ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    คู่มือมังกร Mythology and Magick

    ลำดับตอนที่ #22 : ออโรบอรอส-Ouroboros มังกรกลืนหาง

    • อัปเดตล่าสุด 7 มี.ค. 62







    ออโรบอรอสหรือมังกรกลืนหาง ออโรบอรอสมีการพูดถึงอยู่หลายวัฒนธรรม เช่น เม็กซิโก (อเมริกัน-อินเดียนแดง) อียิปต์ เป็นต้นรูปร่างลักษณะทั่วไปคล้ายงู ที่แปลกคือมันมักจะเอาปากคาบหางของตัวเองไว้ มีปีกแล้วก็ 2 ขา มันถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอนันต์และวงแหวนแห่งจักรวาลซึ่งความหมายของออโรบอรอสนี้ยังหมายถึงพลังของธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่


    ออโรบอรอสมีต้นกำเนิดมาความเชื่อของคนในประเทศอียิปต์เมื่อ 1,600 ปีก่อนคริสตศักราช (ก็ประมาณ 3,605 ปี) แล้วก็แพร่หลายไปทั่ว โดยคำว่าออโรบอรอส มีความหมายว่า"กินหางของตัวเอง"โดยพบ(ภาพ)ของมังกรตนนี้ครั้งแรกบนโลงศพของกษัตริย์ตุตันคาเมนในศตวรรษที่ 14 



    ภาพมังกรกลืนหางที่สลักไว้บนหลุมศพของกษัตริย์ตุตันคาเมน

    ซึ่งนอกจากนี้ในทางศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุ ออโรบอรอสจะสื่อถึง เมอร์คิวรี่-Mercur) ซึ่งเป็นสสารที่สามารถแทรกซึมผ่านเข้าไปในวัตถุอื่นๆได้ทุกชนิด และเป็นเครื่องหมายของการเกิดใหม่มิรู้จบของงูที่เกิดดับไปเรื่อยๆ เหมือนกับการสื่อถึงการเกิดใหม่ของงูจากการลอกคราบที่ปรากฏในตำนาน เทพนิยายต่างๆเช่น มหากาพย์ Gilgamesh ที่ว่างูได้กินผลไม้จากต้นไม้แห่งชีวิต (Tree of Life อาจเป็นผลเดียวกับเซพิรอธทั้งสิบ)ไป จึงได้รับชีวิตใหม่ ทำให้เกิดใหม่เรื่อย ๆ จากการลอกคราบ ดังนั้นการเกิดใหม่ที่ไม่มีที่สิ้นสุด เกิดขึ้นเป็นวงกลมไปเรื่อยๆ นิรันดร์ตามรูปแบบของสัญลักษณ์ออโรบอรอสนี้ 


    และตามที่มีการบันทึกไว้ ในการจะสร้างศิลานักปราชญ์ ก็ต้องใช้สัญลักษณ์นี้ช่วยด้วย การผสมแร่แปรธาตุแบบอื่นๆ ก็นิยมใช้สัญลักษณ์นี้เช่นกัน ซึ่งสัญลักษณ์นี้ในการแปรธาตุเป็นการ รวมเอาด้านตรงข้ามกันเข้าด้วยกันเพื่อเป็นการธำรงอยู่ในความดับศูนย์ คือหัว (สติ) และหาง(ไร้สติ) เพื่อสร้างสิ่งที่จะสามารถทำชีวิตให้เป็นนิรันดร สัญลักษณ์นี้ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากในการเล่นแร่แปรธาตุ อีกความหมายคือ รวมเอาสสารที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดสสารใหม่ขึ้นแทนที่ในสสารเดิม


    และหากจะให้เล่าเชิงตำนาน ในเทวตำนานของชาวนอร์ส(ชาวยุโรปเหนือ) ออโรบอรอสก็คือ มังกรจอร์มุนกานด์ มังกรผู้โอบล้อมโลกนั่นเองครับ



    ออโรบอรอส จากหนังสือ Book of Kells

    B
    E
    R
    L
    I
    N
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×