Rock On You ปิดบัญชีหัวใจนายร็อกเกอร์ตัวร้าย (P.I)[Cheste x Toeiful][Rock band set] [E-book on Meb]
'เชสเตอร์' คือชื่อของผู้ชายข้างห้องแสนเถื่อนที่ชอบเปิดเพลงร็อกรบกวนจนฉันไ่ม่ได้นอนสักคืน พอหาทางแก้แค้นเขาได้ เขากลับดึงฉันไปพัวผันกับวง เขาไม่เคยเป็นตามที่หวังแต่ฉันกลับตกหลุมรักเขาจนได้
ผู้เข้าชมรวม
107,193
ผู้เข้าชมเดือนนี้
33
ผู้เข้าชมรวม
นิยายตีพิมพ์ Chester Toeiful เชสเตอร์ ถ้วยฟู วงดนตรี ผู้ชายข้างห้อง นิยายรักวัยรุ่น วงร็อก RockOnYou *ละอองน้ำ* นักร้อง สายเถื่อน พระเอกเถื่อน
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
Rock on you
ปิดบัญชีหัวใจนายร็อกเกอร์ตัวร้าย (P.I)
นิยายเรื่องนี้ไม่รับประกันความสนุก!
เรื่องมันก็เริ่มจากที่เขา 'เชสเตอร์' ไอ้ผู้ชายข้างห้องลูกครึ่งแสนเถื่อนคนนั้นเอาแต่เปิดเพลงเสียงดังรบกวนจนฉันไม่ได้นอนหลับสักคืน จนทนไม่ไหวหาทางแก้แค้นเขาคืน แต่แล้วเขากลับมาเอาคืนด้วยการให้ฉันรับผิดชอบต่อการที่ทำให้เพลงของวงพวกเขาหายไปด้วยการดึงฉันไปพัวพันกับวงของเขา ฉันคิดว่าคงจะอยู่ด้วยกันไม่นานเพราะความแตกต่างที่เรามีช่างต่างกันเหลือเกิน แต่ท้ายที่สุดฉันกลับกลายเป็นนักร้องวงร่วมกับเขา ท้ายที่สุดฉันกลับพบว่าความแตกต่างของเราทำให้เราได้เรียนรู้กันและกัน และฉันยืนยันเลยว่าเขาไม่เคยเป็นอะไรสักอย่างที่ฉันเฝ้าถามหาเลย เขาน่ะใจร้ายจะตาย... แต่สุดท้ายเขากลับเป็นคนเดียวที่เป็นเหตุผลให้ใจของฉันยังคงเต้นอยู่
ทักทายนักอ่านทุกคนค่ะ ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ เจ๊ชื่อโมว์นะ
แต่ชอบให้ทุกคนเรียกว่าเจ๊เฉยๆ ดีกว่า อายุเริ่มากแล้ว ฮ่า
หลังจากที่เคลียร์เซต Oops! He is the girl เสร็จแล้วเลย
แวบมาเปิดเซต Rock on you เรื่องนี้เป็นเกี่ยวกับวงร็อคธรรมดา
ที่เปิดเพราะแอยากเขียนแนวนี้
แล้วก็แบ่งปันเพลงร็อคที่อยู่ในเครื่องเกือบพันกว่าเพลงด้วย
นิยายเรื่องนี้แบ่งเป็นสามพาร์ทนะคะ
Rock on you ปิดบัญชีหัวใจนายร็อคเกอร์ตัวร้าย P.I
Rock with you ไขกุญแจหัวใจนายร็อคเกอรมาดนิ่ง P.II
Rock beside you ล็อคหัวใจนายร็อคเกอร์จอมเฮ้ว P.III
ผลงานอื่นๆ ของ *ละอองน้ำ* ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ *ละอองน้ำ*
"New Generation"
(แจ้งลบ)Rock on you ปิดบัญชีหัวใจนายร็อกเกอร์ตัวร้าย ในเรื่องนี้ไรท์เตอร์ได้อัพไว้ทั้งหมดเจ็ดตอนด้วยกันนะคะ และตัวอันคริเช่ก็อ่านจนถึงตอนที่เจ็ดแล้วล่ะค่ะ อ่านไปสักพักอันครีเช่จะรู้สึกได้เลยว่าตัวไรท์เตอร์เองน่าจะเป็นเมมเบอร์ของเว็ปเด็กดีมานานพอสมควร เพราะการเขียนของไรท์เตอร์นั้นจะเป็นสไตล์ของนักเขียนที่อยู่ในยุครักหวานแหววรุ่งเรืองประมาณสี่ถึงห้าปีก่อ ... อ่านเพิ่มเติม
