โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย - โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย นิยาย โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย : Dek-D.com - Writer

    โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย

    โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย(Ayutthaya Witthayalai School)

    ผู้เข้าชมรวม

    4,031

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    28

    ผู้เข้าชมรวม


    4.03K

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    2
    หมวด :  อื่นๆ
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  10 ก.ค. 53 / 21:25 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย(Ayutthaya Witthayalai School)เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดทำการสอนตั้งแต่พุทธศักราช 2448 โรงเรียนได้พัฒนาการจัดการศึกษา อาคารสถานที่และบุคลากรอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและชุมชน

    ปัจจุบันโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย เปิดสอนทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยเปิดรับนักเรียนหญิงเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปีการศึกษา 2515 และรับนักเรียนหญิงเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในปีการศึกษา 2538 ซึ่งในปัจจุบันเป็นการจัดการศึกษาแบบสหศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับชีวิตความ เป็นอยู่ของสังคมปัจจุบันตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ


    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      อักษรย่อ อ.ย.ว. / A.Y.W.
      รหัสสถานศึกษา 06140101
      วันสถาปนา มีนาคม พ.ศ. 2448
      สังกัด สพฐ.
      เว็บไซต์ http://www.ayw.ac.th

      ประวัติ ของโรงเรียน

      ยุค ก่อตั้ง(ยุคสถาปนาโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า)

      พ.ศ. 2448- พ.ศ. 2484 ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศพระบรมราชโองการจัดตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นตามมณฑลต่าง ๆ โดยทั่วกัน ยึดแบบอย่างของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยโรงเรียน หลวงแห่งแรกของประเทศไทย (จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2425)และโรงเรียนวัดมหรรณพาราม โรงเรียนหลวงแห่งแรกของราษฎร (จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2427) ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลในพระองค์ที่ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง โรงเรียนหลวงขึ้นนี้ เพราะพระองค์มีพระราชปณิธานอันยิ่งใหญ่ ดังปรากฏในพระราชหัตถเลขา ความตอนหนึ่งว่า

      “เจ้านายราชตระกูล ตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นไป จนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุด จะได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึงขอบอกได้ว่าการเล่าเรียนในบ้านเมืองนี้ จะเป็นข้อสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันอุตส่าห์จัดให้เจริญขึ้นให้จงได้”

      พระบรมราชโองการฯ จัดตั้งโรงเรียนหลวงตามมณฑล ประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2441


      ซึ่งในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้จัดการปฏิรูปการ ปกครองทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดให้จัดการปกครองแบบเทศาภิบาลขึ้น โดยให้รวมเมืองที่อยู่ใกล้เคียงกัน 3-4 เมือง ขึ้นเป็นมณฑล มีข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครอง โดยในปี พ.ศ. 2438 ทรงโปรดให้จัดตั้งมณฑลกรุงเก่าขึ้น ประกอบด้วยหัวเมืองต่าง ๆ คือ กรุงเก่าหรืออยุธยา อ่างทอง สระบุรี ลพบุรี พรหมบุรี อินทร์บุรี และสิงห์บุรี โดยมี พระยาโบราณบุรานุรักษ์ เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลประจำมณฑล และได้สนองพระบรมราชโองการของพระองค์ท่านจัดตั้งโรงเรียนประจำมณฑลขึ้นใน ร.ศ.123หรือปีพ.ศ. 2448โดยในระยะแรกใช้กุฏิพระ และศาลาวัดและบริเวณใกล้เคียงกับวัดเสนาสนาราม หลังพระราชวังจันทรเกษม เป็นสถานที่ทำการเรียนการสอน โดยเรียกชื่อว่า "โรงเรียน ตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า"

      ครั้นถึงปีพ.ศ. 2450กระทรวงธรรมการเห็นว่าประชาชนนิยมส่งบุตรหลานมาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวน มากจนทำให้สถานที่เดิมคับแคบ จึงได้จัดสร้างอาคารเรียนแบบประยุกต์ครึ่งตึกครึ่งไม้ ลักษณะถาวร2ชั้นแบบ6ห้องเรียนและห้องประชุมอีก1ห้อง ประชาชนในมณฑลกรุงเก่าขณะนั้นเรียกชื่อโรงเรียนกันว่า "โรงเรียนหลังวัง"

      ซึ่งตึกที่กระทรวงธรรมการได้สร้างนั้นต่อมาโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ขอใช้ ตึกนี้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนเพราะโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยย้ายมาอยู่ในสถาน ที่ปัจจุบัน

