คนที่ทำดี เค้าคิดอะไรอยู่ - คนที่ทำดี เค้าคิดอะไรอยู่ นิยาย คนที่ทำดี เค้าคิดอะไรอยู่ : Dek-D.com - Writer

    คนที่ทำดี เค้าคิดอะไรอยู่

    ...

    ผู้เข้าชมรวม

    716

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    8

    ผู้เข้าชมรวม


    716

    ความคิดเห็น


    2

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  24 ม.ค. 49 / 09:23 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เกี่ยวกับความสงสัยว่าทำดีอย่างไรจึงประสบผลสูงสุด
      มักเกิดนานาทัศนะ

      ซึ่งโดยมากมักจะเกิดคำตอบขึ้นกับคำถามนั้นแบบตอบตรงกับที่ถาม
      พบได้น้อยที่จะเป็นการตอบแบบไม่ตรงกับที่ถาม แต่เป็นการเปลี่ยนแนวคิดของคนที่ถาม

      ถ้าเป็นการตอบตรงกับที่ถาม ก็แปลว่า การทำดีให้ได้ผลสูงสุดนั้น เป็นแนวคิดที่เข้าท่า
      ซึ่งถ้าเป็นการตอบแบบเปลี่ยนแนวคิดของคนที่ถามเสียให้เลิกมีคำถามนี้ในหัว ก้หมายความว่า การทำดีให้ได้ผลสูงสุดนั้น ..เป็นความคิดที่ไม่เข้าท่า

      ...
      การทำดีให้ได้ผลสูงสุด
      คงต้องตีความก่อน ว่าผลที่ว่านั้นคืออะไร
      ถ้าคือความสบายใจ ..แปลว่า ถ้าทำกับคนคนนึงแล้วพบทีหลังว่าคนคนนั้นมาหลอกเรา และการทำดีนั้นเป็นแค่ทำไปตามแผนของคนคนนั้น ....เราจะไม่สบายใจรึเปล่า

      มากกว่าความสบายใจ น่าจะเป็นการชำระใจ
      เพราะว่า
      ถ้าเรียกว่าความสบายใจ เราอาจจะได้หงุดหงิดมาแทน ถ้าที่เราทำนั้นเราโดนหลอก
      แต่ถ้าเรียกว่าชำระใจ เราคงไม่หงุดหงิดที่โดนหลอก เพราะประเด็นคือใจเรา ไมใก่ยวอะไรกับคนที่เราทำดีด้วย ..และถึงแม้จะรู้แต่แรกว่าเขามาหลอก เราก็ยินดีที่จะทำ เพื่อชำระใจ

      ยกตัวอย่างง่ายๆ
      การทำดีกับคนที่เรารัก เทียบอะไรได้กับการทำดีกับคนที่เราเกลียด
      ถ้าเราทำดีได้แม้แต่กับคนที่เราเกลียดเพราะเห็นแก่มโนธรรม จิตใจเราก็สะอาดกว่าคนที่ทำดีแต่เฉพาะกับคนที่เค้าคิดว่าควรทำดีด้วยไม่ใช่เหรอ

      ....
      นั่นทำให้น่าสงสัยว่า คนที่มีคำตอบให้กับคำถามที่ว่า
      ทำดีอย่างไรได้ผลสูงสุดนั้น จิตใจสะอาดมากแค่ไหน
      เมื่อเทียบกับคนที่ไม่มีคำตอบให้กับคำถาม แต่อธิบายให้เปลี่ยนความคิด

      ประเด็นที่ทำให้เกิดแนวคิดที่แตกต่างกันนั้น ก็คือ "ผล"
      เราตีความคำว่า"ผล" ว่าอย่างไร
      ผล แปลว่า ทำดีไป เพื่อหวังว่าจะได้มีคนทำดีตอบรึเปล่า
      .....แปลว่าทำอย่างนี้ เพื่อคาดหวังหรือเชื่อว่าจะได้อย่างนั้นรึเปล่า

