คำศัพท์เทควันโดเบื้องต้น - นิยาย คำศัพท์เทควันโดเบื้องต้น : Dek-D.com - Writer
×

    คำศัพท์เทควันโดเบื้องต้น

    คำศัพท์เทควันโดเบื้องต้น

    ผู้เข้าชมรวม

    5,775

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    99

    ผู้เข้าชมรวม


    5.77K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    3
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  30 ธ.ค. 53 / 00:00 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    ศัพท์เทควันโด

     

    เทควันโด เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีต้นกำเนิดมาจากชนชาวเกาหลี ถึงแม้เมื่อเผยแพร่เป็นไปทั่วโลกในแง่ของกีฬา แล้วแต่เมื่อมีการแข่งขันก็ยังคงใช้ภาษาเกาหลีเป็นภาษากลางของการแข่งขันเช่นเดียวกับ กีฬาศิลปะการต่อสู้อื่นๆ ที่ใช้ภาษาของตนเป็นภาษากลางในการแข่งขัน เช่น ยูโดก็จะใช้ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

    ในการฝึกประจำวันผู้ฝึกควรพยายามใช้ภาษากลางของเทควันโด ในการสั่งให้เคยชินก็จะมีประโยชน์ในลำดับต่อไป ไม่ว่าในสนามแข่งขัน หรืออาจจะมีโอกาสเดินทางไปร่วมการฝึกที่ประเทศต้นกำเนิดของเทควันโดก็จะสามารถสื่อสารกันง่ายขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามักจะใช้ชื่อท่าต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษทั้งสิ้น ซึ่งเข้าใจได้เร็วกว่า แต่ถ้าใช้ชื่อ หรือคำสั่งเป็นภาษาเกาหลีแล้วจะสามารถสื่อกันได้ชัดเจนกว่าเรา เพราะในตัวคำสั่งจะสื่อถึงท่าทาง และเทคนิคได้โดยตรง

    ในช่วงที่ครูได้มีโอกาสไปฝึกซ้อมภาคปฏิบัติ และอบรมภาคทฤษฎีที่สถาบันเทควันโดโลกกุกกิวอน และสหพันธ์เทควันโดโลกที่เกาหลีหลายครั้งได้เห็นความจำเป็นในเรื่องนี้อย่างแท้จริง จึงขอรวบรวมศัพท์เทคนิคทางเทควันโดมาให้ศึกษากัน ในที่นี้ โดยจะนำศัพท์ที่จำเป็นเบื้องต้น รวมไว้ช่วงแรกพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจ และในช่วงต่อไปเป็นคำศัพท์ที่มากขึ้นซึ่งรวบรวมไว้ โดย พันเอกนายแพทย์ศุภกิตติ ขัมพานนท ซึ่งท่านผู้นี้นับเป็นนักวิชาการเทควันโดที่แท้จริงท่านหนึ่ง

    คำศัพท์ที่ใช้บ่อย

    - การเข้าแถวเคารพธง กุกกิเอ เดฮาโย เคียงเง่ คือ การเข้าแถวทั้งหมดหันหน้าหาหน้าชั้นเรียนที่มีธงชาติ และรูปเคารพแขวนอยู่แล้วสั่งเคารพพร้อมกัน เน้นคำว่า เคียงเง่

    - การเคารพอาจารย์ แชเรียต ควานจังนิมเกะ เคียงเง่
    คือการเข้าแถวเคารพอาจารย์ใหญ่ (เจ้าสำนัก) โดยมากคืออาจารย์ ดั้ง 6 ขึ้นไป แชเรียต คือสั่งตรง ความจังนิม คืออาจารย์ใหญ่ เกะ คือหมายถึงที่นั่น และ เคียงเง่ คือเคารพ ถ้าสั่งเคารพอาจารย์สายดำผู้สอนก็เปลี่ยนจาก ความจังนิม เป็น ซา บม นิม

    - สั่งตรง เคารพ แชเรียต เคียงเง่ ใช้ตรง เคารพทั่วไปเช่น การเข้าคู่เตรียมซ้อม

    - ท่าเตรียม จุนบี ถ้าในเวลาฝึกทั่วไปคือท่าแยกเท้ากว้างเท่าสะโพกยกมือขึ้นระดับลิ้นปี่แล้วกำหมัดลดลง
    มาคู่กันอยู่ที่ท้องน้อย แต่ถ้าสถานการณ์ต่างๆจะใช้ไม่เหมือนกันคือ
    - ในสนามแข่งขันต่อสู้ จุนบี คือท่าการ์ดเตรียมแข่งขันต่อสู้
    - พูมเซ่ จุนบี คือการทำท่าจุนบีแบบช้าๆ เน้นสมาธิ เดินลมหายใจ เตรียมรำ พูมเซ่
    - เคียรูกิ จุนบี คือการ์ดเตรียมต่อสู้ในการฝึกซ้อมต่อสู้
    - เคี๊ยกพ่า จุนบี คือการ์ดเตรียมการสาธิตการทำลายต่างๆ เพราะฉะนั้นจะทำท่าค่อนข้างการ์ดกว้างกว่าท่าการ์ดต่อสู้