      เนื่องจากมณฑลกรุงเก่า ได้รับการยกย่องให้เป็นหัวเมืองเอกอยู่ตลอดเวลา ฉะนั้นโรงเรียนจึงอยู่ในความสนใจของผู้ใหญ่และเจ้านายชั้นสูงตลอดมา จนทำให้โรงเรียนมีมาตรฐานการศึกษาอบรมสูงสมฐานะเมื่อ ร.ศ.127 และในปีต่อๆมานักเรียนของโรงเรียนทุกคนต้องไป ทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ทุกๆปี แม้ภายหลังจะยกเลิกเสีย แต่ก็ย่อมแสดงถึงฐานะของโรงเรียนเป็นอย่างดีครู-อาจารย์และนักเรียนเก่าๆก็ ล้วนแต่เป็นผู้มีวิทยาคุณและเกียรติอันควรคารวะ ทั้งสิ้น

      ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 ทางราชการได้ยุบเลิกมณฑลต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีเข้ากับเมืองสิงห์บุรี ตั้งที่ว่าการมณฑลที่อยุธยา ซึ่งก็คือพระราชวังจันทรเกษม ในส่วนของตึกที่ทำการภาค (อาคารมหาดไทย)และพระที่นั่งพิมานรัตยาแต่อาคารหลังอื่นๆ ในพระราชวัง ทางโรงเรียนก็ได้ขอใช้ทำการเรียนการสอนต่อ แต่ก็ส่งผลทำให้สถานที่เล่าเรียนของโรงเรียนมีพื้นที่น้อยลง และในปี พ.ศ. 2469พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อจาก "มณฑลกรุงเก่า" เป็น "มณฑลอยุธยา" ซึ่งจากการจัดตั้งมณฑลอยุธยามีผลให้อยุธยามีความสำคัญทางการบริหารการปกครอง มากขึ้น การสร้างสิ่งสาธารณูปโภคหลายอย่างมีผลต่อการพัฒนาเมืองอยุธยาในเวลาต่อมา[1]

      จนเมื่อยกเลิกการปกครองระบบเทศาภิบาลตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยระเบียบราชการบริหารส่วนอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2467 เปลี่ยนให้มณฑลต่างๆนั้นเลื่อนฐานะเป็นจังหวัดแต่อยุธยายังคงเป็นมณฑล เทศาภิบาลอยู่ จนกระทั่งภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 อยุธยาจึงเปลี่ยนฐานะเป็นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน และก็เป็นผลทำให้โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่าเปลี่ยนชื่อมาเป็น โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ดังปัจจุบัน

      ยุค ปัจจุบัน(ยุคอาคารพระราชทาน)

      พ.ศ. 2484 – ปัจจุบัน หลังจากที่เปลี่ยนชื่อโรงเรียนจาก โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่า มาเป็น โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยแล้วนั้น การเรียนการสอนก็เป็นไปอย่างราบรื่นและได้เจริญก้าวหน้ามาโดยตลอด นับจากปีพ.ศ. 2448 จนถึงปีพ.ศ. 2483 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยมีอายุถึง35ปี ที่ใช้อาคารเรียนอยู่ด้านหลังพระราชวังจันทรเกษม จนประชาชน ชาวบ้านเรียกกันว่า โรงเรียนหลังวัง จนมีศิษย์เก่าสำเร็จการศึกษาเป็นจำนวนมาก และซึ่งศิษย์เก่ารุ่นแรกๆเหล่านี้เป็นบุคคลที่มีเกียรติอันควรคารวะ อาทิเช่น


      ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม รัฐบุรุษอาวุโส อดีตนายกรัฐมนตรี3สมัย และยังเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เข้าศึกษาใน ร.ศ.131หรือพ.ศ. 2455 เลขประจำตัว791


      พลเรือตรี หลวงธำรง นาวาสวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าศึกษาใน ร.ศ.131หรือพ.ศ. 2455เลขประจำตัว 640


      พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ อดีตประธานองคมนตรี


      นายวิโรจน์ กมลพันธ์อดีตธรรมการจังหวัดและอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงศึกษาธิการเลขประจำตัว 684 ฯลฯ


      ชื่อเสียงและประวัติศาสตร์อันยาวนานของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และรวมทั้งครูบาอาจารย์ที่ทรงคุณวุฒิอีกมากมายหลายท่าน ทำให้ประชาชนในมณฑลกรุงเก่าขณะนั้น ให้การยอมรับและพร้อมใจกันส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษาเป็นจำนวนมากยิ่งขึ้น ทุกๆปีจนสถานที่นั้น คับแคบลงทุกปี

