ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #157 : Btooom! ระเบิดชีวิต!! เซอร์ไววัลบนเกาะร้าง

    • อัปเดตล่าสุด 5 ธ.ค. 54



                    Btooom! การ์ตูนเรื่องที่กำลังจะเขียนแนะนำต่อไปนี้  ผมไม่มีความคิดอยากจะอ่านเลยตั้งแต่แรกเห็น เนื่องจากผู้เขียนผลงานเรื่องนี้คือ Junya Inoue ซึ่งผมค่อนข้างอคติจากผลงานก่อนหน้าคือศึกเทพศาสตรา (Otogi Matsuri 2003) พอสมควร(ที่อคติไม่ใช่อะไรหรอก คือตอนจบมันไม่ฮาเร็มแถมความรักยังค้างๆ คาๆ อีก) แต่กระนั้นผมก็ได้อ่านการ์ตูนเรื่องนี้เนื่องจากนอนเบอร์ชื่อ คุณผีสิง มาแนะนำให้ผมอ่าน  หลังจากที่ผมได้อ่านการ์ตูนดังกล่าวครบหกเล่ม ผมนั่งคิดไปพักใหญ่ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ได้ให้อะไรแก่เรา......

     

      

    Btooom!

    แอ็คชั่น, เซอร์ไววัล

     

    Btooom! เป็นการ์ตูนมังงะญี่ปุ่นแนวแอ็คชั่น, เซอร์ไววัล วาดโดย Junya Inoue วาดในปี 2009 ของสำนักพิมพ์ Shinchosha ลงนิตยสารประจำใน Comic Bunch  ในไทยเรายังไม่ได้ลิขสิทธิ(หากได้คงเป็นของสยาม) แต่มีการแปลบางส่วนในเว็บอ่านการ์ตูน(ลองหาเองล่ะกัน)

                    Btooom! เป็นเรื่องราวของซากาโมโตะ เรียวตะ เด็กหนุ่มอายุ 22 ปี ที่ว่างงานเกาะแม่กิน วันๆ เอาแต่เล่นเกมออนไลน์ สุดฮิต “Btooom!” จนกลายเป็นเทพในเกม แต่นั้นเป็นเพียงแค่โลกในเกม ในโลกแห่งความจริงเขายังเป็นแค่พวกอนาคตมืดมนอยู่วันยังค่ำ

                    จนกระทั้งวันหนึ่งเขาได้ตื่นขึ้นมาพบว่าเขาอยู่บนเกาะร้างเขตร้อนแห่งหนึ่ง และเขาจำอดีตที่ผ่านมาไม่ได้ว่าเขาอยู่ที่นี้ได้อย่างไร เจขาสำรวจตนเองก็พบว่ากระเป๋ามีวัตถุอะไรแปลกๆ ติดมาด้วย  เมื่อเขาพยายามงัดแงะอะไรดูปรากฏว่ามันเป็นระเบิดตั้งเวลาแบบแรงสูงสามารถฆ่าคนได้ในพริบตา เท่านี้ยังไม่พอเขายังพบวัตถุแปลกปลอมติดอยู่ที่หลังมือของเขา(เป็นเครื่องสแกนใช้ค้นหาพวกเดียวกันที่อยู่บนเกาะ) และเมื่อเขารองสำรวจเกาะเขาก็พบคนแปลกหน้าคนหนึ่ง แต่ไม่ทันทีเขาจะดีใจ เขาคนแปลกหน้าดังกล่าวก็พยายามใช้ระเบิดดังกล่าวฆ่าเขา และแล้วเขาก็ใช้ระเบิดดังกล่าวเพื่อเอาตัวรอดด้วยการฆ่าชายแปลกหน้าคนดังกล่าวไป

                    เช้าวันต่อมาเรียวตะก็พบมนุษย์คนอื่นๆ บนเกาะ เขาได้พวกคนหนึ่งเป็นชายวัยกลางอ้วนคนหนึ่ง และแล้วเขาก็รู้ว่าเรื่องเกิดขึ้นทั้งหมดเป็นเกมเวอร์ไววัลฆ่าจริงเจ็บจริงเกมหนึ่งที่บริษัทเกมออนไลน์เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา(วัตถุประสงค์ไม่แน่ชัด) โดยพยายามรวบรวมคนหลากหลายอายุ หลายเพศ หลายอาชีพ จำนวนประมาณ 30 คน เอาไว้บนเกาะร้างบนเกาะเขตร้อน และให้ใช้ระเบิด(ที่หลายชนิด)ฆ่ากัน โดยใครฆ่าครบ 8 คน จะสามารถออกจากเกาะได้ ดังนั้นเพื่อชัยชนะเกมดังกล่าว เรียวตะจำเป็นต้องมีพรรคพวกช่วยเหลือและเขาก็ได้ร่วมมือกับลุงอ้วน และสาวน้อยมัธยมปลายตัวเล็กๆ (แต่นมโต) ที่เจอบนเกาะอีกคนหนึ่ง และแล้วทีมของเรียวตะจะไปรอดหรือไม่ เขาจะสามารถเอาชนะเกมแห่งความตายได้หรือเปล่าก็ติดตามตอนต่อไป