Rock on you ปิดบัญชีหัวใจนายร็อกเกอร์ตัวร้าย ในเรื่องนี้ไรท์เตอร์ได้อัพไว้ทั้งหมดเจ็ดตอนด้วยกันนะคะ และตัวอันคริเช่ก็อ่านจนถึงตอนที่เจ็ดแล้วล่ะค่ะ อ่านไปสักพักอันครีเช่จะรู้สึกได้เลยว่าตัวไรท์เตอร์เองน่าจะเป็นเมมเบอร์ของเว็ปเด็กดีมานานพอสมควร เพราะการเขียนของไรท์เตอร์นั้นจะเป็นสไตล์ของนักเขียนที่อยู่ในยุครักหวานแหววรุ่งเรืองประมาณสี่ถึงห้าปีก่อน การใช้คำพูดที่เปลืองอาจจะเคยสนุกเมื่อหลายปีก่อน และการบรรยายแบบนั้นก็เริ่มแพร่หลายสู่ New Generation แต่นิยายมันก็เหมือนอารยธรรมล่ะค่ะ มีรุ่งเรืองได้ก็มีเสื่อมได้เช่นกัน การเล่าเรื่องโดยการใช้คำที่สิ้นเปลือง พยายามใส่คำพูดหรือบทบรรยายฮาๆ เข้าไปในนิยาย อาจจะใช้ได้สำหรับบางเรื่อง บางคน และบางตอน แต่ไม่ใช่ว่าใช้ได้ตลอดนะคะ เพราะการใช้คำเปลืองพวกนั้นไม่ได้ทำให้เนื้อเรื่องเดินไปข้างหน้า กลับแต่จำย่ำอยู่ที่เดิม ซึ่งความจริงแล้ว...ถึงคนอ่านนิยายจะต้องการความสนุกจากบทบรรยายก็จริง แต่ความจริงแล้วพวกเขาเฝ้ารอการพัฒนาของเนื้อเรื่องที่ก้าวไปข้างหน้ามากกว่าค่ะ ไรท์เตอร์คงจะเคยเจอนิยายที่สามารถอ่านได้หลายๆ รอบใช่มั้ยคะ ถ้าสังเกตจริงๆ แล้ว นิยายที่อ่านได้หลายๆ รอบจะไม่ใช่นิยายที่ใช้คำสิ้นเปลืองมากนัก หรือถ้าหากเขาใช้ ความเป็นเอกลักษณ์บวกกับความสามารถในการเขียนไดอะล็อก (บทพูด) ของเขาก็ต้องเก่งมากพอที่จะทำให้เรื่องก้าวไปข้างหน้าอย่างสนุกโดยที่ทำให้คนอ่านไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น อันครีเช่อยากให้ไรท์เตอร์พยายามหาแนวของตัวเองที่เป็นตัวเองมากที่สุดให้เจอ ตัดเรื่องความฮิตในการบรรยายแบบยาวยืดออกไป และจำไว้เสมอว่านิยายที่ดีไม่จำเป็นต้องบรรยายยาวๆ หรือใช้ไดอะล็อกยาวๆ แต่นิยายที่ดีขึ้นอยู่กับวิธีการเล่าเรื่องและการพัฒนาเรื่องของตัวละครค่ะ อีกเรื่องนึงที่สำคัญมากนั่นก็คือ การเว้นวรรคค่ะ อยากให้ไรท์เตอร์ลองกลับไปอ่านนิยายแล้วสังเกตดีๆ นะคะว่า มีจุดไหนที่ไรท์เตอร์เว้นวรรคผิดหรือเปล่า เพราะการเว้นจังหวะจะโคนสำหรับบทบรรยายและบทพูดที่ผิดนั้น มันจะสามารถทำให้อารมณ์ของผู้อ่านสะดุดได้ในทันที (เหมือนกับเวลาที่บางคนอ่านนิยายแล้วเจอคำผิดเยอะๆ หรืออ่านกระทู้แล้วเห็นคนพิมพ์ภาษาวิบัติ คนที่เป็นนักอ่านส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่พอใจกับการใช้ภาษาวิบัติของวัยรุ่น ความจริงแล้วภาษาวิบัติหรือคำที่เราพิมพ์ผิดนั้น นอกจากจะส่งผลต่อการใช้ภาษาของเจนเนอร์เรชั่นรุ่นถัดไปแล้ว ยังส่งผลต่ออารมณ์ของผู้อ่านอีกด้วยค่ะ) ถ้าหากไม่แน่ใจว่าตรงนี้ควรเว้นวรรคหรือไม่ อยากให้ไรท์เตอร์อ่านประโยคนั้นออกมาเสียงดังๆ ดู วิธีนี้จะช่วยให้ไรท์เตอร์สามารถเว้นวรรคได้ถูกต้องขึ้นค่ะ ต่อมาคือไดอะล็อกค่ะ เกือบจะทั้งหมดของไดอะล็อก ไรท์เตอร์จะใช้วิธีเดียวกับการบรรยายนั่นก็คือการใช้คำพูดยาวๆ ที่พูดไปเรื่อยๆ แต่ประโยคไม่ได้ช่วยในการพัฒนาเรื่องให้เข้าสู่ความวุ่นวาย ความเป็นธรรมชาติของเนื้อเรื่องเลยหายไปพอสมควรค่ะ อยากจะลองแนะนำให้ไรท์เตอร์ลองเว้นช่องว่างให้ตัวละครคิด เว้นช่องว่างให้ตัวละครที่เป็นคู่สนทนาของตัวละครนั้นคิด การต่อประโยคกันนั้นไม่ใช่ว่าเราจะพิมพ์อะไรลงไปให้มันสนุก ให้ทะเลาะกัน แค่นั้นไม่พอนะคะ การสนทนาของตัวละครต้องขึ้นอยู่กับ Back Story หรือภูมิหลังของตัวละครด้วย ขออนุญาตออกนอกเรื่องไปพูดถึงเรื่อง Back Story ของตัวละครก่อนนะคะ คำว่า Back Story ของตัวละครนั้นไม่ได้หมายถึงว่าเขาเคยอกหักจากใครมาหรือเปล่า แฟนของเขาทิ้งเขาไปหาผู้ชายคนใหม่ มันไม่ใช่แค่นั้น การสร้างให้ตัวละครนั้นดูกลม สามารถหมุนดูได้รอบทิศทาง (หรือจะเรียกว่าการสร้างตัวละครแบบสามมิติก็ได้ค่ะ) ทุกสิ่งทุกอย่างของตัวละครก่อนที่เรื่องทั้งหมดจะเกิดขึ้นสามารถเป็น Back Story ได้ทั้งหมดค่ะ เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น Back Story จะส่งผลต่อความคิด การพูด การกระทำและการตัดสินใจทุกๆ อย่างของตัวละคร ซึ่งไรท์เตอร์ได้สร้างตัวละครขึ้นมา ถึงเขาจะมี Back Story แต่ยังไม่ถือว่าเป็นตัวละครที่กลม คนอ่านไม่สามารถเก็ทความเป็นตัวละครตัวนี้ได้เพราะตัวละครทุกตัวของไรท์เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ความคิด การกระทำ ทุกๆ อย่างล้วนกลมกลืนกันหมด ตัวละครไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูด ความคิด และการกระทำ ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนมาจากตัวไรท์เตอร์เกือบจะทั้งหมด อันครีเช่อยากให้ไรท์เตอร์ฟังเสียง ฟังความคิดของตัวละครสักนิด ทุกครั้งที่จะพิมพ์บทบรรยายของตัวละครตัวไหน ทุกครั้งที่จะพิมพ์ไดอะล็อกที่เป็นคำพูดของใคร ไรท์เตอร์ควรจะฟังเสียงจากตัวละคร พยายามถอดตัวเราออกแล้วคิดซะว่าเราคือคนนั้น อย่าคิดว่าคนนั้นคือเรา วิธีการบรรยายถึงตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นฝั่งไหนก็ตาม ไรท์เตอร์จะใช้โทนของน้ำเสียง โทนของการบรรยายแบบเดียวกันหมด คาแร็กเตอร์ของตัวละครเลยจะออกมาไม่ชัดเจน ทำให้คนอ่านไม่เก็ทถึงการตัดสินใจของตัวละคร ถ้าหากเราปูพื้นว่าตัวละครมีนิสัยอย่างนี้ๆ โดยที่เราไม่ได้บรรยายว่าตัวละครนิสัยอย่างนี้ แต่สามารถสร้างสถานการณ์หนึ่งสถานการณ์ขึ้นมาเพื่อบอกคนดูก่อนเข้าเรื่องว่าเขาและเธอมีนิสัยอย่างนี้ จะทำให้คนอ่านเก็ทมากขึ้น จะทำให้คนอ่านรู้โดยทันทีว่าเขากำลังอ่านเรื่องของใครอยู่ถึงแม้ว่าตัวไรท์เตอร์ไม่ได้บอกว่าคนที่กำลังดำเนินเรื่องอยู่นั้นเป็นใคร (ในส่วนนี้แนะนำให้ไรท์เตอร์ไปอ่านบทวิจารณ์ที่หนึ่งและที่สองของอันครีเช่นะคะ ในนั้นจะมีวิธีที่ทำให้คนอ่านเก็ทตัวละครมากขึ้นค่ะ) การรวบรัดในการแนะนำตัวละคร อย่างที่เคยบอกไปในบทความที่สอง งานเขียนเป็นศิลปะแขนงนึงซึ่งละเอียดอ่อนมากๆ การบรรยายไปเลยว่าฉันชื่ออะไร มีนิสัยอย่างไร เพราะอะไร 'ฉัน' ถึงเป็นแบบนั้น การบรรยายไปเลยจะทำให้คนอ่านรู้สึกว่าผู้เขียนหรือตัวละครกำลังดูถูก ที่สำคัญที่สุด...งานศิลปะต้องการความรัก เวลาและความพิถีพิถันในการตัดสินใจของไรท์เตอร์ อยากให้ไรท์เตอร์ลองใช้เวลากับตัวละคร อยู่กับมันจนรักมัน อยู่กับมันจนไรท์เตอร์ได้ยินเสียงของมัน อยู่จนเข้าใจว่าอะไร ทำไมและเพราะอะไร เรื่องต่อมาก็คือเรื่อง Space ค่ะ ไรท์เตอร์ไม่ให้ Space กับคนกับอ่าน ไม่ให้ Space ระหว่างตัวละครกับคนอ่าน และไม่ให้ Space ระหว่างตัวละครตัวที่หนึ่งกับตัวที่สองเลย เราต้องปล่อยให้คนอ่านคิดบ้าง เราต้องปล่อยให้ตัวละครคิดบ้าง (ซึ่งเรื่อง Space นั้นเขียนไว้ในวิจารณ์บทความตอนที่หนึ่งและสอง อยากให้ไรท์เตอร์ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ) ต่อมาคือเรื่องการบอกและบรรยายความรู้สึกของตัวละครที่ตัวละครสนทนากันค่ะ ส่วนมากไรท์เตอร์จะใช้คำพูดที่เรียกว่า On the nouse (ไม่แน่ใจว่าเป็นสำนวนนี้หรือเปล่า อันครีเช่จะลองเช็คให้อีกทีนะคะ) นั่นก็คือ คิดอะไรก็บอกออกมาเลย หรือใช้คำพูดเบสิกๆ ว่า “สบายดีมั้ย” “ฉันสบายดี” “หิวข้าวหรือเปล่า” “หิวมากเลย” ซึ่งการบอกสิ่งที่ต้องการออกมาตรงๆ นั้นจะไม่ทำให้เรื่องเดินไปข้างหน้าด้วยความสนุก จะไม่ทำให้เกิดสถานการณ์ จะไม่ทำให้ตัวละครต้องตัดสินใจในสิ่งที่ลำบากใจ และที่สำคัญที่สุด ถ้าหากคนอ่านอ่านเรื่องที่เป็นธรรมดาซึ่งเขาได้บทอยู่ทุกวันแล้วนั้น เขาก็จะรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่เขาต้องอ่านแล้ว บทพูดแบบนี้สามารถหาได้ในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าหากไรท์เตอร์ลองปรับสักนิด ลองใช้คำพูดที่ตรงข้ามกับความรู้สึกของตัวละคร ใส่น้ำเสียงผ่านบทบรรยายให้คนอ่านได้รู้ว่ากำลังประชดประชัน ไดอะล็อกประเภทนี้จะช่วยทำให้เรื่องเดินไปข้างหน้าได้อย่างเป็นธรรมชาติค่ะ ต่อมาคือจุดประสงค์ของตัวละคร ไรท์เตอร์ลองอยู่กับนิยายเรื่องนี้ ฟังเสียงของตัวละครดีๆ สิ่งที่เขาต้องการและคนอ่านต้องการนั่นก็คือ พวกเขาต้องการรู้ว่า Want กับ Need ของตัวละครคืออะไร และอะไรที่จะสามารถทำให้เขาไปถึงจุดหรือสิ่งที่เขาต้องการได้ ว่ากันเรื่อง Want และ Need ถึงมันจะมีความหมายที่คล้ายคลึงกัน แต่มันก็ไม่ได้เหมือนกันเลยสักทีเดียว เชื่อว่าไรท์เตอร์เคยมีโอกาสได้เรียนวิชาจิตวิยา (อ่านเจอในนิยายของไรท์เตอร์เลยทำให้อันครีเช่คิดว่าไรท์เตอร์น่าจะเคยมีโอกาสได้เรียนน่ะค่ะ) มีบทนึงในวิชานี้เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับ Want กับ Need ของคนเราค่ะ (ที่เป็นสามเหลี่ยมพีรมิด การต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต การต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม การต้องการที่พักหรือที่อยู่อาศัยน่ะค่ะ) Want คือสิ่งที่จะทำให้เราสามารถเดินทางไปถึง Need ได้ Need คือความต้องการสูงสุดของตัวละครค่ะ จะขออนุญาติยกตัวอย่าง Want กับ Need ให้ดูนะคะ อยากให้ไรท์เตอร์ลองกลับไปดูหนังเรื่อง Batman ทั้งภาค The dark knight ที่กำกับโดยคริสโตเฟอร์ โนแลนด์ค่ะ Need ของ Batman คือเขาต้องการที่จะครองเมืองนี้และทำเมืองนี้เป็นไปในแบบที่เขาต้องการ (คือทำให้เมืองขาวสะอาด) ในขณะที่ตัวร้ายของเรื่องนั่นก็คือ Joker นั้นมี Need ที่เหมือนกับ Batman นั่นก็คือการได้ครองเมืองนี้และทำให้เมืองนี้กลายเป็นแบบที่เขาต้องการ (คือทำให้เกิดความวุ่นวายค่ะ) และเมื่อ Need ของเขาทั้งสองคนสวนทางกันจึงทำให้ตัวละครทั้งสองเรื่องต้องมาต่อสู่กัน เพราะฉะนั้น Want ทั้งสองคนก็ต้องเป็นการกำจัดซึ่งกันและกันเพื่อให้ได้ครองเมืองนี้ (Need) ที่เล่าให้ฟังไม่ใช่จะให้ไรท์เตอร์เปลี่ยนแนวไปเขียนนิยายแนว Batman ฟาดฟันกับ Joker นะคะ แต่หนังแอ็กชั่นสามารถสังเกต Need และ Want ง่ายกว่าหนังแนวอื่นค่ะ ไรท์เตอร์น่าจะสร้าง Need และ Want ของตัวละครให้ชัดเจน ให้หนักแน่นและแน่นอนเพื่อจะให้เนื้อเรื่องเดินไปในทิศทางเดียวกัน