คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #32 : The Black Museum Springald ชายส้นเท้าสปริง
“รูปร่างของมันสูงและผอม หน้าของมันน่ากลัวมากเหมือนภูตผีปีศาจ ที่มือของมันมีอุ้มเล็บยาวแหลม ดวงตาเหมือนลูกบอลสีแดงเพลิงที่ลุกเป็นไฟ และมีเปลวไฟสีเงินพวยพุ่งจากปาก ใส่หมวก กางเกงมีสีขาว สวมเสื้อคลุมสีดำ และส่งเสียงหัวเราะอันสุดแสนโหยหวนออกมา และเมื่อมันจากไปมันจะกระโดด การกระโดดของมันราวกับไม่ใช้ของมนุษย์ มันกระโดดได้สูงมากราวกับเหาะจนดูเหมือนมนุษย์ค้างคาวยังไงอย่างงั้น”
จากการให้การของผู้เห็นชายส้นเท้าสปริง
พิพิธภัณฑ์คดีพิศวง สปริงกัลด์คนขาสปริง(The Black Museum Springald )
สำนักพิมพ์สยาม
แนว ความรู้และแอ็คชั่น
แนะนำให้ไปหาหนังสืออ่านก่อนที่จะอ่านบทความของคนเขียน
ไปเร็วๆ เลยนะครับเนื่องจากเนื้อหาเยอะมาก(ถ้าเรื่องฆาตกรนี้ผมโม้สิบวันก็ไม่จบหรอก)
สปริงกัลด์คนขาสปริง เป็นผลงานของคาซุฮิโระ ฟูจิตะเจ้าของผลงานนล่าอสูรกาย 33 เล่มจบ และหุ่นเชิดสังหาร, จันทราประกาศิต ซึ่งนักเขียนคนนี้มักเป็นแนวแอ็คชั่นบ้าพลังผสมกับตำนานเรื่องเล่าภูตผีปีศาจ และพระเอกรักความยุติธรรมและสาวแกร่งแรงเกินร้อย และตัวโกงที่หน้าตาโรคจิตดีแท้
ผมก็ไม่ค่อยติดตามผลงานของนักเขียนคนนี้มากนัก แต่ผมชอบล่าอสูรกายนะ(อ่านแค่ 15 เล่ม) อ่านแล้วได้ความรู้สึกดีๆ หลายเรื่อง พระเอกเสียสละ การให้อภัย และความเท่ของตัวละคร อีกทั้งผมชอบนางเอกน่ารักดีนะ(เหตุผลหลังนี้เหอๆ)
สปริงกัลด์ในเวอรชั่นของฟูจิตะนั้นก็ไม่ต่างจากแนวก่อนหน้านี้ของเขาเลย คือเน้นแอ็คชั่นผสมเรื่องเล่าลึกลับเช่นเคย โดย เนื้อหาเกิดขึ้นในสมัยวิคเตอเรีย ในศตวรรษที่ 19 แบ่งออก 2 ตอน
เรื่องแรก สปริงกัลด์เป็นการ์ตูนเชิงเรื่องจริง ของข้อสันนิษฐานฆาตกรต่อเนื่องนาม "แจ๊คเท้าสปริง" โดยการ์ตูนนี้ได้นำข้อสันนิษฐานหนึ่งเกี่ยวกับคดีนี้มาเป็นพล็อต ซึ่งเรื่องโพกัสมาที่พระเอกที่เป็นถึงขุนนางผู้สูงศักดิ์ ผร่ำรวยนาม วอลเดอร์ เดอ ลา บัว สเตรด ที่ทำตัวไม่สมเป็นขุนนางเลย วอลเดอร์เป็นวัยรุ่นระห่ำ เด็กแว๊ง(เขียนถูกเปล่า) ที่ชอบเล่นอะไรพิเรนทร์ ให้ชาวบ้านเดือดร้อนเสมอ
วอลเตอร์นั้นมีความฉลาดเฉลียว และชอบมีความคิดแผลงๆ มาเล่นให้คนตกใจเสมอ วันหนึ่งเขาได้ให้เพื่อนเขาประดิษฐ์ของสิ่งหนึ่งเอาไว้ในคือ ชุด “แจ๊คเท้าสปริง” ที่มันสามารถพ่นไฟได้ ยืดแขนขาให้ยาวได้ และกระโดดสูงถึงตึก 3 ชั้น (อารมณ์เดียวกับหุ่นเชิดสังหาร)
ตอนแรกๆ วอลเตอร์ไม่คิดอะไรมาก เขาสวมชุดเพียงแค่แกล้งให้ผู้หญิงสาวตกใจเล่นเท่านั้น ตามประสาจิ๊กโก๋อังกฤษ จนข่าวลื่อสะเทือนลั่นสนั่นไปทั่วอังกฤษถึงตัวประหลาดลึกลับที่ไล่หลอกคนนามชายส้นเท้าสปริง ซึ่งวอลเตอร์และเพื่อนๆ ชอบใจมากกับความโด่งดังนี้มาก แต่แล้ววันหนึ่งวอลเตอร์ดันไปหลอกผู้หญิงใช้ฐานะต่ำต้อยที่ชื่อมาร์กาเร็ต สแคลซ์(นางเอกมั้ง??) แทนที่เธอจะกลัว กลับโดนตบสั่งสอนซะนี้ จนวอลเตอร์แอบหลงรักเธอเข้า และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาวอลเตอร์เปลี่ยนไป เขา เลิกเป็นจิ๊กโก๋ เลิกป่วนเมือง และเลิกเป็นชายส้นเท้าสปริง
แต่แล้ว 3 ปีต่อมา จู่ๆ ก็เกิดคดีฆาตกรรมต่อเนื่องที่หมายเอาชีวิตหญิงสาว 4 ราย ซึ่งที่เกิดเหตุมีพยานพบเห็นชายร่างสูงคนหนึ่งกระโดดหายไปพร้อมกับเสียงหัวเราะแหลมบาดหู หรือคนเขาเรียกว่า “แจ๊คขาสปริง” ผู้เคยที่ทำให้บรรดาหญิงสาวตื่นตกใจบนเส้นทางยามวิการเมื่อครั้ง 3 ปีก่อนนั้นไม่มีผิด