      จนกระทั่งเมื่อ ดร.ปรีดี พนมยงค์ นักเรียนเก่าอยุธยาวิทยาลัย ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2484) ได้ตั้งปณิธานที่จะใช้เครื่องมือทางการคลังสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติ สร้างความเป็นธรรมและความสุขสมบูรณ์แก่ราษฎร และได้มีแผนที่จะปรับปรุงเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา และได้เล็งเห็นว่า สถานที่ตั้งของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย แต่เดิมนั้นคับแคบ ไม่มีโอกาสขยายได้อีกเท่าที่ควร ซึ่งโดยความหวังของท่านดร.ปรีดีนั้น มุ่งหวังที่จะให้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีมหาวิทยาลัยด้วย


      ฉะนั้น เมื่อนายวิโรจน์ กมลพันธ์ นักเรียนเก่าอยุธยาวิทยาลัยซึ่งดำรงตำแหน่งธรรมการจังหวัดในขณะนั้น ได้ปรึกษาหารือกัน ในเรื่องการย้ายสถานที่ตั้งของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ดร.ปรีดี พนมยงค์มีความเห็นชอบด้วย จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราช ทรัพย์ส่วนพระองค์ จาก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชการที่8 ซึ่งได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณจากพระองค์ท่าน บริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1แสนบาท และได้ทรงมีพระราชดำรัสตรัสสั่ง ให้จัดสร้าง อาคารตึกถาวร2ชั้น เป็นสถานศึกษาโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยที่แข็งแรง สง่างามพร้อมกันนี้ยังได้จัดสร้าง หอประชุมพระราชทานอีก1หลัง และบ้านพักครูอีก 20 หลัง''


      จากนั้นดร.ปรีดี พนมยงค์ ได้มอบหมายให้ หลวงบริหารชนบท ข้าหลวงประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้พิจารณาเลือกสถานที่ ซึ่งนับได้ว่าเป็นโชคดีของโรงเรียน ที่จะได้ไปอยู่ในที่ที่เหมาะสมมาก โดยหลวงบริหารชนบท ได้เสนอแผนการก่อสร้างสนองความประสงค์ของท่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้รับการเห็นชอบ เพราะเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เป็นโรงเรียนรัฐบาลของจังหวัด และนอกจากนี้ยังสามารถขยายบริเวณออกไปให้กว้างขวางได้อีก ซึ่งความหวังของท่านดร.ปรีดีนั้น มุ่งหวังที่จะให้ มี มหาวิทยาลัยเกิดขึ้นด้วยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในอนาคต[1]


      หลวงบริหารชนบทได้ให้ข้อคิดเห็นไว้ว่า"สถานที่ตั้งของโรงเรียนนี้เหมาะสมมาก โดยอยู่จุดกึ่งกลางของเกาะเมองและมีบริเวณสภาพแวดล้อมที่สวยงาม มีปูชนียสถาน ซึ่งเหมาะสมกับสถานศึกษา ด้านหน้าของโรงเรียนก็เป็นที่ตั้งของ สวนสาธารณะบึงพระราม ด้านหลังก็เป็นถนนที่ตัดตรงมาจากกรุงเทพฯ มี สถานที่ราชการสองฝั่งถนน ซึ่งเหมาะสมในทุกๆด้าน"

      งานก่อสร้างได้เริ่มขึ้นเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2482แล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2483 โดยมีหลวงบริหารชนบท เป็นกรรมการควบคุมการก่อสร้าง พร้อมกันนี้ยังได้ควบคุมงานก่อสร้างหอประชุมพระราชทานอีก1หลัง และบ้านพักครูอีก 20 หลังด้วย และอาคารเรียนนั้นได้ทำพิธีเปิดอาคารเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2484 และเนื่องจากอาคารหลังนี้สร้างขึ้นจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทีได้ทรงพระ ราชทานให้สร้าง ครู-อาจารย์และนักเรียนตั้งแต่บัดนั้นจึงเรียกว่า “อาคารพระราชทาน”

      และเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2534 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน ชื่ออาคารนามว่า “สิริมงคลานันท์” ยังความปลาบปลื้มมาแก่ ชาวอยุธยาวิทยาลัยอีกครั้ง ที่ได้รับพระเมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนาม “สิริมงคลานันท์”นี้ให้มาตราบเท่าทุกวันนี้

      ด้วยพระบารมีปกเกล้าฯ ของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชการที่8 ที่ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์นั้น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ยิ่งกว่าจะหาที่เปรียบได้ ยังความปลาบปลื้มแก่พวกเราชาวอยุธยาวิทยาลัยและชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอย่างยิ่ง การเรียนการสอนของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยดำเนินไปอย่างราบรื่นและก้าวหน้า ขึ้นตามลำดับ