เพราะถึงจะดูว่าเนื้อเรื่องของไรท์เตอร์ไปในทิศทางเดียวกันก็จริงอยู่ แต่ในบางจุดยังคงเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่นะคะ การให้ Back Story ของตัวละคร (อีกครั้ง) ไรท์เตอร์ไม่ได้ใช้ความสามารถ ความถนัดหรือสิ่งที่ตัวละครเข้ามาช่วยเลย อย่างเช่นตัวพระเอกเรียนภาควิชาภาพยนตร์ ไรท์เตอร์อุตส่าให้เขาเป็นนักศึกษาภาพยนตร์แล้ว น่าจะดึงจุดนี้เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินเรื่องนะคะ เมื่อกลับขึ้นไปดูข้อความด้านบนจะรู้สึกได้เลยว่าเป็นบทวิจารณ์ที่ยาวมากจริงๆ แต่ตัวอันครีเช่เองก็หวังอย่างสุดซึ้งว่าไรท์เตอร์จะสามารถก้าวขึ้นไปเป็นนักเขียนที่ดีในอนาคต อันครีเช่ไม่มีอะไรจะให้ไรท์เตอร์ ถ้าจะมีก็มีเพียงแต่ความจริงใจเท่านั้น อันครีเช่ขออนุญาตติดตามผลงานของไรท์เตอร์และเป็นกำลังใจต่อไป หวังว่าบทวิจารณ์ของอันครีเช่จะสามารถช่วยให้ไรท์เตอร์ก้าวหน้าในเส้นทางศิลปะสายนี้นะคะ ขอบคุณสำหรับความไว้ใจที่ตัวไรท์เตอร์มีให้กับอันครีเช่ค่ะ **อย่าลืมคอมเมนท์หรือแสดงความคิดเห็นหลังอ่านบทวิจารณ์ ทั้งนี้ตัวอันครีเช่จะได้เช็คฟีตแบ็กจากไรท์เตอร์เพื่อปรับปรุงบทวิจารณ์ต่อๆ ไปค่ะ อ่านน้อยลง
UNCRECHE ♡ | 23 ธ.ค. 53
18
2
"New Generation"
(แจ้งลบ)Rock on you ปิดบัญชีหัวใจนายร็อกเกอร์ตัวร้าย ในเรื่องนี้ไรท์เตอร์ได้อัพไว้ทั้งหมดเจ็ดตอนด้วยกันนะคะ และตัวอันคริเช่ก็อ่านจนถึงตอนที่เจ็ดแล้วล่ะค่ะ อ่านไปสักพักอันครีเช่จะรู้สึกได้เลยว่าตัวไรท์เตอร์เองน่าจะเป็นเมมเบอร์ของเว็ปเด็กดีมานานพอสมควร เพราะการเขียนของไรท์เตอร์นั้นจะเป็นสไตล์ของนักเขียนที่อยู่ในยุครักหวานแหววรุ่งเรืองประมาณสี่ถึงห้าปีก่อ ... อ่านเพิ่มเติม
Rock on you ปิดบัญชีหัวใจนายร็อกเกอร์ตัวร้าย ในเรื่องนี้ไรท์เตอร์ได้อัพไว้ทั้งหมดเจ็ดตอนด้วยกันนะคะ และตัวอันคริเช่ก็อ่านจนถึงตอนที่เจ็ดแล้วล่ะค่ะ อ่านไปสักพักอันครีเช่จะรู้สึกได้เลยว่าตัวไรท์เตอร์เองน่าจะเป็นเมมเบอร์ของเว็ปเด็กดีมานานพอสมควร เพราะการเขียนของไรท์เตอร์นั้นจะเป็นสไตล์ของนักเขียนที่อยู่ในยุครักหวานแหววรุ่งเรืองประมาณสี่ถึงห้าปีก่อน การใช้คำพูดที่เปลืองอาจจะเคยสนุกเมื่อหลายปีก่อน และการบรรยายแบบนั้นก็เริ่มแพร่หลายสู่ New Generation แต่นิยายมันก็เหมือนอารยธรรมล่ะค่ะ มีรุ่งเรืองได้ก็มีเสื่อมได้เช่นกัน การเล่าเรื่องโดยการใช้คำที่สิ้นเปลือง พยายามใส่คำพูดหรือบทบรรยายฮาๆ เข้าไปในนิยาย อาจจะใช้ได้สำหรับบางเรื่อง บางคน และบางตอน แต่ไม่ใช่ว่าใช้ได้ตลอดนะคะ เพราะการใช้คำเปลืองพวกนั้นไม่ได้ทำให้เนื้อเรื่องเดินไปข้างหน้า กลับแต่จำย่ำอยู่ที่เดิม ซึ่งความจริงแล้ว...ถึงคนอ่านนิยายจะต้องการความสนุกจากบทบรรยายก็จริง แต่ความจริงแล้วพวกเขาเฝ้ารอการพัฒนาของเนื้อเรื่องที่ก้าวไปข้างหน้ามากกว่าค่ะ ไรท์เตอร์คงจะเคยเจอนิยายที่สามารถอ่านได้หลายๆ รอบใช่มั้ยคะ ถ้าสังเกตจริงๆ แล้ว นิยายที่อ่านได้หลายๆ รอบจะไม่ใช่นิยายที่ใช้คำสิ้นเปลืองมากนัก หรือถ้าหากเขาใช้ ความเป็นเอกลักษณ์บวกกับความสามารถในการเขียนไดอะล็อก (บทพูด) ของเขาก็ต้องเก่งมากพอที่จะทำให้เรื่องก้าวไปข้างหน้าอย่างสนุกโดยที่ทำให้คนอ่านไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้น อันครีเช่อยากให้ไรท์เตอร์พยายามหาแนวของตัวเองที่เป็นตัวเองมากที่สุดให้เจอ ตัดเรื่องความฮิตในการบรรยายแบบยาวยืดออกไป และจำไว้เสมอว่านิยายที่ดีไม่จำเป็นต้องบรรยายยาวๆ หรือใช้ไดอะล็อกยาวๆ แต่นิยายที่ดีขึ้นอยู่กับวิธีการเล่าเรื่องและการพัฒนาเรื่องของตัวละครค่ะ อีกเรื่องนึงที่สำคัญมากนั่นก็คือ การเว้นวรรคค่ะ อยากให้ไรท์เตอร์ลองกลับไปอ่านนิยายแล้วสังเกตดีๆ นะคะว่า มีจุดไหนที่ไรท์เตอร์เว้นวรรคผิดหรือเปล่า เพราะการเว้นจังหวะจะโคนสำหรับบทบรรยายและบทพูดที่ผิดนั้น มันจะสามารถทำให้อารมณ์ของผู้อ่านสะดุดได้ในทันที (เหมือนกับเวลาที่บางคนอ่านนิยายแล้วเจอคำผิดเยอะๆ หรืออ่านกระทู้แล้วเห็นคนพิมพ์ภาษาวิบัติ คนที่เป็นนักอ่านส่วนใหญ่จะรู้สึกไม่พอใจกับการใช้ภาษาวิบัติของวัยรุ่น ความจริงแล้วภาษาวิบัติหรือคำที่เราพิมพ์ผิดนั้น นอกจากจะส่งผลต่อการใช้ภาษาของเจนเนอร์เรชั่นรุ่นถัดไปแล้ว ยังส่งผลต่ออารมณ์ของผู้อ่านอีกด้วยค่ะ) ถ้าหากไม่แน่ใจว่าตรงนี้ควรเว้นวรรคหรือไม่ อยากให้ไรท์เตอร์อ่านประโยคนั้นออกมาเสียงดังๆ ดู วิธีนี้จะช่วยให้ไรท์เตอร์สามารถเว้นวรรคได้ถูกต้องขึ้นค่ะ ต่อมาคือไดอะล็อกค่ะ เกือบจะทั้งหมดของไดอะล็อก ไรท์เตอร์จะใช้วิธีเดียวกับการบรรยายนั่นก็คือการใช้คำพูดยาวๆ ที่พูดไปเรื่อยๆ แต่ประโยคไม่ได้ช่วยในการพัฒนาเรื่องให้เข้าสู่ความวุ่นวาย ความเป็นธรรมชาติของเนื้อเรื่องเลยหายไปพอสมควรค่ะ อยากจะลองแนะนำให้ไรท์เตอร์ลองเว้นช่องว่างให้ตัวละครคิด เว้นช่องว่างให้ตัวละครที่เป็นคู่สนทนาของตัวละครนั้นคิด การต่อประโยคกันนั้นไม่ใช่ว่าเราจะพิมพ์อะไรลงไปให้มันสนุก ให้ทะเลาะกัน แค่นั้นไม่พอนะคะ การสนทนาของตัวละครต้องขึ้นอยู่กับ Back Story หรือภูมิหลังของตัวละครด้วย ขออนุญาตออกนอกเรื่องไปพูดถึงเรื่อง Back Story ของตัวละครก่อนนะคะ คำว่า Back Story ของตัวละครนั้นไม่ได้หมายถึงว่าเขาเคยอกหักจากใครมาหรือเปล่า แฟนของเขาทิ้งเขาไปหาผู้ชายคนใหม่ มันไม่ใช่แค่นั้น การสร้างให้ตัวละครนั้นดูกลม สามารถหมุนดูได้รอบทิศทาง (หรือจะเรียกว่าการสร้างตัวละครแบบสามมิติก็ได้ค่ะ) ทุกสิ่งทุกอย่างของตัวละครก่อนที่เรื่องทั้งหมดจะเกิดขึ้นสามารถเป็น Back Story ได้ทั้งหมดค่ะ เพราะฉะนั้นทุกสิ่งทุกอย่างที่เป็น Back Story จะส่งผลต่อความคิด การพูด การกระทำและการตัดสินใจทุกๆ อย่างของตัวละคร ซึ่งไรท์เตอร์ได้สร้างตัวละครขึ้นมา ถึงเขาจะมี Back Story แต่ยังไม่ถือว่าเป็นตัวละครที่กลม คนอ่านไม่สามารถเก็ทความเป็นตัวละครตัวนี้ได้เพราะตัวละครทุกตัวของไรท์เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการพูด ความคิด การกระทำ ทุกๆ อย่างล้วนกลมกลืนกันหมด ตัวละครไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการพูด ความคิด และการกระทำ ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนมาจากตัวไรท์เตอร์เกือบจะทั้งหมด อันครีเช่อยากให้ไรท์เตอร์ฟังเสียง ฟังความคิดของตัวละครสักนิด ทุกครั้งที่จะพิมพ์บทบรรยายของตัวละครตัวไหน