ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือมังกร Mythology and Magick

    ลำดับตอนที่ #33 : กายวิภาคของมังกร-Dragon anatomy

    • อัปเดตล่าสุด 7 ม.ค. 65




    ก่อนอื่น ถ้าเราอยากรู้เรื่องของมังกรเราก็จำเป็นต้องรู้จักโครงสร้างร่างกาย หรือ อนาโตมี-Anatomy ของมังกรก่อนครับ ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้ได้สรุปมาจากหลายๆที่นะครับ ซึ่งก่อนอื่นก็มาดูในส่วนของโครงสร้างกระดูกนะครับ

    โครงกระดูกมังกร-THE SKELETON



    ภาพโครงสร้างกระดูกมังกร วาดโดย ยูจีน อาเรนฮาส-Eugene Arenhaus


    โครงกระดูกของมังกร โดยเฉพาะมังกรฝั่งฝรั่งตะวันตกนั้น มีโครงสร้างโครงกระดูกที่แข็งแรงมาก บางทีมีความเชื่อที่ว่าโครงสร้างกระดูกอันแข็งแกร่งนี้ประกอบด้วยกระดูก 500 กว่าชิ้น ซึ่งมากกว่ากระดูกของมนุษย์ถึงสองเท่า และโดยมากถูกสรุปว่าเป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีกระดูกสันหลัง และเป็นส่วนใหญ่จะกินเนื้อ และบางทีจัดอยู่ในประเภทสัตว์เลื้อยคลานครับ

    มันมีหัวขนาดใหญ่และลำคอยาว ไหล่และปีกกว้าง ขาหนาและใหญ่พอสมควร หางของมันแข็งแกร่งเปรียบได้กับอาวุธประจำกาย โดยรวมแล้วโครงสร้างกระดูกของมังกรนั้นแข็งแกร่งมาก แต่ก็กลวงและเบาเหมือนนกซึ่งทำให้พวกมันบินอย่างง่ายดาย แต่เมื่อมังกรตายหรือกระดูกสัมผัสกับอากาศพวกมันจะเปราะบางมากโดยมีแนวโน้มที่จะสลายไปเมื่อสัมผัสซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้กระดูกฟอสซิลหายาก


       



    หากพิจารณาอย่างละเอียดแล้วกรามของมังกรนั้นมีขนาดใหญ่มาก มันถูกสร้างมาเพื่อรองลับการใช้งานอย่างหนักของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ในส่วนกรามของมันแทบจะเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระเวลาล่าเหยื่อ ซึ่งในส่วนของกรามตรงนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับงูครับ 

    และในส่วนของฟันมังกร จะมีอยู่สองประเภท คือ มังกรกินได้ทั้งพืชและเนื้อ ซึ่งตัวไหนกินพืชตัวไหนกินเนื้อ หรือบางตัวอาจจะกินทั้งพืชและเนื้อก็จะแต่งกันออกไปตามแต่ละชนิด แต่โดยส่วนมากแล้วฟันของมังกรจะถูกสร้างมาเพื่อการรองรับการกินเนื้อทุกชนิด ซึ่งนั่นหมายความว่าฟันของมังกรนั้นยาวและคมกริบมาก 



    กระดูกไหล่มีความหนาเพื่อรองรับกล้ามเนื้อปีกขนาดใหญ่ที่จำเป็นในการบิน แขนและกระดูก "นิ้ว" ของปีกนั้นยาวมาก หากคุณผู้อ่านดูที่โครงกระดูกของแขนหน้าและกรงเล็บมังกรคุณจะสังเกตได้ว่าปีกนั้นเป็นแบบที่พับและยืดออกมาได้ ในส่วนนี้ทำให้มันมีอิสระสูงในการคว้าจับสิ่งต่างๆ กระดูกในส่วนนี้จึงแข็งแรงเป็นพิเศษ และนิ้วบริเวณปีกมักจะมีอยู่ 4 นิ้ว 


