เรื่องราวของไข้หวัดใหญ่ 2009 - เรื่องราวของไข้หวัดใหญ่ 2009 นิยาย เรื่องราวของไข้หวัดใหญ่ 2009 : Dek-D.com - Writer

    เรื่องราวของไข้หวัดใหญ่ 2009

    โดย Dr-Zeratul

    เห็นว่าคนอีกจำนวนมากยังไม่ค่อยมีข้อมูลเรื่องนี้กันเลย ทั้งๆ ที่เรื่องนี้ออกจะเป็นเรื่องระดับโลกเชียว แต่ประเทศไทยยังให้ข้อมูลแก่ประชาชนน้อย จึงได้นำมาฝากกัน

    ผู้เข้าชมรวม

    662

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    6

    ผู้เข้าชมรวม


    662

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  13 ก.ค. 52 / 12:58 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      Swine Flu
      ความเป็นมาตั้งแต่ตอนแรกๆ จนปัจจุบัน + เรื่องทั่วๆ ไปของไข้หวัดใหญ่ 2009
      - เจอเคสแรกที่อเมริกา แต่พอเจอที่เม็กซิโก อเมริกาประกาศว่าชื่อไข้หวัดเม็กซิโก
      - คำว่า Influenza A หมายถึงเชื้อไวรัสในตระกูล Orthomyxoviridae ซึ่งมีโครงสร้างหลักทั่วไปเหมือนกัน
      - ความแตกต่างของแต่ละตัวจะอยู่ที่ส่วนที่เรียกว่า H hemagglutinin และ N neuraminidase โดยมี H 16 แบบ, N 9 แบบ
      - อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ตามหลัง H, N อย่าง H1N1 มันเป็นการจำแนกอย่างหยาบๆ ซึ่งเราไม่สามารถเทียบความร้ายแรงได้
      - เช่น H1N1 ที่เกิดที่สเปนตอนสมัยก่อน ที่คนตายเป็นหลักสิบล้าน(ที่เรียกกันว่าไข้หวัดสเปน) กับ H1N1 ตอนนี้ก็คนละระดับความรุนแรงกัน เพราะคนละตัว แค่ชื่อ "หยาบๆ" เหมือนกัน
      - จำได้มั้ยว่าที่ WHO ประกาศระดับ pandemic ขั้นที่ 6 แปลคร่าวๆ ก็คือมันแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ (ซึ่งมันก็กระจายเรียบร้อยแล้วในตอนนี้)
      - แล้วก็ phase ที่ 6 นี้ยังรวมถึงต้องติดจาก "คน-คน" ได้ด้วยนะครับ
      - CFR = Case Fatality Ratio คืออัตราการตายคิดเป็น % เทียบกับจำนวนคนที่ตรวจพบ
      - ในปัจจุบัน พบ 94512 คน, ตายแล้ว 429 คน คิดเป็น 0.454%
      - 0.454% เทียบใน CFR ก็อยุ่ที่ระดับ 2 เกือบๆ จะถึงระดับ 3 แล้ว