                    

    ซากาโมโตะ เรียวตะ พระเอกของการ์ตูนเรื่องนี้ หน้าเหมือนไลน์ ณ เดธโน็ต คือหน้าตาดูดี(แต่ในเรื่องกำหนดไว้ว่าหน้าตาธรรมดา) แต่โหลยโท่ยกว่า เป็นเด็กหนุ่มอายุ 22 ปี อาชีพว่างงานไม่ทำงาน ชอบเกาะแม่กิน วันๆ เอาแต่เล่นเกมออนไลน์ Btooom! จนกลายเป็นเทพ ได้รับยกย่องในโลกอินเตอร์เน็ต จนได้รับติดต่อจากบริษัทเกมให้ทดลองเกม แต่กลายเป็นว่ามันเป็นเกมฆ่าจริงเจ็บจริงซะงั้น มีสกิลพระเอกแนวเซอร์ไววัลของแท้ดังเดิม คือรักเพื่อนพ้องไม่ลังเลที่จะช่วยเหลือหากเพื่อนพ้องได้รับอันตราย กล้าหาญ ปรับตัวได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตามเขาเป็นคนไม่ค่อยมั่นใจตนเองสักเท่าไหร่

     

    คิโยชิ ทาอิระ ชายวัยกลางคน อายุ 51 ปี อาชีพตัวแทนอสังหาริมทรัพย์ มิตรคนแรกที่เรียวตะพบหลังจากมาเกาะแห่งนี้ และได้เป็นพันธมิตรเรียวตะ มีสกิลตัวถ่วง ที่เรียวตะจำเป็นต้องช่วยเหลือเขาบ่อยๆ ปัจจุบันยังไม่ทราบปมปัญหาอดีตของเขา

     

    ฮิมิโกะ สาวมัธยมปลายอายุ 15 ตัวเล็ก คาดว่าเป็นลูกครึ่ง(ดวงตาสีฟ้า ผมบลอนด์) หน้าอกใหญ่ ซึ่ง โดยเรียวตะพบเป็นคนที่สองหลังจากติดอยู่บนเกาะร้าง หากแต่ตอนแรกเธอหนีจากเขาเพราะมีปมปัญหาจากโดนพวกเดียวกันหักหลังและเกือบโดนข่มขืน จนเป็นเหตุไม่เชื่อใจคนอื่นบนเกาะและคิดว่าทุกคนคือศัตรู แต่ต่อมาเรียวตะก็โชว์ความแมนจนเธอเชื่อใจ และกลายเป็นพันมิตรของเรียวตะในที่สุด นิสัยน่ารัก แต่ใจเด็ดพอสมควร

     

    คิระ เคียวสึเกะ เด็กนรกอายุ 14 ปีที่เป็นศัตรูคนที่สองของเรียวตะ หน้าตาออกจะน่ารักแต่ประวัติชีวิตสุดเลวร้าย คือเป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยครอบครัวซึ่งพ่อที่ทำอาชีพคนจับรถบรรทุกตบตีเขาประจำ จนหนีออกจากบ้าน และก่อคดีฆาตกรรมต่อเนื่องฆ่าและข่มขืนผู้หญิงสามรายซ้อน จนถูกจับและต่อมาก็เขาร่วมเกมบนเกาะร้าง เนื่องจากอดีตเขาเคยเป็นหนึ่งนักเล่นเกมออนไลน์ที่เกือบถูกขนานนามว่าเป็นเทพ และเป็นเด็กเกม เล่นเกมนาน 80 ชั่วโมงโดยไม่หยุด หลังจากมาอยู่บนเกาะร้างเขาก็อยู่กลุ่มพ่อของเขา และเขาก็ใช้ระเบิดในเกมฆ่าพ่อของตนเอง และพยายามฆ่าเรียวตะแต่ไม่สำเร็จ แต่เรียวตะไม่ฆ่าเขา ทำให้เขาเจ็บแค้นและหวังจะแก้แค้นเรียวตะในอนาคต

                      

                    ชื่อของการ์ตูนเรื่องนี้คือ Btooom! เป็นชื่อของเกมออนไลน์สุดฮิตในการ์ตูนมังงะเรื่องนี้ที่พระเอกเป็นเทพ ถูกพัฒนาโดยบริษัทเกม Tyrannos (ชื่อเสียงเทียบdy[Nintendo หรือ Sony ในโลกแห่งความจริง)โดยเกมดังกล่าวเป็นเกมแนว TRP(แนวยิงบุคคลที่สาม) แนวออนไลน์ ของเครื่อง DXBOX 720 (เป็นการเล่นสำนสนของเครื่อง Xbox 360 สังเกตว่าภาพปกมังงะเหมือนปกเกมของเครื่อง Xbox 360 ด้วยถือว่าแปลกสะดุดตาดี )เกมดังกล่าวสามารถเล่นได้ถึง 2-32 คน(จัดทีมได้ 8 ทีม)  ตัวละครมีหลายรูปแบบให้เรียกโดยออกแบบในรูปแบบแนวไซไฟ ที่ผู้เล่นจะรับบทเหมือนนักกีฬาที่ต้องใช้ระเบิด(เรียกว่า BIM) ฆ่าฝ่ายตรงข้าม โดยผู้เล่นจะมีเรดาห์สามารถตามหาฝ่ายตรวจข้ามได้ และเกมยังมีหลายสถานที่ที่เป็นสมรภูมิรบไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง, สถานที่ปรักหักพัง, เมืองร้าง ซึ่งผู้เล่นสามารถใช้สภาพแวดล้อมดังกล่าวมาใช้เป็นกับดักฆ่าผู้เล่นได้