    ในส่วนของกล้ามเนื้อ-MUSCLES



    ภาพโครงสร้างกล้ามเนื้อของมังกร วาดโดย ยูจีน อาเรนฮาส-Eugene Arenhaus


    นักวิจัยหลายแหล่งกล่าวกันว่า มังกรตะวันตกวันตกส่วนใหญ่นั้นจะมีกล้ามเนื้อมากกว่ามังกรฝั่งตะวันออก ซึ่งก็เพราะว่ามังกรยุโรปส่วนใหญ่จะมีปีก มันจะต้องมีกล้ามที่แน่นหนาพอจะยกน้ำหนักขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งในส่วนนี้เองกล้ามเนื้อหน้าอกและปีกจึงมีความหนาแน่นสูงมาก กล้ามเนื้อปีกยังเคลื่อนที่ได้ดีทำให้มังกรสามารถหมุนปีกและควบคุมการบินได้เป็นอิสระในอากาศ กล้ามเนื้อปีกหลักคือ Supraspinatus และ Flexor alae Major  นอกจากนั้นกล้ามเนื้อที่ชื่อ Masseter ในแถวกรามยังถือเป็นตัวช่วยอย่างดีในการบดอาหารอย่างง่ายดาย เราสามารถประเมินพลังในการกัดของมังกรเพื่อนำไปเฉลี่ย 2 ตันต่อลูกบาศก์ซม. (ในการเปรียบเทียบมันสามารถแทะเหล็กได้อย่างง่ายดาย) 


    และเนื่องจากความหนาแน่นของกล้ามเนื้อบริเวณนี้มีเลือดที่ไหลเวียนในปริมาณที่ดีและด้วยเหตุนี้สารที่ทำให้เกิดความเมื่อยล้าต่อมังกรจะถูกชะล้างออกไปก่อนที่มันจะกระทบกับตัวมังกร เพื่อให้พวกมันสามารถบินได้หลายชั่วโมงในแต่ละครั้งโดยไม่ต้องพักผ่อนตราบใดที่พวกมันไม่ได้บินด้วยความเร็วสูงสุด 


    นอกจากนี้อวัยวะภายในสำคัญๆอื่นๆได้แก่

    -        กระเพาะอาหาร - หลาย คนอาจนึกฉงนว่า ไอ้อวัยวะส่วนนี้ มันสำคัญตรงไหนนักหนาก็ไอ้นี่แหละที่ทำให้มังกร มันลอยตัวในอากาศได้ กล่าวคือ ในกระเพาะนั้น ย่อมมีแบคทีเรียที่ช่วยในการย่อยอาหาร ที่มันเขมือบเข้าไป และในกระบวนการย่อยนี้ ก็จะเกิดมีก๊าซไฮโดรเจนขึ้น ก๊าซนี้มีน้ำหนักเบากว่าอากาศถึง 14 เท่า จึงพยุงร่างให้ลอยขึ้นได้ นอกจากนี้ ไฮโดรเจนยังเป็นก๊าซไวไฟ เจ้ามังกรจึงใช้พ่นออกมาเผาผลาญอริของมันได้ โดยมันจะเก็บก๊าซนี้ไว้ในถุงลม ถึงยามจำเป็นจึงนำออกมาใช้

     

    -     หัวใจ หัวใจของมังกรคือที่มาของพลังในตำนาน ในขณะที่มันยังมีห้องสี่ห้องเหมือนหัวใจมนุษย์ มีการกล่าวว่าลักษณะการปั๊มของหัวใจมังกรนั้นแรงพอที่จะบดหินแกรนิตได้เลยทีเดียว และเจ้าหัวใจนี่เองที่ทำหน้าที่ในการเป็นแหล่งกำเนิดพลังเวทย์แก่มังกรด้วย 

     

