ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    สะสมคำศัพท์

    ลำดับตอนที่ #8 : [กริยา] เดิน

    • อัปเดตล่าสุด 19 ม.ค. 52



    เดินก. ยกเท้าก้าวไป; โดยปริยายหมายความว่า เคลื่อนไปด้วยกําลังต่าง ๆ เช่น
    นาฬิกาเดิน รถเดิน, ทําให้เคลื่อนไหว เช่น เดินเครื่อง, ทําให้เคลื่อนไป เช่น
    เดินหมากรุก, คล่องไม่ติดขัด เช่น รับประทานอาหารเดิน สมองเดินดี, นําไป
    ส่ง เช่น เดินข่าว เดินหนังสือ เดินหมาย, ประกอบกิจการขนส่ง เช่น เดินรถ
    เดินเรือ เดินอากาศ. (ข. เฎีร).

    กะเผลก [-เผฺลก] ก. อาการเดินไม่ปรกติ เอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง.

    กราย ๓[กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น
    ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง.
    (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มี
    คารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ
    กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.

    กรีดกราย ว. เยื้องกราย, เดินทอดแขน, มีท่าทางหยิบหย่ง, ทำอะไรไม่เต็มกำลัง.

    กรีธา [กฺรีทา] ก. เคลื่อน, ยก, เดินทางเป็นหมู่เป็นกระบวน, (ใช้ในการ
    ยกทัพ).

    ขาขวิด ว. อาการที่เดินสะดุดขาตัวเองเพราะอายหรือรีบร้อน เรียกว่า
    เดินขาขวิด.

    โขยก [ขะโหฺยก] ก. เดินหรือวิ่งด้วยอาการคล้ายกระโดด.

    จรลี [จอระ-] (กลอน) ก. เดินเยื้องกราย.

    ฉิว ว. เร็วเรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่น ลมพัดฉิว, เร็วไม่มีติดขัด เช่น แล่นฉิว
    เดินฉิว; คล่อง, สะดวก. ก. รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที.

    ซวน ก. ถลาไปข้างหน้า เช่น เดินซวน, เอนไปจากแนว เช่น เสาซวน.

    เซ ว. อาการที่ขาดความทรงตัวจนโอนเอนไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น
    เดินเซ, ลักษณะที่โย้ไปข้างใดข้างหนึ่ง เช่น เรือนเซ.

    ซุน ก. ซวนไปข้างหน้า เช่น เดินหัวซุน, โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่
    คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่นพูดว่า ใช้เสียหัวซุน ก็คือ ใช้เสียจนโงหัว
    ไม่ขึ้นหรือใช้เสียจนไม่มีเวลาว่าง.

    ด้อม ก. อาการเดินที่มีลักษณะก้ม ๆ เงย ๆ.

    เดินเหิน ก. วิ่งเต้นเพื่อขอความช่วยเหลือ; (ปาก) เดิน.

    ดำเนิน ๑ ก. เดิน, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระดําเนิน; ให้เป็นไป เช่น ดําเนินงาน
    ดําเนินชีวิต. (ข. ฎํเณีร).

    ตุปัดตุเป๋ ก. เดินเฉไปเฉมาไม่ตรงทาง.

    เนิบ, เนิบ ๆ ว. แช่มช้า, ช้า ๆ อย่างมีจังหวะ เช่น เดินเนิบ ๆ พูดเนิบ ๆ.

    ฝีเท้า น. ความสามารถในการเดิน วิ่ง ช้าหรือเร็ว หนักหรือเบา เป็นต้น
    เช่น ม้าฝีเท้าดีม้าฝีเท้าจัด คนฝีเท้าหนัก, ฝีตีน ก็ว่า.

    ย่อง ๑ ก. เดินอย่างใช้ปลายเท้าจดลงเบา ๆ.

    ย่างตีน, ย่างเท้า ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่าง ก็ว่า.

    ยาตร, ยาตรา[ยาด, ยาดตฺรา] ก. เดิน, เดินเป็นกระบวน. (ป., ส.).

    ยุรยาตร, ยูรยาตร[ยุระยาด, ยูระ] (กลอน) ก. เดิน, แผลงเป็น ยวรยาตร หรือ ยัวรยาตร
    ก็มี.

    เยื้องย่างก. เดินอย่างมีลีลา, เดินอย่างมีท่างาม, ใช้ในความประชดก็มี,
    ย่างเยื้อง ก็ว่า.

    เร่งฝีเท้า ก. เดินหรือวิ่งให้เร็วขึ้น.

    วนเวียน ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่
    ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหา
    อยู่หลายรอบ.

    ว่อน ว. อาการที่เคลื่อนไปในอากาศเป็นฝูงหรือเป็นจำนวนมาก เช่น
    แมลงบินว่อนกระดาษปลิวว่อน, อาการที่บินวนเวียนไปมา เช่น
    แมลงวันตัวนี้บินว่อนอยู่ในห้องนานแล้ว, โดยปริยายหมายถึง
    อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เดินกันว่อน ข่าวลือว่อน.

    สาวก้าว ก. ก้าวยาวอย่างเร็ว, เดินเร็ว.

    สัญจร[จอน] ก. ผ่านไปมา เช่น ทางสัญจร. น. ช่องทาง, ถนน; การผ่าน
    ไปมา. (ป., ส.).

    เหย่า, เหย่า ๆ [เหฺย่า] ว. อาการที่วิ่งอย่างช้า ๆ หรือเดินอย่างเร็ว.

    เหยียบย่าง ก. เข้าไปสู่, เดินเข้าไป, ย่างเข้าสู่, ย่างเหยียบ ก็ว่า.

    เอื่อย, เอื่อย ๆ ว. เรื่อย ๆ, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดเอื่อย นํ้าไหลเอื่อย ๆ, ตามสบาย
    ไม่รีบร้อน เช่น เดินเอื่อย ๆ.
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×