      .....แปลว่า ทำอย่างนี้ เพื่อจะเพิ่มความมั่นใจว่าตัวเองเป็นคนดีรึเปล่า ...ทำไมต้องพยามทำให้ตัวเองมั่นใจว่าตัวเองเป็นคนดี

      ------------------

      พูดถึงเรื่องผล ก็อาจจะแตกเป็นสองกรณีคือ การตีความคำว่า"ผล" และ คือการ "หวังผล" หรือ "ไม่หวังผล"


      ขอข้ามคำถามประเภทว่า "ทำดีไม่หวังผลทำไปทำไม"ก็แล้วกัน เพราะคิดว่าหลายๆท่านที่ตัดสินใจใจลงลึกในเรื่องศาสนา คงข้ามขั้นนั้นมาไกลแล้ว

      ถ้าหวังผล ก็แปลว่า ถ้าไม่ได้ผล หรือผลน้อย ก็เป็นตัวเลือกที่น้ำหนักอ่อนในการที่จะตัดสินใจทำ
      สมมุติมีความดีสองอย่างที่ต้องตัดสินใจทำด้วยเงินก้อนเดียว ในกรณีหวัง บางท่านอาจตัดสินใจทำในสิ่งที่เรียกว่า "โคตรความดี" มากกว่า"ความดีเล็กๆ"

      แต่

      สมมุติมีคนคนนึงเค้าเลือกทำโคตรความดีด้วยเงินก้อนนั้น
      ก็ไม่ได้แปลว่าเขาจะเป็นพวกหวังผลของความดี
      แต่ตรงข้าม เขาอาจจะเป็นพวกไม่หวังผลของการทำความก็ได้ ...งงมั้ยครับ?

      แน่นอนว่าที่เค้าเลือกโคตรความดีมากกว่าความดีเล็กๆ เค้าเล็งไปที่ผลแน่นอน ..แต่อาจไม่ใช่ผลของความดีที่จะกลับมาสู่ชีวิตเค้า ...แต่เค้าอาจเล็งไปที่ผลของผู้ที่จะได้รับจากสิ่งที่เค้าทำ โดยไม่ได้สนใจคำนวณตอนทำดีว่า ..เค้าจะได้รับอะไร ..เค้าทำแค่เพราะเค้าปรารถนาจะทำ ไม่ต้องมีใครรู้ก็ได้ ไม่ต้องมีความดีอะไรย้อนมาสู่ตัวเค้าก็ได้ ...แต่เค้าทำเพราะแค่สนองความปรารถนาในใจเค้าที่อยากทำ

      .....
      สมมุติว่าคนสองคน ทำความดีแบบเดียวกัน น้ำหนักเท่ากัน ราคาเท่ากัน
      ไม่มีใครยืนยันได้ว่า สองคนนั้นแท้จริงจิตใจของเค้าที่ทำ ทำด้วยหัวใจอย่างไร
      อย่างน้อยๆคงไม่มีใครเถียง ว่าสองคนนั้นมีความเสียดายเงินไม่เท่ากัน ..ถึงแม้สองคนนั้นจะรู้สึกไม่เสียดายเงินเหมือนกันก็ตาม ..แต่ไม่เท่ากันแน่นอน
      เพราะรายได้ ...สองคนนั้นไม่เท่ากันแน่นอน
      เพราะรายจ่าย สองคนนั้นไม่เท่ากันแน่นอน