วอลเตอร์ได้ยินข่าวนี้ตกใจ เป็นไปได้ไงเนี้ย ก็เขาเลิกเป็นแจ๊คแล้วนี้น่า แล้วมันปรากฏตัวมาได้ไง หรือว่าเป็นแจ๊คตัวใหม่ แถมแจ๊คตัวนี้มีเป้าหมายมาที่มาร์กาเร็ตคนที่เขาแอบรักซะด้วยสิ วอลเตอร์จำเป็นต้องหยุดมันก่อนที่จะมีเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีก และแล้วศึกต่อสู้ที่พิลึกพิลั่นตามสไตน์คาซุฮิโระ ฟูจิตะก็เริ่มขึ้น....ผ่าง!!!(ไปหาอ่านเอาเอง)
เรื่องที่ 2 เป็นตอนที่ผมชอบที่สุดนะครับ มีกลิ่นอายความแตกต่างของชนชั้นวรรณะ,พวกผู้ดีแต่จิตใจทรามด้วย(ไว้เล่าตอนท้ายๆ)และนางเอกน่ารักมากๆ(อีกละ) เกิดขึ้นอีกหลายปีต่อมาหลังจากคดีแจ๊คส้นเท้าสปริงตัวปลอม เป็นเนื้อเรื่องของเด็กสาวน้อยจอมแก่นนาม จูเลียตซึ่งเป็นหลานวอลเตอร์ และเด็กชายอาเธอร์ลูกของมาร์กาเร็ต สแคลซ์ ที่ทั้งสองได้ปลอมตัวเป็นแจ๊คเพื่อหลอกคนชั่วให้หวาดกลัว
หลังจากอ่านจบ การ์ตูนเรื่องนี้ทำให้ผมรู้สึกดีๆ หลายอย่าง นอกเหนือจากแอ็คชั่นบ้าพลังพิลึกพิลั่นแล้ว เนื้อหายังสอดแทรกความรู้ เรื่องจริงเกี่ยวกับในเรื่องในเชิงอรรภท้ายเรื่องและเพลงของมาเธอร์ กูสด้วย อีกทั้งได้ข้อคิดอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าสภาพลอนดอนในสมัยนั้น, ความแตกต่างระหว่างฐานะ และไอเดีย ดังที่จะเห็นต่อไปนี้
ข้อมูลต่อไปนี้อาจมีส่วนผสมข้อมูลเชิงอรรภในการ์ตูนเรื่องนี้กับสิ่งที่ผมรู้เกี่ยวกับชายส้นเท้าสปริงนะครับ เขียนขึ้นเพื่อให้หลายๆ คนรู้จัก ชายส้นเท้าสปริงมากขึ้น และอยากให้หลายคนไปหาการ์ตูนเรื่องนี้ไปอ่านดู
เริ่มจากชื่อเรื่องก่อน “พิพิธภัณฑ์พิศวง สปริงกัลด์ คนขาสปริง” ทำไมต้องเรียกชื่อต้นเรื่องถึงพิพิธภัณฑ์ ก็อันเนื่องจากจุดเริ่มต้นของการ์ตูนเรื่องนี้เกิดขึ้นพิพิธภัณฑ์ “แบล็คมิวเซียน” โดยดำเนินเรื่องโดยผู้ดูแล(หน้าตาเหมือนนางเอกหุ่นเชิดสังหาร น่าร๊าก) ที่เป็นคนนำชมหลักฐานวัตถุของคดีอาชญากรรมทั้งหมดของสก็อตแลนยาร์ด(หน่วยสอบสวนของอังกฤษเทียบเท่า FBI)ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พิพิธภัณฑ์ “แบล็คมิวเซียน(The Black Museum)มีชื่อเป็นทางการว่าพิพิธภัณฑ์อาชญากรรม (หลังจากที่มีการประท้วงว่าชื่อ “Black Museum” เป็นการเหยียดผิว) นั้นเป็นสถานที่ที่มีอยู่จริงในโลกใบนี้ ตอนแรกมันตั้งอยู่ที่ชั้นใต้ดินของกรมตำรวจประจำกรุงลอนดอนบนถนนไวท์ฮอลในปี 1874 เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บสะสมสิ่งของที่น่าสะพรึงกลัวมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก หลักฐานและวัตถุพยานในคดีสะเทือนขวัญอย่าง แจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ ฆาตกรโหดสะท้านโลกที่เป็นต้นแบบของฆาตกรต่อเนื่อง และดอกเตอร์ คริปเปน ต้นแบบหมอที่ฆ่าหั่นศพภรรยาแล้วนำศพไปแช่ในอ่างน้ำกรดก็ถูกเก็บไว้ที่นี่
ย้อนไปเมื่อปี 1869 หลังจากที่รัฐสภาอังกฤษผ่านกฎหมายอนุญาตให้ตำรวจเก็บรักษาพยานหลักฐานของอาชญากรเพื่อใช้ในการศึกษา สารวัตร นีม เป็นคนแรกที่เก็บของเหล่านั้นไว้เป็นคอลเลคชั่นเพื่อใช้สอนและอบรมตำรวจ โดยต้องการให้ตำรวจรู้วิธีสืบสวนสอบสวนและป้องกันไม่ให้อาชญากรรมเกิดขึ้น นีมเป็นคนก่อตั้งพิพิธภัณฑ์นี้ซึ่งเปิดเป็นทางการในปี 2417 พิพิธภัณฑ์นี้ถูกเรียกว่า Black Museum หลังจากที่มีนักข่าวคนหนึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปดูคอลเลคชั่น
หลังจากนั้น 10 ปีให้หลังสถานที่เก็บก็คับแคบจนต้องย้ายอยู่ที่และปัจจุบันพิพิธภัณฑ์นี้ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ของสำนักงานสกอตแลนด์ ยาร์ด ภายใต้การดูแลของอลัน แมคคอร์มิค ตำรวจที่เกษียณอายุไปแล้ว ของทั้งหมดถูกเก็บไว้ในห้องมืดที่มีเพียงแสงไฟสลัวๆ เพื่อป้องกันหลักฐานถูกทำลายจากแสง ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์นี้ถูกใช้เป็นห้องบรรยายให้ตำรวจและพวกนิติเวช นอกจากนี้พวกนักการเมืองและทูตก็เข้าไปเยี่ยมชมบ่อยๆ