                    และด้วยวัตถุประสงค์ใดไม่ทราบ บริษัท Tyrannos ได้มีความคิดอยากให้เกม Btooom! เป็นของจริง ดังนั้นพวกเขาจึงทำการรวบรวมบุคคลทุกอายุ ทุกเพศ ทุกวัย ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ คนแก่ ประมาณ 30 คน นำไปปล่อยกระจัดกระจายบนเกาะร้างแห่งหนึ่งที่ไม่มีแผนที่ เกาะแห่งนี้คาดว่าเป็นเกาะทางใต้ของหมาสมุทรแปซิฟิกหากแต่ไม่มีน้ำหรืออาหารที่สะอาด นอกจากนั้นยังเต็มไปด้วยป่าและสัตว์ร้ายและหุ่นพิฆาต!?  แต่กระนั้นก็มีซากปรักหักพังหลายแห่งให้เลือกเป็นฐานที่มั่นและสมรภูมิ

                    ผู้เล่นหลายคนส่วนมากที่มาเล่นเกมจะโดนหลอกว่ามีงานได้เงินดี บางคนก็โดนลักพาตัวโดยจำเรื่องในอดีตไม่ได้ บางคุณถูกพาตัวเพราะเป็นผู้เล่น Btooom! ชั้นเซียน บางคนก็มีทักษะที่เก่งกาจเฉพาะตัว เช่นเป็นทหาร แพทย์ ทุกคนโดนบังคับให้มาเล่นเกม และทั้งหมดจะมีกระเป๋าใส่ระเบิดหรือเรียกว่า BIM ติดตัว คนละ 8 ลูก โดยระเบิดดังกล่าวแตกต่างจากระเบิดทั่วไปคือ คือเป็นระเบิดโลหะสีดำ มีหลายประเภท หลายวิธีการใช้ และมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น ระเบิดแบบตั้งเวลา, ระเบิดขนาดเล็ก, ระเบิดก๊าซพิษ, ระเบิดมีปีกนำวิถีติดตามเป้าหมาย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีอาหารและเครื่องดื่มจำนวนหนึ่งติดตัวมาด้วย

                    นอกจากนี้ผู้เล่นสามารถค้นหาผู้เล่นคนอื่นๆ โดยใช้ชิป IC เหมือนผลึกที่ฝังในหลังมือซ้ายของผู้เล่น ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเรดาห์คือมันจะส่องแสงสแกนหาตำแหน่งของคนอื่นได้ โดยระยะทางเป็นแบบไซนาห์เหมือนวงกลม โดยชิปดังกล่าวจะเอาออกได้เมื่อผู้เล่นคนนั้นตาย(หรือไม่ก็ตัดแขนที่ซิปติดทิ้ง) โดยเป้าหมายคือผู้เล่นเก็บรวบรวมชิป 8 อัน(รวมกับชิปติดตัวของเรา) จึงจะสามารถออกจากเกาะแห่งนี้ได้ ซึ่งการที่จะได้ต้องฆ่าผู้เล่นคนอื่นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

                     

    ช่วงนี้รู้สึกว่าช่วงนี้การ์ตูนญี่ปุ่นแนวเซอร์ไววัล(Survival )และเซอร์ไวเวอร์(Survivor) ประเภทเกาะร้าง สู้กัน เกมแห่งความตาย นางเอกนมโต จะออกมาให้ลิ้มลองค่อนข้างจะเยอะนะครับ เอ่อ...

                    ถ้าถามว่าการ์ตูนเซอร์ไววัลต่อสู้บนเกาะร้างเรื่องใดหลายคนรู้จักมากที่สุด แน่นอนครับร้อยทั้งร้อยก็ต้องตอบ Battle Royale (2000) เป็นแน่แท้ สาเหตุเพราะคนไทยคุ้นหูมากที่สุด เคยตกเป็นข่าวในไทยและถูกวิพากษ์วิจารณ์ทางสังคมมาแล้วเนื่องจากมีภาพยนตร์ดังกล่าวมาฉายไทย และบางทีการ์ตูนเรื่องดังกล่าวต้นแบบการ์ตูนแนวเซอร์ไววัลด้วยซ้ำ เพราะไม่ว่าการ์ตูนเซอร์ไววัลเรื่องใหม่มาเมื่อไหร่เรามักเปรียบเทียบการ์ตูนดังกล่าวกับ Battle Royale (2000) ก่อนทุกครั้ง