      ฉนั้นด้วยความดีแบบเดียวกันเป้ะในสายตาคนนอก และในสายตาคนบอกให้ทำหรือคนที่ประกาศให้ทำจะบอกด้วยเรื่องเดียวกันก็ตามที
      แต่สุดท้าย ..."ถ้า" การทำความดีมีผลของมัน ผลไม่เท่ากันแน่นอน
      --ขอตัดประเด็นเรื่องกรรมแทรกแซง กรรมซ้ำ กรรมซ้อน กรรมเก่า หรือกรรมที่ไม่เท่ากันนะครับ ....เพราะการใส่ตัวแปรนี้ที่ไม่คงที่เข้าไปในการหาคำตอบเรื่องนี้ จะยิ่งหลงทางไปกันใหญ่ ...เพราะฉนั้น ในการตั้งสมุติฐานนี้ เราขอควบคุมตัวแปรตัวนี้ให้ไม่มีผลในแง่การเบี่ยงเบนไปจากความเข้าใจ
      หรือถ้าเป็นในสนามแข่งแบดมินตัน ก็ขอควบคุมตัวแปรตัวนี้เหมือนที่ควบคุมสนามแข่งให้ไม่มีลม--

      ฉนั้น จากคนสองคนนั้นที่กล่าวไว้ เราจะเริ่มเห็นว่า จริงๆแล้วตัวแรปสำคัย หรือแทบจะเรียกว่าเป็นหัวใจของเรื่องทั้งหมดก็คือ

      "หัวใจของคนที่ทำ"

      ----------------------------------

      เราทำความดีกันไปเพื่ออะไร

      บางครั้งบางคนไม่ทำก็ไม่เป็นไร แต่คิดว่าทำก็ดีกว่า
      ในขณะที่บางคน ถ้าไม่ทำ ก็ขัดแย้งกับความรู้สึกตัวเอง

      บางคนทำ เหมือนเพื่อเป็นออพชั่นเสริมให้แก่ชีวิตเค้า
      บางคนทำเพื่อเหมือนยารักษาจิตใจของเค้า จากบาดแผลที่เคยทำเรื่องไม่ดี
      บางคนทำ เหมือนเพียงแค่ว่า กำลังได้ทำสิ่งในตัวเองรู้สึกสนุก โดยไม่ได้คิดอะไรมากนัก ....เหมือนบางคนอาจเคยสงสัยว่า ทำไมคนนั้นคนนี้ถึงได้ชอบเล่นกีฬาอย่างนั้นอย่างนี้นะ ทำไมถึงได้ชอบเล่นดนตรีแนวนั้นแนวนี้ ...ชอบเข้าไปได้อย่างไร .มันมีอะไรดี  คนที่ถามไม่มีวันเข้าใจแต่จะได้คำตอบ ก็คือ ...ก็ข้าชอบของข้าอย่างนี้นี่
      ก็เหมือนไปถามคนทำดีบางประเภท ...เค้าคงไม่มีคำตอบให้ว่าเค้าทำไปเพื่ออะไร ..อย่างดีก็หาคำตอบได้แค่ว่า ..ก็ข้าชอบของข้าอย่างนี้นี่ ....

      คนเราจะชอบทำอะไร มักขึ้นอยู่กับอะไร
      สิ่งนั้นมักสอดคล้องกับคนคนนั้น คนคนนั้นมักจะทำสิ่งนั้นได้ดี และเรียนรู้สิ่งนั้นได้เร็วกว่าคนที่ไม่ชอบ
      คนคนนั้นมักจะรู้สึกไม่สอดคล้องกับตัวเอง ถ้าไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้
      คนคนนั้นมักรู้สึกสอดคล้องกับธรรมชาติเมื่อได้ทำมัน

      วัตถุหลายๆชนิด ในทางดนตรีนั้น แต่ละลักษณะก็ให้เสียงแตกต่างกัน และมันจะสำแดงความเป็นเครื่องดนตรีได้ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อมันถูกนำไปสร้างเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับตัวมันมากที่สุด
      บางชนิดถูกนำไปสรางเป็นกลุ่มเครื่องเป่า เครื่องดีด หรือกลุ่มให้จังหวะ
      หนังสัตว์ ไม่มีประโยชน์อะไรมากนักในการสรางกีต้าร์ ..ในขณะที่เมื่อนำไปทำกลองบางชนิด มันมีประโยชน์มาก