ตอนแรกๆ ของที่นำมาแสดงในแบล็คมิวเซียนนั้นจะเป็นอาวุธที่คนร้ายใช่ก่อคดี เช่น ปืน มีด ท่อนไม้ ด้าย ยาพิษ แต่ก็ยังมีรูปถ่ายจำพวกสถานที่เกิดเหตุ ฆาตกร และผู้เสียชีวิต รวมทั้งอุปกรณ์และเอกสารที่ใช้ประกอบการสอบสวน จนกระทั้งแบบจำลองใบหน้าหุ่นจำลองของคนร้ายและผู้เสียชีวิตในคดีนั้นๆ รวมอยู่ด้วย
หลักฐานการก่ออาชญากรรมที่เก่าแก่ที่สุดของพิพิธภัณฑ์นี้คือ กุญแจมือที่ใช้ควบคุมตัวนักโทษกบฏคนหนึ่งในปี1805 นอกจากนั้นก็มีอาวุธพิสดารต่างๆ เช่น ไม้เท้าที่แปลงร่างเป็นดาบ ร่มอาบยาพิษที่ใช้สังหาร จอร์กี้ มาร์คอฟ นักเขียนและนักต่อต้านชาวบัลแกเรียที่สะพานวอเตอร์ลูในปี 1978 กระเป๋าเอกสารที่ออกแบบให้เป็นเครื่องยิงลูกดอกอาบยาพิษ กล้องส่องทางไกลที่ดัดแปลงเป็นอาวุธ โดยทันทีที่ผู้ใช้ปรับโฟกัสของเลนส์ ตะปูก็จะพุ่งออกมาใส่ดวงตาของผู้ใช้ทันที รวมถึงอุปกรณ์ในห้องน้ำที่ใช้ในการซ่อนศพในคดีฆาตกรรมต่อเนื่องด้วย
ปัจจุบัน แบล็คมิวเซียนยังคงมีอยู่เพียงแต่จะเปิดให้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับตำรวจเข้าชมในฐานะแหล่งข้อมูลสืบสวนเท่านั้น ซึ่งคนทั่วไปไม่สามารถเข้าไปชมได้ ส่วนสาเหตุหลักๆ ที่ไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าชมก็เพราะถ้าเปิดจำนวนผู้เข้าชมจะแห่มาชมอย่างมากแน่นอน ส่งผลให้หลักฐานบางชิ้นเสียหายได้ และที่สำคัญคือหลักฐานบางชิ้นอาจเป็นตัวกระตุ้น ให้คนมีจิตไม่ปกติก็ได้(จากภาพ รูปชายหนวดทางขวามือคือภาพคนที่คาดจะเป็นแจ๊คเดอะริปเปอร์)
(รายละเอียด http://en.wikipedia.org/wiki/Black_Museum)
ในประเทศไทยก็มีพิพิธภัณฑ์ที่ว่าเหมือนกัน หลายๆคนรู้จักดีในชื่อ “พิพิธภัณฑ์ซีอุย” หรือพิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช ที่เป็นที่สะสมซากศพและหลักฐานเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมทั้งหลาย นอกเหนือจากศพซีอุยที่โดดเด่นแล้วยังมีเสื้อเปื้อนและมีดของนวลฉวี และหลักฐานเกี่ยวกับคดีดังในสมัยนั้นรวมอยู่ด้วย
สำหรับหลักฐานในการ์ตูนที่ว่า ได้พบชิ้นส่วนของขาสปริงในสุสานนี้ไม่เป็นจริงแต่อย่างใด เพราะแจ๊คส้นเท้าสปริงนั้นไม่ได้ทิ้งหลักฐานใดๆ ไว้เลย นอกจากร่องรอยฆ่าของเหยื่อที่มันฆ่าเท่านั้น
มานึกๆ ดูแล้วชายส้นเท้าสปริงนั้น(ในเรื่องมันเขียนว่าแจ๊คขาสปริงแต่ด้วยความถนัดของผมขอเรียกชายส้นเท้าสปริงนะครับ)จะเรียกฆาตกรหรือคนไม่ถูกนัก เพราะว่าในวีพีมีเดียจัดประเภทของชายส้นเท้าสปริงในหมวดสัตว์ลึกลับหรือตำนานในเมือง(Urban legends) เนื่องจากมันมีพลังเหนือธรรมชาติที่ดูยังไงก็ไม่น่าเชื่อว่านี้คือความสามารถของคน และรูปร่างของมันตามคำบอกเล่าจริงๆ นั้นออกตลกๆ แบบมนุษย์ค้างคาวมากกว่าจะเท่เหมือนในการ์ตูน อีกทั้งข้อสันนิษฐานจริงๆ นั้นค่อนข้างหลุดโลกกว่าในการ์ตูนด้วยซ้ำ
ทำไมถึงเรียกว่า แจ๊ค ก็อันเนื่องจากคำๆ นี้เป็นคำที่นิยมเรียกเป็นชื่อเล่นของอังกฤษ ตอนที่เกิดคดีแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์(1888) ก็นิยมใช้ชื่อนี้เช่นกัน เพราะเป็นคำที่คุ้นหูของอังกฤษ โดยนอกเหนือจากแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์แล้วยังมีคำว่าแจ๊คในการเรียกฆาตกรต่อเนื่องลึกลับอีกหลายคน อย่างที่ทุกคนทราบกันในบทความฆาตกรโหดสะท้านโลก
ชายส้นเท้าสปริงนั้นมีชื่อหลากหลาย ตามคำพาดหัวข่าวของสื่อในสมัยนั้น เช่นSpring Heeled Jack ,also Springheel Jack, Spring-heel Jack, Jumping
