คำสาปฟาโรห์
ใครบังอาจขุดสุสานต้องมีอันเป็นไป ท่ามกลางดึกอันเงียบสงัดที่บ้านในชนบทประเทศอังกฤษ สุนัขตัวหนึ่งได้หอนอย่างโหยหวน เสียงของมันทำให้ทุกคนในบ้านนั้นตื่นขึ้นมาด้วยความเสียวสยองขนลุกไปตาม ๆ กัน มันเฝ้าแต่หอนจนเหนื่อยอ่อนล้มฟุบขาดใจตายไปอย่างเวทนา เหตุการณ์ประหลาดนี้เกินขึ้นที่บ้านของนักโบราณคดีสมัครเล่น ลอร์ดคาร์นาร์วอน อายุ 57 ปี ที่แฮมไชร์ ในเวลาเดียวกับที่สุนัขส่งเสียงหอนนั้น ห่างออกไปหลายพันไมล์ ลอร์ดคาร์นาร์วอน เองกำลังอยู่ในขั้นโคม่า ทุรนทุรายใกล้จะตายอยู่ในห้องโรงแรมคอนติเนตอล นครไคโร ประเทศอียิปต์ นี่คือที่มาจากอาถรรพ์คำสาปแช่งของฟาโรห์ ยุวกษัตริย์ตุตันคาเมน แห่งอียิปต์โบราณ ได้สำแดงอิทธิฤทธิ์คร่า 2 ชีวิตแรก สุนัขและเจ้าของ แล้วติดตามต่อมาด้วยความตายอย่างลึกลับอีกหลายชีวิต ด้วยคำสาปแช่งนี้ ลอร์ดคาร์นาร์วอน เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอียิปต์โบราณได้ทราบดีมาก่อนแล้ว ในระหว่างที่เขาวางแผนการที่จะขุดค้นหาขุมสมบัติในสุสานฟาโรห์ ขณะที่เขายังอยู่อังกฤษ ได้รับคำเตือนจากเคานต์ฮามอน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องไอยคุปต์อีกคนหนี่งว่า " ท่านลอร์ดไม่ควรที่จะเข้าไปในสุสานฟาโรห์ เพราะจะพบกับความวิบัติ ถ้าหากยังขัดขืนไม่เชื่อฟังจะได้รับความทุกข์ทรมานจากความเจ็บไข้ และไม่อาจรักษาได้ ความตายจะมาหาท่านเองใน อียิปต์" ลอร์ดคาร์นาร์วอน ก็มีความวิตกกังวลในเรื่องนี้อย่างยิ่ง เขาได้ไปหารือกับโหรที่มีชื่อเสียงถึง 2 ครั้ง ซึ่งแต่ละครั้งเขาก็ได้รับคำทำนายว่า จะพบกับความตายอย่างลึกลับ แม้ว่าจะมีความวิตกกังวลในเพียงใด ลอร์ดคาร์นาร์วอน ได้เดินหน้าที่จะขุดปิระมิดของฟาโรห์ต่อไป เพราะเขาใฝ่ฝันและได้รับแรงดลใจมาหลายปีแล้ว เมื่อเขาเดินทางไปถึงอียิปต์ คำสาปแช่งของฟาโรห์เริ่มปรากฎแววให้เห็น นับตั้งแต่คนงานพื้นเมืองที่จ้างให้มาขุดสุสานใต้ปิระมิดที่ลูซอร์ตื่นตระหนก ล้มเจ็บและหนีหายไป อาร์ธอร์ ไวกัลล์ เพื่อนร่วมทีมที่ใกล้ชิดของเขาคนหนึ่ง ได้เกิดหวาดหวั่นขึ้นมาถึงกับกล่าวว่า "ถ้าหากคาร์นาร์วอนยังคงดื้อดึงขุดสุสานต่อไป ชีวิตเขาจะไม่ยืนยาว" ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 คาร์นาร์วอน และคณะได้ขุดปิระมิดเข้าไปถึงสุสานห้องที่ไว้พระศพของฟาโรห์ตุตันคาเมน ภายในนั้น ลอร์ดคาร์นาร์วอน และ โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ คู่หุชาวอเมริกันได้พบทรัพย์สมบัติจำนวนมากทั้งเพชรนิลจินดา รวมทั้งโลงทองคำที่บรรจุมัมมี่ของพระศพยุวกษัตริย์ เหนือสุสานนี้มีข้อความอักษรอียิปต์โบราณซึ่งแปลได้ว่า "มัจจุราชจะมาสู่ผู้ซึ่งรบกวนการบรรทมของฟาโรห์" สองเดือนต่อมาลอร์ดคาร์นาร์วอน ซึ่งตอนนั้นมีชื่อเสียงขึ้นมาในการค้นพบขุมทรัพย์ ได้ตื่นขึ้นภายในห้องที่โรงแรมคอนติเนตอลและกล่าวว่า "เหมือนกับอยู่ในขุมนรก" ซึ่งเป็นจังหวะที่ลูกชายของเขาเข้ามาในห้องนั้นพอดี หลังจากนั้น ลอร์ดคาร์นาร์วอน ก้ไม่ได้สติ คืนนั้นเอง ความตายได้มาคร่าชีวิตเขาไป ลูกชายของเขาได้เล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้นว่า "แสงสว่างเหมือนดูเหมือนจะเรื่องรุ่งขึ้นไปทั่วนครไคโร ผมต้องจุดเทียนแล้วสวดมนต์" ความตายของ ลอร์ดคาร์นาร์วอน มาจากถูกยุงกัดทำให้เป็นนิวมอเนีย