    -           ตัวจุดประกายไฟ - แม้จะผลิต ก๊าซไฮโดรเจนได้แล้ว แต่ก๊าซย่อมไม่ติดไฟขึ้นได้เอง ต้องอาศัยการเกิดประกายไฟ หรือสปาร์ก (Spark) ในเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า เจ้ามังกรได้หม่ำเอาหินชนวนเข้าไป พอหินย่อยแล้วก็จะกลายเป็น ผงทองคำขาว หรือแพลทินัม ซึ่งผงดังกล่าวนี้สามารถ ทำปฏิกิริยากับก๊าซไฮโดรเจน แล้วลุกเป็นไฟให้เจ้ามังกรพ่นออกมาได้


    โครงสร้างภายนอก-OUTSIDE OF THE BODY



    ภาพโครงสร้างภายนอกของมังกร วาดโดย ยูจีน อาเรนฮาส-Eugene Arenhaus

    ดวงตา


    ดวงตามังกร


    ส่วนโครงสร้างภายนอกของมังกรนั้น สิ่งที่เราต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกเห็นจะเป็นเรื่องของดวงตามังกรครับ ดวงจาของมังกรโดยทั่วไปแล้วเป็นตารูปแบบของสัตว์เลื้อยคลาน คือ มีร่องหรือขีดแนวตั้งบนรูม่านตา(ดูที่ภาพ) แต่ก็มีมังกรบางชนิดที่มีดวงตาแบบแมลงทั่วไปครับ และแน่นอนว่าดวงตาของมังกรนั้นสามารถเรืองแสงและมองเห็นในที่มืดได้ แต่มังกรสามารถซ่อนแสงได้โดยการปิดเปลือกตาด้านในหนึ่งอันหรือมากกว่านั้น การทำเช่นนี้ไม่ส่งผลต่อการมองเห็น และไม่ว่าจะเป็นดวงตาแบบสัตว์เลื้อยคลานหรือแบบแมลงแต่หลักการทำงานโดยรวมของดวงตามังกรนั้นก็ไม่ต่างกันเท่าไหร่ครับ 

    ดวงตาของมังกรนั้นมีความยืดหยุ่นสูงจึงทำให้ระยะการมองเห็นของมังกรนั้นไกลมาก โดยมองได้ไกลสุดถึง 3,000 กิโลเมตรเลยที เดียว และด้วยเหตุนี้อวัยวะส่วรตาของมังกรจึงเป็นสิ่งที่วิเศษมาก ไม่ว่าภาพที่เห็นผ่านดวงตาของมังกรจะใกล้หรือไกลดวงตาของมังกรนั้นก็สามารถปรับความละเอียดของภาพให้ชัดได้ และรูม่านตาของมังกรเองสามารถเปิดและรับแสงได้กว่าดวงตาของมนุษย์ได้หลายเท่าครับ  



    ส่วรประกอบของดวงตามังกร


    ซึ่งนอกจากนี้แล้วในส่วนของระบบการป้องกันตาของมังกรเองก็ถือว่าแน่นหนาพอสมควรเช่นกัน เพราะดวงตาของมังกรมีกลไกการป้องกันถึง 4 ชั้น โดยชั้นแรกก็คือเปลือกตาที่มีความหนาเป็นพิเศษ อีกสองชั้นถัดมาเป็นชั้นที่มีระบบป้องกันเวทมนตร์และพิษที่มาในรูปของฝุ่น และชั้นสุดท้ายเป็นชั้นที่เบาและใสที่สุดเอาไว้ปกป้องกันดวงตาจากความเร็วในการบินที่อาจทำให้เยื่อกระจกตาที่อาจฉีดขาด หรือแห้งผากจนเกิดการระคายเคืองได้


         
    ดวงตาของมังกรที่จำลองในแบบ 3D 

         เกล็ด
    ในส่วนต่อมาเรื่องที่เราต้องพิจารณาเป็นอันดับสองจะเป็นเรื่องของเกล็ดมังกรครับ(แต่มังกรบางตัวก็ใช่ว่าจะมีเกล็ดนะครับ มังกรตัวใดที่ไม่มีเกล็ดมันจะถูกแทนที่ด้วยผิวหนังหยาบครับ) เกล็ดของมังกรนั้นถือเป็นสิ่งที่วิเศษและเงางามมากเพราะถือเป็นเกราะป้องกันขั้นสุดยอดของมังกร เมื่อมังกรแต่ละตัวเกิดมาพวกมันก็จะมีเกล็ดทันที เพียงแต่ในยามเล็กของมัน เกล็ดของมังกรนั้นนิ่มเหมือนกระดาษทิชชูและจะค่อยๆแข็งตัวช้าๆและกลายเป็นเกราะในขณะที่มังกรเติบโต