      ครั้นถึงปี พ.ศ. 2486-2487ประเทศไทยต้องประสบปัญหาภัยคุกคามจากสงครามโลกครั้งที่2 อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น และผลกระทบจากภัยสงครามก็ทำให้โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยจำเป็นต้องรับภาระด้วย กล่าวคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรวมทั้งขออาศัย ใช้สถานที่เรียนเป็นการลี้ภัยชั่วคราว จึงทำให้นักเรียนโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยมีการเรียน กันอย่างกระท่อนกระแท่น ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ครู-อาจารย์และนักเรียนก็เต็มใจและยินดี เพราะถือได้ว่าได้ให้ความช่วยเหลือเอื้ออารี ที่ยิ่งใหญ่แก่เพื่อนร่วมชาติและแก่สถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของไทยอันสูงส่ง[2]

      เมื่อชาติบ้านเมืองกลับคืนสู่สภาวะปกติในยุคต่อๆมา การเรียนการสอน การศึกษาของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ได้ขยายตัวอย่ารวดเร็ว มีอาคารเรียนถาวรเพิ่มขึ้นอีกหลายอาคาร ภายใต้การบริหารของผู้อำนวยการ ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่อีกหลายท่าน ล้วนเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถมาก จำนวนครูและนักเรียนก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เทคนิคและวิธีการสอนรูปแบบต่างๆตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆจึงถูกนำมาบรรจุเข้าไว้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน อย่างค่อนข้างพร้อมมูลในโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย...

      สถาน ที่ตั้งของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย

      โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยตั้งอยู่ตรงข้ามกับจวนผู้ว่าราชการจังหวัดพระ นครศรีอยุธยา บนถนนป่าโทน ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 สถานที่ตั้งของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยในปัจจุบันนั้นตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรี อยุธยา โดยบริเวณนี้ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนั้นได้เคยเป็นวัดมาก่อน พื้นที่ทั้งหมด 84ไร่ เศษนั้น มีโบราณสถานที่เป็นวัดรวม5แห่ง ดังนี้

      1.วัดสะพานนาก อยู่บริเวณ บ้านพักครูหลังอาคารเอนกประสงค์

      2.วัดแม่นางมุก อยู่บริเวณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ

      3.วัดฉัตรทัต อยู่บริเวณสมาคมนักเรียนเก่าอยุธยาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

      4.วัดป่าสัก อยู่บริเวณ ศูนย์กีฬาอยุธยาวิทยาลัย

      5.นางโลม อยู่บริเวณ อาคาร19

      ปัจจุบันโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยมีความกว้างทั้งสิ้น 280.64 เมตร ความยาวทั้งสิ้น 538 เมตร ความยาวรอบรั้วโรงเรียนทั้งสิ้น 1569.29 เมตร[2]

