ลำดับตอนที่ #11
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #11 : [กริยา] พูด
พูด | ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคํา, พูดจา ก็ว่า. |
กระซุบกระซิบ | ก. พูดกันเบา ๆ. |
กัดหางตัวเอง | (สํา) ว. พูดวนไปวนมา. |
เกี้ยวพาน, เกี้ยวพาราสี | ก. พูดให้รักในเชิงชู้สาว. |
กระเซ้า | ก. พูดรบเร้า, พูดเย้าแหย่. |
กระโชกกระชั้น | ว. อาการพูดกระแทกเสียงถี่ ๆ. |
กระแนะกระแหน | [-แหฺน] ก. พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี, กระแหนะกระแหน |
ก็ว่า. |
ขอตัว | ก. พูดเพื่อให้ยกเว้นตัวเอง. |
ขอ ๒ | ก. พูดให้เขาให้สิ่งที่ต้องการ, วิงวอน. |
ขัดคอ | ก. พูดแย้งขวางเข้ามา, ไม่ให้ทําได้โดยสะดวก. |
ข่มขวัญ | ก. ทําให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม. |
ขาน ๑ | ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม. |
คืนคำ | ก. พูดว่าจะให้แล้วไม่ให้. |
คุยเขื่อง, คุยโต | (ปาก) ก. พูดจาแสดงความใหญ่โต. |
คอหอยตีบ | ว. อาการที่รู้สึกตื้นตันใจพูดไม่ออก. |
ค่อน ๑ | ก. ติ, ว่าให้สะเทือนใจ. |
ค่อนขอด | ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, |
ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ขอดค่อน ก็ว่า. |
เคยปาก | ก. พูดอย่างนั้นเสมอ ๆ, พูดจนเป็นนิสัย. |
คร่าว ๆ | ว. เลา ๆ พอเห็นเป็นเค้า, ยังไม่เรียบร้อย. |
คลุม ๆ | ว. พูดไม่บ่งชัดให้จะแจ้ง เช่น พูดคลุม ๆ. |
งึมงำ | ว. เสียงพูดหรือบ่นพึมพํา. |
ง่าม ๑ | น. ลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น ๒ หรือ ๓ เป็นต้น เช่น ง่ามไม้ ไม้ง่าม |
สามง่าม, โดยปริยายใช้หมายถึงถ้อยคําที่มีความหมายได้ ๒ ทาง คือ | |
ทั้งทางสุภาพและไม่สุภาพ เช่น พูดสองง่าม. |
จ๋อแจ๋ | ว. เสียงอย่างเสียงเด็กพูด. |
จาระไน | ก. พูดชี้แจงอย่างละเอียดลออหรือถี่ถ้วน. |
จีบปาก, จีบปากจีบคอ | ก. พูดอย่างดัดจริต, พูดเชิงประจบประแจง. |
แจ้ง | ก. แสดงให้รู้, บอกให้รู้, เช่น แจ้งความประสงค์. ว. กระจ่าง, สว่าง, |
ชัด, เช่น แจ้งใจ. |
โฉงเฉง | ว. เอะอะเอ็ดอึงเป็นทํานองเกะกะเกเร เช่น พูดจาโฉงเฉง. |
ฉอเลาะ | ว. พูดออดอ้อนหรือแสดงกิริยาทํานองนั้นเพื่อให้เขาเอ็นดูเป็นต้น (มักใช้ |
เฉพาะเด็กหรือผู้หญิง). |
ชี้แจง | ก. พูดขยายความให้เข้าใจชัดเจน. |
ชักใบให้เรือเสีย | (สํา) ก. พูดหรือทําขวาง ๆ ให้การสนทนาหรือการงานเขวออก |
นอกเรื่องไป. |
ชุ่ย ๑, ชุ่ย ๆ | ว. หวัด ๆ, มักง่าย, ไม่ได้เรื่องได้ราว, เช่น เขียนชุ่ย ๆ |
ทําชุ่ย ๆ พูดชุ่ย ๆ. |
ชัด | ว. ประจักษ์แจ้ง, แจ่มแจ้ง, เช่น เห็นชัด ปรากฏชัด; ไม่ผิดเพี้ยน, |
ไม่แปร่ง, เช่น พูดชัด. |
ซ้อมค้าง | ก. พูดทึกทักเอาราวกับเป็นจริง. |
ซุบซิบ | ก. พูดกันเบา ๆ ไม่ต้องการให้คนอื่นได้ยิน, กระซุบกระซิบ ก็ว่า. |
เซ้าซี้ | ก. พูดรบเร้ารํ่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, กระเซ้ากระซี้ ก็ว่า. |
เซ็งแซ่ | ว. ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด. |
