ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    นักเรียนหมอขอเมาท์

    ลำดับตอนที่ #48 : เมาท์ : ฟิตสมองก่อนสอบ #2

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 2.82K
      0
      23 ก.ค. 53

    ฟิตสมองก่อนสอบ #2


                      สวัสดีครับน้องๆ กลับมาเจอกันอีกครั้งนึงแล้วนะครับ คราวนี้พี่จะมาพูดต่อจากที่ได้เกริ่นไว้ตอนท้ายในตอนที่แล้ว ที่ว่า นอนดึกแล้วจะมีผลกับความจำ

                       น้องๆคงจะเคยได้ยินมาแล้วว่า นอนดึกๆ แล้วจะทำให้สมองเสื่อมนะ สงสัยกันใช่ไหมว่า ทำไมละ เกี่ยวอะไรกัน ตามมาพี่มาครับ พี่จะชี้แจงแถลงไขให้กระจ่างเอง ^o^

                       ก่อนอื่น พี่ขอแนะนำสมองส่วนที่เรียกว่า Hippocampus ให้รู้จักกันก่อน (เอ มันจะเหมือน Hippopotamus ไหมนะ ชื่อคล้ายๆ…(ฮา)) ไม่เลยครับ Hippocampus นี้จะมีรูปร่างคล้ายกับม้าน้ำ (ดังจะเห็นจากชื่อ Hippocampus มาจากภาษากรีกของคำว่า hippos = ม้า, kampos = ปีศาจทะเล)

     
     
                        Hippocampus เป็นส่วนหนึ่งในระบบ limbic system (ระบบของอารมณ์, พฤติกรรม, ความจำ) อยู่ในสมองส่วน medial temporal lobe (ตรงนี้ ถ้าน้องอยากรู้ว่าอยู่ตรงไหน ตามมาเรียนในคณะแพทย์ให้ได้นะ ^^  ) มีหน้าที่สำคัญในเรื่องการสร้างความทรงจำระยะยาว (long-term memory) โดยมันจะทำงานทั้งตอนเราตื่นและหลับ แต่มันจะทำงานได้ดีตอนเวลาเราหลับเท่านั้น

                      แสดงว่าถ้าน้องนอนไม่พอ นอกจากร่างกายจะไม่ได้พักผ่อน สมองโดยเฉพาะส่วน Hippocampus ก็ไม่สามารถทำงานได้ดีด้วย นั่นหมายถึง หนังสือหนังหาที่น้องๆอ่านมา ถ้าไม่ได้นอนอย่างเพียงพอ เจ้า Hippocampus นี้ก็จะไม่สามารถเอาข้อมูลที่น้องๆอ่านมา บันทึกเป็นความจำระยะยาวได้ ...ก็คือ ตื่นมาหายหมดนั่นเอง (ซึ่งพี่เองก็เป็นคนนึงล่ะที่ชอบอ่านหนังสือดึกๆ แล้วตื่นมาจำอะไรไม่ได้เลย แต่ตอนหลังนี้รู้แล้วว่าต้องพักผ่อนให้เพียงพอ พี่เลยนอนเลย ไม่อ่าน ....  เห้ยยย! =.=…)

                 ....พี่คิดว่าการนอนทำให้จำได้จริงๆนะ จากประสบการณ์ตรงของพี่เอง มีครั้งนึงพี่อ่านanatomy อ่านๆๆ อ่านยังไงก็จำไม่ได้ ตัดใจ นอนดีกว่า พอตื่นมา ทุกสิ่งทุกอย่างที่อ่านเมื่อคืนมันผุดขึ้นมาในหัว โดยที่พี่เองยังไม่ได้ไปนึกถึงมันเลย พี่นี่งงเลย จำได้ไงอะ เมื่อคืนไม่เห็นจะจำได้แบบนี้เลย การนอนพอนี่ได้ผลดีจริงๆ :D...