เรื่องราวของชายส้นเท้าสปริงเกิดขึ้นในสมัยที่อเล็กซานดรีนา วิกเตอเรีย(1819-1901)พระนัดดาของพระเจ้าจอร์ดที่ 3 ทรงขึ้นครองราชน์เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งสหราชอาณาจักรอังกฤษด้วยพระชนมายุเพียง 18 พรรษา โดยชายส้นเท้าสปริงเริ่มออกมาอาละวาดในช่วง 1836 ซึ่งในหนังสือการ์ตูนบอกปี 1837 โดยเริ่มต้นจากคดีพอลลี่เป็นคดีแรก ซึ่งถ้าดูจากวีพีมีเดียแล้วพบว่าเรื่องราวการปรากฏตัวของแจ๊คนั้นมีมาก่อนของพอลลี่เสียอีก โดยรายงานแรกคือปี 1836 เมื่อนักธุรกิจคนหนึ่งกำลังเดินกลับบ้านในตอนกลางคืนหลังจากกลับไปทำงาน ทันใดนั้นเองเขาก็ได้พบชายประหลาดคนหนึ่งกำลังก้าวกระโดดอยู่เหนือหัวของเขา ก่อนที่จะหายไปในความมืด ซึ่งรายงานในช่วงนั้นยังไม่ปรากฏเหตุแจ๊คส้นเท้าสปริงทำร้ายคนแต่อย่างใด
ในสมัยนั้น กรุงลอนดอนยังไม่ได้มีการจัดระเบียบตัวเมืองให้เป็นระเบียบร้อยแต่อย่างใด มีรถม้าวิ่งผ่านบนถนนที่ไม่มีการลาดยางมะตอยจนฝุ่นตลบไปทั่ว บริเวณแถบใจกลางเมืองเต็มไปด้วยโรงงานและบ้านพักของคนงาน นับว่าค่อนข้างจอแจพอสมควร ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นแหล่งอาชญากรรมที่เต็มไปด้วนมิจฉาชีพ โจร โสเภณี ยาเสพย์ติด มีเรื่องลักขโมย ฆ่า อยู่บ่อยครั้ง การให้แสงสว่างในตัวเมืองในยามค่ำคืนมีเพียงแต่อาศัยพระจันทร์และแสงเทียนและตะเกียงน้ำมัน ดังนั้นพอตกค่ำขึ้นมาที่แห่งนั้นจะกลายเป็นทางเปลี่ยว ยามวิกาลที จนผู้หญิงไม่สามารถออกไปข้างนอกในยามนั้นได้ อีกทั้งนอกเมืองยังมีโจรดักปล้นปรากฏตัวบ่อยครั้ง เรียกได้ว่ามหานครลอนดอนเป็นเมืองมั่งคั่งภายใต้ความความเสื่อมโทรมก็ว่าได้
ชายส้นเท้าสปริงนั้นปรากฏเป็นคดีครั้งแรกในตอนเย็นของวันที่ 11 ตุลาคม 1837 ไหลังจากกรมตำรวจประจำกรุงลอนดอนก่อตั้งได้ 8ปี พอลลี่ อดัม อายุ 17 ปี เป็นสาวเฟิร์ฟของกรีนแมนอินโรงแรมในย่ามแบล็คอีธตอนนั้นเธอกำลังเดินทางเพื่อไปเดทกับลูกชายของเจ้าของบริหารโรงแรมในงานฉลองเก็บเกี่ยว พอลลี่ได้ได้เดินทางลัดตรงเนินเขาในยามค่ำคืนและเปลี่ยวปราศจากคน อีกทั่วสถานที่ที่เธอเดินผ่านนั้นครั้งหนึ่งเคยเป็นที่แขวนคอนักโทษสมัยก่อนทำให้ช่วยเพิ่มความกลัวแต่เด็กสาวได้เป็นอย่างดี และเมื่อเธอเดินถึงจุดที่ตั้งของหินก้อนใหญ่ที่ถูกเรียกว่าไวท์ฟิลด์เมานท์ ทันใดนั้นเองก็ปรากฏเงาดำขึ้นออกจากหลืบหินนั้นและมันฉีกเสื้อผ้าของเธอจนขาดวิ่นเผยให้เห็นทรวงอกก่อนที่มันจะเอามือมาจับหน้าอก ก่อนที่มันจะทำอะไรล่วงเกินจากนั้นพอลล่าก็ร้องวีดสุดชีวิต จนเจ้าของเงาดำนั้นตกใจก่อนที่มันจะผละออกจากพอลลี่พร้อมกับเอามืดเท้าสะเอวและพ่นไฟสีเงินออกมาและกระโดดหนีไปในความมืด เมื่อพอลลี่เห็นมันไปแล้วเธอก็โล่งใจและสลบคาพื้นก่อนที่จะถูกคนผ่านทางช่วยเอาไว้และส่งตัวไปยังโรงพยาบาล และเมื่อเธอเล่าเรื่องที่เธอเห็นเรื่องก็โด่งดังจนกลายเป็นปากต่อปาก แต่ว่าในตอนนั้นเป้นเพียงแค่คดีพยายามข่นขืนในทางเปลียวหรือการกลั่นแกล้วของวัยวุ่นขี้เมาที่ค้างจากงานฉลองมากกว่า
ผมอ่านเชิงอรรภในหนังสือ ก็เกิดสงสัยนิดๆ เพราะข้อมูลจากวีพีมีเดียนั้นกล่าวการก่อคดีครั้งแรกของชายส้นเท้าสปริงต่างจากหนังสือมาก เพราะว่าในวีพีมีเดียบอกว่าเหยื่อคดีแรกคือแมรี่ สตีเวน(Mary Stevens) สาวทำงานในแบล็คอีธ ในขณะที่เธอผ่านไปยังภูเขา Lavender Hill นั้นจู่ๆ ก็ปรากฏชายแปลกหน้าโผล่มา มันจับแขนเธอแน่น และจูบหน้าเธอ และฉีดเสื้อผ้าของเธอออกเห็นทรวงอกและก็จบหน้าอก เด็กหญิงส่งเสียงร้องลั่นจาชาวบ้านหลายคนได้ยินเสียง เลยมุ่งหน้ามาเจอต้นตอ ชายแปลกหน้านั้นผงะแมรี่และก็ถอยหนีโดยการกระโดดสูงจนหลายคนตะลึงว่าไม่มีมนุษย์หน้าไหนกระโดดสูงอย่างนี้มาก่อน
สรุปคือพอลลี่กับแมรี่นี้คนเดียวกันหรือเปล่าหว่า??
