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะประเดิมที่ประเทศมาเลเซียในเดือน ก.ค. ปี 2010.


           

           ชมคลิปบรรยากาศการแข่งขันวันแรก (7 พ.ค.) ที่ EuroSpeedway Lausitz ประเดิมสนามแรกด้วยรถประหยัดพลังงานในประเภท Urban Concept ที่พอจะเป็นไปได้ในการขับขี่จริง
           
           
    ภาพ

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น