      หรือแม้กระทั่ง ข้าวของเครื่องใช้ที่เราใช้ๆอยู่ทุกวันนี้ มันก็สามารถนำมาบรรเลงร่วมกันเป็นดนตรีได้ เมื่อมันถูกแยกแยะให้ทำหน้าที่ที่สอดคล้องกับตัวมัน

      ...........
      อะไรที่สอดคล้องกับธรรมชาติ มักจะมีความลงตัว
      จิตใจที่สอดคล้องกับธรรมชาติ สอดคล้องดับความจริง
      สามารถที่จะไม่จมอยู่กับนิยาย หลักการหรือภาพมายาที่ถูกสรางขึ้นเพื่อหลอน
      ก็จะสอดคล้องกับธรรมชาติ และจิตใจที่สอดคล้องก็พลอยเป็นสุขไปด้วย

      ดังนั้น น่าจะพูดได้ว่า คนที่มีความสุขที่สุดจากการละเล่นที่เรียกว่า"ทำความดี" ก็คือคนที่ชอบเล่นมันจริงๆ เพราะมันสอดคล้องกับตัวเขา เมื่อเล่นการละเล่นนี้ เขาก็สอดคล้องกับธรรมชาติ ใจเขาก็เป็นสุข ...และการเล่นแต่ละครั้งของเขา เขาก็ไม่ได้มุ่งประเด็นไปที่ใจเขาเป็นสุข แต่อย่างแรกในความคิดเขาก็คือ ..เขาชอบที่จะเล่นการละเล่นนี้ที่เรียกว่า"การทำความดี"

      ในขณะที่ บางคนอาจจะเล่นสิ่งนี้ด้วยการทำตามๆกัน หรือมุ่งหวังบางอย่าง เล็งไปที่ผลของมันมากว่าชอบที่จะทำมันโดยไม่สนผลของมัน
      ในโรงเรียนดนตรีทุกวันนี้หรืออาจจะตั้งแต่มีการเรียนการสอนดนตรีเลยก็ได้
      เวลาครูสอนไปสักพัก ครูจะรู้ว่า นักเรียนคนไหนบ้างมาเรียนเพราะใจรักจริงๆ และใครบ้างมาเรียนเพราะจุดประสงค์อื่น นั่งเรียนนั่งฝึกไปด้วยความบากบั่นที่ไม่มีความสุข ..บ้างก็เรียนเพราะป่าป๊าหม่าม๊า อยากให้เรียน บ้างก้เรียนเพราะทำเท่ ..มีสักกี่คนที่รักมันจริงๆ และเรียนและฝึกหนักด้วยความสุข ไม่จำเป็นต้องทน ...เพราะเขาชอบมัน

      มีหลายคนที่เรียนจนจบปริญญาตรีแล้ว เพิ่งจะได้ค้นพบว่าจริงๆแล้วตัวเองอยากทำอะไรกันแน่ และก็เพิ่งรู้ว่าเขาสามารถมีความสุขในจิตใจได้มากกว่าที่เป็นอยู่มาก ถ้าเขาทำสิ่งที่สอดคล้องกับตัวเอง ..สอดคล้องกับธรรมชาติ...

      -------
      ทุกวันนี้มีกี่คนที่ทำดีด้วยการคาดหวัง ด้วยการเล็งไปที่ผล ..เหมือนที่คนที่ไม่รักดนตรีแต่ยังทู่ซี้เรียนจนจบ และประสบความล้มเหลวในที่สุด เพราะสุดท้ายแล้ว ไม่ว่าเค้าจะเล่นเก่งยังไง เค้าก็ยังไม่รักมันอยู่ดี
      คนที่ไม่รักดนตรีไม่มีวันสรางดนตรีที่ดีได้ ....เค้าอาจเล่นดนตรีให้ดีได้ ...แต่คนที่เล่นดนตรีก็รู้ดี ...ว่าสิ่งที่เล่นออกมาแม้ว่ามันจะสมบูรณ์แบบแค่ไหน แต่มันก็ยังสามารถบอกได้ว่าคนคนนั้น รักดนตรี หรือแค่เล่นไปงั้นๆ

      ....
      ลองนั่งนึกดูความดีทั้งหมดในชีวิตที่เราทำมา
      ว่าในจำนวนนั้น เราทำไปด้วยหัวใจแบบไหนบ้าง
      เพื่อตอบแทน?
      เพื่อหน้าตา?
      เพื่อรักษาแผลในใจจากการทำชั่วให้เบาบางขึ้น?
      เพื่ออวด?
      เพื่อกันไว้ก่อน?