      เหตุการณ์ สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้นในโรงเรียน

      เรียงตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ดังนี้

      ปีที่เกิด เหตุการณ์สำคัญ
      พ.ศ. 2448 อาศัยศาลาวัดและกุฎิพระวัดเสนาสนารามเป็นสถานที่ เรียน
      พ.ศ. 2450 กระทรวงธรรมการให้สร้างอาคารเรียนถาวรมี 6 ห้องเรียน ห้องประชุม 1 ห้อง และห้องพักครู 1 ห้อง เมื่อสร้างอาคารเสร็จได้ย้ายนักเรียนชั้นประถมและมัธยมจากวัดเสนาสนารามมา เรียนที่โรงเรียนใหม่ ส่วนชั้นมูลนั้นยังคงอยู่วัดเสนาสนารามตามเดิม
      พ.ศ. 2483 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราช ทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างอาคารเรียนตึก 2 ชั้น หอประชุมและบ้านพักครู ณ สถานที่ปัจจุบันด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 100,000 บาท
      พ.ศ. 2488 เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกอักษรศาสตร์
      พ.ศ. 2504 ยุบมัธยมศึกษาปีที่ 1
      พ.ศ. 2506 สร้างถนนปราการนันท์ปรานี(ภายในโรงเรียน)และ ยุบมัธยมศึกษาปีที่ 3
      พ.ศ. 2507 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสมัครสอบชิงทุน AFS ได้และเดินทางไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ณ สหรัฐอเมริกาและมีนักเรียนรุ่นต่าง ๆ ไปได้รับทุนนี้เกือบทุกปี และได้มอบเครื่องหมาย "ค่าแห่งคุณธรรม" (หรือที่เรียกกันในหมู่คณาจารย์และนักเรียนว่า เหรียญไซน์) แก่นักเรียนเป็นครั้งแรกและดำเนินต่อมาจนถึงปัจจุบัน
      พ.ศ. 2509 สมเด็จพระนางเจ้า สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเปิดงานแสดงศิลปะหัตถกรรมนักเรียน
      พ.ศ. 2513 เริ่มใช้หลักสูตรโรงเรียนมัธยมแบบประสมเป็นครั้งแรก
      พ.ศ. 2514 เดือนธันวาคม เริ่มก่อสร้างอาคารเรียน(ซึ่งทำพิธีเปิดเมื่อ 8 มีนาคม 2516)อาคารที่สร้างได้แก่อาคาร2ชั้น(อาคาร8)1 หลัง อาคารเรียน 3 ชั้น(อาคาร 9)1 หลัง โรงฝึกงาน อาคารเกษตร อาคารพลศึกษาอย่างละ 1 หลัง บ้านพักอาจารย์ใหญ่ บ้านพักครู 13 หลัง และบ้านพักภารโรง 4 หลัง
      พ.ศ. 2515 เริ่มรับนักเรียนหญิงในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และเปิดสอนแผนกศิลปะในมัธยมศึกษาตอนปลาย
      พ.ศ. 2518 เริ่มสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 8
      พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดพระบรมราชานุ สาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 เมื่อวันที่19 กรกฎาคม 2519
      พ.ศ. 2520 สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จฯ มาให้พระราโชวาท ณ หอประชุมพระราชทาน ก่อน เสด็จฯ กลับได้ทรงปลูกต้นพยอมไว้บริเวณด้านหน้าหอประชุมพระราชทานด้วย
      พ.ศ. 2525 สร้างหอประชุม 2
      พ.ศ. 2529 ได้รับรางวัลพระราชทาน โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น ขนาดใหญ่ ประจำปี 2529
      พ.ศ. 2531 จัดสร้างหอพระพุทธรูปประจำโรงเรียนบริจาคโดย ฯพณฯ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักเรียนเก่าอยุธยาวิทยาลัยและอดีตนายกรัฐมนตรี โดยนามของพระพุทธรูปที่ประดิษฐานคือ "พระพุทธปฏิมาวาสนฐารสม์"
      พ.ศ. 2535 ได้รับบริจาคอาคารเรียนพิเศษ "อาคารบุญประเสริฐ" จากพลเอกชาญ บุญประเสริฐ
      พ.ศ. 2536 สร้างอาคาร 324 เสร็จเริยบร้อยด้วยงบประมาณกรมสามัญศึกษาและสำนักพระราชวังอนุญาตให้ใช้ อาคารนี้ว่า "อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษามหาราชินี"
      พ.ศ. 2537 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ เป็นองค์ประธานเปิดแพรคลุมป้ายอาคารพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามอาคารว่า “สิริมงคลานันท์” เมื่อ 11กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ก่อนเสด็จกลับ ได้ทรงปลูกต้นพิกุลไว้ด้าน หน้าอาคาร อเนกประสงค์ที่กำลังก่อสร้างอยู่ด้วย
      พ.ศ. 2537 ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลพระราชทานประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาดี เด่นขนาดใหญ่ เขตการศึกษา 6 ประจำปีการศึกษา 2537
      พ.ศ. 2538 เริ่มนักเรียนหญิงเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 109 คน
      พ.ศ. 2540 สร้างอาคารอเนกประสงค์เสร็จเรียบร้อย
      พ.ศ. 2544 แชมป์ปาริชาติเกมส์ 2001และโรงเรียนยังได้รับรางวัลการจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนดีเด่น อีกด้วย
      พ.ศ. 2545 แชมป์ปาริชาติเกมส์ 2002และโรงเรียนยังได้รับรางวัลโรงเรียนปฏิรูปการศึกษาดีเด่น อีกด้วย
      พ.ศ. 2546 แชมป์ปาริชาติเกมส์ 2003และแชมป์แฟนพันธุ์แท้ EU สหภาพยุโรป ระดับประเทศแชมป์ LG GOLDEN BELL จังหวัดพระนครศรียุธยา
      พ.ศ. 2547 แชมป์ปาริชาติเกมส์ 2004และได้รับรางวัลพระราชทาน โรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่นขนาดใหญ่เขตตรวจราชการที่ 1 ประจำปี 2546
      พ.ศ. 2548 สถาปนาโรงเรียน ครบรอบหนึ่งศตวรรษ และทางสมาคมนักเรียนเก่าอยุธยาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ สร้างอาคาร ที่ระลึก 100 ปี อยุธยาวิทยาลัยจัดงานราตรี 100 ปีร้อยใจอยุธยาวิทยาลัย
      พ.ศ. 2549 นายณัฐพล อัศวสงคราม ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน และ เยาวชนดีเด่นของสภาสังคมสงเคราะห์ และโรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนคุณภาพ TOT IT SCHOOL ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
      พ.ศ. 2550 โรงเรียนได้รับรางวัล Quality School ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน ในระดับคุณภาพดีมาก จาก สมศ.และในปีนี้ นายชาญวิทย์ แตงอ่อน นักเรียนของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ได้รับรางวัลเยาวดีเด่น ด้านคุณธรรม-จริยธรรม
      พ.ศ. 2550 เด็กชายฉัตร อังศิริจินดา และ เด็กชายภาณุพงศ์ สุดสังเกต ได้รับรางวัลชนะเลิศ ส่วน เด็กชายอรรถพงษ์ รักขธรรม และเด็กหญิงวรกัญญ์ จันทร์ดวง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ จากการแข่งขันวิชาชีพคอมพิวเตอร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เข้ารับพระราชทานเข็มและเกียรติบัตร จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ณ โรงเรียนทักษิณาบริหารธุรกิจ
      พ.ศ. 2550 นายสิทธา ศุภศิริและนายวสันต์ พัฒนวิชัยโชติ นักเรียนของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันวิชาชีพคอมพิวเตอร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้ารับพระราชทานเข็มและเกียรติบัตร จากทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ณ โรงเรียนทักษิณาบริหารธุรกิจ
      พ.ศ. 2551 ชนะเลิศการประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนนักศึกษาประเภท ข ชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามบรมราชกุมารและวงโยธวาทิต โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย พร้อมทั้งกวาดรางวัลดีเด่นทุกประเภท ทั้ง 5 ประเภทคือ

