ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือเทพปกรณัมญี่ปุ่น - Japanese mythology

    ลำดับตอนที่ #2 : อามาเทราสึ-Amaterasu มหาเทพีผู้อุปถัมภ์ดวงอาทิตย์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.46K
      10
      7 ม.ค. 65





    อามาเทราสึ-天照  หรือชื่อเต็มๆ คือ "อามาเทราสึโอมิคามิ-Amaterasu-ōmikami   โอฮิรุเมะโนมูชิโนะคามิ-Ōhirume-no-muchi-no-kami เป็นหนึ่งเทพเจ้าของญี่ปุ่น และเป็นเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาชินโตที่ชาวญี่ปุ่นนับถือ ถือได้ว่าเทพีอามาเทราสีคือราชินีแห่งสรวงสวรรค์


    อาเทราสึเป็นเทพีแห่งดวงอาทิตย์และจักรวาล พระนางเป็นธิดาของเทพอิซานากิและเทพีอิซานามิ โดยเชื่อว่า พระนางเกิดจากน้ำที่หยดออกจากดวงตาข้างซ้ายของเทพอิซานากิ

    ชื่อของพระนางมาจากคำว่า "อามาเทรุ-Amateruอันแปลได้ว่า "ส่องประกายในแดนสวรรค์" ในขณะที่ชื่อเต็มของพระนาง "อามาเทราสึโอมิคามิ" นั้นมีความหมายว่า "มหาเทพีผู้ฉายแสงแห่งสวรรค์" ตามบันทึกโคจิกิและบันทึกนิฮอนโชกิ กล่าวกันว่าจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นนั้นได้สืบทอดเชื้อสายมาจากเทพีอามาเทราสึโดยตรงครับ

    ตามตำนานที่เล่าขานกันมานั้นหลังจากที่โลกได้ถูกสร้างขึ้นและเกาะต่างๆอันเป็นที่อยู่ของมนุษย์ชาวญี่ปุ่นได้ถูกเนรมิตขึ้นแล้วก็มีการแบ่งเขตการปกครองกัน โดยเทพีอามาเทราสึได้ปกครองดวงอาทิตย์และสรวงสวรรค์ ส่วนเทพจันทราสึคุโยมิ-Tsukuyomi ผู้เป็พระเชษฐา(พี่ชาย)ได้ปกครองช่วงเวลายามค่ำคืน ในขณะที่เทพวายุซูซาโนะโอ-Susanoo อันเป็นพระอนุชา(น้องชาย)ได้ปกครองท้องทะเล 

    ในช่วงเวลานั้นว่ากันว่าในโลกเรายังไม่มีกลางวันและกลางคืน พระนางอามาเทราสึได้ครองรักกับสึคุโยมิและได้ปกครองท้องฟ้าด้วยกัน ทว่าต่อมา เทพสึคุโยมิได้เกิดความคิดรังเกียจและได้ฆ่าเทพีแห่งอาหารอูเคโมชิ-Uke Mochi เข้า การฆ่าครั้งนี้ทำให้เทพีอามาเทราสึเสียความรู้สึกและพิโรธอย่างมากจึงประณามสึคุโยมิว่าเป็นเทพที่ชั่วร้าย และพระนางก็ไม่เคยมองหน้าเทพสึคุโยมิอีกเลย และด้วยเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เขตการปลดครองท้องฟ้าแยกออกจากกัน ทำให้เกิดกลางวันและกลางคืนขึ้นครับ

    ส่วนอีกตำนานก็มีครับ เป็นเรื่องของการแข่งขันอันยาวนานระหว่างพระนางอามาเทราสึและเทพซูซาโนะโอ โดยจากที่มีการบันทึกไว้ ได้กล่าวว่าในศึกแข่งขันครั้งนั้นซูซาโนะโอเกิดแพ้ ทว่าพระองค์ไม่ยอมรามือกลับอาละวาดทำลายดินแดนสวรรค์และดินแดนมนุษย์รวมถึงทำลายนาข้าวของอามาเทราสึ ซูซาโนะโอขว้างม้าตัวหนึ่งลงบนเครื่องทอผ้าของพระนางและฆ่าคนรับใช้ที่เธอรักคนหนึ่งด้วยความโกรธ

