gmo - gmo นิยาย gmo : Dek-D.com - Writer

    gmo

    เกี่ยวกับgmo

    ผู้เข้าชมรวม

    880

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    4

    ผู้เข้าชมรวม


    880

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  12 มิ.ย. 51 / 14:52 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ GMO

       

      โดย ประธาน ประเสริฐวิทยาการ (คบ.เขต 12)

       

      GMO คืออะไร?

       

      GMO เป็นตัวย่อของชื่อเต็มที่เรียกว่า Genetically Modified Organism ซึ่งแปลเป็นไทยได้ว่า .สิ่งมีชีวิต ที่ได้จากการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม (gene) . สิ่งมีชีวิตที่ว่านี้ อาจจะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ แต่ขณะนี้ นิยมการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรมของพืช เพราะได้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังทำได้ง่ายกว่า และสามารถศึกษาผลกระทบที่ได้จากหลายชั่วอายุของพืช โดยใช้เวลาน้อยกว่าการศึกษาในสัตว์ซึ่งแต่ละชั่วอายุสัตว(generation) จะต้องใช้เวลานาน

      อาหารที่ได้จาก GMO นั้น เรียกว่า GM Foods หรือ GE Foods(Genetic Engineering Foods)

       

      วิธีการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรมนั้น ทำอย่างไร ?

       

                      วิธีการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม หรือที่เรียกกันว่า การตัดต่อยีนนั้น สามารถทำได้โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ซึ่งเป็นวิธีการคัดเลือกสายพันธ์โดยตรง แทนที่วิธีการตามธรรมชาติซึ่งใช้เวลานาน โดยการค้นหา gene ตัวใหม่ ที่กำหนดลักษณะเฉพาะ(Traits)ตามที่เราต้องการ ซึ่งอาจเป็น gene จากพืช สัตว์ หรือ bacteria ก็ได้ ซึ่งวิธีค้นหานั้นมีรายละเอียดอีกมาก จากนั้นทำการถ่ายแบบ (copy) ยีนดังกล่าว ลงไปใน chromozome ซึ่งมีจำนวน 2 n และอยู่ในรูป double herix ของ cell พืชเพียง cell เดียว

       

                      การถ่ายทอด gene ที่ถูกถ่ายแบบมาลงไปใน DNA ซึ่งอยู่ใน chromozome ของ cell ใหม่นั้น ต้องอาศัยตัวช่วย 2 ตัว คือ 35S - promotor และ NOS . terminator ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกำหนดให้เริ่มต้น และยุติการถ่ายแบบ ซึ่งทั้ง 35S-promotor และ NOS . terminator นั้น เป็นสารพันธุกรรมอย่างหนี่ง (genetic elements) ที่จะคงอยู่ใน cell ใหม่ และเพิ่มจำนวนตามจำนวน cell ใหม่ที่เพิ่มขึ้น นอกจากสารพันธุกรรม ทั้ง 2 ตัวดังกล่าวแล้ว ยังมี gene หรือหน่วยพันธุกรรมอีกตัวหนึ่ง ที่จำเป็นจะต้องใส่เข้าไปด้วยทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม (genetical modification) เรียกว่า .marker gene .

       

      Marker Gene เป็น gene ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตใหม่นั้น มีความต้านทานต่อ herbicide insect และ antibiotic ได้ เพราะ cell ใหม่เพียง cell เดียว ที่ได้นั้น จะไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปในอาหารที่มีสาร antibiotic เพื่อฆ่าเชื้อ bacteria และสาร herbicide ที่ติดมากับอาหารได้ อีกทั้งต้องการ ให้มีความต้านทานต่อแมลง และยาฆ่าวัชพืช (marker gene แบ่งออกได้เป็นหลายชนิด) ทั้ง 3 ตัวนี้ จึงมีบทบาทที่สำคัญ และจะได้กล่าวถึง รายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง ต่อไป

       

      ความหวั่นวิตกเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยพันธุกรรม

       

                พันธุวิศวกรรม เป็นวิทยาการใหม่ที่มนุษย์เพิ่งจะเริ่มต้นศึกษา การวิจัย ยังอยู่ในขั้นพื้นฐาน ยังไม่เป็นที่ยอมรับหรือปฏิเสธ และเป็นวิทยาการที่มีอันตรายแฝงอยู่ในตัว ซึ่งถูกผลักดันเข้าสู่สังคมของโลก ในรูปการค้าโดยไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่เพียงพอ ถึงความจำเป็น

       

      อันตรายของอาหารเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม (GM Foods)ประกอบด้วย

       

      1. เกิดธัญพืช และวัชพืชพันธ์ใหม่ที่มีความต้านทานต่อแมลง

      2. ทำให้ความหลากหลายของหน่วยพันธุกรรมลดลง

      3. เกิดการผสมข้ามเผ่าพันธ์ของเชื้อ virus และ bacteria โดยไม่ทราบผลกระทบที่จะตามมา

      4. ถ้ามีการ Integrate ของ gene จาก GMO เข้าไปใน cells ของมนุษย์ จะทำให้มนุษย์ และสัตว์ให้มีความต้านทานต่อสาร antibiotic

      5. เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อเผ่าพันธ์แมลงต่างๆ เช่น แมลงเต่าทอง และแมลงในตระกูล Chrysopidae ซึ่งมีปีกเป็นลายตาข่าย

      6. ถ้าเกิดความผิดพลาดในการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรมแล้ว จะไม่สามารถถ่ายหรือล้างกลับได้ และจะคงอยู่กับสิ่งมีชีวิตใหม่และแพร่พันธ์ต่อไปตลอดทุกชั่วอายุ

      7.เกิดการถ่ายทอดสารพันธุกรรมแปลกปลอมไปสู่ธัญพืชอื่นๆได้

      8. ทำให้การกสิกรรมต้องพึ่งพาทางเคมีมากเกินไป

      9.เกิดความล้มเหลวในการควบคุมแปลงทดลองปลูกพืช GMO เช่น กรณี bollguard cotton ใน USA ประเทศที่เป็นผู้ส่งออก GMO รายใหญ่

      10. ทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในพืชมากเกินไป

      11. เกิดการชี้นำกสิกรรมของโลกโดยบริษัทฯผู้ผลิตเมล็ดพันธ์ที่ได้จากการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม และบริษัทฯผู้ขายเคมีที่ใช้ในการเปลี่ยนถ่ายหน่วยพันธุกรรม

      12. เกิดการฆ่าทำลายแมลง นก สัตว์ป่า ฯลฯ โดยธัญพืชพันธ์ใหม่ที่จะขยายและกระจายไปทั่วโลกโดยไม่สามารถควบคุมได้ มีตัวอย่างให้เห็นในแปลงทดลองปลูกพืชตัวอย่างที่ได้จากการเปลี่ยนถ่ายหน่วนพันธุกรรม

       

      กลุ่มที่คัดค้าน

       

      The Soil Association are campaigning for a ban.

       

      Greenpeace – ban.

       

      Friends of the Earth

       

      – 5 year moratorium.

       

      ที่มา http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/food/food_web/gmomain_files/gmo1.htm

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×