         เกล็ดอันแข็งแกร่งนี้สามารถผลิตทดแทนและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับส่วนที่เสียไปได้ เพราะมันมาจากสิ่งที่มังกรกินเป็นส่วนหนึ่งด้วย  เกล็ดของมังกรนั้นจะเริ่มมีการพัฒนาทันทีหลังจากมังกรเกิดได้ 1 ปี ทั้งนี้เองเกล็ดของมังกรโดยตรงนั้นกำเนิดมาจากเซลล์ที่อัดแน่นด้วยเคราติน(*เคราตินคือโปรตีนเส้นใยสร้างองค์ประกอบโครงสร้างหลักของผม ขน กีบ กรงเล็บ เขา ฯลฯ



          สี



         เกล็ดของมังกรเองก็มีสีของมันนะครับ ซึ่งสีของเกล็ดจะถูกกำหนดโดยยีนของมังกรแม่ ดยปกติมังกรแดงเท่านั้นที่จะผสมพันธุ์กับมังกรแดงอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าผลที่ได้คือ ลูกมังกรก็จะเป็นมังกรสีแดง แต่หากการผสมพันธุ์เกิดขึ้นระหว่างมังกรทองคำกับมังกรเขียวผลที่ได้อาจเป็นลูกมังกรสีบรอนซ์ นอกตากนี้เกล็ดของมังกรในตัวหนึ่งๆก็อาจไม่ได้มีแค่สีเดียวด้วย อย่างเข่นว่า ถ้ามังกรเป็นสีน้ำเงิน มันก็ไม่ได้มีแค่น้ำเงินล้วนๆ บางทีอาจจะเป็นสีน้ำเงินเข้มบ้าง น้ำเงินอ่อนบ้าง แบ่งไปตามเฉดสีเลยก็ได้ครับ


    จากภาพแสดงให้เห็นถึงสีของเกล็ดมังกรที่แตกต่างกัน

         ปีก
         


         ปีกเป็นส่วนที่แยกความแตกต่างของมังกรจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ปีกมังกรนั้นเป็นอวัยวะที่ใหญ่และเหนียวแน่น กว้างมากและห่อด้วยหนัง ซึ่งพบได้ในมังกรหลายสายพันธุ์ ปีกมักจะมีขนาดใหญ่กว่าร่างของมังกรเพื่อปรับกำลังที่ไม่น่าเชื่อที่จำเป็นในการบินของมังกร 

    หาหากคุณมองอย่างใกล้ชิดที่กรงเล็บและปีกของโครงกระดูกมังกรคุณจะสังเกตได้ว่าปีกเป็นเพียงแขนเหยียดและมือ กระดูกทั้งสองของแขนเล็ก ๆ ติดอยู่กับกระดูกอ่อนและกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกของปีก โดยปกติแล้วจะมีนิ้วยาว 4 ถึง 5 นิ้วจับหนังของปีก แต่ละนิ้วเหล่านี้ลงท้ายด้วยกรงเล็บ กรงเล็บของนิ้วหัวแม่มือนั้นเป็นชนิดของข้อมือที่ทุกนิ้วมือรวมกันเพื่อสร้างปีก 

         การได้กลิ่น
         การได้กลิ่นของมังกรนั้นได้มีการพัฒนามาพอๆ กับการมองเห็น การดมกลิ่นที่ละเอียดอ่อนนี้ขึ้นอยู่กับจมูกของมังกร ซึ่งมังกรเองรับรู้และแยกแยะของกลิ่นได้ดีมาก มันยังใช้ลิ้นงอเพื่อทดสอบอากาศเช่นเดียวกับงู ความสามารถของมังกรในการรับรู้การมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่นด้วยกลิ่นทำให้ยากที่จะจับมังกรโดยไม่รู้ตัวและการซ่อนตัวจากมังกรนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เมื่อมังกรอยู่ใกล้พอที่จะรับกลิ่นของเหยื่อ 