ช่างเถอะ บางทีผมอาจแปลผิดก็ได้ ไปต่อละกัน เรื่องราวของชายส้นเท้าสปริงไม่ได้จบลงแค่คดีของพอลลี่เท่านั้น เพราะหลังจากนั้นก็มีรายงานแจ้งความอันหลากหลายว่าถูกคนร้ายลักษณะคล้ายๆ กันเข้ามาทำร้ายจากหลายๆ แห่งในกรุงลอนดอนและสถานที่วิเวก และผู้เสียหายส่วนใหญ่มักเป็นสาววัยรุ่นเม่านั้นอีกด้วย แต่เนื่องจากเวลานั้นไม่มีรายงานการแช่งชิงทรัพย์สินและลงมือกระทำข่มขืนชำเราแต่อย่างใด ทางตำรวจจึงไม่ใส่ใจในการสืบคดีมากนัก
กระนั้นในปีถัดมาซึ่งคือ วันที่ 9 มกราคม ปี 1838 เรื่องนี้ถูกยกหัวข้อขึ้นในที่ประชุมพิจารณาคดีในกรุงลอนดอน ในเวลานั้นประชาชนชาวลอนดอนแต่งยอมฝ่าหิมะเพื่อไปสภาเมืองอย่างแน่นขนัด ผุ้ว่าการเมืองได้แจ้งรายงานการบริหารงานเทศบาลและจากนั้นก็มีการอภิปรายเกี่ยวกับญัตติต่างๆ ที่ชาวเมืองเสนอมา สุดท้ายก็เป็นการอนุมัติจากศาล และช่วงสุดท้ายของการประชุมนั้นผู้ว่าได้หยิบจดหมายสนเท่ที่ส่งมาจากผู้หญิงคนหนึ่ง และได้ให้ตัวแทนอ่านออกเสียงต่อต่อหน้าฝูงชน เป็นเรื่องการแจ้งความเรื่องมนุษย์ประหลาดที่ตระเวณหลอกผู้หญิงตกใจกลัวในแถบชานเมืองกรุงลอนดอน จดหมายฉบับนี้ยังบอกว่ามนุษย์ประหลาดนี้คือขุนนางคนหนึ่งที่เล่นพนันขันต่อกับเพื่อนผู้ชื่นชอบการกลั่นแกล้งคนว่า “กล้าแต่งกลัวเป็นปีศาจหรือเป็นผีแล้วตระเวณไปหลอกตามบ้านคนหรือเปล่า” และเพื่อนคนนั้นก็ตกลงรับคำท้าและปลอมตัวเป้นมนุษย์ดังกล่าว และจนบัดนี้การเล่นพิเรนทร์นี้ยังคงดำเนินต่อไปแล้วดูเหมือนจะรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จึงอยากขอให้ผู้ว่าการเมืองหยุดการกระทำเช่นนี้ เมื่ออ่านจบก็สียงดังจากประชาชนโดยรอบอย่างมากที่ออกมาให้การตรงว่าพบเห็นมนุษย์ประหลาดเช่นกันและก่อให้เกิดเสียงตอบรับอย่างมากในหมู่ประชาชน
เช้าวันต่อมา มนุษย์ประหลาดได้ถูกตั้งชื่อในหนังสือพิมพ์ว่า “แจ๊คขาสปริง(แต่ผมจะเรียกว่าชายส้นเท้าสปริงอ่ะ)” และกลายเป็นที่รู้จักกันไปทั่วอังกฤษในเวลานั้น มีการร้องทุกข์จากผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก และมีบางคนเกิดคดีที่ว่านี้นอกกรุงลอนดอนด้วย
เมื่อสถานการณ์ลุกลามถึงระดับนี้แล้ว ทางสก็อตแลนด์ยาร์ดเองใช่ว่าจะอยู่เฉยต่อไป เนื่องจากมันมีผลต่อจิตวิทยาของชาวลอนดอนด้วย ซึ่งถ้าจิตใจของประชาชนหวาดกลัวสิ่งลึกลับที่ไม่สามารถอธิบายได้จะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในส่วนรวมด้วย อีกทั้งอังกฤษในตอนนั้นเองก็ใช่ว่าจะเป็นประเทศที่สงบสุขเรียบร้อยนัก เพราะเนื่องจากได้รับผลกระทบจากการปฏิวัติฝรั่งเศส และการประกาศเอกราชของอเมริกา อีกทั้งสมเด็จพระราชินีวิกตอเรียก็ยังมีพระชนมายุเพียง 18 พรรษา อนาคตการครองราชย์ยังไม่แน่ไม่นอน บวกกับเป็นช่วงลัทธิทุนนิยมเริ่มเข้ามาส่งผลทำให้เกิดความแตกต่างฐานะคนรวยกับคนจนอย่างมาก พวกขุนนางมีชีวิตที่หรูหรากินดีอยู่ดี ส่วนชนชั้นกรรมกรต่างลำบากในการหากินและพวกขอทานที่ไร้ที่อยู่อาศัยเป็นต้น