    การ์ตูน Battle Royale ดังกล่าวเป็นผลงานของ Koushun Takami ที่สร้างจากนิยายที่ได้รับความนิยมในประเทศญี่ปุ่นในชื่อเดียวกัน(ในปี 1999) ซึ่งเนื้อหาเกี่ยวกับโลกคู่ขนานแห่งหนึ่ง ในประเทศญี่ป่านในยุคเผล็ดการ ที่ถึงยุคตกต่ำสุดขีด มีการก่ออาชญากรรมเกลื่อนเมือง รัฐบาลมีนโยบายให้มีโปรแกรม BR. เกิดขึ้น โดยเลือกสุ่มจากกลุ่มนักเรียนกลุ่มหนึ่ง(ยกชั้น) ให้มาเข่นฆ่ากันเองบนเกาะร้างโดดเดี่ยวในจังหวัดคากาว่า เพื่อวัตถุประสงค์ในการวิจัยทางการทหารในการสร้างความหวาดระแวงและจัดระเบียบทางสังคม

    ไทยเรารู้จัก Battle Royale ภาพยนตร์ มากกว่าการ์ตูน แม้การ์ตูนจะมีแปลไทย(แบบไม่มีลิขสิทธิ์)วางขายในไทยบ้างแล้วก็ตาม แต่กระแสภาพยนตร์มาแรงกว่า โดยกระแสตอนนั้นมีสองฝ่ายออกมาเสนอสองแง่คิด คือด้านลบสุดขีดคือเป็นหนังรุนแรงสูง สอนให้เด็กฆ่ากัน ภาพออกมาขยะแขยงฆ่ากันแบบถึงเนื้อถึงเลือด แต่ในขณะเดียวกันก็มีการนำเสนอด้านบวกของการ์ตูนเรื่องนี้ไปด้วยว่าถึงแม้จะเป็นภาพยนตร์(การ์ตูน)ที่มีความรุนแรงสูง แต่กระนั้นจิกกัดประเด็นญี่ปุ่นอย่างถึงกึ๋นไม่ว่าจะเป็นสภาพสังคมของญี่ปุ่น หรือจะเป็นปัญหาของวัยรุ่นที่ใช้จิตวิทยามาสอดแทรกว่า  เรานำกลุ่มสังคมหนึ่ง(ห้องเรียน) และตั้งกฎกติกาให้ฆ่ากัน โดยใช้สัญชาติเอาตัวรอดมาใช้จะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่ได้ก็คือ การต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอดของแต่ล่ะคนในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป คนหนึ่งปลดปล่อยอารมณ์ด้านมืดเต็มที่สมใจที่จะได้ฆ่าคนตามปรารถนา คนหนึ่งหักหลังเพื่อนอย่างหน้าตาเฉยเพราะคิดว่าสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อนแท้ไม่มีอยู่จริง ขณะที่บางคนปลดปล่อยอารมณ์ที่เก็บกดเอาไว้เพราะในอดีตเป็นคนขี้แพ้และถูกกลั่นแกล้งตลอดเวลา ฯลฯ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสุดท้ายนิยาย(ไม่แน่ใจฉากจบการ์ตูนและภาพยนตร์)ก็จบลงโดยพระเอกและนางเอกรอดเพราะพวกเขาเชื่อเรื่องมิตรภาพ ความรัก และเสียสละมีอยู่จริงแม้ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยกลิ่นคาวเลือด หักหลังก็ตามและผลสุดท้ายและพวกเขาก็ได้รับการตอบแทนด้วยการมีชีวิตรอดในที่สุด

      ส่วนตัวผมไม่ได้ดูการ์ตูนดังกล่าวเพราะมันไม่ฮาเร็มไม่โมเอะ (เหตุผล?) ภาพยนตร์ยิ่งแล้วใหญ่ไม่ได้ดู(ในภาพยนตร์ใช้เกาะ Hashima มาถ่ายทำ) พูดตรงๆ ที่ผมพล่านเนื้อหาทั้งหมดของ Battle Royale มาจากการอ่านวิกิพีเดีย แต่กระนั้นก็ยอมรับว่าการ์ตูน Battle Royale นั้นสอดแทรกอะไรหลายอย่างมากกว่าเซอร์ไววัลฆ่ากันเอามันเหมือนการ์ตูนทั่วไป จึงไม่แปลกแต่อย่างใดที่การ์ตูนเซอร์ไววัลที่ออกมาช่วงหลังๆ จะมีโครงเรื่องคล้ายๆ กัน  