         การได้ยิน
         หูของมังกรนั้นไวพอ ๆ กับหูของมนุษย์และช่วงของเสียงที่มังกรได้ยินนั้นคล้ายกับที่มนุษย์ได้ยิน แม้กระทั่งมังกรที่อายุน้อยที่สุด แต่มีการได้ยินที่คมชัดกว่ามนุษย์ทั่วไป ด้วยความสามารถในการรับรู้เสียงที่สำคัญ มันสามารถแยกแยะเสียงได้อย่างชัดเจน และมันยังสามารถกรองเสียงจากหลายๆเสียงเพื่อหาเสียงที่ถูกต้องหรือที่มันสนใจได้ 

         การลิ้มรส
         มังกรสามารถแยกรสชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มันสามารถรับถึงการเจือปนของสิ่งแปลกปลอมในอาหารหรือน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเทศหรือยาพิษมังกรก็รับรู้ได้ ดังนั้นหากใครจะวางยาพิษมังกรก็ผิดแล้วละ นอกจากนี้มังกรบางชนิดมีพฤติกรรมการกินอาหารที่ค่อนข้างแปลก ตัวอย่างเช่นมังกรทองแดงเพลิดเพลินไปกับอาหารจำพวกสัตว์มีพิษ  แต่สิ่งที่มังกรไม่ชอบมากที่สุดเห็นจะเป็นอาหารที่มีรสชาติวหวาน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามันแยกแยะรสชาติของอาหารประเภทที่มีความหวานไม่ได้ก็ไม่มีใครทราบ


         การผสมพันธุ์
         การผสมพันธุ์เป็นแบบเดียวกับนกอินทรีหัวล้าน เพราะลูกหลานของมันประเภทหนึ่งคือ นกอินทรีหัวล้าน-Bald eagle ซึ่งเป็นวิธีการพิสดารไม่เหมือนใคร โดยนกอินทรีตัวผู้ตัวเมียจะใช้กรงเล็บ เกาะกุมกันไว้กลางอากาศแล้วผสมพันธุ์ ช่วงนั้นมันทั้งคู่จะปราศจาก การควบคุมสมดุล และควงสว่านลงมาจากนภากาศ มันจะเสพสมสำเร็จ ในวินาทีก่อนที่จะตกกระทบพื้นดิน แล้วพลันโผผินบินขึ้นสู่ท้องฟ้าผละจากกัน มังกรตัวผู้ตัวเมีย ก็ผสมพันธุ์เฉกเช่นเดียวกับนกอินทรี หากแต่ตอนผละจากกันนั้น มันจะพ่นอัคคีออกมาพวยพุ่งเป็นสองลำในอากาศ 

         มังกรเพศเมียจะผสมพันธุ์เพียง 1 ถึง 4 ครั้งในชีวิตของมัน เมื่อมังกรเพศเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ มันจะส่งเสียงที่ดังก้องไปยังตัวผู้ที่โตเต็มวัยรอบๆ บริเวณรอบๆ และผสมพันธุ์กัน 

         การสร้างรัง
         การสร้างรังของมังกรจะเริ่มในวันเดียวกับการผสมพันธุ์ ทั้งมังกรตัวผู้และตัวเมียจะสร้างรังของมันขึ้นมา วัสดุรังที่นำมาสร้างรังสามารถประกอบด้วยกิ่งไม้ที่นำมาสานต่อกันเป็นรัง หรือบางทีพวกมันอาจใช้ใบไม้สดพันด้วยทองคำและอัญมณีในการสร้างรังก็ได้ และในส่วนของพื้นรังบางครั้งมังกรจะหาเศษเหรียญหรือโลหะมาเป็นจำนวนมากและใช้ไฟเผาทำให้เป็นเนื้อเดียวกันและนำมาสร้างเป็นพื้นรังพร้อมกับประดับดาด้วยกิ่งไม้ การสร้างรังจะช้าใช้เวลาประมาณหนึ่งปีครึ่งปีในการสร้างรัง 