    เทพีอาเทราสึรู้สึกเศร้าและคับแค้นใจเป็นอย่างมากแต่ไม่รู้จะทำอย่างไร พระนางจึงไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำหินแห่งหนึ่งในแดนสวรรค์ ทว่า การที่เทพีแห่งดวงอาทิตย์อย่างอามาเทราสึไปขังตนเองอยู่ในถ้ำ แสงอาทิตย์ที่เคยส่องมายังโลกและสวรรค์ก็หายไปด้วย เมื่อขาดแสงอาทิตย์ทั้งเทวาและมนุษย์ก็เกิดความเดือนร้อนครั้งใหญ่ พืชผักนานาชนิดแข็งตาย โลกตกอยู่ในความมืดมิดและความโกลาหล จนทวยเทพต้องช่วยกันวางแผนให้อามาเทราสึออกมาจากถ้ำ

    ในตอนแรกนั้นเหล่าเทพพากันจัดงานเลี้ยงใหญ่ที่หน้าถ้ำ ทว่าพระนางอามาเทราสึก็ไม่ยอมออกมา ในเมื่อการจัดงานเลี้ยงใหญ่ที่หน้าถ้ำไม่เป็นผล ทวยเทพจึงวางแผนกันใหม่ ในคราวนี้เทพีอาเมโนะอุซุเมะ-Ame-no-Uzume เทพีแห่งรุ่งอรุณได้ออกตัวมาโชว์เต้นระบำหน้าถ้ำ จนพระนางอามาเทราสึสนใจและออกจากถ้ำได้ในที่สุด

    แต่บางตำนานก็ว่าปวงเทพได้วางกระจกไว้ที่ปากทางเข้าถ้ำ จากนั้นเทพีอุซุเมะได้ ออกมาเต้นรำหน้าถ้ำ แต่ว่าในตำนานนี้ท่าเต้นของพระนางอุซุเทะเกิดเพี้ยน จนเทพเทพีที่มารวมตัวกันต้องหัวเราะทั้งๆที่สถานการณ์ที่เลวร้ายยังอยู่ ยิ่งเทพีอุซุเทะเต้น เสียงหัวเราะของเทพเทพีในที่นั้นก็ดังขั้นเรื่อยๆ หัวเราะ หัวเราะ แล้วก็หัวเราะ

    ด้วยเสียงหัวเราะที่มากขึ้นเรื่อยๆแม้กระทั่งความคิดที่มืดมนของอามาเทราสึก็ถูกขัดจังหวะและจากความอยากรู้อยากเห็นที่แท้จริงพระนางก็หยุดความอันหมองหม่นชั่วครู่และสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น พระนางเปิดประตูถ้ำและมองออกไป และในขณะนั้นใบหน้าที่เปล่งประกายของพระนางก็สะท้อนอยู่ในกระจก 


    ในช่วงเวลานั้นพระนางเห็นว่าพระนางสวยงามเพียงใดและจำได้ว่าความสุขและเสียงหัวเราะยังคงมีอยู่ในโลกนี้ที่เปล่งออกมาจากเธอและเปล่งออกมาจากทุกคน และนั่นคือวิธีที่ อามาเทราสึออกจากถ้ำ พระนางลืมเลือนความโกรธและความท้อแท้ของพระนางและเข้าร่วมการเต้นรำของเทพีอุซุเมะที่เป็นผู้ริเริ่มการเต้น 