    ปล. หลายคนไม่รู้เรื่องนี้แน่ ว่า Battle Royale  มีภาค 2 คือภาค Battle Royale II: Blitz Royale (2003) ผลงานนักเขียนสุด การ์ตูนที่มีเนื้อหาสุด งง นาม Hitoshi Tomizawa ซึ่งมังงะเนื้อหารุนแรงน้อยกว่า การ์ตูน Battle Royale โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กมัธยมต้นโดนบังคับเข้าร่วมโปรแกรม BR. ฝึกทหารและฆ่ากันเอง โดยมีลิขสิทธิ์ในไทยโดยวิบูลย์กิจ มี 2 เล่ม(จบ) และผมก็ได้อ่านเป็นที่เรียบร้อย (งง ตึ๊บ)

                    ส่วนเซอร์ไววัลเกมแห่งความตาย ที่จะสู้หรือจะยอมตาย(?ไม่ใช่เกาะร้าง)เรื่องอื่นๆ ที่หลายคนพอรู้จัก ก็เช่น Gantz(2000), Mirai Nikki(2006),  Judge (2010), Cry Eye (2011)  และเรื่องที่ผมอยากแนะนำให้หลายคนอ่านคือ Life Is Money (2011) ซึ่งเนื้อหาคล้ายๆ กับเกมหลอกเกมลวง

                     

                    คำถามต่อมาทำไมหลายคนชอบเซอร์ไววัลเกมแห่งความตาย สาเหตุก็เพราะแนวเรื่องดังกล่าวมีความตื่นเต้น ระทึกน่าติดตาม มีหลักการจิตวิทยาที่เล่นกับความรู้สึกของผู้ดู เอาใจช่วยและสาปแช่งตัวละครในเรื่อง เอาใจช่วยคือลุ้นพระเอกหรือคนที่จิตใจดีงามให้รอดพ้นกับความตายหรือกับดักมรณะสารพัดกลโกงปัญหาต่างๆ ในขณะเดียวกัน อย่างที่สองก็แช่งให้ตัวละครที่เหม็นขี้หน้าตายไปซะๆ ซึ่งส่วนมากตัวละครเหล่านั้นจะเป็นตัวโกง ประเภท อวดฉลาด มีอัตตาสูง คนทรยศหักหลัง

    แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับบทบาทการดำเนินเรื่องของการ์ตูนด้วยว่าคนเขียนจะสร้างเรื่องตัวละครเหล่านี้ทำให้คนอ่านเกิดความรู้สึกร่วมหรือไม่ ซึ่งส่วนมากคนเขียนมักวางปมปัญหาในอดีตของตัวละครแต่ละตัวลงไป(พูดง่ายๆ คือฉากระลึกชาติ) เพื่อแสดงให้คนอ่านเห็นว่าตัวละครมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำให้เกิดความผูกพันตัวละคร และสามารถตัดสินใจว่าจะเชียร์หรือสาปแช่งหรือเห็นใจ

     และถามต่อว่าทำไมเวอร์ไววัลสยองขวัญจำพวกเอาชีวิตรอดทำไมต้องเป็นเกาะร้างด้วย สาเหตุก็เพราะเกาะร้างเป็นสถานที่ตัดขาดจากโลกภายนอกได้ดีที่สุด และสามารถนำเสนออะไรมากที่สุด สร้างสถานการณ์อันตรายได้ง่ายที่สุด อีกทั้งธีมหลักยังง่ายต่อการนำเสนอการเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมท่ามกลางธรรมชาติที่ยากลำบากขาดปัจจัยทั้ง 5  และขาดเครื่องอำนวยสะดวกสบาย(โทรศัพท์มือถือ, โทรทัศน์, ห้องน้ำ ฯลฯ) ผู้เล่นจะสูญเสียทางกายและทางจิตใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดด้านมืดในจิตใจได้ทุกเมื่อ

    สรุปคือสาเหตุที่หลายคนชอบเซอร์ไววัล ก็เพราะ เราชอบดูชีวิตมนุษย์ในสังคมหนึ่ง ที่ต้องการดิ้นรนเอาตัวรอดในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก จะปรับตัวเข้าหาอย่างไร จะมีชีวิตอยู่อย่างไร ซึ่งปัจจุบันเราแทบไม่มีชีวิตแบบในรายการที่ว่าอีกแล้วเรามีน้ำและไฟฟ้าใช้ ขนาดไฟฟ้าตัดยังโวยวาย หากไปอยู่สถานที่ดังกล่าวจะทำอย่างไร และนอกเหนือจากการปรับตัวแล้ว ผู้เล่นจะต้องมีชีวิตรอดจากกผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายซึ่งจะต้องก็ทำทุกวิถีที่จะเล่นเกมจิตวิทยากำจัดฝ่ายตรงข้ามไม่ว่าจะเป็น การโกหก ร่วมมือ การหักหลัง จนเหลือผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียว พร้อมกันนั้นผู้ดูก็ได้ติดตามลุ้นกันว่าผู้ชนะคือใคร และนี้คือแนวเซอร์ไววัลเกาะร้าง

      