การปรากฏตัวของชายส้นเท้าสปริง เรียกได้ว่ามีทั้งดีและไม่ดีปะปนกัน ในด้านไม่ดีคือมันสร้างความเดือดร้อนต่อสังคม ส่วนด้านดีคือมันกลายเป็นหัวข้อข่าวที่โด่งดังและนิยมในสมัยนั้น มันเป็นข่าวที่ทำให้ผู้คนได้ลืมความต่ำต้อยของฐานะ และเริ่มโด่งดังจนบางคนยกย่องเป็น “ฮีโร่”, “ขวัญใจของประชาชน” ด้วยซ้ำ เหมือนในกรณีแจ๊ค เดอะ ริปเปอร์ เป็นต้น
ในปี ค.ศ.1837 ที่ชายส้นเท้าสปริงออกอาละวาดนั้น กรมตำรวจลอนดอนพึ่งถูกตั้งขึ้นมาเพียง 9 ปี จึงยังไม่มีประสบการณ์มากนักในฐานะองค์กรตำรวจ ทำให้การจับตัวชายส้นเท้าสปริงเป็นไปได้ยากลำบากมาก นอกจากนั้นชายส้นเท้าสปริงนั้นชอบผลุบๆ โผล่ ไม่ปรากฏตัวที่เดิมจึงไม่สามารถวางกำลังล้อมจับได้ เมื่อตำรวจไม่สามารถทำอะไรได้ กลุ่มประชาชนจึงอาสาสมัครมาเป็นคนตรวจตรายามค่ำคืนหรือแม้ผู้มีชื่อเสียงอย่างเวลลิงตัน อาเธอร์ เวลเลสลีย์ที่เป็นนายพลในสงครามอังกฤษและฝรั่งเศสทำศึกกับนโปเลียนมรรวอเตอร์ลูในเบลเยี่ยมและได้รับชัยชนะนั้นก็เป็นคนออกตรวจตรายามค่ำคืนเหมือนกัน โดยหวังว่าเขาจะจับชายส้นเท้าสปริงให้ได้เหมือนที่เขาชนะนโปเลียนในเบลเยี่ยม แต่กระนั้นเขาก็ไม่ได้สามารถจับเจ้าส้นเท้าสปริงได้เสียที
ต่อมามีคนเสนอรางวัลนำจับชายส้นเท้าสปริงเป็นจำนวนเงินกว่า 100 ปอนด์(1 ปอนด์ในสมัยนั้นถือว่ามากพอสมควร แต่จนแล้วจนรอดก็ไม่มีใครสามารถจับชายส้นเท้าสปริงได้เสียที จนตัวเรียกรางวัลนำจับนั้นขึ้นมามากกว่า 1 ฟันล้านปอนด์
สำหรับวอลเตอร์ เดอ ลา บัว สเตรด ที่เป็นพระเอกในเรื่องสปริงกัลด์ นั้นมาจากตัวตนจริงๆ ในประวัติศาสตร์ เขาเป็นขุนนางแห่งไอร์แลนด์ชื่อ มาร์ควิส วอเตอร์ฟอร์ด เฮนรี่ เดอ ลา บัว เบเรสฟอร์ด
วอลเตอร์เกิดในปี ค.ศ.1811 และในปี 1837 ที่ชายส้นเท้าสปริงปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกนั้นเขาอายุ 26 ปี และโสด บิดาของเขามาร์ควิสจอห์น เบเรสฟอร์ดนั้นเป็นขุนนางที่ร่ำรวยมหาศาลและถือคลองที่ดินผืนใหญ่ในไอร์แลนด์และอังกฤษ เฮนรี่ซึ่งเป็นบุตรชายเพียงคนเดียวจึงถูกเลี้ยงดูอย่างฟุ่มเฟือยหรูหราจนทำให้เขาเป็นเด็กเสียคน ชอบแกล้งอย่างเกินเหตุ
วอลเตอร์ค่อนข้างเป็นชายที่หล่อเหล่อและมีผมดกดำ เขาอาศัยอยู่บ้านพักอากาศในกรุงลอนดอนเวลานั้น จุดเด่นเขาคือดวงตาโตจึงถูกตั้งชื่อเล่นว่า “ป๊อบอาย”(ชื่อของพันธุ์ปลาทองชนิดหนึ่ง) บรรดาเพื่อนฝูงของเขาเรียกชื่อนี้ลับหลัง แต่ไม่มีใครเคยเรียกชื่อนี้ต่อหน้าเขาตรงๆ เลยสักคน เนื่องจากเฮนรี่เป้นคนที่มีรูปร่างสูงใหฯและชอบใช้กำลังแก้ปัญหา ตอนสมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้นที่อีตันคอลเลจในวินด์เซอร์ เขาเคยถูกจับเพราะรวมหัวพวกเพื่อนคอยยืนอยู่บนหลังอาคารเรียนเพื่อดักฉี่รดพวกอาจารย์ที่เดินผ่านมา และในสมัยเรียนอ็อกซ์ฟอร์ดเขาก็เคยถูกลอบทำลายโดนคนกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งจนเขารู้สุกเจ็บใจและได้แก้แค้นโดยการจัดการพังบ้านของชายที่เป็นตัวการนั้นพังยับ
นอกจากนี้วอลเตอร์ยังขึ้นชื่อเรื่องด้านกีฬาด้วย เขาเคยถูกเลือกเป็นฝีพายยอดเยี่ยมในการแข่งขันเรือพายคอลเลจเอทของอ๊อกซ์ฟอร์ด และอีกด้านหนึ่งเขายังเป็นนักพนันตัวยกด้วย ความที่เขาหน้าตาดีทำให้เขาเป็นหนุ่มเนื้อหอม จนทำให้ชาวลอนดอนรู้จักเขาไปทั่วในฐานะขุนนางเสเพลผู้ไม่เกรงฟ้ากลัวดิน เขาถูกตำรวจจับเป็นว่าเล่นฐานชกต่อยชาวบ้าน ในตอนตอนที่ชายส้นเท้าสปริงปรากฏตัวและจดหมานบอกว่าชายส้นเท้านั้นเป็นขุนนางเสเพลปลอมตัวแกล้งคนนั้น ตำรวจเองก็เพ่งเป้าไปที่เขาก่อนอันดับแรก