ดักคอ | ก. พูดสกัดหรือกันไว้ล่วงหน้า. |
ดูหมิ่น ๒, ดูหมิ่นถิ่นแคลน | ก. แสดงกิริยาท่าทาง พูดจา หรือเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเป็น |
เชิงดูถูกว่ามีฐานะตํ่าต้อย หรือไม่ดีจริงไม่เก่งจริงเป็นต้น, หมิ่น ก็ว่า. |
ดำรัส | [-หฺรัด] น. คําพูดของเจ้านาย ใช้ว่า พระดํารัส, คําพูดของพระมหากษัตริย์ |
ใช้ว่า พระราชดํารัส. ก. พูด (ใช้แก่เจ้านาย). (แผลงมาจาก ตรัส). |
เต็มตื้น | ก. ดีใจจนพูดไม่ออก. |
ติเตียน | ก. ยกโทษขึ้นพูด, กล่าวร้าย. |
ตัดบท | ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. |
ตกตะลึง | ก. ตกใจจนพูดไม่ออก, แสดงอาการงงงัน. |
ตีสำนวน | ก. พูดใช้สํานวนโวหารเป็นเชิงอวดฉลาด. |
ถากถาง | ก. ค่อนว่า, มีเจตนาว่าให้เจ็บใจ. |
ถาม | ก. พูดเพื่อรับคําตอบ. |
ไถ่ ๒ | (ถิ่นพายัพ) ก. ถาม, พูดคุย. |
ถวายพระพร | คําเริ่มที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านายและเป็นคํารับ. |
ทาย ๑ | ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทํานาย ก็ว่า. |
ทัก ๑ | ก. กล่าวเป็นเชิงเตือน, พูดโอภาปราศรัยด้วยอัธยาศัยไมตรีเมื่อพบ |
หน้ากัน, กล่าวหรือออกเสียงให้ระวังหรือสังเกตว่าจะเป็นภัยตาม | |
ลัทธิที่ถือกัน เช่น จิ้งจกทัก. |
ทุ้ย | ก. พูดเดาส่ง, พูดพุ่งส่ง. |
แทงใจดำ | (สํา) ก. พูดตรงกับความในใจของผู้ฟัง. |
ทะลุกลางปล้อง | ก. พูดสอดขึ้นมาในเวลาที่เขากําลังพูดกันอยู่. |
ทูล | ก. บอก, กล่าว, (ใช้แก่เจ้านาย). (ข.). |
แนะแหน | [แหฺน] ก. แนะ, พูดเสนอให้ชอบใจ. |
แนะนำ | ก. ชี้แจงให้ทําหรือปฏิบัติ เช่น แนะนําให้ทําความดี แนะนําในการใช้ยา; |
บอกให้รู้จักกันตามธรรมเนียม. |
น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง | (สํา) ก. พูดมากแต่ได้เนื้อหาสาระน้อย. |
นายว่าขี้ข้าพลอย | (สํา) ก. พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย. |
น้ำท่วมปาก | (สํา) ก. พูดไม่ออกเพราะเกรงจะมีภัยแก่ตนหรือผู้อื่น. |
บ้าน้ำลาย | ว. ชอบพูดพล่าม, ชอบพูดเพ้อเจ้อ. |
บุ้ย, บุ้ยปาก | ก. ทําปากยื่นบอกใบ้ให้รู้. |
บอก ๒ | ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; |
บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก | |
ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน | |
เช่น ใบบอก. |
บอกปัด, บอกเปิด | ก. พูดปัดไปให้พ้นตัว, พูดอย่างไม่รู้ไม่ชี้. |
บอกใบ้ | ก. แนะด้วยอุบาย, บอกเป็นเลศนัย. |
บอกเล่าเก้าสิบ | (สํา) ก. บอกกล่าวให้รู้. |
บอกศาลา | ก. ประกาศไม่รับผิดชอบหรือตัดขาดไม่ให้ความอุปการะเลี้ยงดู |
อีกต่อไป. |
บ่างช่างยุ | (สํา) น. คนที่ชอบพูดส่อเสียดยุยงให้เขาแตกกัน. |
บ่น | ก. พูดพรํ่าหรือว่ากล่าวซํ้า ๆ ซาก ๆ; กล่าวซํ้า ๆ กัน เช่น ท่องบ่น |
ภาวนา. | |
บ่นถึง ก. กล่าวถึงบ่อย ๆ. |
ปากกล้า | ว. พูดไม่เกรงกลัวใคร. |
ปากปลาร้า | (สํา) ว. ชอบพูดคําหยาบ. |
ปากว่ามือถึง | (สํา) ก. พอพูดก็ทําเลย. |
ปากร้ายใจดี | ก. พูดจาดุด่าแต่น้ำใจดี. |