                      นอกจากนี้ การนอนไม่พอยังส่งผลกระทบอื่นๆกับร่างกายอีกนะ
    การนอนไม่พอ จะลดความฉลาดทางอารมณ์ และความสามารถในการคิดลง

    ถ้าในระยะเวลาสั้นๆ
    •    ลดความตื่นตัวลง แม้จะนอนน้อยลงเพียงแค่ชั่วโมงครึ่ง ก็สามารถลดความตื่นตัวลงได้ถึง 32%
    •    ความจำ ความสามารถทางความคิดลดลง (สมองล้านั่นเอง)
    •    ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ก็จะทำให้เราไม่สบายได้ง่ายๆ

    ถ้าเป็นระยะเวลานานๆละ
    •    ความดันโลหิตสูงขึ้น
    •    หัวใจล้มเหลว
    •    ภาวะ stroke เป็นภาวะที่สมองสูญเสียการทำงานอย่างฉับพลันจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ
    •    ปัญหาทางสภาวะจิต เช่น หดหู่ (depression)
    •    เพิ่มความเสี่ยงในการเสียชีวิต เนื่องจากเม็ดเลือดขาวลดจำนวน growth hormone ก็ลด ความสามารถในการใช้น้ำตาลลด เปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นไขมันแทน
    >>  มีงานวิจัยว่า คนที่นอนน้อยกว่า 4 ชม.ทุกคืน จะเสี่ยงที่จะเสียชีวิตภายใน 6 ปีมากกว่าคนอื่น 3 เท่า !!
    •    ทำให้อ้วนขึ้นได้ -*- เพราะว่า ฮอร์โมนที่ทำให้เราอิ่มลดปริมาณลง แต่ฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เราหิวเพิ่มขึ้น สังเกตได้ว่า เราจะมักหิวกันตอนดึกๆ แล้วเปิบมื้อดึกกันอย่างเอร็ดอร่อย (จำได้ว่า มีช่วงนึงพี่ต้องกินตอนเที่ยงคืนเป็นประจำ - -” น้ำหนักเลยพรวดพราดขึ้นมา จนบัดนี้ก็ไม่ยอมลง)

                      แล้วเราจะรู้ได้ไง ว่าเรานอนพอรึเปล่า ? เขามีการทดสอบว่า ถ้าเมื่อหัวถึงหมอนแล้วหลับภายใน 5 นาที หรือว่า หากตอนเช้าไม่สามารถตื่นได้ ถ้าไม่มีนาฬิกาปลุก แสดงว่านอนไม่พอ เหมือนพี่จะเป็นทั้งสองอย่างเลยนิ  >w<

                       เพราะฉะนั้นแล้ว น้องๆควรจะนอนพักผ่อนให้เพียงพอนะครับ ถ้านอนได้ถึง 8 ชม. จะดีมากๆ เพราะร่างกายจะพักผ่อนได้เต็มที่ แต่พี่คิดว่าคงเป็นไปไม่ได้ จากหนังสือ และการบ้านที่กองท่วมหัว  พี่คิดว่านอนอย่างต่ำให้ได้สัก 5-6 ชม. จะดีมาก อย่าน้อยไปกว่านี้

                       สำหรับตอนนี้ขอจบตรงนี้ครับ ขอบคุณที่ติดตามนะครับ พี่ขอตัวไปนอนก่อนละ ง่วงมากมาย ราตรีสวัสดิ์ครับ ^.^


    ขอบคุณแหล่งข้อมูลดีๆจาก
    http://www.sleepdex.org/deficit.htm
    http://www.sleep-deprivation.com/articles/effects-of-sleep-deprivation/index.php
    http://en.wikipedia.org/wiki/Hippocampus
    http://serendip.brynmawr.edu/exchange/node/1690
    http://tulip-on-me.exteen.com/20100227/entry

    นศพ.หนูหนึ่งประจำคณะ
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×