    คำถามสำคัญต่อมาผมรู้สึกอย่างไรที่อ่าน Btooom! คำตอบคือเป็นการ์ตูนน่าสนใจเรื่องหนึ่ง อ่านแล้วรู้สึกสนุก ตื่นเต้น ระทึกขวัญ มีองค์ประกอบของเซอร์ไววัลเกมแห่งความตายครบถ้วน สถานที่เกิดเรื่องเป็นเกาะร้าง ที่ภาพออกมาสวยงาม แต่บรรยากาศกลับเต็มไปด้วยความตายและไม่น่าไว้ใจไม่เพียงเฉพาะผมรู้สึกแบบนี้คนเดียว เว็บอื่นๆ ก็วิจารณ์การ์ตูนเรื่องนี้เป็นด้านบวกและให้คะแนนเฉลี่ยค่อนข้างสูงเช่นกัน อีกทั้งฉากฆ่ากันก็ไม่ได้รุนแรงมากนักและไม่มีฉากล่อแหลมให้น่าเป็นห่วง (จำพวกมีเพศสัมพันธ์ ฉากเซ็กต์ ฉากตัดหัว ฯลฯ) แต่อย่างใด

                   อย่างไรก็ตาม Btooom! มีความแตกต่างจาก Battle Royale อยู่ค่อนข้างมากตรงรายละเอียด เช่น ตรงที่สถานการณ์ไม่ได้บีบบังคับให้หลายคนต้องการเข่นฆ่ากันเองมากเกินนัก ประมาณว่าหากไม่จบเกมใน 3 วันจะตายหมด อีกทั้งตัวเกมก็มีไม่ได้มีแรงจูงใจให้ฆ่าคน ของรางวัลที่ได้จากการเอาชนะก็ไม่ช่วยเกิดความรู้สึกอยากจะฆ่าคน อย่างมากก็ได้ออกจากเกาะ(หรือว่ามีการเพิ่มเงินรางวัลหรือแรงจูงใจอื่นๆ หรือเปล่าอันนี้ผมไม่ทราบเพราะดูเรื่องไม่เห็นกล่าวถึง อีกทั้งผมดูภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ดูภาษาอังกฤษ)

                    แต่ทำไมยังมีการฆ่าเกิดขึ้นใน Btooom!

     ตามหลักจิตวิทยาแล้ว หากเราทำปล่อยคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่รู้จักหน้าค่าตามาก่อนไปยังสถานที่แห่งหนึ่ง ที่ไร้กฎเกณฑ์และกฎหมาย พร้อมกับตั้งกฎให้ฆ่ากัน เพียงแค่นี้ก็สามารถเกิดการฆ่าได้แล้ว สาเหตุเป็นเพราะหลายคนถือโอกาสนี้ปลดปล่อยด้านมืดได้เต็มที่ โดยเฉพาะคนที่มีประวัติชีวิตสุดเลวร้าย เป็นตัวปัญหาของสังคม หรือมีปัญหาทางสภาพจิต ย่อมสามารถตัดสินฆ่าคนได้อย่างง่ายดายกว่าคนปกติธรรมดา อีกทั้งยังมีคำว่ามันเป็นแค่ “เกม” มาช่วยในการตัดสินใจฆ่าคนได้ง่ายยิ่งขึ้น

                    สิ่งที่ทำให้เกิดการฆ่าฟันอีกอย่างก็คือการแย่งชิงอาหารและน้ำดื่มที่มีอยู่จำกัด เพราะในเกาะที่จตัวเอกอยู่ไม่สามารถหาอาหารและน้ำดังกล่าวได้ ทำให้ต้องพึ่งเสบียงที่ถูกส่งมายังบนฟ้าแทน หากแต่เสบียงดังกล่าวมีอยู่จำกัดทำให้หลายคนต้องแย่งเพื่อความอยู่รอด ส่งผลทำให้หลายคนถือโอกาสนี้กำจัดผู้เล่นหลายคนเพื่อตัดปัญหาแย่งชิง                Btooom! มีความแตกต่างจากเซอร์ไววัลแห่งความตายเรื่องอื่นๆ คือกลุ่มผู้เข้าเล่นเกมที่แตกต่างในด้านอายุหลากหลายวัย ซึ่งไม่เหมือนการ์ตูนแนวเซอร์ไววัลเรื่องอื่นๆ ที่เน้นกลุ่มเพศเดียวกันมาเล่นเกม (กลุ่มเด็กประถม, กลุ่มเด็กมัธยม, ผู้ใหญ่ ฯลฯ) ทำให้ความคิดความต่างค่อนข้างแตกต่าง และมีประสบการณ์ในอดีตที่เลวร้ายหรือผิดพลาด เป็นผู้แพ้ในสังคมโดยสมบูรณ์จึงไม่แปลกแต่อย่างใดตนเองอยากเป็นผู้ชนะในเซอร์ไววัลเกมแห่งความตายเพื่อเหนือคนอื่น