      1.รางวัลนั่งบรรเลงดีเด่น 2.มาร์ชิ่งเพอร์คัสชั่นดีเด่น 3.บรรเลงเพลงไทยดีเด่น 4.คฑากรดีเด่น 5.ดนตรีสนามดีเด่น

      พ.ศ. 2551 เปิดอาคารสุขาโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งสนองนโยบายร่วมของกระทรวงศึกษาธิการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และ ได้รับแชมป์ถ้วยรางวัล สพท.อย. ๑ เกม
      พ.ศ. 2552 เด็กชายอรรถพงษ์ รักขธรรม นักเรียนของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ได้รับรางวัลนักเรียนพระราชทาน เขต 6 กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปี 2551
      พ.ศ. 2552 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยได้รับรางวัลสุดยอดส้วมแห่งปี ประจำปี 2552 จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
      พ.ศ. 2552 นายพกริ่ง รัตนสาลี นักเรียนของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ได้คัดเลือกเป็นเยาวชนดีเด่นด้านคุณธรรมจริยธรรม ระดับจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประจำปี 2552
      พ.ศ. 2553 นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ.อยุธยา ได้รับรางวัลชนะเลิศเเละถ้วยพระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จากการเเข่งขันค้นหาคนเก่งประวัติศาสตร์อยุธยา ระดับช่วงชั้นช่วงชั้นที่3 จัดโดย วัดท่าการ้อง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

       ทำเนียบ ผู้บริหาร โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย

      ตั้งแต่สถาปนาโรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลกรุงเก่าขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2448 โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัยก็ได้เจริญรุดหน้ามาโดยตลอด ทั้งนี้ก็เป็นเพราะบุคคลากรทางการศึกษา ต่างๆ ของโรงเรียนที่ได้ทุ่มเท ทั้งชีวิต และจิตใจ จนทำให้ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จ มาถึงทุกว้นนี้ และผู้ที่สำคัญท่านหนึ่งในการเป็นผู้นำที่จะขับเคลื่อน สถานศึกษา ให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จ ในทุกๆ ด้าน บุคคลนั้น ก็คือ ผู้อำนวยการ โดยตั้งแต่ พ.ศ. 2448 –ปัจจุบัน มีรายนามผู้บริหาร สถานศึกษา เรียงตาม ลำดับดังนี้

