ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ดูการ์ตูนอย่างแมว ๆ

    ลำดับตอนที่ #13 : แว่วเสียงเรไร (Higurashi no naku koro ni) ฆาตกรโหดที่แฝงมากับความเชื่อ ตอนที่ 1

    • อัปเดตล่าสุด 22 มี.ค. 53




    แว่วเสียงเรไร (
    Higurashi no naku koro ni)

     

                    ผมสงสัยมานานแล้วทำไมผมไปบอร์ด เว็บการ์ตูนเรื่องไหน คนอื่นๆ มักพูดถึงการ์ตูนเรื่องนี้จัง และมักมีการตั้งกระทู้เกี่ยวกับการ์ตูนเรื่องนี้บ่อยๆ จนกระทั้งเดี๋ยวนี้ยังมีกระทู้นี้อยู่ ซึ่งครั้งแรกที่ผมเห็นการ์ตูนเรื่องนี้ก็เริ่มฉากผู้หญิงผมสีเขียวทำหน้าราวกับผีเข้าสิง ฉากตกจากที่สูงแล้วเลือดสาดกระจาย ไปจนถึงปังตอสับหัว ฯลฯ

                    สิ่งที่ผมสงสัยมานาน อีกคือ การ์ตูนเรื่องนี้ดังเหรอ? แล้วมันดังตรงไหน?

                    จนกระทั้งผมถามคนอ่านการ์ตูนเรื่องนี้ถึงรู้ว่าการ์ตูนเรื่องนี้ดังพอสมควรในประเทศญี่ปุ่น ออกทั้งเกมส์ (พึ่งมารู้ที่หลังว่าเกมส์มาก่อนการ์ตูนตามที่หลัง)การ์ตูน และการ์ตูน H (โดจินลามก) แม้กระทั้ง Y โดยผู้อ่านหลายคนกล่าวว่าความสำเร็จของเรื่องนี้นั้น เกิดจากความน่ากลัวและระทึกขวัญที่สามารถถ่ายทอดได้อย่างสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้ยังมีปริศนาจำนวนมากที่ตัวเกมไม่ได้ให้คำตอบที่ตายตัว เปิดโอกาสให้ผู้เล่นได้ขบปริศนาด้วยตัวเอง ทำให้ผู้เล่นหลายกลุ่มรวมตัวกันสร้างกระดานสนทนาทางอินเทอร์เน็ตเพื่อแลกเปลี่ยนและถกเถียงทฤษฎีที่อธิบายเหตุการณ์ในการ์ตูน   

                    ผมก็เลยสนใจ ผมเลยสรรหาการ์ตูนเรื่องนี้มาอ่าน แบบว่าอะไรที่มีแว่วเสียงเรไร ผมซื้อมาหมด โดยมารู้ที่หลังว่ามันมีเป็นบทๆ เหมือนเกมส์จีบสาว ที่มีหลายทางเลือก)

                    เออ....ก็สนุกนะ....แต่มันไม่ที่สุดของผม เนื่องจากพระเอกที่น่ารักของเฮียตายง่ะ ถ้าตัวละครผู้หญิงตายนี้ผมก็ไม่รู้สึกสักนิด(ฮ่าๆ)

                   
                     
    แว่วเสียงเรไร (higurashi no naku koro ni) ชื่อภาษาอังกฤษคือ "When Cicadas Cried" แปลว่า "ยามเมื่อจักจั่นร้องระงม")การ์ตูนเรื่องนี้แต่เดิม เกมแนวผจญภัยเนื้อเรื่องตอบคำถามเลือก ผลิตโดย 07th Expansion โดยวิธีการเล่นก็คล้ายๆ กับหนังสือชุดผจญภัย ที่เกมจะให้เราอ่านเนื้อเรื่องแล้วมีคำตอบให้เลือก ที่พอเลือกแล้วจะมีผลทำให้เนื้อเรื่องเปลี่ยนทิศทางไป และส่งผลให้มีตอนจบหลายแบบ ซึ่งเกมแนวนี้บ้านเราไม่ฮิตมากนัก เพราะมันไม่ได้ใช้เทคนิคการเล่นอะไร อีกทั้งมันเป็นภาษาญี่ปุ่นซึ่งเราชาวไทยไม่เข้าใจภษานี้สักเท่าไหร่ น้อยคนนักที่จะอ่านออก