         การวางไข่


    องค์ประกอบต่างๆของไข่มังกร

         หลังจากตั้งท้องได้ 2 ปี มังกรเพศเมียจะวางไข่จำนวน 1-6 ฟอง ไข่ของมังกรในตอนนี้จะเหนียวและแข็งพอสมควร ไข่ในเวลานี้มีชื่อเรียกว่า "คลัตช์-Clutch" อัตราส่วนของตัวผู้กับตัวเมียคือ 3 ต่อ 1 ระหว่างการทำรังตัวผู้และตัวเมียจะผลัดกันหาอาหารและทำให้ไข่อุ่น  

         การฟักไข่



         หลังจากการทำรัง 2 เดือนลูกมังกรก็จะโผล่ออกมาจากไข่ มังกรทารกแต่ละตัวมีฟันเจาะเปลือกไข่ซึ่งเป็นกระดูกแหลมคมที่ด้านหน้าจมูก ใช้เพื่อแยกเปลือกออก เมื่อมังกรตัวแรกเริ่มโผล่ออกมาและร้องไห้มันจะกระตุ้นให้ลูกมังกรตัวอื่นฟักออกมา มังกรที่เพิ่งออกจากไข่จะหิวโหยอย่างมากและหากไม่ได้รับอาหารทันทีหลังจากฟักไข่พวกมันจะกินไข่แดงและไข่ขาว (ส่วนสีขาวของไข่) หากไม่ได้รับอาหารทันทีหลังจากนี้พวกมันจะกินพวกเดียวกันเอง ลูกมังกรเมื่อเกิดมีน้ำหนัก 80 ปอนด์และความยาวประมาณ 6 ฟุต มังกรที่เพิ่งออกจากไข่ได้ไม่นานจะไม่สามารถบินได้ทันที และมังกรจะใช้เวลาในการเจริญเติบโตอยู่ที่ประมาณ 140 ปี 

         การพรางตัว
         ในมังกรบางสายพันธุ์เมื่อมังกรโตเต็มที่เซลล์ในเกล็ดสามารถเปลี่ยนสีได้เช่นเดียวกับกิ้งก่าที่เกิดจาก โครมาโตฟอร์-Chromatophore เซลล์เม็ดสีในเกล็ด ปฏิกิริยานี้อาจเกิดจากอารมณ์ (ความโกรธ,ความสุข ฯลฯ ) หรือความประสงค์ของมังกรในการเปลี่ยนสี หากมังกรโกรธมันสามารถเปลี่ยนจากสีดั้งเดิมเป็นสีสว่างหรือฉูดฉาดดุร้ายเช่นสีแดงทำให้ดูน่าเกรงขามมากขึ้น หรือในระหว่างพิธีกรรมผสมพันธุ์มันสามารถเปลี่ยนสีเพื่อดึงดูดมังกรอื่นๆ 

         เกราะของมังกร
         มังกรมีเครื่องป้องกันซึ่งถือเป็นรูปแบบการป้องกันที่เรียกได้ว่าแทบจะไร้เทียมทานเลยทีเดียวก็ว่าได้ ซึ่งเดาไม่ว่ายากว่าเกราะในส่วนที่ว่านี้ก็คือเกล็ดของมังกรนั่นละครับ หน้าที่หลักของเกล็ดคือการป้องกันเนื้อเยื่อผิวอ่อนของมังกร มังกรที่โตเต็มวัยสามารถรับแรงกระแทกโดยตรงจากดาบของอัศวินโดยแทบจะไม่ระคายผิว  ทั้งนี้มังกรที่โตเต็มวัยจะมีเกล็ดรูปหยดน้ำความกว้าง 4-6 นิ้วและยาว 7-9 นิ้วครอบคลุมร่างกายของมัน รูปแบบของเกล็ดมังกรนั้นเป็นแบบแบนหมุนที่ซ้อนทับกัน 

