##คำอธิบายว่าทำไมถึงเล่นไฮโลแล้วหมดตัว## - ##คำอธิบายว่าทำไมถึงเล่นไฮโลแล้วหมดตัว## นิยาย ##คำอธิบายว่าทำไมถึงเล่นไฮโลแล้วหมดตัว## : Dek-D.com - Writer

    ##คำอธิบายว่าทำไมถึงเล่นไฮโลแล้วหมดตัว##

    ความน่าจะเป็นทางคณิตศาสตร์ กับโชคคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกัน

    ผู้เข้าชมรวม

    2,614

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    22

    ผู้เข้าชมรวม


    2.61K

    ความคิดเห็น


    1

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  17 มี.ค. 49 / 18:17 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ##คำอธิบายว่าทำไมถึงเล่นไฮโลแล้วหมดตัว##
      ....ความน่าจะเป็น....
      เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า probability(พรอบ'อะบิล'ลิที )
      มักเขียนย่อด้วยตัว p เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากเราใช้มันทั้งรู้ตัวและ
      ไม่รู้ตัวและใช้มันวันละหลายๆครั้ง ด้วยเราต้องเสี่ยงอยู่ตลอดเวลาจะ
      ชอบหรือไม่ชอบเสี่ยงก็ต้องใช้ เช่นออกจากบ้านวันนี้ฝนจะตกหรือไม่ตก
      เมื่อคนเราเสี่ยงก็ต้องคิดถึงเรื่องความน่าจะเป็นเข้ามาประกอบเพื่อการ
      ตัดสินใจเพื่อให้เสี่ยงน้อยลงหรือไม่เสี่ยงเลย อย่างเรื่องฝนจะตกไม่ตก
      เวลาออกจากบ้านเราก็จะดูท้องฟ้าถ้าเห็นเมฆก้อนใหญ่เป็นสีดำตั้งเค้าว่า
      ฝนจะตกก็ต้องเดาว่า..ฝนน่าจะตก..คนเราก็ต้องคิดต่อไปว่าแล้ว
      ฝนจะตกสักกี่เปอร์เซ็นต์ถ้าคาดว่าฝนจะตกถึง ๘๐ เปอร์เซ็นต์หรือ๐.๘
      ๘๐%หรือ๐.๘ ก็คือค่าของความน่าจะเป็น เมื่อเราคิดว่าความน่าจะ
      เป็นมีค่าสูงที่ฝนจะตกเราก็จะตัดสินใจที่จะเอาร่มติดตัวไปด้วย
      ....ความน่าจะเป็นนั้นคืออย่างไร....
      สมมติท่านเอาเหรียญบาทมาหนึ่งเหรียญแล้วโยนขึ้นให้ตกลงยังพื้นเรียบ
      แล้วตั้งคำถามว่าเมื่อเหรียญตกถึงพื้นแล้วจะออกหัวหรือก้อยแบบเดียวกับ
      ที่คาดว่าฝนจะตกหรือไม่ตก เมื่อโยนเหรียญขึ้นไปแล้วเมื่อยังไม่ตกถึงพื้น
      ก็ไม่มีใครตอบได้ว่าจะออกหัวหรือออกก้อย ที่ตอบออกมาจะเป็นเรื่องเดา
       ทั้งหมด มีทางเดียวที่จะตอบได้ดีที่สุดก็เพียงแค่ความน่าจะเป็นอยู่สอง
      อย่างคือไม่ออกหัวก็ออกก้อย โอกาสที่จะออกมามีเท่าๆกันคือ ๕๐-๕๐%
      หรือ p = ๐.๕ เท่านั้น
      เปลี่ยนใหม่เป็นเอาเหรียญสองเหรียญมาโยนขึ้นพร้อมๆกัน การขึ้นหน้า
      ของเหรียญมีความน่าจะเป็นถึงสามอย่างคือ หัว-หัว,ก้อย-ก้อย,
      หัว-ก้อย ความน่าจะเป็นแต่ละอย่างไม่เป็น ๕๐-๕๐ อย่างการโยน
      เหรียญเดียวเสียแล้ว ด้วยมีความน่าจะเป็นถึงสามความน่าจะเป็น
      ....วิชาสถิติ....
      เกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลยิ่งมากๆมากเท่าไรยิ่งแม่นยำในการ
      ทำนายมากขึ้นเท่านั้น วิชาสถิติไม่เกี่ยวกับข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งแต่เกี่ยว
      กับข้อมูลจำนวนมาก การทอดลูกเต๋าเป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบายความ
      น่าจะเป็นด้วยได้ข้อมูลมากใช้เวลาน้อยทำให้เข้าใจง่าย
      ..ความน่าจะเป็นในการทอดลูกเต๋า..
      ลูกเต๋าหนึ่งลูกเมื่อทอดออกมาแล้ว แต้มที่จะออกก็มีหกอย่างคือ ๑-๒-
      ๓-๔-๕-๖ แต้ม ถ้าเอาลูกเต๋าสองลูกมาทอดแต้มรวมทั้งสองหน้าที่จะมี
      ออกมาจะมีถึง ๑๑ อย่างเริ่มแต่ ๒ แต้มถึง ๑๒ แต้ม
      ได้มีการทดลองทอดลูกเต๋าจริงจำนวน ๖๐ ครั้งและ ๖๐๐๐ ครั้ง
      การทอดลูกเต๋า ๖๐ ครั้ง โอกาสที่แต้ม ๗ และแต้ม ๙ จะมีความน่าจะเป็น
      ที่จะออกมามากที่สุด มีความถี่สูงที่สุดเท่ากับ ๑๐ ครั้ง
      การทอดลูกเต๋า ๖๐๐๐ ครั้ง แต้ม ๗ มีความน่าจะเป็นที่จะออกมามากที่สุด
      มีความถี่สูงสุดเท่ากับ ๑๐๑๒ ครั้ง
      การทดลองทั้งสองพบว่าจำนวนครั้งความถี่ของความน่าจะเป็นต่างๆที่อยู่
      ทั้งสองข้างของ ๗ ก็ลดจำนวนที่เกิดลงทั้งสองข้างมาทางหัวทายคล้ายไหล่
      ภูเขาโดยมีเลข ๗ เป็นยอดภูเขา
      ....การพนัน ความน่าจะเป็น กับ โชค....
      ถ้าเขย่าลูกเต๋าสองลูกให้คนรอบวงแทง คนแทงที่ได้อ่านบทความนี้ก็ต้อง
      คิดว่าโอกาสความน่าจะเป็นสูงที่สุดที่จะออกมาคือ ๗ ถ้าแทง ๗ โอกาส
      แทงถูกนั้นจะมากกว่าการแทงแต้มอื่นๆ
      แต่เมื่อแทง ๗ ไปแล้ว เจ้ามือเปิดออกมาแล้วลูกเต๋ากลับไปขึ้นหน้าอื่นเจ้า
      มือก็กินเรียบ ความน่าจะเป็นก็กลายเป็นความไม่น่าจะเป็นไปเสียแล้ว ก็
      อย่าไปเสียใจครับ เพราะความน่าจะเป็นกับการแทงการพนันมันคนละ
      ประเด็นกัน ด้วยความน่าจะเป็นไม่มีใครดลบันดาลได้ เป็นไปตาม
      ธรรมชาติ มนุษย์ยังทำอะไรไม่ได้ทุกอย่าง อย่างที่ทำไม่ได้นั้นมอบ
      หมายให้เป็นเรื่อง..โชค..ก็คงได้เช่นคุณโชคร้ายไปเจอลูกเต๋าถ่วงจากเจ้ามือ
      ขี้โกงเขา
      แต่ถ้าการแจกแจงความถี่จากข้อมูลที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมันไม่มี
      ใครไปแทรกแซงแล้วมันจะมีแนวโน้มของความถี่ไปอยู่ตรงกลางกลุ่ม
      ของการแจกแจงมากกว่าบริเวณอื่นเสมอ

      คัดลอกจาก บทความคนเก่าเล่าเรื่อง โดย บุญถึง แน่นหนา
      หนังสือ อัพเดท ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๒๒๐ มกราคม ๒๕๔๙

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×