มีอะไรในกระจกวิเศษ
บทวิเคราะห์ทางวรรณคดี
ผู้เข้าชมรวม
719
ผู้เข้าชมเดือนนี้
0
ผู้เข้าชมรวม
เนื้อเรื่อง
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
หลายคนมักคิดว่านิทานนั้นเป็นเรื่องเล่าสำหรับเด็กและมีส่วนที่สำคัญที่สุดอยู่ในตอนสุดท้าย นั่นคือ คติสอนใจ แต่หากได้ศึกษาเรื่องเล่าแลลมุขปาฐะหรืองานเขียนจริงๆแล้วจะเห็นได้ว่าส่วนสำคัญมิได้อยู่ที่คติสอนใจท้ายเรื่องเท่านั้น แต่องค์ประกอบทุกอย่างในเรื่องล้วนสำคัญและเป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้คัดสรรมาแล้วเป็นอย่างดีก่อนที่จพนำเสนอสู่สาธารณะ ตัวอย่างเช่น นิทาน (ประเภท fable) ของ La Fontaine นักเขียนชาวฝรั่งเศสในยุคศตวรรษที่ 17 มีการเลือกใช้ตัวละครที่เป็นสัตว์ซึ่งมีลักษณะเหมือนมนุษย์ โดยมีจุดมุ่งหมายให้ลักษณะของสัตว์ประเภทต่างๆนั้นแทนกลุ่มคนและชนชั้นต่างๆในสังคม เช่น หมายป่าแทนผู้มีอำนาจ จิ้งจอกแทนคนเจ้าเหล่ แกะแทนคนอ่อนแอไร้เดียงสา เป็นต้น ดังนี้เพื่อจะนำเรื่องราวจริงที่เกิดขึ้นในสังคมมาตีแผ่ เสียดสีโดยไม่กล่าวถึงบุคคลจริงโดยตรง สรุป ทุกสิ่งที่ปรากฏในงานเขียนต่างๆนั้นมักเกิดจากความพินิจพิเคราะห์ของตัวผู้ประพันธ์เป็นอย่างดีแล้ว
แน่นอนว่าของวิเศษต่างๆคือสิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากความปรกติของธรรมชาติ ความสำคัญและหน้าที่ของมันคือ "ตอบสนองความต้องการหรือกิเลสของมนุษย์"ได้อย่าง่ายดายด้วยวิธีที่พิสดาร ของวิเศษในเรื่องเล่าต่างๆจึงมักเป็นส่วนเติมเต็มหรือเป็นตัวสร้างเหตุสมบูรณ์ให้กับการกระทำของตัวละคร ดังเช่นแม่มดใจร้ายจะไม่กำจัดสโนว์ไวท์หากไม่ได้รับการยืนยันจาก"กระจกวิเศษ" ซินเดอเรลล่าจะพบเจ้าชายไม่ได้หากปราศจากพรวิเศษจากคฑาวิเศษของนางฟ้า
และหากของวิเศษมีเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวละครแล้ว อะไรคือสิ่งที่แม่มดใฝ่หาจาก "กระจกเงา" โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่ทุกคนพบจากกระจกเงาคือเงาสะท้อนเสมือนจริง เหตุเพราะมนุษย์ไม่สามารถมองเหตุรูปลักษณ์ของตนได้ด้วยตนเอง กระจกเงาจึงเป็นสิ่งที่เติมเต็มความใฝ่หาทางด้านความงามของบุคคล เงาเสมือนจริงที่สะท้อนนั้นคือสิ่งที่มนุษย์ยึดถืออย่างสมบูรณ์ว่าเป็นตัวตน จึงดูเหมือนว่ากระจก "ไม่ได้บอกอะไร" นอกจาก "ความจริง" แม่มดต้องการให้เงาสะท้อนของตนเองตอบว่านางคือผู้ที่งดงามที่สุด ซึ่งก็เป็นเช่นนั้นตลอดมา แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเวลาผ่านไปอายุของนางก็มากขึ้นสวนทางกับความเป็นดรุณีของสโนว์ไวท์ที่สวยสด เมื่อนางตั้งคำถามแก่ของที่อนุมานว่าวิเศษชิ้นนี้นางอาจไม่เคยเห็นเงาสะท้อนอันงดงามของสโนว์ไวท์ปรากฏในกระจกแต่เห็นเงาของตัวนางเอง ซึ่งทำให้นางพบสัจธรรมว่า ความงามที่ร่วงโรยในไม่ช้าต้องถูกแทนที่โดยความสาว เมื่อนางไม่อาจรับความจริงนี้ได้ จึงเป็นเหตุให้นางวางแผนการร้าย
อย่างไรก็ตามกระจกวิเศษก็ได้ประกาศอีกครั้งว่าสโนว์ไวท์ยังคงงดงามเช่นเดิแม้ว่านางได้จ้างวานนายพรานให้สังหารเด็กสาวแล้วก็ตาม ถึงกระนั้นกระจกบานนี้ก็ยังคงไม่วิเศษจริง เพราะกระจกก็ยังสะท้อนว่านางไม่อาจกลับไปงดงามได้ดั่งเด็กสาว อนึ่งความไม่สามารถวางในใจตัวนายพรานได้ (การจ้างวานคนอื่นก็คงไม่แน่นอนเท่ากับกระทำด้วยตนเอง) นางจึงออกตามหาสโนว์ไวท์และตั้งใจจะกำจัดเด็กสาวด้วยน้ำมือตนเอง
หากเรามองในแง่การวิเคราะห์จิตใจตามหลักเหตุผลก็จะได้ผลลัพธ์ว่า จริงๆแล้วกระจกบานนี้มิได้เป็นกระจกวิเศษ แต่เป็นเพียงสิ่งที่ท้อนให้เห็นถึงกิเลสอย่างหนึ่งของมนุษย์ 1 ในบาป 9 ประการตามแนวคิดทางคริสต์ศาสนา คือ "The Pride" หรือ "ความหยิ่งผยอง" ดังนั้นกลับเป็น "กระจกวิเศษ" ที่เป็นตัวบ่งชี้คติสอนใจที่แท้จริงของเรื่องนี้ ความหยิ่งผยองมักนำมาซึ่งความหลงผิดในอัตตา และการยอมรับอิจจังของทุกสิ่งที่ถูกกัดกร่อนไปตามการไหลของกาลเวลา
สรปคือ ไม่เคยมีอะไรในกระจกวิเศษ มีเพียงเงาสะท้อนแห่งความเป็นจริงเท่านั้น หรือหากจะมีความวิเศษนั้นอาจจะเป็นความสามารถในการบ่งบอกสัจจะธรรมของโลกที่มีการตั้งอยู่ ร่วงโรย และดับไป อนึ่ง ความผยองในรูปลักษณ์นั้นกลับทำให้ความวิเศษของมันแปรเปลี่ยนไปในทางชั่วร้ายตามผู้ครอบครองดังที่ปรากฏในเรื่อง "สโนว์ไวท์กับคนแคระทั้งเจ็ด"
ผลงานอื่นๆ ของ Guy de Narcisse ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Guy de Narcisse
ความคิดเห็น