    - เริ่ม ชีจั๊ก ใช้สั่งให้เริ่มทำได้ เช่นเริ่มแข่งขัน เริ่มรำพูมเซ่โดยไม่นับจังหวะ เริ่มฝึกซ้อมตามท่าที่สั่งโดย
    ไม่นับจังหวะ เพราะฉะนั้นเมื่อสั่ง ชีจั๊กแล้วไม่ควรจะต้องนับ 1 2 3 ซ้ำซ้อนอีก

    - หยุด คือมาน เป็นคำสั่งให้หยุดทั่วๆไป เช่นเรียกให้หยุดหลังจากกำลังฝึกเข้าคู่ต่อสู้กันอยู่ หรือผู้ตัดสินสั่ง
    หยุดการแข่งขันตอนหมดยก

    - กลับที่เดิม กลับท่าเริ่ม บาโร
    ใช้สั่งให้กลับมาท่าเริ่ม เช่น สั่งกลับมาท่า จุงบี เวลารำพูมเซ่เสร็จแล้ว (หลายๆคน ใช้คำว่า คือมาน ที่จริงควรใช้ บาโร) หรือเสร็จการแสดง สาธิตท่าสเตปสแปริ่งทีละท่าจบลง

    - พัก ชิโอะ ใช้สั่งเวลาต้องการให้แยกย้ายไปพัก

    - กลับหลังหัน ดิโร โดรา สั่งให้กลับหลังหันโดยต้องหมุนไปทางขวา

    - นับ 1 ถึง 10 ใช้นับให้ปฏิบัติท่าทางต่างๆ พร้อมกัน ฮานา ตุล เซท เนท ทัส ยัส อิลโกบ
    ยัลเดิล อาโฮบ เยิ้ล


    - ลำดับต่างๆ 1 ถึง 10 ใช้เรียกลำดับขั้น เช่น พูมเซ่ที่ 1 2 3..... อิล อี ซัม ซา โอ ยุค ซิล พัล กู ซิบ

    การเรียกลำดับพูมเซ่ (แพทเทอร์น) ที่ถูกต้อง การสอบเลื่อนสายในแต่ละขั้น จะมีการร่ายรำพูมเซ่ประจำสายของตน ซึ่งเป็นท่ารำมาตรฐานของสถาบันเทควันโดโลกกุกกิวอน โดยมีพูมเซ่อยู่ 2 กลุ่ม คือ เทกุค และ พัลเก

    ปัจจุบันทั่วโลกจะใช้เทกุค 8 ชุดเป็นมาตรฐาน จะมีบ้างบางประเทศที่ใช้พัลเก ซึ่งเป็นพูมเซ่ที่เก่าแก่กว่า แต่ในประเทศไทยนับว่าพิเศษกว่า ประเทศต่างๆ คือจะรำทั้งหมด 10 พูมเซ่ โดยใช้เทกุค 1-8 และต่อด้วยพัลเก 7 และพัลเก 8 แต่มักเรียกผิดโดยเรียกพัลเก 7 เป็นเทกุค 9 และเรียกพัลเก 8 เป็นเทกุค 10 ซึ่งเป็นการเรียกที่ผิดพลาดทั้ง 2 พูมเซ่

    ฉะนั้นเวลาจะขานชื่อพูมเซ่ (แพทเทอร์น) 9 ต้องเรียก พัลเก ซิลจัง (ไม่ใช่ เทกุค กู จัง) พูมเซ่ (แพทเทอร์น) 10 ต้องเรียก พัลเก พัลจัง (ไม่ใช่ เทกุค ซิบจัง)

    พูมเซ่มาตรฐานในปัจจุบัน พูมเซ่ดั้งเดิม(ใช้บางประเทศ) ประเทศไทยใช้ 10 พูมเซ่

    เทกุค Taegeuk มี 8 ชุด พัลเก Palgwe มี 8 ชุด
    1. เทกุค อิล จัง 1. พัลเก อิล จัง แพทเทอร์น 1. เทกุค อิล จัง

    2. เทกุค อี จัง 2. พัลเก อี จัง แพทเทอร์น 3. เทกุค ซัม จัง

    4. เทกุค ซา จัง 4. พัลเก ซา จัง แพทเทอร์น 4. เทกุค ซา จัง

    5. เทกุค โอ จัง 5. พัลเก โอ จัง แพทเทอร์น 5. เทกุค โอ จัง

    6. เทกุค ยุค จัง 6. พัลเก ยุค จัง แพทเทอร์น 6. เทกุค ยุค จัง

    7. เทกุค ซิล จัง 7. พัลเก ซิล จัง แพทเทอร์น 7. เทกุค ซิล จัง

    8. เทกุค พัล จัง 8. พัลเก พัล จัง แพทเทอร์น8. เทกุค พัล จัง

    แพทเทอร์น 9. พัลเก ซิล จัง

    แพทเทอร์น 10.พัลเก พัล จัง

     

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น