    และอย่างไรก็ดี หลังเหตุการในกุการณ์ในครั้งนั้น เทพซูซาโนะโอก็ถูกลงโทษโดยการถูกขับเนรเทศออกจากแดนสวรรค์ แต่ต่อมาเทพซูซาโนะโอก็ได้กลับตนทำความดีและได้คืนดีกับพระนางอามาเทราสึพร้อมกับได้มอบดาบคุซานากิ-Kusanagi เป็นของขวัญแด่พระนางอีกด้วย 




    เทพีอามาเทราสึ วาาดโดย อายะ คาโต้-Aya Kato


    *เกร็ดความรู้เพิ่มเติม


    ศาลเจ้าอิเซะ-The Ise Grand Shrine




    ศาลเจ้าอิเซะ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่าสนที่เมืองอิเซะ จังหวัดมิเอะ-Mie เป็นศาลที่ยกบูชาแก่มหาเทพีอามาเทราสี ถือเป็นศาลเจ้าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น เพราะถือเป็นศาลเจ้าแห่งแรกของญี่ปุ่น ทั้งยังมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศอีกด้วย  มีผู้คนเดินทางมากราบไหว้มากกว่า 8 ล้านคนต่อปี ศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อนคริสตกาลหรือตรงกับ พ.ศ. 539 เพื่อถวายความศรัทธาแด่เทพีสุริยา และถือเป็นที่สถิตย์ของพระนาง

    โดยตั้งแต่ยุคอาซูกะทางราชสำนักจะส่งเจ้าหญิงหรือเชื้อพระวงศ์ฝ่ายหญิงที่ยังไม่ผ่านการเสกสมรสมาเป็นหัวหน้านักบวชหญิงหรือไซโอประจำศาลเจ้าอิเซะ กระทั่งถึงยุคราชสำนักเหนือ-ใต้ ระบบไซโอจึงสิ้นสุดลง แต่ปัจจุบันทางราชสำนักก็ยังคงส่งเจ้าหญิงหรือเชื้อพระวงศ์ฝ่ายหญิงมาเป็นหัวหน้านักบวชหญิงโดยหัวหน้านักบวชหญิงคนปัจจุบันคือ ซายาโกะ คูโรดะ หรืออดีตเจ้าหญิงซายาโกะพระราชธิดาพระองค์เดียวในสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ ซึ่งขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้านักบวชหญิงสูงสุดเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560

    นอกจากนี้ศาลเจ้าอิเซะยังเป็นที่เก็บรักษากระจกศักดิ์สิทธิ์ยาตะหนึ่งในสามสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำหรับองค์จักรพรรดิญี่ปุ่นที่ใช้ในพระราชพิธีราชาภิเษก ทำให้เวลาที่จักรพรรดิองค์ใหม่ขึ้นครองราชย์ก็ต้องมาทำพิธีที่นี่  และเป็นหน้าที่ที่พระจักรพรรดิ์ของญี่ปุ่นต้องมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นประจำทุกปีอีกด้วย



    ศาลเจ้าอิเสะ


    นอกจากตัวศาลเจ้าหลักแล้วก็ยังมีศาลเจ้าเล็กๆ กระจายกันอยู่ในป่ายักษ์รอบๆ กว่า 125 แห่ง โดยมีศาลเจ้าหลักคือ ในคู-Naiku (ศาลเจ้าด้านใน เชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพีอามาเทราสึ) และ เกะคู-Geku  (ศาลเจ้าด้านนอก เชื่อว่าเป็นที่สถิตย์ของเทพโทโยเกะ-Toyoukeการกราบไหว้สักการะศาลเจ้าอิเสะปกติแล้วเราจะเริ่มจาก เกะคู ในคู ส่วนชื่อทางการของเกะคูก็คือโทโยะอุเคะไดจิงงูโดยจะบูชาเทพเจ้าผู้ปกปักษ์รักษาอุตสาหกรรมการผลิตปัจจัย 4  หรือเทพโทโยเกะก่อน  แต่ก่อนที่จะมีการสักการะใดๆก็ต้องมีการล้างมือและปากก่อนโดยจะมีโจซุยะ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับชำระล้างมือและปากก่อนเข้าสักการะนั่นเอง  


