เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ CoUnt DowN - เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ CoUnt DowN นิยาย เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ CoUnt DowN : Dek-D.com - Writer

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ CoUnt DowN

    หลายคนคงจะคุ้นเคยกับคำว่า "เคานต์ดาวน์" กันดี แต่อยากรู้ป่ะว่า มันมีประวัติความเป็นมาอย่างไร

    ผู้เข้าชมรวม

    189

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    189

    ความคิดเห็น


    5

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  18 ต.ค. 49 / 09:26 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      เคานต์ดาวน์ คือ การนับถอยหลังเพื่อบ่งบอกวัน หรือช่วงเวลาที่เหลืออยู่ ก่อนเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจะเกิดขึ้น หรืออาจจะหมายถึงเวลาการขีดเส้นตายที่กำลังจะหมดลงก็ได้ ตัวอย่างเหตุการณ์ที่มีการนับถอยหลังบ่อยๆ ก็เช่น การปล่อยจรวด ยานอวกาศ การระเบิด การเริ่มต้นการแข่งขัน และการเข้าสู่ปีใหม่ เป็นต้น
             

      ทั้งนี้ หลังจากที่พยายามค้นหาข้อมูลแล้วปรากฏว่า ไม่มีแหล่งข้อมูลใดระบุว่า ใครเป็นผู้ริเริ่มการเคานต์ดาวน์เป็นคนแรก แต่พอจะทราบว่า ชาวตะวันตกเริ่มรู้จักการเคานต์ดาวน์ครั้งแรกในฉากปล่อยจรวดของภาพยนตร์เรื่อง "Frau im Mond" ของฟริตซ์ แลง ในปี 1929
             

      ต่อมา เมื่อการนับถอยหลังถูกนำมาใช้ในการจุดระเบิด เช่น การทดสอบปืนรุ่นใหม่ ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่จะละการนับ 5 เอาไว้ เพราะคำว่า 5 ในภาษาอังกฤษจะอ่านว่า ไฟว์ (five) ซึ่งจะออกเสียงคล้ายกับคำว่า "fire!" ที่แปลว่า "ยิง!" ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด
             

       ในการปล่อยจรวด เราเรียกช่วงเวลาแห่งการนับถอยหลังว่า "ที ไมนัส ไทม์" (T minus Time) ซึ่งหมายถึงเวลาก่อนการปล่อยจรวด การนับถอยหลังจะมีขึ้นที่ ที ไมนัส ไทม์ ที่ 5 นาที จากนั้นก็ที ไมนัส ไทม์ ที่ 3 นาที และที ไมนัส ไทม์ที่ 40 วินาที ตามลำดับ และสุดท้ายในช่วง 10 วินาทีที่เหลือจะมีการนับถอยหลังเสียงดังเป็นพิเศษ
             

      การนับถอยหลังยังถูกนำมาใช้ในการเริ่มฉายภาพยนตร์เก่าๆ ของชาวอังกฤษด้วย กล่าวคือ ก่อนที่จะมีการฉายภาพยนตร์ทุกเรื่อง จะต้องไตเติลแสดงตัวเลขนับถอยหลังปรากฏขึ้นมา โดยจะทิ้งระยะช่วงละ 1 วินาที ดังนี้ คือ "10 NINE 8 7 SIX 5 4 3" สาเหตุที่ข้ามเลข 6 และ 9 ไป ก็เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความสับสนในกรณีที่วางฟิล์มกลับหัว นั่นเอง

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×