      (ระดับ 2 = 0.1-0.5%, ระดับ 3 = 0.5-1.0%)
      - จริงๆ แล้วตัวเลข 94512 คน เป็นตัวเลขเฉพาะคนที่ตรวจได้เท่านั้น ยังมีคนที่ยังไม่ตรวจพบอีกตามปรากฎการณ์ภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Phenomenon*)
      http://www.who.int/csr/don/2009_07_06/en/index.html
      - หวัด 2009 กำลังอยุ่ในช่วงการระบาด เพราะฉะนั้นจะส่งตรวจในเคสที่อาการปานกลางถึงหนัก เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองทรัพยากรในช่วงนี้มากเกินไป
      - เพราะฉะนั้นตัวเลข 94512 คงน้อยไป -> CFR จริงๆ ก็ต้องลดลงไปอีกด้วย
      - การตรวจที่ใช้ก็เป็น Nasal swab (ป้ายในโพรงจมูกไปตรวจเชื้อ) เนื่องจากเชื้อจะเจริญเติบโตและอยู่ได้ดีในโพรงจมูก
      - แต่ไม่ใช่แค่ในโพรงจมูกนะ แต่มันเยอะในนี้ เวลาเชื้อออกอาการ เชื้อก็จะแพร่ไปตามเลือด ไปทั่วร่างกาย กล้ามเนื้อ ฯลฯ และถ้าลงปอดก็ ปอดบวมล่ะครับ
      จุดเด่นของไข้หวัดใหญ่ 2009
      1. ลักษณะการติดต่อ คือติดต่อทางอากาศ ซึ่งง่ายมาก แค่เดินเจอกันแป๊บเดียวก็ติดได้ ไม่เหมือนเอดส์ หรือมาลาเรีย
      2. ระยะเวลาที่ออกอาการ เมื่อติดแล้ว 2-3 วันก็ออกอาการ
      เกี่ยวกับการระบาด
      - การระบาด หมายความว่า โรคจะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในคนจำนวนมาก
      - ซึ่งจะเกิดผลกระทบทางจิตใจต่อสังคม เกิดความไม่มั่นใจ ความขัดแย้ง หรือกระทบขวัญกำลังใจต่อหลายคนได้
      - ความรุนแรงยังไม่มากนัก แต่ที่สำคัญคือ มันเป็นโรคที่ "ใหม่" คนจึงติดเชื้อนี้ได้ง่าย เพราะไม่มีภูมิคุ้มกัน
      - ความสามารถพิเศษของไวรัสไข้หวัดใหญ่คือ การปรับเปลี่ยนตัวเอง ทำให้มันสามารถกลายเป็นตัวใหม่ที่แรงกว่าเดิมได้
      - ยิ่งมีคนติดมาก โอกาสที่เกิดการเปลี่ยนไปเป็นพันธุ์ร้ายแรง หรือเรียกว่า "กลายพันธุ์" ก็ยิ่งมีมากขึ้นด้วย นี่เป็นสิ่งที่กลัวกันอยู่
      - จะแยกไข้หวัดใหญ่ธรรมดากับ 2009 ยังไง -> ก็เอาไปตรวจ nasal swab นั่นแหละ ทำ PCR รอผล 3 วัน

