ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    Legendary Encyclopedia สารานุกรมสัตว์ในตำนาน

    ลำดับตอนที่ #28 : โกเลม (Golem)

    • อัปเดตล่าสุด 28 ต.ค. 52



    ภาพ

    ....โกเลม (Golem) ตามตำนานของชาวยิว เป็นยักษ์ สูง 2-30 เมตร (มีทุกขนาด) ส่วนมากจะทำงานเป็นผู้เฝ้าประตูต่างๆ ที่สำคัญ (คงพอนึกถึงยักษ์ที่คอยทำงานให้ทัพของซารูแมน) ร่างจะเป็นหินรูปร่างใหญ่โตเดินช้าส่วนมากจะอยู่ในทะเลทราย
    ว่ากันว่าพระชาวยิวในเมืองปราก (Prague) เมืองหลวงของเชโกสโลวะเกีย เป็นคนสร้างโกเลมขึ้น ในตอนนั้นชาวยิวที่อาศัยอยู่ในสลัมของปรากกำลังถูกข่มเหง โกเลมจึงเกิดขึ้นเป็นสัญลักษณ์ของการปกป้อง (Protection) โกเลมถูกสร้างขึ้นจากดินเหนียว และจะมีชีวิตเมื่อพระเขียนคำว่า shem (“ชื่อ”) บนกระดาษหนังแล้วใส่เข้าไปในปากของมัน นอกจากนั้นพระยังเขียนคำว่า emet (“สัจธรรม” Truth) บนหน้าผากของมัน

    ภาพ

    .... โกเลม (Golem) คือศาสตร์แห่งการสร้างข้ารับใช้ตามคติความเชื่อของชาวยิว ยูดา การสร้างโกเลมนั้น สามารถสร้างได้โดยการนำมูลดินมาปั้นเป็นรูปมนุษย์ มีรยางค์ทั้งห้าครบบริบูรณ์ คือ ศีรษะ แขน และขา การที่จะให้โกเลมมีชีวิตขึ้นมาได้นั้น คือการฝังรูปจารึกถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์ คำว่า "EMETH" เป็นภาษายิว (ที่นี่ไม่มีฟอนท์ฮิบริว ไม่งั้นจะเขียนให้ดู) ซึ่งหมายถึง "สัจจะ" อาจจะเป็นแผ่นกระดาษ แผ่นไม้ หิน หรือสิ่งที่สามารถลงอักขระได้

    ภาพ

    .... โกเลมนั้นเปรียบได้กับ ชิกิงามิ หรือภูติรับใช้ตามคติของชินโต รับคำสั่งของเจ้านายและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โกเลมนั้น เด่นเรื่องพลังทางกายภาพ และความทนทานทางร่างกาย แต่ด้อยในเรื่องของพลังเวทย์ และการต้านทานพลังเวทย์ รวมไปถึงความรวดเร็วคล่องตัว นักเวทย์ทั่วไปจึงนิยมให้โกเลมเป็น "หน้าด่าน" ตั้งรับ ขณะที่ร่ายเวทย์ เพื่อป้องกันศัตรูจู่โจม

    ภาพ

    .... โกเลมถือเป็นสิ่งที่เรียกว่า มีจิตแต่ไร้วิญญาณ คือตายไปแล้ว จิตจะหายไป ไม่สามารถเกิดใหม่ได้ หรือสร้างใหม่ให้มีความทรงจำของตัวเดิมได้ เพราะไร้วิญญาณซึ่งเป็นที่พำนักของจิต มีแต่เพียงพลังเวทย์จากอักขระ EMETH เท่านั้นที่เป็นตัวขับดัน

    การที่จะทำลายโกเลมนั้นแสนง่ายก็คือ ลบ ตัด หรือทำลายแผ่นอักขระ EMETH ให้เหลือเพียง "METH" ซึ่งแปลว่า "ความตาย" โกเลมตนนั้นก็จะสิ้นชื่อ กลับเป็นธุลีดินดังเคย
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×