                    การ์ตูนจะออกแนวฮาเล็มสยองขวัญซึ่งปัจจุบันสามารถหาอ่านได้ที่สำนักพิมพ์มด(ที่หายากมากๆ) แต่ได้ข่าวไม่กรองว่าสยามกำลังได้ลิขสิทธิการ์ตูนเรื่องนี้มาแปลไทยแล้ว

                    แน่นอนการ์ตูนนี้ฮิตพอสมควรจนเกิดวลี "ปังตอเลือดสาด", “สาวปังตอ”, “จ๊าอ๊าว จ๊าอ๊าว”, “คุณลุง”

                    โดยเนื้อเรื่องหลักๆ ก็อย่างที่หลายๆ คนรู้กันคือ ณ ปีโชวะที่58 ( 1983 ) ณ หมู่บ้านแถบชนบท ชื่อว่าฮินามิซาวะ(หมู่บ้านนี้ไม่มีอยู่จริง แต่น่าจะต้นแบบมาจากหมู่บ้านชิราคาว่า จังหวัดกิฟุ ในประเทศญี่ปุ่น) โดยที่ตัวเอก เคอิจิ มาเอบาระ ที่ย้ายเข้ามาใช้ชีวิตในหมู่บ้านนี้ ได้กับเพื่อนใหม่ กิจกรรมชมรมแสนสนุกที่ประกอบไปด้วยสมาชิก มิอง โซโนะซากิ,ริวงุ เรนะ,โฮโจ ซาโตโกะ,ฟุรุเดะ ริกะ และสมาชิกใหม่ซึ่งก็คือตัวเขาเอง แต่แล้ววันเวลาที่สนุกสนาน ก็ต้องจบลงเมื่อถึงงานเทศกาลวาตะนะงาชิชิ (Cotton Drifting Ceremony) ซึ่งเป็นเทศกาลที่จัดขึ้นเพื่อขอบคุณ ท่านโอยาชิโร่ เทพเจ้าผู้คุ้มครองหมู่บ้าน

                    ท่านโอยาชิโร่หรือเลียกอีกอย่างว่าเทพลักซ่อน คือทุกๆ ปีที่มีวันเทศกาลนี้จะมีคนตาย และคนที่หายตัวไป ปีละคน โดยจุดเริ่มต้นเสียงร่ำลือนี้มาจากการสร้างเขื่อนทับหมู่บ้าน ซึ่งจู่ๆ ก็มีคดีฆาตกรรมโดยรายแรกเป็นหัวหน้าคนงานเสียชีวิต ในทุก ๆ ปีจะมีคนที่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนตายไปปีละคน และหายตัวไปอีกคน จนคนในหมู่บ้านหนาวกลัวต่อเทพองค์นี้อย่างยิ่งยวด

                    และตัวเอกตัวเอก เคอิจิ มาเอบาระก็ต้องผจญกับคดีเทพโอยาชิโร่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้...........

                    สำหรับคนที่อ่านครั้งแรกอาจ งง ก็ขอตอบว่าเป็นธรรมดาที่ งง เพราะเรื่องใครที่อ่านแล้วรู้สึกงง ก็ขอบอกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาที่จะงง เพราะมันมีแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็น 8 บท มี "บทปริศนา" 4 บท และ "บทเฉลย" อีก 4 บท ทุกๆ บทจะใช้ตัวละครและฉากเดียวกัน แต่มีเหตุการณ์และจุดจบต่างกัน

                    วาตะนะงาชิเฮ็น (Watanagashi-hen; บทสายใยสังหาร) 2 เล่มจบ

                   

                    (จัดจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม 2002 ในงานคอมิเก็ต 63)

                    เป็นบทที่ผมชอบที่สุด(เพราะมันตีพิมพ์บทเฉลยครบและพระเอกไม่ตาย) บทแรกนี้เน้นตัว เคย์อิจิ กับ มิอง แทน มิองมีบุคลิกของสาวห้าว Active เป็นผู้นำของกลุ่ม ชอบเป็นคู่กัดตัวเอก แต่ลึกๆ แล้วในใจของเธอก็แฝงอ่อนโยนแบบเด็กสาวธรรมดาเอาไว้ และดูเหมือนเธอมีอดีตดำมืดซะด้วยสิ นอกจากนี้เธอก็ยังมีน้องสาวฝาแฝดอีกคนนามชิองที่มีนิสัยอ่อนหวานกว่าพี่เล็กน้อย และเป็นที่มาของชุดเมดหวาบหวิวน่ารักน่าฟัดที่สุดอีกชุดหนึ่ง(ถูกใจเฮียฮ่าๆ)