         เกล็ดบริเวณหน้าอกมีขนาดใหญ่ที่สุด มันเป็นหนึ่งในสามเกล็ดที่ราบเรียบที่สุดและมักเป็นตัวบ่งบอกถึงเพศของมังกร ซึ่งเกล็ดนั้นในส่วนนี้มีรูปร่างต่างจากเกล็ดปกติเพราะเกล็ดตรงนี้มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ซึ่งตรงนี้ถือว่าเป็นเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งที่สุดในบรรดาเกราะเลยก็ว่าได้ครับ นั่นก็มันทำหน้าที่ในการปกปิดและปกป้องช่องท้อง "นุ่ม" ของมัน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดอ่อนของมังกรแทบจะทุกตัวเลยทีเดียว รูปแบบของเกล็ดหน้าอกจะทับซ้อนกันและแบนจากคอภายใต้ร่างกายถึงปลายหาง 

         ข้อที่เท็จจริงที่น่าสนใจของเกล็ดมังกรอีกอย่างคือมันสามารถทำให้เกล็ดของมันตั้งขึ้นเพื่อเป็นการทำความสะอาดตัวของมันได้ด้วย และในยามที่มังกรเกิดโกรธหรือเกรี้ยวกราดขึ้นมา มันจะสามารถพองตัว และกระจายเกล็ดไปทั่วๆทำให้ดูเหมือนว่ามันตัวใหญ่ขึ้นจนข่มสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามันได้ 

         อาวุธของมังกร
         มังกรสามารถใช้ปีกเป็นอาวุธโจมตีได้หากจำเป็น แต่นี่เป็นทางเลือกสุดท้าย เยื่อของปีกนั้นเสียหายได้ง่ายเมื่อเทียบกับส่วนที่เหลือของร่างมังกร หากเยื่อหุ้มปีกมังกรถูกเฉือนมันใช้เวลานานมากในการรักษาและมีโอกาสที่มังกรจะไม่สามารถบินได้อีก                              
           
           หากถูกโจมตีบนพื้นดินมังกรมักจะวิ่งจากนั้นกระโดดขึ้นไปในอากาศและบินออกไปเพื่อหลีกเลี่ยงการโจมตี แต่ถ้ามังกรถูกขังอยู่บนพื้นดินมันจะยึดปีกไว้แน่นกับร่างกายของมันและใช้อาวุธซึ่งก็คือลมหายใจและกรงเล็บเพื่อปกป้องตัวเอง หากมังกรต้องใช้ปีกในการจู่โจมมันจะเฉือนด้วยกรงเล็บแหลมคมของมันเพื่อทำให้ผู้โจมตีไม่สามารถเคลื่อนที่ได้

         ประสาทการรับรู้และความรู้สึก
         มังกรมีความรู้สึกเหมือนกับมนุษย์ การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การสัมผัสและรสนิยม แต่บางตนมีความรู้สึกที่หก หรือสัมผัสที่หกซึ่งสามารถ "อ่าน" อารมณ์ความรู้สึกของสิ่งมีชีวิตอื่นได้

         ประสาทสัมผัสทั้งห้าของมังกรนั้นไวอย่างไม่น่าเชื่อ ยกตัวอย่างเช่นความรู้สึกของกลิ่นนั้นไวกว่าสุนัขล่าเนื้อประมาณ 100 เท่า พวกมันสามารถดมหรือได้ยินเสียงคนหรือสัตว์ในระยะสองถึงสามไมล์ !

         การพ่นไฟ!