แต่กระนั้นวอลเตอร์ก็มิได้ใส่ใจข่าวดังกล่าว เขายังคงดำเนินการแกล้งแผลงๆ ให้คนอื่นเดือดร้อนต่อไป เช่นเขาเป็นลูกค้าประจำโรงรับพนันและซ่องคณิกา เขามักเมาหัวราน้ำและพูดตลกด้วยคำผรุสวาทกับเสเพลและหญิงขายบริการเป็นประจำ เขาเคยนำสุนัขพันธุ์บลัดฮาวด์ไปที่โบสถ์เพื่อให้มันวิ่งไล่กัดบาทหลวง และเคยนำลาไปนอนบนเตียงของแขกที่มาพักโรงแรมเพื่อให้แขกตกใจด้วย
ที่ไอร์แลนด์วอลเตอร์เคยสั่งบริษัทรถไฟให้จัดหาหัวรถจักรไอน้ำ 2 คันเพื่อเอามาวิ่งเข้าหากันบนรางเส้นเดียวจนประสานงากันเต็มแรงเพียงเพราะอยากจะเห็นฉากรถไฟชนกันกับตาเท่านั้น โดยตอนนั้นเขาและเพื่อนที่มาร่วมเป็นสักขีพยานต่างก็หัวร่องงดหายกันยกใหญ่ ซึ่งแน่นอนว่าเหตุการณ์ครั้งนี้วอลเตอร์ต้องจำนวนเงินค่าเสียหายจำนวนมหาศาลให้บริษัทรถไฟ
นอกจากนี้วลอเตอร์ยังเป็นนักมวยที่ขึ้นชื่อเรื่องหมัดหนักอีกด้วย เวลาที่เขาอารมณ์ไม่ดีเขามักออกไปเตร่ในเมืองและหาคนเก่งเพื่อชกต่อย จากนั้นก็น็อตเสียเพื่อสบายอารมณ์ แต่บางครั้งเขาก็โดนคนเก่งสอนมวยอยู่เหมือนกัน จนต้องเดือดร้อนเพื่อนต้องแบกเขากลับบ้านเพื่อทำแผล นอกจากนี้เขายังยังเก่งเรื่องขี่ม้า เขาเคยควบม้ากระโจนจากหลังคาของตึกหนึ่งไปยังอีกตึกหนึ่งอีกด้วย
สรุปก็คือวอลเตอร์เป็นพวกหลุดโลกอย่างที่สุดนั้นเอง และด้วยความเป็นคนเช่นนี้เขามักตกเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์อยู่ตลอดเวลา แต่กระนั้นบางข่าวก็ลงถึงคุณงามความดีของเขาอยู่เหมือนกัน โดยในเดือนมิถุนายน 1838 วอลเตอร์กำลังเดินทางอยู่แถบชานเมืองไอร์แลนด์อยู่นั้น เขาได้พบม้าดีตัวหนึ่งที่มันสามารถวิ่งแซงรถม้าเขาได้ เขาเลยเจรจาติดต่อกับชาวไร่ผุ้เป็นเจ้าของม้านั่นเองรวดเร็วและขอซื้อมันในราที่สูง แต่ทว่าม้าตัวนั้นกลับพยศและทำให้ชาวไร่คนนั้นบาดเจ็บ วอลเตอร์เห็นดังนั้นก็รีบลงจากรถม้าและใช้แขนเข้าปราบพยศม้าและนำชาวไร่คนนั้นส่งโรงพยาบาลโดยเขาออกค่ารักษาทั้งหมด และยังคืนม้าตัวนั้นให้อีกต่างหาก
ประจวบเหมาะกับในช่วงที่ชายส้นเท้าสปริงปรากฏตัวออกมาอยู่บ่อยๆ วอลเตอร์ก็ไม่ได้ออกมาพบปะสังสรรค์กับใครอีกเลยโดยอ้างว่าป่วย การที่ชายที่แข็งแรงจะเจ็บป่วยเป็นเวลานานนั้นถือว่าแปลกพอสมควร บรรดาสหายของเขาสงสัยว่าวอลเตอร์อาจแกล้งป่วยเพื่อแอบทำอะไรสักอย่างที่พิเรนพท์อยู่เบื้องหลัง ซึ่งบางทีเขากำลังเพลิดเพลินกับการเป็นชายส้นเท้าสปริงก็ได้ และในความจริงมีพยานที่พยเห็นใต้ผ้าคลุมของชายส้นเท้าสปริงนั้นปักตัวอักษร W อยู่ด้วย ซึ่งมันมาจากคำนำหน้า Waterford นั้นเอง บวกกับเพื่อนของวอลเตอร์มีพวกที่เรียนสาขาจักรกลในมหาลัยอยู่ด้วย จริงไม่น่าแปลกแต่อย่างใดถ้าวอลเตอร์จะให้เพื่อนคนนั้นแอบสร้างขาสปริงให้อย่างลับๆ เหมือนอย่างการ์ตูนเรื่องนี้ก็ได้
และหลังจากวอลเตอร์แต่งงานเมื่ออายุ 31 ปี เขาก็ไม่เคยเล่นอะไรแผลงๆ อีกเลย(ชายส้นเท้าปริงหยุดออกอาละวาดในปี 1901) ในชีวิตปั้นปลายในปี ค.ศ.1859 วอลเตอร์ก็เสียชีวิตเนื่องด้วยอุบัติเหตุขี่ม้าล่าสัตว์ ส่งผลให้เขาคอหัก และจบชีวิตในขณะเขาอายุ 48 ปี