                อย่างไรก็ตามท่ามกลางนรกแห่งนี้ยังมีกลุ่มหนึ่งที่ยังคงมีจิตใจดีงามหลงเหลืออยู่นั้นคือกลุ่มของพระเอกและนางเอก ที่ไม่ได้ตามน้ำกับเกมเซอร์ไววัลแห่งความตาย แม้จะมีการฆ่าคนแต่ฆ่าเพื่อเป็นการป้องกันตัวหากสู้ได้ก็สู้ ไม่ได้ปลดปล่อยจิตใจด้านมืดไปด้วย พวกเขายังคงเชื่อใจกัน เชื่อว่าเพื่อนแท้ มิตรภาพจะสามารถชนะเกมตายนี้ได้ในที่สุด

                     
             
    สิ่งที่การ์ตูน Btooom! ต้องการนำเสนอประเด็นสังคมต่างๆ มากมาย ตรงพวกคนที่มีตราบาปหรือพวกหนักแผ่นดินสังคมถูกจับตัวปล่อยบนเกาะ อารมณ์ประมาณว่าเอ็งชั่วดีนักเห็นคนอื่นไร้ฆ่าเอางี้ดีไหมจับมาปล่อยเกาะเอาอาวุธไปฆ่ากันให้ตายไปข้างหนึ่งเลยอารมณ์แบบ Battle Royale แต่กระนั้นมังงะเรื่องนี้คนชั่วดังกล่าวยังสามารถปรับปรุงตัวเป็นคนดีได้ โดยเฉพาะพระเอกที่อดีตเคยมีตราบาปตบพ่อตบแม่ และกลายเป็นผู้แพ้ในโลกแห่งความจริง ทั้งๆ ที่ตอนเด็กเป็นเด็กน่ารักเก่งกีฬาหากแต่ดันไปหลงเสน่ห์ของวีดีโอเกมเข้าก็ หนีจากโลกแห่งความจริงมาอยู่ในโลกแห่งเกม โลกแห่งความจริงมันแสนจะโหดร้ายและน่าเบื่อ ชีวิตในโรงเรียนก็อยู่คนเดียวเพื่อนๆ ก็ไม่มี คนอื่นมีงานดีๆ หมด ส่วนตัวเองไม่กล้าสมัครงาน วันๆ  อาศัยเกาะพ่อแม่ที่แก่เฒ่ากินโดยไม่ยอมไปทำงานพิเศษ แม่บอกลูกให้ไปทำงานบ้านญาติที่บ้านนอกก็ไม่ยอมไป อันนี้ต้องเข้าใจจิตใจพระเอกเพราะคนมันอยู่สบายๆ วันๆ เล่นเกมจนติดเป็นนิสัย มีหรือว่าจะลำบากลำบนทำงานที่บ้านนอก เพื่อนก็ไม่มี คุยกับใครก็ไม่ค่อยได้ จะทำงานประเภทบริการลูกค้าได้ที่ไหน

                นานวันพระเอกกลายเป็นคนติดเกมและใช้ชีวิตในโลกแห่งเกมมากกว่าโลกแห่งความจริง ซึมซับความรุนแรง ความสบาย จนไม่คิดอยากจะทำงาน ที่จริงใจลึกๆ ก็เกรงใจพ่อแม่อยู่หรอก ดูสิเวลากลับบ้านแม่มองหน้าเขาอย่างกับตาปลาจ้องมองมาที่เขาราวกับสมเพสเขายังไงอย่างงั้น หากแต่แทนที่พระเอกจะตอบโต้ด้วยการหางานที่ดีทำกลับอยู่แต่ในห้ามขลุกเล่นเกมไปวันๆ พ่อแม่ด่าก็ใช้ความรุนแรงตอบโต หืมความรุนแรงที่ว่าใจจากเกมทั้งน้น ดีสิตอนเด็กเล่นแต่เกมแอ็คชั่นฆ่าคนเลือดทะลัก ครอบครัวก็ไม่ได้ด่าว่า ทั้งที่ตอนเด็กมันสอนง่าย พอโตมามันดัดนิสัยยากแล้ว อันนี้ก็ถือเป็นบทเรียนล่ะกันใครที่มีลูกเป็นเด็กติดเกมก็ควรสนตั้งแต่เสียตอนนี้ดีกว่าโตขึ้นมันจะสอนยากด่าก็ไม่ได้ผลแถมมันยังด่าตอบอีกต่างหาก

    แต่เมื่อพระเอกได้ไปอยู่เกาะร้างได้ใช้ชีวิตกับคนอื่นๆ ที่ลำบากไม่แพ้กัน จิตใจของพระเอกก็เริ่มเปลี่ยนไป คนเราเวลาเจอสถานการณ์ยากลำบาก ก็ต้องเริ่มนึกถึงบ้าน พระเอกก็เริ่มคิดแหละว่าตนไปทำอะไรให้พ่อแม่เสียใจอะไรไว้บ้างพอ อยู่บ้านนี้มีอำนาจเหลือแสน ตบตีด่าพ่อแม่เกรียนเทพได้ใจ พออยู่บนเกาะร้างกลายเป็นคนต๊อกต้อย รู้ซึ้งถึงความเลวในอดีตของตนเอง หากแต่กระนั้นเขาก็เรียนรู้อะไรหลายอย่างบนเกาะร้างแห่งนั้นเขาได้เพื่อนต่างวัย ได้รู้ว่าเขาสามารถทำประโยชน์ให้กับคนอื่นได้ เขาได้รู้ถึงระงับจิตใจกับเพศตรงข้าม (แหม.....ตอนแรกทำตัวหื่นเหมือนหลายๆ คนเลย พอหนูฮิมิโกะสลบนี้แอบเปิดกระโปรงดูกางเกงใน) ที่สำคัญทำตัวเหมาะสมกับวัย มีสติปัญญาสติแบบผู้ใหญ่ไม่ได้เกรียนเหมือนอยู่บ้าน แต่กระนั้นพระเอกยังต้องเผชิญสถานการณ์ที่มากที่จะทำให้เขาพัฒนาจิตใจกลายเป็นคนดีของสังคมโดยสมบูรณ์(นอกเหนือเรื่องมันจะหักมุม)