      ลำดับ ชื่อ-สกุล ปีที่ดำรงตำแหน่ง(พุทธศักราช)
      1 ขุนประกอบวุฒิสารท (พระยาราชโยธา) พ.ศ. 2448 - พ.ศ. 2449
      2 พระอนุสิษฐ์วิบูลย์ (นายเปี่ยม) พ.ศ. 2449 - พ.ศ. 2450
      3 พระวิเศษกลปกิจ (นายรัตน์) พ.ศ. 2450
      4 ขุนบำเหน็จวรสาร (นายชิต) พ.ศ. 2451
      5 พระชำนาญขบวนสอน (นายเฉย) พ.ศ. 2452
      6 นายรัตน์ พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2453
      7 นายปุ่น พ.ศ. 2453
      8 นายเล็ก พ.ศ. 2454
      9 นายผัน พ.ศ. 2455
      10 ขุนกลั่นวิชาสอน (นายวิชา) พ.ศ. 2456 - พ.ศ. 2464
      11 ขุนทรงวรวิทย์ (นายแม้น) พ.ศ. 2464 - พ.ศ. 2466
      12 หลวงภารสาส์น (ขุนภารสาส์น) พ.ศ. 2466 - พ.ศ. 2477
      13 นายฟุ้ง ศรีวิจารณ์ พ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2479
      14 นายฉลวย สาตพร พ.ศ. 2479 - พ.ศ. 2481
      15 นายสุรินทร์ สรศิริ พ.ศ. 2481 - พ.ศ. 2482
      16 นายสังข์ อิศรางกูร ณ อยุธยา พ.ศ. 2482 - พ.ศ. 2484
      17 นายเชื้อ สาริมาน พ.ศ. 2484 - พ.ศ. 2486
      18 นายเชื้อ สมบุญวงศ์ พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2488
      19 นายสุรินทร์ สรศิริ พ.ศ. 2489 - พ.ศ. 2491
      20 นายแวว นิลพยัคฆ์ พ.ศ. 2491 - พ.ศ. 2498
      21 นายจรูญ ส่องสิริ พ.ศ. 2498 - พ.ศ. 2505
      22 นายพิทยา วรรธนานุสาร พ.ศ. 2505 - พ.ศ. 2516
      23 นายเจริญ ลัดดาพงศ์ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2526
      24 นายลือชา สร้อยพาน พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2528
      25 นายมาโนช ปานโต พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2530
      26 นายชลิต เจริญศรี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2532
      27 นายอุเทน เจริญกูล พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2535
      28 นายจักรกฤษณ์ ธีระอรรถ พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2542
      29 นายวิโรจน์ ฟักสุวรรณ์ พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2543
      30 นางรัชนี ศุภพงษ์ พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2546
      31 นายอำนาจ ศรีชัย พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2547
      32 นายมาโนช จันทร์เทพ พ.ศ. 2547 - ปัจจุบัน

      จำนวน ห้องเรียน

      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 19 ห้องเรียน
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 16 ห้องเรียน
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 14 ห้องเรียน
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 14 ห้องเรียน
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 12 ห้องเรียน
      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6 12 ห้องเรียน


