รวมเรื่องเ่ล่า...เมืองสงขลา ตอนที่ 2 เจ้าเมืองคนแรก - รวมเรื่องเ่ล่า...เมืองสงขลา ตอนที่ 2 เจ้าเมืองคนแรก นิยาย รวมเรื่องเ่ล่า...เมืองสงขลา ตอนที่ 2 เจ้าเมืองคนแรก : Dek-D.com - Writer

    รวมเรื่องเ่ล่า...เมืองสงขลา ตอนที่ 2 เจ้าเมืองคนแรก

    โดย Jinrawee

    สงขลา..เมืองเก่า เมืองท่าที่ตั้งมาหลายร้อยปีแล้ว รวมถึงชื่อของเมืองที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา มีตำนานและเรื่องเล่าหลายเรื่องทั้งที่เป็นบันทึกและจากคำบอกเล่าเกี่ยวกับเมืองสงขลา...

    ผู้เข้าชมรวม

    1,111

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    0

    ผู้เข้าชมรวม


    1.11K

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  2 ต.ค. 55 / 11:38 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เมื่อเจ้าเมืองสงขลาคนแรก เป็นชาวเปอร์เซีย


       

      โมกอล

       

                ดะโต๊ะ โมกอล เป็นเจ้าเมืองสงขลาคนแรก ท่านเป็นชาวเปอร์เซีย นับถือศาสนาอิสลาม จากชวา อดีตเป็นพ่อค้าเดินเรือสมุทร มีประสบการณ์ด้านการค้าทางเรือ และการป้องกันการปล้นสะดมมาก่อน เมื่อพาพลพรรคเข้ามาอาศัยที่หัวเขาแดง (อยู่ในสงขลาในเวลาปัจจุบัน) ก็ได้สร้างป้อมและกำแพงเมืองอย่างแข็งแรง

                ตวนกู โมกอลถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๑๖๓


      สมัยเมืองพัทลุงที่พะโคะ

                ประมาณพุทธศตวรรษที่ 19 ได้มีการย้ายศูนย์อำนาจการปกครองของเมือง สทิงพระ (นิยายปรัมปราบอกว่า เพี้ยนจากคำว่า จะทิ้งพระ แต่ความจริงเมืองนี้มีชื่อมาตั้งแต่สมัยศรีวิชัยว่า สตรึงเพรียะ) มาอยู่บริเวณ วัดพะโคะ

                เมืองสทิงพระแห่งใหม่นี้เจริญรุ่งเรืองต่อมาระยะหนึ่ง จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 19 ก็หมดความสำคัญลง และได้เกิดศูนย์อำนาจการปกครองท้องถิ่นแห่งใหม่ขึ้นในบริเวณดังกล่าว โดยเรียกเมืองใหม่นี้ว่าเมืองพัทลุง ซึ่งเจริญรุ่งเรืองระหว่างพุทธศตวรรษที่ 19-22

             
                เมืองพัทลุงที่พะโคะมีความเจริญด้านพุทธศาสนามาก ได้รับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาโดยมีวัดพะโคะเป็นศูนย์กลางของคณะสงฆ์ฝ่ายลังกาชาติ

       
                ต่อมาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 20-22 เมืองพัทลุงที่พะโคะถูกพวกโจรสลัดมลายู เช่น พวกอาเจะห์ อาหรู อุชงคนตะ ฯลฯ รุกรานเข้าปล้นสะดม หลายครั้ง มีการเผาทำลายบ้านเมืองและวัดวาอาราม

                ประชาชนต่างหนีภัยพวกโจรสลัดจึงไปตั้งชุมชนแห่งใหม่ ขนาดใหญ่ขึ้น 2 แห่ง คือ ที่บางแก้ว อำเภอเขาชัยสน กลายเป็นเมืองพัทลุงใหม่และอีกแห่งคือที่หัวเขาแดง ซึ่งมีชัยภูมิดี เพราะมีเทือกเขาเป็นปราการธรรมชาติถึง 2 ด้าน จึงสามารถต่อสู้กับพวกโจรสลัดได้ ชุมชนแห่งนี้ค่อย ๆ เจริญจนกลายเป็นเมืองสงขลาที่หัวเขาแดง

       



      สมัยเมืองสงขลาที่หัวเขาแดง


               มืองสงขลาที่หัวเขาแดง (ตั้งอยู่ในท้องที่บ้านบนเมือง ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา) เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง โดย ดะโต๊ะ โมกอล ได้สร้างป้อมและกำแพงเมืองอย่างแข็งแรง เมืองสงขลาที่หัวเขาแดงมีชื่อว่า สิงขรนครี