         ไฟ ถือเป็นอีกสิ่งที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของมังกร ทำให้มังกรดูน่าเกรงขาม มันเป็นเปลวไฟที่ร้ายกาจที่สามารถเปลี่ยนเนื้อและกระดูกให้เป็นเถ้า แม้ว่าจะไม่ใช่มังกรทุกตัวที่สามารถพ่นไฟ บางตนอาจมีลมหายใจเย็นจัด บางตนอาจมีกรดและบางตนอาจไม่พ่นไฟเป็นอาวุธเลย! แต่ว่ากันว่ามังกรที่มีอำนาจการพ่นไฟคือ มังกรแดง-Red Dragon และ มังกรเผ่าไฟเดรก-Fire Drake 

         มังกรพ่นไฟได้อย่างไร
         ทุกอย่างเริ่มต้นเมื่อมังกรจับเหยื่อของพวกมัน เมื่อมังกรกินพวกมันจะย่อยอาหารในกระเพาะอาหารปกติ การย่อยอาหารจะดำเนินต่อไปในกระเพาะอาหารที่สองซึ่งจะย่อยอาหารให้ดียิ่งขึ้น หลังจากที่ร่างกายของมังกรได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากการย่อยครั้งที่สองร่างกายก็จะเปลี่ยนอาหารและกรดที่เหลือให้เป็นผลพลอยได้ของไฮโดรเจน มังกรสามารถเก็บไฮโดรเจนไว้ในต่อมขนาดใหญ่ต่างๆ ในร่างกายเพื่อใช้ในภายหลังและสามารถเรียกใช้เมื่อใดก็ได้ที่ต้องการ 

    เมื่อมังกรต้องการที่จะพ่นเปลวไฟต่อมจะปล่อยไฮโดรเจนเข้าสู่ปอดซึ่งมันจะผสมกับสารเคมีอื่นๆ ที่ร่างกายสร้างขึ้น เมื่อส่วนผสมนี้พบออกซิเจนมันจะเผาไหม้ร้อนมากและรวดเร็วมาก มังกรมักจะมีไฮโดรเจนอยู่ในร่างกายเพียงพอสำหรับการพ่นไฟสามครั้งในระยะที่ติดต่อกัน แต่นั่นก็เพียงสำหรับการทำให้สิ่งที่อยู่ตรงหน้ากลายเป็นเถ้าถ่านแล้วละครับ และคำอธิบายนี้มีความหมายเหมือนกันสำหรับมังกรที่พ่นหรือหายใจด้วยลมหายใจชนิดอื่นของมังกร ร่างกายของพวกมันสลายอาหารเป็นสารประกอบต่างๆครับ


         สรุปต่างๆ

         โดยสรุปแล้วเริ่มจากอายุในส่วนช่วงของอายุ ว่ากันว่ามังกรนั้นขั้นต่ำมีชีวิตอยู่ได้ถึงราว 500 กว่าปี และมีชีวิตอยู่นานได้สุดถึงพันกว่าปีเลยทีเดียวครับ แต่ในชีวิตที่แสนยาวนั้น(หรือจะให้เรียกว่าพันยาวนานดี ก็แหม มันมีชีวิตอยู่พันปีจะให้เรียกว่าแสนยาวก็แปลกๆ) ก็ใช่ว่าจะไม่สามารถตายได้เลย ในทางกลับกันพวกมันเสียชีวิตได้ทั้งจากอุบัติเหตุ โรคบางอย่าง หรือเป็นผลมาจากการรุกรานของศัตรูครับ 

         แถมอีกนิดละกัน เรื่องที่อยู่ของมังกรกันนะครับ มังกรบางตัวที่ถือในศักดิ์ศรีของตนเนี่ยมักจะแยกอยู่ในสถานที่เปลี่ยวรกร้างหรือตามสถานที่ที่ปรักหักพัง ในขณะที่มังกรทั่วไปๆจะชอบอาศัยอยู่ตามป่าหรือถ้ำต่างๆทั่วโลกครับ หากถ้ำในเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของมังกรก็จะสังเกตุได้จากผนังของถ้ำที่เรียบๆอันเกิดมาจากการถูกเกล็ดของมังกรเสียดสีจนราบเรียบนั่นเองครับ 



    หมายชี้บอก "มังกรอยู่ที่นี่" ในแผนที่การเดิมเรือ โดย ออเลอัส แม็กนัส-OLAUS MAGNUS, 1539
    B
    E
    R
    L

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×