      สถานการณ์ในประเทศไทยเมื่อเดือนมิ.ย.
      - ช่วงที่เพิ่งระบาดใหม่ๆ ข่าวจะบอกกับเราว่า "ไม่ต้องตื่นตระหนกกับโรคนี้มากนัก โรคนี้ถ้าไปพบหมอแต่เนิ่นๆสามารถตรวจว่าเป็นหรือไม่และหากไปเร็วทันเวลาก็รักษาหายได้ "
      - ซึ่งมันง่ายต่อการเข้าใจผิด กลายเป็น 1)ถ้าไปช้าอาจจะรักษาไม่หายได้ 2)ถ้าไปช้าอาจตรวจไม่เจอ แล้วโอกาสตายมากขึ้น
      - ทีนี้คนก็เลยแห่กันไปโรงพยาบาล
      - ระดับความรุนแรงที่พบทั่วๆ ไปก็คือ ส่วนมากติดเชื้อแล้วหายเอง ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองเป็น แค่ ไอนิดๆ หน่อยๆ
      - หลายคนมีอาการเหมือนไข้หวัดธรรมดา กินพารา กับยาแก้ไอ นอนซักวันสองวันก็หาย
      - บางคนอาการหนักมากต้องอยุ่ ร.พ.
      - คนจำนวนน้อยมากมีอาการปางตาย
      - จาก 3 บรรทัดข้างบน ทำให้เกิดเหตุการณ์โรงพยาบาลล้น เพราะ คนที่ไอนิดหน่อยก็กลัวก็มาโรงพยาบาล
      - แม้กระทั่งคนเป็นภูมิแพ้ก็มา ร.พ.รวมถึงบางคนไม่ได้เป็นไรเลย เดินผ่านหน้า ร.ร. ที่โดนสั่งปิดก็มา ร.พ.
      - สรุปก็คือ คนเป็นจริงๆ มา ร.พ. (อันนี้โอเค)
      - คนไม่เป็นจริงๆ ก็มา ร.พ. (อันนี้มารับเชื้อกลับไปแพร่ต่อ)
      - คนที่เป็นเบาๆ ก็มา ร.พ. (อันนี้มาปล่อยเชื้อที่ ร.พ.)
      - กลายเป็น โรงพยาบาลเป็นที่ที่กระจายเชื้อได้ด้วยอีกนี่
      - จนเร็วๆ นี้มีผู้ที่ตรวจพบประมาณ 3000 เศษๆ และตายไป 15 คน (อย่าลืมเรื่อง Iceberg นะครับ)
      อาการของโรค
      - อาการที่พบได้แก่ ไข้สูง (38 หรือมากกว่า), ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ/กระดูก, ไอ, ครั่นเนื้อครั่นตัว, ไม่อยากอาหาร, อ่อนเพลีย ก็คือเหมือนไข้หวัดใหญ่ธรรมดาเลย หลังจากนั้นอาจจะตามมาด้วยอาการอื่นๆ เช่นท้องเสีย ซึม ปวดหัว อาเจียน
      - ถ้าปล่อยต่อไปก็ ปอดบวม แล้วก็ถึงชีวิตได้
      การติดต่อ
      - ติดต่อทางการหายใจ อากาศ การจามใส่โดยตรง (ละออง)
      - ติดต่อทางของที่ใช้ปนกัน โดยเชื้อจะอยู่ในอากาศ/สิ่งของทั่วไปได้ราวๆ 2 ชั่วโมง
      - โอกาสติดต่ออยู่ที่ 22-33% (ไข้หวัดใหญ่ธรรมดาอยู่ที่ 5-15%)
      - ก็คืออย่างเช่นเด็กเซนคาเบรียลที่เป็นตอนนั้น แล้วไปร.ร. วันนึง เจอเพื่อนในห้อง(ห้องนึงน่าจะซัก 50 คน) จำนวนที่เพื่อนจะได้รับเชื้อก็น่าจะราวๆ 10-15 คนได้ (ซึ่งจริงๆ ไม่รู้ว่าเป็นยังไง)
      สิ่งที่คนธรรมดาสามัญควรกระทำ-รับรู้
      - ถ้ามีอาการควรใส่ mask อย่างยิ่ง หรือถึงจะไม่มีอาการก็ใส่ได้ – การใส่ mask จะป้องกันได้ละอองระดับหนึ่ง แต่ไม่ทั้งหมด
      - การให้ตัวเลขของผู้ที่พบว่าเป็น มีประโยชน์ในด้านการประเมินสถานการณ์เท่านั้น ทำให้เกิดการเตรียมการรองรับผู้ป่วย ตามจำนวน
      - การที่ถูกสั่งหยุดกรณีใดๆ ก็ตาม เช่นปิดโรงเรียน คนที่หยุดควรจะอยู่บ้านเฉยๆ ไม่ออกไปในสถานที่ที่คนมาก เช่นคอนเสิร์ต โรงหนัง ห้าง – อยู่บ้านดีที่สุด เพราะจะได้ไม่ไปรับเชื้อ และถ้าเป็นจะได้ไม่ไปแพร่เชื้อ
      - ดูแลสุขอนามัยในเรื่องทั่วๆ ไป โดยเฉพาะความสะอาด การล้างมือ การล้างเครื่องมือเครื่องใช้ โดยเฉพาะ ช้อนส้อม จานชาม แก้วน้ำ การใช้ช้อนกลาง

      ยังไม่จบครับ ให้อ่านไปก่อน ไว้จะลงข้อมูลเพิ่มครับ
      *เนื้อหาเผยแพร่ได้ตามใจชอบ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิง ทั้งนี้ผู้เขียนนำข้อมูลมาจากหลายแหล่ง โดยเฉพาะจากกระทู้ของ "หมอแมว" ในพันทิป, www.cueid.org และข้อมูลจากแพทย์

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×