แต่ที่น่าประหลาดอย่างยิ่งที่มัมมี่ของยุวกษัตริย์ฟาโรห์ก็มีรอยยุงกัดที่แก้มซ้าย ซึ่งเป็นจุดเดียวกับที่ ลอร์ดคาร์นาร์วอน ถูกยุงกัดเหมือนกัน หลังจากนั้นไม่นานนัก ความตายก็มาเยือนที่โรงแรมคอนติเนตอลอีก อาร์เธอร์ แมค นักโบราณคดีอเมริกันซึ่งร่วมทีมกันขุดสุสานครั้งนี้ด้วย ได้อุทธรณ์ว่าเขารู้สึกเหนื่อยอ่อน แล้วทันใดนั้นก็เข้าขั้นโคม่าเขาหมดลมก่อนที่หมอจะมาถึง และทางแพทย์ก็ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเขาตายด้วยโรคอะไร ความตายได้มาเยือนผู้เชี่ยวชาญไอยคุปต์อีกคนหนึ่ง เขาคือ จอร์จ กูล์ด เพื่อนสนิทของคาร์นาร์วอน ซึ่งได้รีบเดินทางมาอียิปต์หลังจากได้ทราบข่าวมาณกรรมของคาร์นาร์วอน กูลด์ ได้เดินทางไปที่สุสานของฟาโรห์ ในวันต่อมาเขาล้มฟุบลงด้วยเป็นไข้ขึ้นสูง อีก 12 ชั่วโมงต่อมาเขาถึงแก่กรรม อาร์ซิบัลด์ เรียด นักรังสีวิทยาที่ฉายเอ็กซ์เรย์มัมมี่พระศพฟาโรห์ได้ถูกส่งตัวกลับอังกฤษเพราะเกินอ่อ
นเปลี้ยไร้เรี่ยวแรงขึ้นมาเฉย ๆ แล้วก็ถึงแก่ความตายในเวลาต่อมา ริชาร์ด เบธเฮลล์ เลขาส่วนตัว คาร์นาร์วอน ในการขุดค้นสุสานครั้งนี้พบว่านอนตายอยู่บนเตียงเนื่องนากหัวใจวาย โจเอล วูล ซึ่งเป็นแขกเชิญชุดแรกที่ไปดูสุสาน ตายในเวลาถัดมาไม่นานนัก ด้วยไข้ลึกลับที่แพทย์ไม่สามารถวินิจฉัยได้ ภายในเวลา 6 ปีที่มีการขุดสุสานฟาโรห์ตุตันคาเมน ผุ้ที่ได้ร่วมขุดค้นได้ตายไปถึง 12 คน และภายใน 7 ปีมีเพียง 2 คนเท่านั้นที่ร่วมในการขุดมีชีวิตอยู่ นอกจากนี้ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือใกล้ชิดผู้ที่ขุดสุสานจำนวน เกือบ 22 คน ได้ถึงแก่กรรมในเวลาไม่สมควร เช่น เลดี้คาร์นาร์วอน อีกคนหนึ่งทีฆ่าตัวตายด้วย เนื่องจากเกิดเป็นบ้าขึ้นมา มีผู้เดียวที่ร่วมเป็นหัวหน้าในการขุดสุสานฟาโรห์ที่โชคดีมีชีวิตอยู่คือ โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ แต่ก็มาตายตามธรรมชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2482 แต่ถึงกระนั้นคำสาปแช่งของฟาโรห์ก็ยังสำแดงอิทธิฤทธิ์ในปีต่อ ๆ มาอีด ในปี พ.ศ. 2509 โมหะเม็ด อิบราฮัม ผู้อำนวยการพิพิภัณฑ์โบราณของอียิปต์ ซึ่งทางรัฐบาลของเขาได้สั่งให้นักทรัพย์สมบัติของฟาโรห์ ตุตันคาเมนไป จัดแสดงที่ปารีส ฝรั่งเศส เขาได้คัดค้านคำสั่งของรัฐบาล และเขาฝันว่าเขาได้เผชิญกับภยันตราย ถ้าหากทรัพย์สมบัติของฟาโรห์ถูกส่งออกนอกอียิปต์ หลังจากหารือกับเจ้าหน้าที่รัฐบาลและคัดค้านไม่สำเร็จแล้ว ระหว่างที่เขาเดินทางกลับก็ถูกรถชนเสียชีวิต 3 ปีต่อมา ริชาร์ด อดัมสัน วัย 70 ปี ซึ่งเคยเป็นองค์รักษ์ให้แก่ ลอร์ดคาร์นาร์วอน ในการขุดสุสานฟาโรห์และยังมีชีวิตอยู่รอดเหลืออยู่คนเดียว ได้ให้สัมภาษณ์ทีวีอังกฤษถึงอิทธิฤทธิ์คำสาปแช่ง เขากล่าวว่า "ผมไม่เชื่อในคำสาปแช่ง" แต่หลังจากเดินออกจากสถานนีโทรทัศน์นั่งแท็กซี่กลับบ้าน ก็เกิดอุบัติเหตุเหวี่ยงเขาตกลงจากรถ และมีรถบรรทุกคันหนึ่งแล่นเฉียดหัวเขาไปแบบเส้นยาแดงผ่าแปดเท่านั้น ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ที่อดัมสันได้ถูกฤทธิ์ของของคำสาปแช่งครั้งแรกเมื่อเขา กล่าวว่าไม่เชื่อคำสาปแช่ง เมียเขาตายภายใน 24 ชั่วโมง ครั้งต่อมา ลูกเขาสันหลังหักจากเครื่องบินตก
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น