       แหล่ง การเรียนรู้ภายในโรงเรียน

      แหล่งการเรียนรู้ สถานที่ตั้ง ลักษณะแหล่งการเรียนรู้
      พิพิธภัณฑ์ทางการศึกษา 9ห้อง อาคารพระราชทาน “สิริมงคลานันท์” ศูนย์รวมความเกียรติประวัติ และเกียรติยศของโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย[2]
      หอประชุมพระราชทาน รัชกาลที่ ๘(พ.ศ. 2448) ภายใน หอประชุมพระราชทาน รัชกาลที่ ๘(พ.ศ. 2448) แหล่งเก็บภาพประวัติศาสตร์ของโรงเรียน
      หอพระพุทธปฏิมาวาสนฐารสม์ หอพระพุทธรูปประจำโรงเรียน บริเวณประตู ด้านถนนปรีดี พนมยงค์ ส่งเสริมการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และศึกษาประวัติของ ฯพณฯ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักเรียนเก่าอยุธยาวิทยาลัยและ อดีต นายกรัฐมนตรี
      ห้องสมุด เฉลิมพระเกียรติ อยุธยาวิทยาลัย ชั้นล่าง อาคารเฉลิมพระเกียรติ60 พรรษา มหาราชินี แหล่งค้นคว้าข้อมูลข่าวสารในหนังสือ
      ห้องสมุดอิเลคทรอนิคส์ เฉลิมพระเกียรติ อยุธยาวิทยาลัย ชั้นล่าง อาคารเฉลิมพระเกียรติ60 พรรษา มหาราชินี แหล่งค้นคว้าข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศทางเทคโนโลยี
      ห้องศูนย์คอมพิวเตอร์ ชั้น2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ60 พรรษา มหาราชินี การเรียนคอมพิวเตอร์แบบครบวงจร
      ห้องศูนย์พัฒนาการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้น2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ60 พรรษา มหาราชินี แหล่งการเรียนรู้ส่งเสริมความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์
      ห้องพยาบาล ชั้นล่าง อาคาร100ปี ส่งเสริมสุขภาพ พลานามัย และให้บริการตรวจเช็คสุขภาพแก่นักเรียนและบุคลากรของโรงเรียน
      ห้อง ACSDEMIC INTERNET ชั้น2 อาคาร100ปี และ ชั้น2 อาคาร8 แหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการเรียนการสอนผ่านระบบ(Local Area Network: LAN)
      ห้องตัดต่อและบันทึกเทปโทรทัศน์ ชั้น2 อาคาร100ปี ส่งเสริมการผลิตสื่อ และเทคโนโลยีทางการศึกษาให้กับโรงเรียนเพื่อใช้ในการแพร่ภาพโทรทัศน์ภายใน โรงเรียน
      ห้องนาฏศิลป์ ชั้น2 และชั้น3 อาคาร “อานันทศิลป์” แหล่งการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการแสดงทางนาฏศิลป์
      ห้องดุริยางคศิลป์ ชั้น3 อาคาร “อานันทศิลป์ ฝึกซ้อมการบรรเลง เพลงสากลและเพลงไทย ของ วงโยธวาทิตโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
      ห้องดนตรีไทย ชั้น2 อาคาร “อานันทศิลป์ การเรียนดนตรีไทย
      ห้องศูนย์พัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์การกีฬา ชั้นล่าง อาคารศูนย์กีฬาอยุธยาวิทยาลัย ฝึกการทำงานระบบต่างๆ และใช้เป็นห้องทดสอบสมรรถภาพทางกาย
      ห้องสมุดการกีฬา ชั้น2 อาคารศูนย์กีฬาอยุธยาวิทยาลัย ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารวิชาการทางด้านการกีฬา
      สระว่ายน้ำอยุธยาวิทยาลัย อาคารสระว่ายน้ำอยุธยาวิทยาลัย ส่งเสริมการว่ายน้ำของผู้ที่สนใจออกกำลังกายในรูปแบบของการว่ายน้ำ
      ห้อง TOT IT SCHOOL ชั้นล่าง อาคารเอนกประสงค์ สืบค้นข้อมูลทาง อินเทอร์เน็ต โดยโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ร่วมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
      ห้องมัลติมีเดีย เซ็นเตอร์ กลุ่มสาระฯภาษาต่างประเทศ ชั้น2อาคาร19 เรียนรู้ทักษะภาษาต่างประเทศ จากบทเรียนในคอมพิวเตอร์ และเป็นห้องประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ
      ลานธรรมะ ด้านทิศตะวันออก ของอาคาร8 ลานอเนกประสงค์เพื่อการ ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของโรงเรียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และฝึกจิตใจให้สงบ การนั่งสมาธิ
      ห้องศูนย์การเรียนสังคมศึกษาอยุธยาวิทยาลัย ชั้นล่าง อาคาร 8 ส่งเสริมการเรียนการสอน สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
      ห้องวัฒนธรรมไทย ชั้นล่าง อาคาร 9 ส่งเสริมการเรียนรู้ วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามของไทย
      ห้องจริยธรรม ชั้นล่าง อาคาร 9 ส่งเสริมการเรียนรู้การประพฤติ ปฏิบัติตนที่ดีงามของชาวไทย
      ธนาคารโรงเรียน อาคาร ดิษยรักษ์ ส่งเสริมการออมให้กับนักเรียน โดยโรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย ร่วมกับ ธนาคารออมสิน
      ห้องเรียนสีเขียว อาคารห้องเรียนสีเขียว ทางด้านประตู ถนน ปรีดี พนมยงค์ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม
      โครงการผลิตน้ำดื่มส่งเสริมอาชีพนักเรียน อยุธยาวิทยาลัย อาคารผลิตน้ำดื่ม ด้านหลังโรงอาหาร ส่งเสริมการบริโภคน้ำดื่มที่สะอาดของนักเรียนและยังเป็นการหารายได้ให้ กับนักเรียนอีกด้วย
      ลานกว้าง(โดม1) ด้านหลังอาคาร9 ตรงข้ามโรงฝึกงาน ช่างยนต์ ส่งเสริมกิจกรรม นันทนาการ ทุกรูปแบบ
      อาคารกีฬา(โดม2) ด้านหลังอาคารที่ทำการสมาคม นักเรียนเก่าอยุธยาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งเสริมการออกกำลังกายและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
      อาคารกีฬา(โดม3) ด้านหน้าอาคาร8 ติดกับโรงยิมตระกร้อ ส่งเสริมการออกกำลังกายและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
      ห้องแนะแนว อาคารแนะแนว การแนะแนวการเรียน แนะแนวการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ติดตามและประเมินผล
      ห้องหมอภาษา ชั้นล่าง อาคาร19 กิจกรรมส่งเสริมการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
      ห้องกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน(ลูกเสือ ยุวกาชาด) ชั้นล่างอาคาร19 กิจกรรมของกิจการลูกเสือไทย และกิจกรรมของกิจการยุวกาชาดไทย



      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×