                    จนกระทั้งวันหนึ่งวันเทศกาลโอยาชิโร่ก็มาถึง และเคย์อิจิก็ได้พบด้านมืดอีกด้านหนึ่งของชิองที่น่ากลัว

                    โอนิคาคุชิเฮ็น (Onikakushi-hen; บทปีศาจลักซ่อน) 2 เล่มจบ

                   

                    (จัดจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2002 ในงานคอมิเก็ต 62)

                    บทนี้เน้นตัว เคย์อิจิ และ ริวงุ เรนะมากที่สุด เรนะเป็นผู้หญิง น่ารัก ๆ และชอบของที่น่ารัก และเธอยังชอบชวนเคย์อิจิไปที่ภูเขากองขยะเพื่อขุดหาของน่ารัก ๆ

                    จนกระทั้งวันหนึ่งวันเทศกาลโอยาชิโร่ก็มาถึง และเคย์อิจิก็ได้พบด้านมืดอีกด้านหนึ่งของเรนะที่สยองและสะดุ้งเป็นระยะ ๆ"

                    ทาทาริโกโรชิเฮ็น (Tatarigoroshi-hen; บทคำสาปสั่งตาย) 2 เล่มจบ

                   

                    (จัดจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2003 ในงานคอมิเก็ต 64)

                    น่าจะเรียกว่าบทตายแหลก เพราะตายยกหมู่บ้าน และเป็นบทที่น่าสงสารน่าขนหัวลุกที่สุด บทนี้เน้นตัว เคย์อิจิ และโฮโจ ซาโตโกะ เด็กสาวก๋ากั่น ขี้แกล้ง แต่ลึกๆ ก็เป็นเด็กสาวขี้เหงาคนหนึ่ง และบทนี้เราก็ได้รู้ภูมิหลังของพระเอกที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเด็กอัจฉริยะแต่เพราะแรงกดดันของสังคมเขาจึงทิ้งสังคมหนีออกมา  

                    ในบทนี้ก็ได้เห็นด้านมืดของซาโตโกะเหมือนกัน เพียงแต่มีแทรกอุบัติเหตุก๊าซพิษระเบิดไปด้วย ซึ่งส่งผลให้ที่แห่งนั้นกลายเป็นนรกไม่ปาน

                     ฮิมะสึบุชิเฮ็น (Himatsubushi-hen; บทข้ามเวลา)

                     
                    
    (จัดจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2004 ในงานคอมิเก็ต 66)

                    พูดได้ว่าบทนี้จะเป็นบทที่เป็นปฐมบทของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งย้อนกับไปคดีก่อสร้างเขื่อน โดยตัวเอกไม่ใช้เคย์อิจิแต่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่ง ซึ่งเขาพบตัวกับ ริกะ ที่เป็นเด็กเงียบ เรียบร้อย และดูอ่อนโยน และเป็น มิโกะ ผู้ทำพิธีในงานเทศกาล วาตานากาชิ อีกด้วย เธอมีพลังทำนายอนาคต และรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในวันข้างหน้า

                    บทนี้ก็เศร้า มากกว่าสยอง เพราะมิโกะถูกชาวบ้านบูชายัณเอาไส้ควักออกมา มันกลัวมากเลย ดูไปก็คงเอาแนวบูชายัณของอินคามาใช้เป็นมุกนะ

                   

                    นอกจากนี้ก็มีบทเฉลย ซึ่งผมก็อ่านแล้วบางเล่ม ซึ่งบทสรุปคดีคดีทั้งหมดไม่ได้เป็นฝีมือของเทพ เกิดเพราะฝืมือมนุษย์ล้วนๆ

                    เมอาคาชิเฮ็น (Meakashi-hen; บทเบิกเนตร,บทเฉลย บท"สายใยสังหาร") , (จัดจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม 2004ในงานคอมิเก็ต 67) ที่ทำให้เราตะลึงอดีตของชิองและมิอง

                    สึมิโฮโรโบชิเฮ็น (บทไถ่บาป,บทเฉลยบท "ปิศาจลักซ่อน") , (จัดจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2005 ในงานคอมิเก็ต 68)ที่เราได้รู้อดีตดำมืดของเรนะ

                    มินะโกโรชิเฮ็น (Minagoroshi-hen; บทสังหารหมู่) , (จัดจำหน่ายเมื่อเดือนธันวาคม 2005 ในงานคอมิเก็ต 69)