                ก่อนดะโต๊ะ โมกอล จะนำครอบครัวพวกพ้องบริวารมาขึ้นที่ชายหาดหัวเขาแดง เป็นเวลาที่กำลังมีพวกโจรสลัดเข้าปล้นเมืองพัทลุง โดยที่เจ้าเมืองไม่อาจต่อสู้ได้ พวกโจรสลัดกระทำย่ำยีโหดเหี้ยม เจ้าเมืองเกรงพระราชอาญาจึงชิงฆ่าตัวตาย ส่วนกรมการเมืองทั้งหมดลงพระราชอาญาจำตรวนคุมตัวเข้ากรุงศรีอยุธยาหมด
       


                อีก ๔-๕ ปีต่อมา เมืองพัทลุงก็ถูกพวกโจรสลัดปลายแหลมมะลายูโจรสลัดปล้นอีก เจ้าเมืองพัทลุงอ่อนแอ ไม่อาจจะนำทหารต่อต้านพวกโจรสลัดได้ เป็นเหตุให้พวกราษฎรพากันหวาดกลัวไปทั่ว

                เมื่อพวก ดะโต๊ะ โมกอล ยกกองเรืออพยพเข้ามาอยู่หัวเขาแดง ท้องถิ่นนั้นในอดีตเป็นที่อาศัยของชนชาวไทยผู้นับถือศาสนาพุทธและชาวมลายูผู้นับถือศาสนาอิสลาม

                เรื่องนี้มีผู้ที่ไม่ทราบจริง เข้าใจว่า ดะโต๊ะ โมกอล ตลอดจนสุลต่านสุลัยมานผู้ลูกชายเป็นโจรสลัดเข้ามาปล้นและครองเมืองพัทลุงในที่สุด ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองพัทลุงและประวัติของสุลต่านสุลัยมาน ระบุว่า เป็นการอพยพย้ายมาจากชวา

                เมื่อทางกรุงศรีอยุธยา เห็นว่า บรรดาพวกชวาที่อพยพมานั้น รักสงบ และเข้มแข็ง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรถ) จึงทรงตั้งให้ ดะโต๊ะ โมกอล เป็นเจ้าเมืองพัทลุง

                เมื่อ ดะโต๊ะ โมกอล ถึงแก่อสัญกรรม ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยาจึงให้ สุลัยมานบุตรชายคนโตของดะโต๊ะฯ เป็นเจ้าเมืองพัทลุงสืบต่อไป ซึ่งต่อมาได้สถาปนาตนเองเป็นราชา มีนามว่า สุลต่าน สุลัยมาน ชาห์ ท่านได้ให้ฟารีซี น้องชายคนรองเป็นปลัดเมือง



      สมัยเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน
               
      หนีความทุกข์ยากหลังสงครามเมือง : Singora สู่เมืองสงขลาฝั่งแหลมสน


                ภายหลังเมื่อเมืองสงขลาฝั่งหัวเขาแดง ถูกกองทัพกรุงศรีอยุธยาทำลายจนหมดสิ้น เมื่อ พ.ศ. 2223 ประชาชนชาวสงขลาฝั่งหัวเขาแดงที่เหลืออยู่ ได้ย้ายชุมชนไปสร้างเมืองใหม่ ณ เมืองสงขลาแห่งที่สองนี้ ที่รู้จักกันในชื่อว่าเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน

                โดยเมืองนี้เป็นเมืองที่ไม่ได้รับการวางแผนในการสร้างเมืองตั้งแต่ต้น ประกอบกับเป็นเมืองที่ถูกสร้างเนื่องจากการย้ายเมืองภายหลังจากสงคราม ดังนั้นลักษณะของเมืองจึงเป็นเมืองที่ถูกสร้างกันอย่างง่าย ๆ บนพื้นที่เชิงเขาติดทะเล ถัดจากตำแหน่งเมืองสงขลาเดิมที่ถูกทำลายลงไปอีกด้านหนึ่งของฝากเขา

                เนื่องจากเป็นที่ตั้งเมืองที่อยู่บนเชิงเขา ทำให้เมืองสงลาแห่งที่สองนี้ในภายหลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดอุปโภค และ ปัญหาการมีพื้นที่ในทางราบไม่เพียงพอกับการขยายและเติบโตของเมือง ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดการย้ายเมืองในเวลาต่อมา