      

                    ส่วนตัวละครก็ออกแบบได้โดดเด่น มีบทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นพระเอก หรือนางเอกฮิมิโกะนี้โครตน่าสงสารเกิดมาเป็นคนน่ารักนี้ช่างลำบากเหลือแสน ต้องหักหลังเพื่อนเพื่อเอาตัวรอดจากการโดนข่มขืนจนกลายเป็นตราบาป(อันนี้ก็ช่วยไม่ได้สถานการณ์มันน่ากลัวนี้น่า เป็นใครก็ต้องหนีสิ แต่หนูฮิมิโกะน่าจะโทรแจ้งตำรวจหน่อยน่ะว่าเพื่อนหนูโดนข่มขืนจะได้ไม่เป็นตราบาปมากกว่านี้) พอมาอยู่บนเกาะร้างก็เจอการหักหลังแถมเกือบโดนข่มขืนเข้ากับตัวเองอีก น่าสงสารจัง โชคดีที่พระเอกพอเป็นที่พึ่งทางใจทำให้หนูฮิมิโกะได้สบายใจบ้าง (ว่าแต่นี้เป็นเรื่องที่สองแล้วน่ะที่พระเอกอายุมากและนางเอกอายุน้อยเนี้ย)

                    ส่วนตัวรองๆ ก็เด่นไม่แพ้กับพระเอกและนางเอก คิระนี้ขโมยซีนหลายครั้งด้วยความน่ารัก และความโหด ซึ่งความจริงความโหดของเด็กคนนี้ไม่ได้ชั่วบริสุทธิ์สาเหตุเพราะการเลี้ยงดูของพ่อที่ใช้กำลังมากกว่าการสอนด้วยปากเปล่าและทำตัวไม่สมเป็นพ่อ ทำให้เด็กเกิดความก้าวร้าวชอบทำไปตามอารมณ์ แต่กระนั้นก็มีคิระก็พอมีจิตใจดีงามหลงเหลือยู่อยู่บ้างคือหากใครทำดีเขาก็ดีตอบ(ตอนแรกๆ นี้นิสัยดีต่อหน้าทนายที่ช่วยเหลือเขาตอนเขาก่อคดีฆ่าคน) หากใครร้ายก็ร้ายตอบ อีกคนก็อีตาลุงอ้วนนี้ตัวถ่วงของแท้ได้ใจมีอยากฮ่าเป็นระยะๆ ส่วนทนายที่ติดเกาะพร้อมคิระนี้กิ่งก่าชัดๆ เปลี่ยนอารมณ์ตามสถานการณ์ไปเรื่อย ตอนแรกทำเป็นคนดีหลังๆ มันหื่นซะงั้น

                    ข้อเสียการ์ตูนเรื่องนี้ที่ผมอยากจะติเล็กน้อยก็คือลักษณะบุคลิกของพระเอก ที่ออกแบบแมนหรือหล่อไปนิด ภายนอกเหมือนไลท์ ณ โดธน็ต หรือพระเอกญี่ปุ่นแมนๆ ทั่วไป หากไม่ฉากย้อนอดีตก็ไม่รู้เลยว่าพระเอกคนดังกล่าวเป็นคนโหล่ยโท่ย เพื่อนไม่คบ เกาะพ่อแม่กิน เกรียน อันนี้ก็ต้องเข้าใจคนเขียนที่ชอบวาดพระเอกแนวแมนๆ จากมังงะหลายเรื่องที่ผ่านมา แต่กระนั้นก็อยากให้พระเอกมันดูอ่อนแอสักนิด ดูโหล่ยโท่ยสักหน่อยจะดีมาก

    สรุป Btooom! เป็นการ์ตูนมังงะเซอร์ไววัลเกมแห่งความตายที่สนุกและน่าติดตาม สอดแทรกประเด็นสังคมได้เป็นอย่างดี แถมความรุนแรงก็รับได้ ไม่ได้เวอร์จำพวกไส้ทะลัก สมองไหล ตูดหายอย่างชัดเจน ที่สำคัญหนูฮิมิโกะน่ารักกว่านางเอกจากมังงะเรื่องที่แล้ว(ศึกเทพศาสตรา)เสียอีก

     

    + +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×