      หรือเราทำเพราะเรารักที่จะทำจริงๆ เพราะมันสอดคล้องกับเราจริงๆ เพราะมันเป็นการละเล่นที่เราชอบที่จะทำจริงๆ
      เพราะเป็นตัวเราจริงๆไม่ได้เสแสร้ง

      มีบ่อยครั้งหรือเปล่า ที่เราทำทั้งๆที่รู้ว่าทำไปก็เท่านั้น ไม่ได้อะไรขึ้นมา ซ้ำบางครั้งเราเองกลับจะต้องรับผลร้ายจากการทำนั้นด้วย ...แต่เราก็ยังเลือกจะทำ

      ...
      ดอกไม้จริงๆ ในธรรมชาติ มันก็สามารถส่งกลิ่นและเป็นอย่างทีมันเป็นจริงๆได้เท่านั้น ...และนั่นก็สวยงาม

      ดอกไม้พลาสติดที่มนุษย์สร้าง มันเสแสร้งเป็นอะไรก็ได้ สวยแค่ก็ได้ หอมแค่ไหนก็ได้ แบบไหนก็ได้
      แต่สุดท้ายมันก็เทียบดอกไม้จริงๆไม่ได้อยู่ดี
      ...เพราะมันเป็นแค่ดอกไม้แห่งการเสแสร้ง..
      ...และมันเป็นแค่ภาพมายา ไม่ใช่ความจริง

      ....
      ดอกไม้จริงๆก็มักจบลงสู่การกลับเป็นดิน กลับไปสู่ธรรมชาติ
      ในขณะที่ดอกไม้ปลอมๆมักจบลงในเปลวไฟไม่ก็ถังขยะมากกว่า

      ดอกไม้จริงๆเมื่อมันจบชีวิตลง  มันก็จะกลับสู่ธรรมชาติเองอย่างรวดเร็ว และเมื่อมองดูดอกไม้ที่ร่วงอยู่ตามพื้นดิน ...มันก็ยังมีความสวยอยู่ของมัน

      แต่ดอกไม้ปลอมๆ มันไม่เคยจบชีวิต เพราะ"มันไม่เคยมีชีวิต"
      แล
      เมื่อมันหมดค่า ไม่อยู่ในที่ที่มันควรถูกใช้ได้ หรือไม่มีใครเลือกใช้มันอีก .....มันก็ถูกเรียกว่าขยะ
      การกำจัดขยะอย่างหนึ่งก็คือ" เผาไฟ"

      การกำจัดสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ มักจบลงด้วยการทำลาย หรือต้องทำลาย พบมากสุดก็คือ "เผาไฟ" "บดขยี้"

      ....
      จิตใจที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติจะมีจุดจบอย่างไร
      จิตใจที่มีแต่การเสแสร้ง ถึงต่อให้การเสแสร้งนั้นเรียกความดีก็ตาม ..มันจะจบลงตรงไหน
      จิตใจที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติ กับความจริงอย่างเที่ยงแท้ ...จะเคยได้"มีชีวิต" มั้ย
      จิตใจที่ไม่สอดคล้องกับความจริง โดยการชอบอยุ่กับหลักที่สร้างขึ้นมาสนองจิตใจ จะจบลงตรงไหน

      การอยู่กับสิ่งที่สร้าง ที่คิดขึ้นมานานๆ ...เราจะลืมมั้ยว่า
      แท้จริงแล้วชีวิตคืออะไร?
      <!--MsgFile=8-->


      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×