                ลักษณะการสร้างบ้านเรือนของสงขลาฝั่งแหลมสน ส่วนใหญ่บ้านเรือนจะทำด้วยวัสดุไม่ถาวร เช่น ไม้ และ ใบจาก ในลักษณะเรือนเครื่องสับ จึงทำให้หลงเหลือร่องรอย และ หลักฐานไม่มากนัก

                เนื่องจากประชากรในการสร้างเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านธรรมดาสามัญชน ประกอบกับขนาด และ อณาเขต รวมไปถึงอำนาจการปกครองของเมืองสงขลาได้ลดฐานะเป็นแค่เมืองเล็ก ๆ ของเมืองบริวารของเมืองพัทลุง 

                ดังนั้น เจ้าเมืองสงขลาคนแรกจึงถูกแต่งตั้งโดยพระยาจักรี และ พระยาพิชัยราชา เป็นเพียงแค่การคัดเลือกชาวบ้านคนหนึ่งชื่อ “โยม” มาดำรงตำแหน่งเป็นพระสงขลา เจ้าเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน
               
                และในคราวเดียวกันนั่นเอง ยังมีชาวจีนคนหนึ่งชื่อ 
      นายเหยี่ยง แซ่เฮา ชาวจีน ซึ่งอพยพมาจาก เมือง เจียงจิ้งหู มลฑลฟูเจี้ยน ได้เสนอบัญชีทรัพย์สิน และบริวารของตน เพื่อแลกกับสัมปทานผูกขาดธุรกิจรังนกบน เกาะสี่เกาะห้า ในทะเลสาบสงขลา เจ้าพระยาทั้งสองจึงพิจารณา แต่งตั้งให้ นายเหยี่ยง แซ่เฮา เป็นหลวงอินทคีรีสมบัติ นายอาการรังนกเกาะสี่เกาะห้า 


                พระสงขลาได้ปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน อยู่จนถึงปี พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ดำริว่า พระสงขลา (โยม) หย่อนสมรรถภาพในการปฏิบัติราชการ จึงให้หลวงอินทคีรีสมบัติ (เหยียง แซ่เฮา) ซึ่งเป็นนายอากรรังนก เกาะสี่เกาะห้า เลื่อนตำแหน่งเป็น หลวงสุวรรณคีรีสมบัติ เจ้าเมืองสงขลา คนถัดมาซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งต่อมาได้ปกครองเมืองสงขลา มาถึง 8 รุ่น 

                ในการปกครองสงขลาในช่วงเวลานี้นับเป็นช่วงเวลาของการทำหน้าที่ปกป้องอาณาเขต และ รับใช้ราชการปกครองแทนเมืองหลวง ซึ่งตรงกับกรุงรัตนโกสินทร์ ปกครองโดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

                ปัญหาหลักของการปกครองสงขลา คือ การส่งกำลังไปร่วมกำกับและควบคุมหัวเมืองแขกต่างๆ ให้อยู่ในความสงบ โดยมีเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการรบหลายครั้ง ทำให้เจ้าเมืองสงขลาในรุ่นต่าง ๆ ได้มีโอกาสแสดงความสามารถ และ ความภักดีทางการรบ

                โดยในสมัยสงขลา ครั้งนี้มีเมืองแขกปัตตานี ได้ถูกแยกออกเป็นเจ็ดหัวเมืองย่อย ได้มาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสงขลา ซึ่งต่อมาชื่อเมืองต่าง ๆ ได้ถูกนำไปตั้งเป็นชื่อถนนในครั้งตั้งเมืองใหม่ ณ ฝั่งบ่อยาง


                เมืองทั้งเจ็ดมีรายชื่อดังนี้ เมืองปัตตานี เมืองหนองจิก เมืองเมืองยะลา เมืองรามัญ เมืองยะหริ่ง เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ และ เมืองสุดท้ายที่เข้ามาอยู่ใต้การกำกับดูแลของสงขลา ในช่วงปี พ.ศ. 2379 คือ เมืองสตูล 

                ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และตรงกับเจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ปกครองเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน เนื่องจากเมืองสงขลาฝั่งแหลมสนเป็นเมืองที่ถูกสร้างอย่างง่าย ๆ เพื่อรองรับการหนีภัยในช่วงเมืองแตก ทำให้เกิดปัญหาและข้อขัดข้องในการพัฒนาเมืองหลายประการตามมา ส่งผลต่อการพิจารณาย้ายเมืองในเวลาต่อมาไม่นานนัก


      สมัยเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง

                สร้างเมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง สู่ความรุ่งเรือง และความมั่งคั่งของเมืองท่า            จนถึงเมืองท่องเที่ยว