ปากหมา | ว. ชอบพูดจาว่าร้ายคนอื่น. |
ป่าว | ก. บอกให้รู้ทั่วกัน. |
ป่าวร้อง | ก. ร้องบอกให้รู้ทั่วกัน. |
ปรับทุกข์ | ก. บอกเล่าความทุกข์, พรรณนาถึงความทุกข์. |
โผงผาง | ว. ลักษณะการพูดตรง ๆ ไม่เกรงใจ, ไม่ยับยั้งอ้อมค้อม, โผง ก็ว่า. |
เผยอ | [ผะเหฺยอ] ก. เปิดน้อย ๆ เช่น เผยอปาก เผยอฝาหม้อไว้ ฝากาเผยอ. |
ว. อวดดี, ทำไปโดยไม่รู้จักประมาณตน, เช่น เผยอทํา เผยอพูด. |
ฝอย | น. สิ่งที่เป็นเส้นเล็ก ๆ ละเอียด เช่น ฝอยขัดหม้อ, หรือสิ่งที่มีลักษณะ |
คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ยาฝอย ฉีดนํ้าเป็นฝอย; คําอธิบายวิธีใช้ยา | |
หรือเวทมนตร์ต่าง ๆ; โดยปริยายหมายความว่าข้อความที่ไม่ใช่ | |
เนื้อหา. (ปาก) ก. พูดมากและเกินความจริง. |
พรายกระซิบ | น. ผีพรายที่มากระซิบบอกให้ผู้ที่เลี้ยงตนรู้เหตุการณ์ต่าง ๆ |
ได้แม้เกิดในที่ห่างไกล. |
พูดจา | ก. พูด. |
พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ | (สํา) ก. พูดห้วน ๆ. |
พร่ำพลอด | ก. พูดออดอ้อนออเซาะ. |
พลั้งปาก | ก. พูดไปโดยไม่ทันคิด. |
พูดเป็นน้ำไหลไฟดับ, พูดเป็นไฟ | ก. พูดคล่องเหลือเกิน. |
พอกันที | (ปาก) ก. บอกเลิกกัน, ยุติกัน, ไม่เกี่ยวข้องกันอีกต่อไป. |
พรอก | [พฺรอก] ก. บอก, พูด, เช่น บัดบอกพรอกพราง. |
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด | (สํา) ก. ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อหรือทําผิด ๆ พลาด ๆ. |
มึงวาพาโวย | ก. พูดจาเอะอะโวยวาย. |
มุขบาฐ, มุขปาฐะ | [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, |
การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, | |
เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ. |
โม้ | (ปาก) ว. โว, พูดเกินความจริง. |
ยั่วเย้า | ก. พูดหยอกล้อ, กระเซ้า. |
ไยไพ | ก. เยาะเย้ย, พูดให้เขาอาย. |
โย ๑ | (ปาก) ก. พูดแขวะ, พูดชวนวิวาท. |
เย็บปาก | (ปาก) ก. ปิดปากเงียบไม่ยอมพูด. |
เราะร้าย | ก. พูดมากหยาบคาย, พูดไม่เพราะ. |
รวบรัด | ก. ทําให้สั้นเข้าให้เร็วเข้า เช่น พูดรวบรัด. |
ร้องบอก | ก. เปล่งเสียงบอกให้รู้. |
ร้องทุกข์ | ก. บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ. |
ร่ำร้อง | ก. พร่ำร้องขอ, พูดอยู่บ่อย ๆ, เช่น ลูก ๆ ร่ำร้องจะไปเที่ยวเขาดิน. |
เรื่อยเปื่อย | ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น พูดเรื่อยเปื่อย เดิน |
เรื่อยเปื่อย. |
รำพึงรำพัน | ก. พูดอย่างที่คิดคำนึงอยู่ เช่น เขารำพึงรำพันว่า โลกนี้ |
น่าอยู่จริงหนอ. |
ล่อแล่ | ก. พูดไม่ชัด, พูดไม่ได้ความ. |
เล่นลิ้น | ก. พูดเป็นสํานวนไม่ตรงไปตรงมา. |
เล่า | ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ |
ประกอบข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น | |
มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า. |
บอก ๒ | ก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; |
บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนํา เช่น บอก | |
ให้ทําอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน | |
เช่น ใบบอก. |
ว่า | ก. พูด, บอก, เช่น เขาว่า ที่นี่ฝนตกทุกวัน; ดุ เช่น อย่าเอะอะไป |
เดี๋ยวครูว่าเอา, ติ เช่น ดีแต่ว่าเขา; ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยง | |
ไม่ได้; ร้อง เช่น ว่าเพลง; จ้าง, ตกลงให้ทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยให้ | |
ค่าจ้าง, เช่น ไปว่าขนมมาเลี้ยงแขก, ว่าจ้าง ก็ว่า; ใช้เป็นสันธาน | |
เชื่อมประโยค เช่น พูดว่า คิดว่า หมายความว่า มีความเห็นว่า. | |
(ปาก) ก. เป็นคำใช้แทนกริยาอื่นบางคำได้ เป็นต้นว่าใช้แทนคำว่า | |
กิน เช่น ว่าเสียเรียบ ว่าเสียเต็มคราบ ใช้แทนคำว่า ทำ เช่น ว่าเสียเอง. |
เว้า ๑ | (ถิ่นอีสาน) ก. พูด. |
ว่าส่ง ๆ, ว่าส่งเดช | ก. พูดพล่อย ๆ ไม่มีเหตุผล. |
ว่าเอาเอง | ก. พูดแต่งเรื่องขึ้นมาเอง. |
วิภาษ | ก. พูดแตกต่าง, พูดแย้ง. (ส. วิ + ภาษฺ). |
โว | (ปาก) ก. พูดโอ้อวด เช่น โวมากไปหน่อยแล้ว. ว. โอ้อวด เช่น คุยโว. |
ศัพท์แสง | (ปาก) น. คำยากที่ต้องแปล เช่น เขาชอบพูดจาเล่น |
ศัพท์แสงฟังไม่รู้เรื่อง. |
สบถ | [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ |
ลงโทษตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติ | |
ตามหรือไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ). |
ส่งข่าว | ก. บอกข่าว เช่น จะเดินทางเมื่อไรก็ส่งข่าวด้วยนะ. |
สารภาพ | [สาระพาบ] ก. รับว่ากระทำผิด เช่น จำเลยสารภาพว่าขโมย |
ของไปจริง; บอกความในใจ เช่น สารภาพรัก. |
ใส่ถ้อยร้อยความ | (สํา) ก. ใส่ความ, พูดหาเหตุหาเรื่อง. |
เสียงเหน่อ | น. เสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสำเนียงมาตรฐาน. |
หุบปาก | ก. ปิดปาก, หยุดพูด, ไม่พูด. |
หลุดปาก | ก. พลั้งปาก. |
เหวี่ยงแห | ว. ทําคลุม ๆ เช่น พูดเหวี่ยงแห. |
หักหน้า | ก. ทําหรือพูดโดยเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งได้อาย. |
หยาบคาย | ว. ไม่สุภาพ เช่น พูดจาหยาบคาย กิริยาหยาบคาย. |
ให้หา | ก. เรียก, บอกให้ไปหา. |
อ้อนวอน | ก. พยายามพูดขอร้อง. |
โอ้โลม | ก. ปลอบโยน, เอาใจ. |
ออกรส | ว. มีรสมีชาติ, โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่ชอบอกชอบใจ, |
สนุกสนาน. |
ออด ๑ | ก. พรํ่าอ้อนวอน, พรํ่ารําพัน. (ปาก) น. เครื่องบอกสัญญาณที่มี |
เสียงดังเช่นนั้น. |
อ่อย ๒, อ่อย ๆ | ว. ค่อย ๆ เบา ๆ, เช่น เสียงอ่อยพูดอ่อย ๆ. |
อธิบาย | [อะทิบาย] ก. ไขความ, ขยายความ, ชี้แจง. (ป. อธิปฺปาย). |
อภิปราย | [อะพิปฺราย] ก. พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น. (ส. อภิปฺราย). |
เอ่ย ๒ | ก. เปล่งเสียงพูด, เริ่มพูด. ว. คําออกเสียงใช้ในความเพื่อ |
ให้ทาย เช่น นกอะไรเอ่ย. |
เอื้อน ๑ | ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, อึ้น หรือ เอิ้น ก็ว่า. |
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น