หลังจากวอลเตอร์ ชายส้นเท้าสปริงยังคงอาละวาดอยู่เนื่องๆ แต่หลายคนบอกว่าน่าจะเป็นตัวปลอมมากกว่า ซึ่งหากเป็นตัวจริงและเป็นคนก็น่าจะมีอายุมากโข มีข้อสันนิษฐานต่างๆ นาๆ เกี่ยวกับชายส้นเท้าสปริงไม่ว่าจะเป็น ลิงที่หลุดจากคณะละครสัตว์, นักแสดงคณะละครสัตว์ หรือสัตว์ลึกลับที่อาจไม่พบตัว
ตอนแรกๆ นั้นชายชายส้นสปริงออกมาเพื่อทำให้คนตกใจหรือหวาดกลัวเท่านั้น หากแต่ระยะหลังชายส้นเท้าสปริงเริ่มฆ่าคน โดยวิธีการฆ่าส่วนมากคือพ่นไฟและจับคนโยนจากที่สูง แม้ในปี 1901 ชายส้นเท้าสปริงจะหยุดอาละวาด แต่ก็นั้นก็ยังมีรายงานการพบเห็นสิ่งที่คล้าย ๆ ชายส้นเท้าสปริงเป็นระยะ จนกระทั้งศตวรรษที่ 20 มันก็ไม่ปรากฏตัวอีกเลย
เรื่องราวของชายส้นเท้าสปริงได้รับความนิยมอย่างมาก วรรณกรรมในช่วงที่ชายส้นเป้าสปริงอาละวาดได้รับอิทธิพลในเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นละคร,เพลง, ภาพยนตร์ การ์ตูน และนิยาย ซึ่งมักนำชายส้นเท้าสปริงมาเป็นตัวเอก และหลายแนวไม่ว่าฮีโร่หรือสยองขวัญ
สำหรับเรื่องที่ 2 ของการ์ตูนนี้มีชื่อว่า “มาธอร์ กูส” "(MOTHER GOOSE)" เป็นนักแต่งเพลงและนิทานที่ฐานะเป็นเพียงหญิงชาวบ้านธรรมดาและเป็นแม่ม่ายอารมณ์ดีคนหนึ่ง ซึ่งมีลูกติดสิบคน เธอโด่งดังในฐานะนักเล่านิทานและลำนำจำนวนมากมายเหลือเฟือที่มาเล่าให้ลูกๆ คนเธอฟังอย่างไม่รู้จักหมดสิ้น และเมื่อ ชาร์ลส์ เพอโรลท์ ยอดนักเขียนของฝรั่งเศส รวบรวมนิทานและเรื่องราวปรัมปรามาเล่าใหม่จึงได้ตั้งชื่อหนังสือรวมนิทานของเขาว่า "นิทานมาเธอร์ กูส" ซึ่งมีเรื่องเด่นหลายเรื่อง อย่างเช่น เจ้าหญิงนิทรา หนูน้อยหมวกแดง ซินเดอเรลลา
เนื้อหาของเพลงของมาเธอร์ กูสบางครั้งเนื้อหาแท้ๆ ที่ซ่อนนอยู่นั้นหากตีความจะเต็มไปด้วยเรื่องราวที่แสนโหดร้าย น่ากลัว เซ็กต์ ฆาตกรรม และสภาพสังคมอังกฤษในเวลานั้น อย่างในเนื้อหาการ์ตูนตอนท้ายเรื่องที่วอลเตอร์ร้องเพลงของมาเธอร์กูสว่า “แจ็กผู้รวดเร็ว แจ๊คผู้ว่องไว กระโดดข้ามเชิงเทียนไปสิ” เป็นเพลงชื่อ “Jack Be Nimble” ซึ่งเนื้อภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้
Jack be nimble,
Jack be quick,
Jack jump over
The candlestick
เนื้อเพลงถูกเผยแพร่อย่างเป็นทางกลางในปี 1815 ถ้าฟังแบบเฉยๆ ไม่คิดอะไรมากก็นึกว่าเนื้อหามันธรรมดา กากเราตีความหมายและทราบจะพบว่าเนื้อเพลงนี้กล่าวถึงความรักข้ามวรรณะ และการเอาชนะอุปสรรค์(เชิงเทียน) เพื่อให้ได้ความรัก เนื้อเพลงนี้จึงได้สอดแทรกไปในสื่อต่างๆ เช่น เกมส์คอมพิวเตอร์ The Elder Scrolls IV: Oblivion,
สรุป แม้การ์ตูนเรื่อง The Black Museum Springald นี้จะสอดแทรกแอ็คชั่นมากตามความถนัดของคนเขียนการ์ตูนเรื่องนี้ หากแต่ท้ายบทนั้นมีเชิงอรรภทำให้เราได้ทราบเรื่องราวที่แท้จริงของชายส้นเท้าสปริงคดีที่คนไทยเราไม่คุ้นหูเท่าไหร่ได้เข้าใจยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสอดแทรกสาระการเลี้ยงดูบุตรและความรักต่างวรรณะ ถือได้ว่าเป็นการที่เด็กๆ สามารถดูได้อย่างไม่ต้องกลัวเรต
+ +
ความคิดเห็น