ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    แฟนตาซีบุ๊คคริติก รับวิจารณ์นิยายแฟนตาซี

    ลำดับตอนที่ #11 : บทวิจารณ์ มหากาพย์อมนุษย์ โดย XII_Lands (ได้รับเหรียญทองแดง)

    • อัปเดตล่าสุด 11 มี.ค. 53


    มหากาพย์อมนุษย์ โดย XII_Lands
    ผู้วิจารณ์ : ผู้สร้าง



    ภาษาที่ใช้ : 18/25 คะแนน

            - เอกลักษณ์
                   มีความเป็นเอกลักษณ์ในการเลือกใช้ศัพท์อย่างเห็นได้ชัด คำที่ใช้มีความสละสลวยมาก

            - ความลื่นไหล
                   มีน้อย เนื่องจากคำที่ใช้บรรยายส่วนใหญ่ไม่ใช่ศัพท์ที่คนธรรมดาสามัญใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้อ่านจะต้องใช้เวลาในการแปลความหมาย ทำให้อ่านได้ช้า แต่สำหรับคนที่ชอบก็จะชอบไปเลย

            - เกี่ยวกับ อัศเจรีย์ และปรัศนี
                   โดยปรกติ ในประโยคคำถามที่มีลักษณะเป็นคำถามอยู่แล้ว ในนิยายไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องหมายปรัศนีต่อท้าย เช่น "เจ้าเป็นใคร ?" --> "เจ้าเป็นใคร"
                   สำหรับเครื่องหมายอัศเจรีย์ ! ใช้แค่ครั้งเดียวก็เพียงพอ เช่น "เจ้าพวกสารเลว !!" --> "เจ้าพวกสารเลว !"

            - เพิ่มเติม
                   Lycan เป็นชื่อที่ ภาพยนตร์เรื่อง Underworld ใช้เรียกแทนมนุษย์หมาป่า ซึ่งอันที่จริงแล้วชื่อเต็มของมนุษย์หมาป่าคือ Lycanthrope หรือ Lycanthropy



    ความน่าสนใจ หรือความน่าติดตาม : 13/20 คะแนน

            - บทนำ
                   สิ่งที่ผู้อ่านจะได้สัมผัสในบทนำก็คือ ความสามารถทางภาษาของผู้เขียน ทั้งในด้านการเลือกใช้คำยาก (คำที่ไม่ใช้ในชีวิตประจำวัน) และความสามารถทางการแต่งกลอน ทว่าเหล่านั้นก็เป็นผลทำให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อเรื่องได้ยากขึ้น ในส่วนของความน่าสนใจนั้น เป็นความน่าสนใจทางภาษา ไม่ใช่เนื้อเรื่อง

            - ความน่าติดตาม
                   ในที่นี้ นิยายมีจุดเด่นคือ ภาษาที่ใช้ ซึ่งถ้านำเนื้อเรื่องเดียวกันนี้มาบอกเล่าในภาษาที่ต่างไปจะไม่มีความน่าสนใจเท่าที่ควร แต่สำหรับผู้อ่านที่ชื่นชอบนิยายที่ภาษาสวยมาก ๆ ก็จะชอบไปเลย



    ความมีมิติของตัวละคร ความมีลักษณะเฉพาะของตัวละครแต่ละตัว : 9/15 คะแนน

            - คำพูดของตัวละคร
                   ในส่วนของบทบรรยายที่ใช้ภาษาสูงมาก ๆ พอมาถึงบทพูดจะทำให้เกิดความสมดุลยาก ในที่นี้มีความสมดุลระหว่างบทพูด กับบทบรรยาย มาก กล่าวคือบทพูดถูกดึงขึ้นไปให้อยู่ระดับพอ ๆ กัน เลยเกิดเป็นข้อเสียคือตัวละครจะมีลักษณะการพูดเหมือนกันหมดทุกตัว
     


    ความสมจริงของฉาก ความเป็นเหตุเป็นผล ความน่าเชื่อถือ การตัดสินใจของตัวละคร ความเป็นมนุษย์ ฯลฯ  : 10/15 คะแนน

            - เหตุอันเนื่องมาจากภาษา
                   ความจริงจังต่อนิยายที่อ่านของผู้อ่านขึ้นอยู่กับภาษาที่ผู้เขียนใช้เป็นสำคัญ เนื่องจากภาษาที่ใช้นั้นอยู่ในระดับสูงผู้อ่านจะมีความจริงจังมาก ผู้เขียนควรศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับจิตวิทยา การแสดงอารมณ์ของตัวละคร ในส่วนที่เห็นได้ชัดคือบทที่สอง ตอนที่มีเด็กร่างอ้วนเล่าเรื่องเกี่ยวกับพ่อของเขาให้ฟัง โดยปรกติต่อคนแปลกหน้าอย่าว่าแต่ร้องไห้เลย แค่การบอกเล่าเรื่องสะเทือนใจเกี่ยวกับชีวิตของตัวเองให้คนแปลกหน้าฟังนั้นก็เป็นไปได้ยากแล้ว (หรือข้าพเจ้าเข้าใจผิด หรือว่าเขาตั้งใจแสดงแบบนั้นออกไปเพื่อหลอกตัวเอกของเรา ?)

                  

    ความสามารถในการสื่ออารมณ์ถึงผู้อ่าน ผู้อ่านเข้าถึงตัวละครได้แค่ไหน เข้าใจความรู้สึกที่ต้องการสื่อออกมาจาก ตัวอักษร หรือไม่ : 8/15 คะแนน

            - เหตุอันเนื่องมาจากภาษา
                   ผู้อ่านจะเพลิดเพลินไปกับความงดงามของภาษา การพรรณาด้วยศัพท์สูงทำให้ตีความหมายยาก ผู้อ่านจะไม่สามารถเข้าถึงตัวละครได้โดยง่าย

    การค้นคว้าของผู้เขียน / ผู้อ่านได้ความรู้บางอย่างเพิ่มเติมในการอ่านนิยายเรื่องนั้น ๆ หรือไม่ เพียงใด : 3/5 คะแนน

            - ภาษา
                   ผู้อ่านได้ความรู้เรื่องศัพท์ภาษาไทยเพิ่มเติม



    และ
    คะแนนพิเศษ (ขึ้นอยู่กับผู้วิจารณ์) : 4/5 คะแนน

            - ภาษาไทย
                   การจะแต่งนิยายแบบนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้เขียนต้องมีความสามารถเกี่ยวกับภาษาไทยมากทีเดียว

    รวม : 65/100 คะแนน
    เหรียญที่ได้ : เหรียญทองแดง

    กรุณาไปกรอกเอกสารเพื่อขอรับเหรียญรางวัล ต่อไป


    โพล78949

    หากว่าท่านผู้ใดมีความเห็นที่แตกต่างไปจากนี้ -- ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ ภาษา ความน่าสนใจ ความสมจริง และส่วนอื่น ๆ ที่ประกฏในบทวิจารณ์ -- โปรดอย่าลังเลที่จะแสดงความคิดเห็น ความเห็นของท่านจะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานวิจารณ์ต่อไป และที่สำคัญไปกว่านั้น ความเห็นของท่านจะมีส่วนช่วยในการพัฒนางานเขียนนี้ด้วย

    (แสดงความเห็นไว้ในหน้านี้เลยนะครับ อย่าไปโพสต์ที่หน้าหลักของบทความ)
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×