    ส่วนวิธีการล้างมือนั้น ก่อนอื่นให้โค้งคำนับ 1 ครั้งก่อนและใช้มือขวาหยิบกระบวยขึ้นมาเพื่อตักน้ำชำระล้างมือซ้าย ต่อไปก็สลับเป็นใช้เป็นซ้ายถือกระบวยแทนเพื่อตักน้ำชำระล้างมือขวา เมื่อล้างมือเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ใช้มือทั้ง 2 ข้างจับกระบวยตั้งขึ้นเพื่อให้น้ำที่เหลือในกระบวยไหลลงมาชำระล้างด้ามจับกระบวยจนสะอาด และวางกลับคืนที่เดิม สุดท้ายก็โค้งคำนับอีกครั้งหนึ่ง  ถึงแม้ว่าภายในบริเวณมีศาลเจ้าเยอะแยะมากมาย แต่วิธีการสักการะบูชาก็เหมือนกันหมด คือ โค้งคำนับ 2 ครั้ง ตบมือ 2 ครั้ง และโค้งคำนับอีก 1 ครั้ง


    หลังจากสักการะเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนจะเดินทางกลับเราสามารถแวะซื้อเครื่องรางจากศาลเจ้าแห่งนี้ได้ โดยเครื่องรางแต่ละชิ้นก็จะมีความหมายที่แตกต่างกันไป แล้วแต่ว่าใครต้องการเสริมดวงด้านใด พกใส่กระเป๋าไว้เป็นเวลาหนึ่งปี หลังจากนั้นเราควรนำเครื่องรางนั้นมาคืนที่ศาลเจ้าใดก็ได้ในญี่ปุ่นเพื่อนนทำการเผาทำลายและขอบคุณที่ปกป้องเรามาตลอดทั้งปี


    ในสมัยโบราณนั้นมีคนเดินทางมายังศาลเจ้าแห่งนี้เยอะมาก จนเริ่มมีการก่อร่างสร้างร้านค้าและที่พักเพื่อรองรับผู้ที่เดินทางมาแสวงบุญจนกลายมาเป็นเมืองอิเสะขึ้นมาในภายหลัง ที่นี่(ศาลเจ้าอิเซะ)ยังเป็นจุดชมซากุระและใบไม้เปลี่ยนสีชื่อดัง ช่วงชมซากุระจะเป็นปลายเดือนมีนาคม - เดือนเมษายน ส่วนใบไม้เปลี่ยนสีจะเป็นปลายเดือนพฤศจิกายน - ต้นเดือนธันวาคม



    โจซุยะ สถานที่สำหรับชำระล้างมือและปากก่อนเข้าสักการะ ภาพโดย Matcha เว็บไซต์แมกกาซีนแนะนำการท่องเที่ยวญี่ปุ่น


    การเดินทางมา ศาลเจ้าอิเสะ

    จากเกียวโต: เริ่มต้นที่สถานีเกียวโต นั่งรถไฟสาย Kintetsu Limited Express มาลงสถานีอิซุกาวะ-Isuzugawa Station ใช้เวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นต่อรถแท๊กซี่อีกประมาณ 5 นาทีไปลงบริเวณทางเข้า เสาโทริอิ ตรงสะพานอุจิบาชิ-Ujibashi


    จากโอซาก้า: เริ่มต้นที่สถานีอุเอะฮอนมาจิ-Uehonmachi นั่งรถไฟสาย Kintetsu Limited Express มาลงสถานีอิซุกาวะ-Isuzugawa Station ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 53 นาที จากนั้นต่อรถแท๊กซี่อีกประมาณ 5 นาทีไปลงบริเวณทางเข้า เสาโทริอิ ตรงสะพานอุจิบาชิ-Ujibashi 

    E
    R
    L
    I
    N
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×