                    มัตสึริบายาชิเฮ็น (Matsuribayashi-hen; บทร่วมเที่ยวเทศกาล) , (จัดจำหน่ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2006  งานคอมิเก็ต 70) ที่ทำให้เราได้เซ็งปรากฏตัวของตัวละครใหม่ที่ไม่เข้ากับเรื่องสักนิด

                    Higurashi no Naku Koro ni Rei Episode Screenshot

                    เมื่อผมอ่านการ์ตูนจบสิ่งที่คิดคือ มนุษย์เรานี้ช่างแยกระหว่างความเชื่อและความจริงไม่ค่อยออก  การลบหลู่เทพที่เราไม่ควรทำหรือไม่เชื่ออย่าหลบหลู่ การบูชายัน ความหวาดกลัวในสิ่งที่เราไม่สามารถหาคำตอบได้ จนความเชื่อนั้นก็กลายเป็นเรื่องสยองเช่นกัน

                    เริ่มจากการบูชายัน การประกอบพิธีบวงสรวงมนุษย์เพื่อเป็นเครื่องบูชายันนั้นมีหลายวิธี ตามแต่ละประเทศ  โดยส่วนมากจะให้ผู้รู้มาทำการคัดเลือกคนโดยมีคุณสมบัติแตกต่างกันในแต่ละประเทศ  เช่น มีชื่อที่มงคล  เป็นนักโทษหรือเชลยสงคราม  ที่ดังๆ ก็คืออินคา มายา อเมริกาใต้โบราณ

                    ที่อินเดียก็ไม่น้อยหน้าในยุคแรกๆมีการนำหญิงพรหมจารีไปทำพลีกรรมโดยนำเลือด บริสุทธิ์ในลำคอไปบูชาเจ้าแม่กาลี ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นเลือดของคนทั่วๆไป แต่เมื่อเวลาล่วงไปถึงช่วงที่อังกฤษเข้าปกครองอินเดียได้สั่งห้ามไม่ให้นำ มนุษย์มาใช้ในการบูชา จึงทำให้การบูชาเจ้าแม่กาลีในปัจจุบันนี้เหลือเพียงการนำแพะมาใช้ในการบูชาแทน

                    ที่เอเชียบ้านเราก็ไม่เว้นที่ไทยและพม่า นั้นคือการฝังคนทั้งเป็นไว้ที่ประตูเมือง เพื่อบูชาผีนัต ซึ่งในการ์ตูนแว่วเสียงเรไรได้ถ่ายทอดความเชื่อมนุษย์ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่างแนบเนียน

                    อีกอย่างในเรื่องที่ถ่ายทอดคือสภาพบ้านนอก ที่หลายๆ คนมักคิดว่าเป็นสภาพที่ป็นมิตร ผุ้คนอบอุ่น ซึ่งตอนแรกการ์ตูนเรื่องนี้ถ่ายทอดแบบนี้จริงๆ แหละ แต่นานๆ หมู่บ้านนี้กลับกลายเป็นหมู่บ้านแห่งความสยอง อิทธิพล อำนาจ ที่มันมีอยู่ทุกที่จริงๆ นะเนี้ย

    และสิ่งทีผมคิดตามมาเรื่องนี้มันฮิตในญี่ปุ่นได้ไง นอกเหนือจากความหลอนและปริศนาๆ เพราะการ์ตูนแนวนี้มีในญี่ปุ่นเยอะออก อีกทั้งประเภทการ์ตูนแนวนี้ก็มีเยอะน่า ตัวละครก็ใช่ว่ามีจุดเด่นอะไรมากมาย ส่วนพระเอกนั้นผมก็เห็นการ์ตูนเรื่องอื่นๆ ก็ออกมาแบบเดียวกับเคย์อิจิคุงเปี๊ยบ

    ผมว่าสิ่งที่แว่วเสียงเรไรโด่งดังในญี่ปุ่นไม่ใช้ เนื้อเรื่อง ปริศนา หรือตัวละครหรอกครับ ) แต่ผมว่าเรื่องนี้มีประเด็นและ แฝงเรื่องสังคมของญี่ปุ่นพอสมควร

                    อย่างแรกเรื่องนี้มีสัญลักษณ์ตัวแทนหลายๆ อย่าง ที่เรื่องนี้ได้จับคดีปล่อยพิษซารินของนายซาอาร่ามาไว้ในเรื่อง