                จากการขยายตัวของเมืองสงขลาฝั่งแหลมสน ทำให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดเพื่อการอุปโภคบริโภค ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่บริเวณสงขลาฝั่งแหลมสน เป็นพื้นที่ลาดชันเชิงเขา ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวของเมืองรวมถึงอาจเป็นอุปสรรคของการขยายตัวเป็นเมืองท่าในอนาคต

                แม้จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ น่าจะเป็นข้อได้เปรียบ แต่เนื่องจากมีพื้นที่ในแนวราบไม่เพียงพอ จึงทำให้เจ้าพระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง) ไปตั้งเมืองสงขลาใหม่ที่ตำบลบ่อยาง (สถานที่ปัจจุบัน) ตั้งแต่ พ.ศ. 2379

                ซึ่งเมืองใหม่ที่สร้างขึ้น ก็ยังคงรักษาความเป็นเมืองท่าไว้อย่างเดิม โดยในเบื้องต้นของการสร้างเมือง เจ้าพระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) ได้เริ่มสร้างป้อม กำแพงเมืองยาว 1,200 เมตร และ ประตูเมือง สิบประตู ตั้งแต่ พ.ศ. 2379 หลังจากนั้นจึงได้วางหลักเมือง (ไม้ชัยพฤษ์พระราชทาน) และสมโภชน์หลักเมืองในปี พ.ศ. 2385 และเรียกบริเวณพื้นที่นี้ว่า “เมืองสงขลาฝั่งบ่อยาง” ก่อนที่เจ้าพระยาคีรี (เถี้ยนเส้ง) จะถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2408

       

                ถัดจากนั้น เจ้าพระยาคีรี ลำดับต่อมา ได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาต่อ และ ได้ดำเนินการพัฒนาสงขลาในลักษณะเมืองกันชนระหว่างเมืองปัตตานี ซึ่งเป็นเมืองมุสลิมที่อยู่ทางตอนใต้ของสงขลา และ เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเป็นเมืองพุทธศาสนิกชน

                โดยเมืองสงขลาได้อยู่ภายใต้การปกครองขอ
      งสายสกุล ณ สงขลา ซึ่งมี นายเหยียง แซ่เฮา เป็นต้นสกุล รวมเจ้าเมืองสายสกุล ณ สงขลาที่ปกครองเมืองสงขลา บ่อยาง ดังนี้

      ลำดับที่ 1. พระยาวิเชียรคีรี (เถี้ยนเส้ง ณ สงขลา) พ.ศ. 2360 – 2390 ผู้เริ่มสร้างเมืองสงขลา บ่อยาง

      ลำดับที่ 2. พระยาวิเชียรคีรี (บุญสัง ณ สงขลา) พ.ศ. 2390 – 2408

      ลำดับที่ 3. พระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) พ.ศ. 2408 – 2427 

      ลำดับที่ 4. พระยาวิเชียรคีรี (ชุ่ม ณ สงขลา) พ.ศ. 2427 – 2431

      ลำดับที่ 5. พระยาวิเชียรคีรี (ชม ณ สงขลา) พ.ศ. 2431 – 2439 
       
       
                หลังจากพระยาวิเชียรคีรี (เม่น ณ สงขลา) ได้เป็นเจ้าเมืองสงขลาได้ประมาณปีเศษ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จราชดำเนินมายังเมืองสงขลา และได้พระราชทานเงินบางส่วนเพื่อสร้างเจดีย์บนยอดเขาตังกวน

                ระหว่างปี พ.ศ. 2437-2439 เมืองสงขลาได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ปฏิรูปการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล

                โดยตั้งมลฑลนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และ หัวเมืองแขกอีก เจ็ดเมือง โดยมี พระวิจิตร (ปั้น สุขุม) ลงมาเป็นข้าหลวงพิเศษว่าการมณฑลนครศรีธรรมราช ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งอาคารที่ว่าการอยู่ที่เมืองสงขลาบ่อยาง และลดบทบาทเจ้าเมืองเป็นผู้ว่าราชการเมือง ซึ่งถือว่าเป็นการสิ้นสุดยุคการปกครองแบบเจ้าเมืองไปด้วย ทั้งนี้เจ้าเมืองคนสุดท้ายเป็นสายสกุล ณ สงขลา ที่ปกครองเมืองสงขลามามากกว่าแปดรุ่น

                ต่อมาประเทศไทยได้ปรับเปลี่ยนการปกครองอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2475 รัฐบาลได้เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยยกเลิกระบบเดิมทั้งหมด และยกระดับ สงขลา ขึ้นเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย

       

      จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี  






       

       

       

       






      ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=624354

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×