ทุกครั้งที่จะพิมพ์ไดอะล็อกที่เป็นคำพูดของใคร ไรท์เตอร์ควรจะฟังเสียงจากตัวละคร พยายามถอดตัวเราออกแล้วคิดซะว่าเราคือคนนั้น อย่าคิดว่าคนนั้นคือเรา วิธีการบรรยายถึงตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นฝั่งไหนก็ตาม ไรท์เตอร์จะใช้โทนของน้ำเสียง โทนของการบรรยายแบบเดียวกันหมด คาแร็กเตอร์ของตัวละครเลยจะออกมาไม่ชัดเจน ทำให้คนอ่านไม่เก็ทถึงการตัดสินใจของตัวละคร ถ้าหากเราปูพื้นว่าตัวละครมีนิสัยอย่างนี้ๆ โดยที่เราไม่ได้บรรยายว่าตัวละครนิสัยอย่างนี้ แต่สามารถสร้างสถานการณ์หนึ่งสถานการณ์ขึ้นมาเพื่อบอกคนดูก่อนเข้าเรื่องว่าเขาและเธอมีนิสัยอย่างนี้ จะทำให้คนอ่านเก็ทมากขึ้น จะทำให้คนอ่านรู้โดยทันทีว่าเขากำลังอ่านเรื่องของใครอยู่ถึงแม้ว่าตัวไรท์เตอร์ไม่ได้บอกว่าคนที่กำลังดำเนินเรื่องอยู่นั้นเป็นใคร (ในส่วนนี้แนะนำให้ไรท์เตอร์ไปอ่านบทวิจารณ์ที่หนึ่งและที่สองของอันครีเช่นะคะ ในนั้นจะมีวิธีที่ทำให้คนอ่านเก็ทตัวละครมากขึ้นค่ะ) การรวบรัดในการแนะนำตัวละคร อย่างที่เคยบอกไปในบทความที่สอง งานเขียนเป็นศิลปะแขนงนึงซึ่งละเอียดอ่อนมากๆ การบรรยายไปเลยว่าฉันชื่ออะไร มีนิสัยอย่างไร เพราะอะไร 'ฉัน' ถึงเป็นแบบนั้น การบรรยายไปเลยจะทำให้คนอ่านรู้สึกว่าผู้เขียนหรือตัวละครกำลังดูถูก ที่สำคัญที่สุด...งานศิลปะต้องการความรัก เวลาและความพิถีพิถันในการตัดสินใจของไรท์เตอร์ อยากให้ไรท์เตอร์ลองใช้เวลากับตัวละคร อยู่กับมันจนรักมัน อยู่กับมันจนไรท์เตอร์ได้ยินเสียงของมัน อยู่จนเข้าใจว่าอะไร ทำไมและเพราะอะไร เรื่องต่อมาก็คือเรื่อง Space ค่ะ ไรท์เตอร์ไม่ให้ Space กับคนกับอ่าน ไม่ให้ Space ระหว่างตัวละครกับคนอ่าน และไม่ให้ Space ระหว่างตัวละครตัวที่หนึ่งกับตัวที่สองเลย เราต้องปล่อยให้คนอ่านคิดบ้าง เราต้องปล่อยให้ตัวละครคิดบ้าง (ซึ่งเรื่อง Space นั้นเขียนไว้ในวิจารณ์บทความตอนที่หนึ่งและสอง อยากให้ไรท์เตอร์ลองเข้าไปอ่านดูนะคะ) ต่อมาคือเรื่องการบอกและบรรยายความรู้สึกของตัวละครที่ตัวละครสนทนากันค่ะ ส่วนมากไรท์เตอร์จะใช้คำพูดที่เรียกว่า On the nouse (ไม่แน่ใจว่าเป็นสำนวนนี้หรือเปล่า อันครีเช่จะลองเช็คให้อีกทีนะคะ) นั่นก็คือ คิดอะไรก็บอกออกมาเลย หรือใช้คำพูดเบสิกๆ ว่า “สบายดีมั้ย” “ฉันสบายดี” “หิวข้าวหรือเปล่า” “หิวมากเลย” ซึ่งการบอกสิ่งที่ต้องการออกมาตรงๆ นั้นจะไม่ทำให้เรื่องเดินไปข้างหน้าด้วยความสนุก จะไม่ทำให้เกิดสถานการณ์ จะไม่ทำให้ตัวละครต้องตัดสินใจในสิ่งที่ลำบากใจ และที่สำคัญที่สุด ถ้าหากคนอ่านอ่านเรื่องที่เป็นธรรมดาซึ่งเขาได้บทอยู่ทุกวันแล้วนั้น เขาก็จะรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่เขาต้องอ่านแล้ว บทพูดแบบนี้สามารถหาได้ในชีวิตประจำวัน แต่ถ้าหากไรท์เตอร์ลองปรับสักนิด ลองใช้คำพูดที่ตรงข้ามกับความรู้สึกของตัวละคร ใส่น้ำเสียงผ่านบทบรรยายให้คนอ่านได้รู้ว่ากำลังประชดประชัน ไดอะล็อกประเภทนี้จะช่วยทำให้เรื่องเดินไปข้างหน้าได้อย่างเป็นธรรมชาติค่ะ ต่อมาคือจุดประสงค์ของตัวละคร ไรท์เตอร์ลองอยู่กับนิยายเรื่องนี้ ฟังเสียงของตัวละครดีๆ สิ่งที่เขาต้องการและคนอ่านต้องการนั่นก็คือ พวกเขาต้องการรู้ว่า Want กับ Need ของตัวละครคืออะไร และอะไรที่จะสามารถทำให้เขาไปถึงจุดหรือสิ่งที่เขาต้องการได้ ว่ากันเรื่อง Want และ Need ถึงมันจะมีความหมายที่คล้ายคลึงกัน แต่มันก็ไม่ได้เหมือนกันเลยสักทีเดียว เชื่อว่าไรท์เตอร์เคยมีโอกาสได้เรียนวิชาจิตวิยา (อ่านเจอในนิยายของไรท์เตอร์เลยทำให้อันครีเช่คิดว่าไรท์เตอร์น่าจะเคยมีโอกาสได้เรียนน่ะค่ะ) มีบทนึงในวิชานี้เคยกล่าวไว้เกี่ยวกับ Want กับ Need ของคนเราค่ะ (ที่เป็นสามเหลี่ยมพีรมิด การต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต การต้องการได้รับการยอมรับจากสังคม การต้องการที่พักหรือที่อยู่อาศัยน่ะค่ะ) Want คือสิ่งที่จะทำให้เราสามารถเดินทางไปถึง Need ได้ Need คือความต้องการสูงสุดของตัวละครค่ะ จะขออนุญาติยกตัวอย่าง Want กับ Need ให้ดูนะคะ อยากให้ไรท์เตอร์ลองกลับไปดูหนังเรื่อง Batman ทั้งภาค The dark knight ที่กำกับโดยคริสโตเฟอร์ โนแลนด์ค่ะ Need ของ Batman คือเขาต้องการที่จะครองเมืองนี้และทำเมืองนี้เป็นไปในแบบที่เขาต้องการ (คือทำให้เมืองขาวสะอาด) ในขณะที่ตัวร้ายของเรื่องนั่นก็คือ Joker นั้นมี Need ที่เหมือนกับ Batman นั่นก็คือการได้ครองเมืองนี้และทำให้เมืองนี้กลายเป็นแบบที่เขาต้องการ (คือทำให้เกิดความวุ่นวายค่ะ) และเมื่อ Need ของเขาทั้งสองคนสวนทางกันจึงทำให้ตัวละครทั้งสองเรื่องต้องมาต่อสู่กัน เพราะฉะนั้น Want ทั้งสองคนก็ต้องเป็นการกำจัดซึ่งกันและกันเพื่อให้ได้ครองเมืองนี้ (Need) ที่เล่าให้ฟังไม่ใช่จะให้ไรท์เตอร์เปลี่ยนแนวไปเขียนนิยายแนว Batman ฟาดฟันกับ Joker นะคะ แต่หนังแอ็กชั่นสามารถสังเกต Need และ Want ง่ายกว่าหนังแนวอื่นค่ะ ไรท์เตอร์น่าจะสร้าง Need และ Want ของตัวละครให้ชัดเจน ให้หนักแน่นและแน่นอนเพื่อจะให้เนื้อเรื่องเดินไปในทิศทางเดียวกัน เพราะถึงจะดูว่าเนื้อเรื่องของไรท์เตอร์ไปในทิศทางเดียวกันก็จริงอยู่ แต่ในบางจุดยังคงเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่นะคะ การให้ Back Story ของตัวละคร (อีกครั้ง) ไรท์เตอร์ไม่ได้ใช้ความสามารถ ความถนัดหรือสิ่งที่ตัวละครเข้ามาช่วยเลย อย่างเช่นตัวพระเอกเรียนภาควิชาภาพยนตร์ ไรท์เตอร์อุตส่าให้เขาเป็นนักศึกษาภาพยนตร์แล้ว น่าจะดึงจุดนี้เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินเรื่องนะคะ เมื่อกลับขึ้นไปดูข้อความด้านบนจะรู้สึกได้เลยว่าเป็นบทวิจารณ์ที่ยาวมากจริงๆ แต่ตัวอันครีเช่เองก็หวังอย่างสุดซึ้งว่าไรท์เตอร์จะสามารถก้าวขึ้นไปเป็นนักเขียนที่ดีในอนาคต อันครีเช่ไม่มีอะไรจะให้ไรท์เตอร์ ถ้าจะมีก็มีเพียงแต่ความจริงใจเท่านั้น อันครีเช่ขออนุญาตติดตามผลงานของไรท์เตอร์และเป็นกำลังใจต่อไป หวังว่าบทวิจารณ์ของอันครีเช่จะสามารถช่วยให้ไรท์เตอร์ก้าวหน้าในเส้นทางศิลปะสายนี้นะคะ ขอบคุณสำหรับความไว้ใจที่ตัวไรท์เตอร์มีให้กับอันครีเช่ค่ะ **อย่าลืมคอมเมนท์หรือแสดงความคิดเห็นหลังอ่านบทวิจารณ์ ทั้งนี้ตัวอันครีเช่จะได้เช็คฟีตแบ็กจากไรท์เตอร์เพื่อปรับปรุงบทวิจารณ์ต่อๆ ไปค่ะ อ่านน้อยลง
UNCRECHE ♡ | 23 ธ.ค. 53
18
2
ความคิดเห็น