                    คนญี่ปุ่นนี้จำวันั้นได้ดีเลยครับ วันที่ลัทธิโอมชินริเคียว (Aum Shinrikyo) ปล่อยพิษซาริน 20 ในเดือนมีนาคม 1995 เวลา 8 โมงเช้า ที่รถไฟใต้ดินจำนวน 5 สาย (มารุโนะอุจิ 2 สาย ฮิบิยะ 2 สาย จิโยดะ 1 สาย) เหตุการณ์นี้ส่งผลให้คน 12 คนเสียชีวิต และบาดเจ็บ 5,510 คน เป็นคดีฆาตกรรมอย่างไม่เลือกตัวครั้งใหญ่ที่สุดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และสร้างความตื่นตระหนกไปจนทั่วโลก

                    เรื่องนี้อยู่ในใจของญี่ปุ่นตลอดมา และเมื่อการ์ตูนนี้ออกมา ปุ๊บหลายคนที่อ่านอาจร้องเออ....แทงใจดำ เพราะญี่ปุ่นนั้นมีวัฒนธรรมนับถือผีสาง ลัทธิต่างๆ มาช้านาน  เช่นเทพลักซ่อน แต่สิ่งนี้เป็นเพียงประเด็นลวงตาเท่านั้น สิ่งที่แฝงจริงๆ ก็คือ เทพโอยาชิโร่(ในบทคำสาปสั่งตาย) ก็เปรียบเสมือน ลัทธิโอมชินริเคียว (Aum Shinrikyo) นั้นเอง โดยลัทธิในเรื่อง ก็ปล่อยความเชื่อผิดต่างๆ หรือจะสั่งพวกชาวบ้านให้ทำเรื่องร้ายต่างๆ โดยไม่รู้ว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด

    นอกจากนั้นเหตุการณ์ในการ์ตูน(ในบทคำสาปสั่งตาย) ตอนเกิดแก๊สพิษที่หมู่บ้านฮินามิซาว่าก็เปรียบเสมือนพิษซารินที่ปล่อยออกมาในช่วงประชาชนเริ่มไม่ไว้ใจเคลือบแคลงคำสั่งสอนของลัทธิที่คิดจะลองดีนั่นเอง


                    อย่างที่สองเรนะ(ในบทปีศาจลักซ่อน)ทำให้ผมนึกถึงคดี
    30 ศพที่สึยามะ ซึ่งเป็นโทอิ มุทสึโอะ ทำการสังหารพวกชาวบ้านไป 30 คน ภายในช่วงระยะเวลาคืนเดียว ที่ เมืองสึยามะในจังหวัดโอคายามะ ซึ่งเรื่องราวแบบนี้ส่งผลให้นำมาเป็นในการ์ตูนเรื่องอื่นๆ อีกด้วย

                    สิ่งที่เรนะทำไม่ต่างอะไรกับฆาตกรต่อเนื่องหลายๆ คนในอดีตที่เคยทำ เช่น ความริษยาเหมือนลิซซี่ บอร์เด็น ( Lizzie Borden) ที่เอาขวานสับหัวพ่อแท้ๆ และแม่เลี้ยงจนตายคาชวาน หรือความเชื่อของมาร์ค แช็ปปิงตัน (Marc Sappington) ทำตามเสียงที่อยู่หัวเขาให้ฆ่าคน หรือลัทธิคูแคลน(KKK)ที่สังหารคนดำเพื่อความเชื่อของตน

                    ในขณะเดียวกันตัวละครในเรื่องก็ไม่ต่างอะไรจากเหตุการณ์ปัญหาอาชญากรเด็กในญี่ปุ่นสักเท่าไหร่ ถ้าคุณได้อ่านหนังสือพิมพ์ของญี่ปุ่นคุณจะรู้ว่าเดี๋ยวนี้อาชญากรของเด็กเริ่มมากขึ้นๆเรื่อย นั้นแสดงให้เห็นว่าสภาพของญี่ปุ่นอาจเริ่มเสื่อมลง การเลี้ยงดูเด็กเริ่มไม่ถูกต้อง ส่งผลให้จิตใจของเด็กเริ่มมีบาดแผล จนเกิดความรุนแรงในครอบครัวในที่สุด

     

                    นั้นเองแว่วเสียงเรไรดัง เพราะเขาสามารถจับจุดสิ่งที่คนญี่ปุ่นไม่มีวันลืมและสนใจพอดี ก็เหมือนกับไทยที่ถ้าเอาเรื่องนวลฉวี ซีอุย มาทำเป็นหนังเมื่อไหร่ก็ดังเมื่อนั้น

                    เอาเป็นว่าใครอยากดูอมิเนชั่นก็เข้าไปที่

                    http://video.mthai.com/player.php?id=18M1186722776M0+ +

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×