พิชิตโอเนตให้ได้ภายใน 30 วัน (วิชาสังคมศึกษา ตอนเศรษฐศาสตร์) - นิยาย พิชิตโอเนตให้ได้ภายใน 30 วัน (วิชาสังคมศึกษา ตอนเศรษฐศาสตร์) : Dek-D.com - Writer
×

    พิชิตโอเนตให้ได้ภายใน 30 วัน (วิชาสังคมศึกษา ตอนเศรษฐศาสตร์)

    เทคนิคพิชิต โอเนต วิชาสังคม ทำอย่างไรเมื่อมีเวลาไม่ถึง 60 วัน มาคราวนี้กูรู วิชาสังคม จะนำเทคนิคจากหลักสูตรอัจฉริยภาพด้านวิชาสังคมมาขยายความ วันนี้มีตอนที่ชื่อว่า เศรษฐศาสตร์ครับ

    ผู้เข้าชมรวม

    357

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    357

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    1
    จำนวนตอน :  0 ตอน
    อัปเดตล่าสุด :  1 ก.ย. 66 / 17:57 น.
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

    พิชิตข้อสอบ O - NET รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

    ในกลุ่มสาระเศรษฐศาสตร์
     

     

    ชลเทพ   ปั้นบุญชู [1]
    เกริ่นนำ
                ในกลุ่มสาระวิชาที่ว่าด้วยเรื่อง เศรษฐศาสตร์นั้นพบว่ามีความซับซ้อนและข้อสอบมักยากกว่าวิธีการสอนที่ใช้กันอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผู้เขียนเชื่อว่าวิชาดังกล่าววิธีการวัดผลและการตีโจทย์เป็นเรื่องที่ยากที่สุด และมีโอกาสผิดได้ค่อนข้างสูง ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้การทำข้อสอบง่ายขึ้นจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงนิยามและจิตนภาพทางสังคมดังที่เคยเสนอไว้ในบทก่อนหน้านี้ วิธีการดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ทำข้อสอบคิดหาคำตอบอย่างเป็นระบบทำให้มีโอกาสถูกไม่มากก็น้อย
     
    ภาคสาระ

    1. ธรรมชาติของกลุ่มสาระวิชา เศรษฐศาสตร์
                 วิชาเศรษฐศาสตร์นั้น เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ต้องผ่านกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการมุ่งเน้นแก้ปัญหาทางเศรษฐศาสตร์อย่างเป็นกระบวนการ ถ้าหากกระบวนการสอนในโรงเรียนนั้นมิได้ใช้เทคนิคที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับธรรมชาติสาขานี้ ก็จะทำให้การทำข้อสอบในกลุ่มสาระวิชาดังกล่าวกลายเป็นเรื่องยาก ผู้เขียนพบว่าส่วนใหญ่ข้อสอบในระดับมัธยมที่เคยได้สัมผัสมานั้น มักถามนิยาม แนวคิด หรือการจัดจำแนกเพื่อวัดความเข้าใจของศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์ จึงมิใช่เรื่องแปลกที่เด็กหลายคนมักจะทำไม่ได้เมื่อได้ทำข้อสอบในกลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ ผู้เขียนเองค่อนข้างหนักใจกับวิธีการสอนว่าจะทำอย่างไร ? ให้เด็กเกิดกระบวนการวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล  และมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อย่างเพียงพอเพื่อที่จะทำข้อสอบได้
                วิชาเศรษฐศาสตร์นั้นจะมีความแตกต่างกับกลุ่มสาระวิชาอื่นๆดังที่ผู้เขียนจัดจำแนกข้อสอบ ออกเป็น ๕ กลุ่มใหญ่ แต่หัวใจหลักของเศรษฐศาสตร์คือ การเข้าใจแนวคิดเรื่องต่างๆได้นั่นเอง เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด อุปสงค์ อุปทาน ราคาดุลยภาพ หน้าที่ของธนาคารกลาง หน้าที่ของธนาคารพนิชย์ เศรษฐศาสตร์มหภาค เศรษฐศาสตร์จุลภาค นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ หน่วยธุรกิจ หากมองดูผิวเผินก็มักดูว่า แนวคิดดังกล่าวไม่มีอะไรพิเศษหรือซับซ้อน แต่เนื่องด้วยผู้ออกข้อสอบกลุ่มนี้มีการซ้อนคำตอบให้ใกล้เคียงกัน ประกอบกับคำศัพท์ในกลุ่มเศรษฐศาสตร์มีเนื้อหาที่มีรายละเอียดมากเช่น อุปทานนั้น มีภาวะหรือปัจจัยของตลาดมาก กล่าวคือ อาจอยู่ในภาะที่ราคาสูงมากกว่าราคาดุลยภาพ จึงทำให้ผู้ผลิตสินค้ามีความต้องการที่จะขายสินค้ามากเป็นพิเศษ หรือ ที่เรียกว่า ภาวะสินค้าล้นตลาด ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการลดลงจนสินค้าเหลือ จะเห็นได้ว่าแค่คำนิยามสั้นๆแต่มีความหมายซับซ้อนและต้องมีจินตนาการเกี่ยวกับตลาดที่มีกลไกราคามาเป็นตัววิเคราะห์ นอกจากนี้ยังมีเรื่อง อุปสงค์ส่วนเกิน อุปทานส่วนเกิน หรือกลไกทำให้ราคาเกิดความผกผันตามปัจจัยต่างๆ เช่นวัตถุดิบขาดแคลน สินค้าผูกขาด รัฐบาลกำหนดราคา สิ่งเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อเรื่องอุปสงค์อุปทานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นความเกี่ยวพันธ์ระหว่างคำนิยามในแนวคิดคำศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์นั้น ต้องขึ้นอยู่กับคำตอบที่ให้มาว่าจะชี้ข้อมูลไปในทิศทางไหน
     

    1. การใช้เทคนิคพิเศษเพื่อดป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบ
    ๒.๑เทคนิคในการใช้กราฟ แผนภูมิ ประกอบการวิเคราะห์โจทย์ เทคนิคดังกล่าวควรใช้ร่วมกับการแปลความทางภาษา เสรษฐศาสตร์เพื่อแจกแจงความเข้าใจในแต่ละตำตอบ ที่โจทย์กำหนดมาให้ ผู้เขียนมีความเชื่อว่าจะต้องทำร่วมกันเพื่อเชื่อโยงความสัมพันธ์ระหว่างจินตภาพและภาษา เพื่อหาคำตอบได้ถูกต้อง การใช้เทคนิคนี้เคล็กลับที่สำคัญคือการอ่านโจทย์ให้ละเอียดว่า ผู้วัดต้องการทราบถึงอะไร เช่น สาเหตุ หรือ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงจะสามารถเข้าใจประเด็นที่แท้จริง
                ข้อสังเกตของผู้เขียนอยากเสนอแนะว่า ให้อ่านคำตอบอย่างละเอียดและพยายามเขียนออกมาเป็น ชาร์ท หรือ กราฟซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำความเข้าใจในกลุ่มสาขาวิชาดังกล่าว นอกจากจะไม่สับสนแล้วยังเป็นกระบวนการคิดที่ตรงจุดมากที่สุด แต่ก็เป็นเรื่องยากสำหรับเด็กบางคนที่ไม่คุ้นชินกับวิธีการหาคำตอบดังกล่าว ซึ่งผู้เขียนจะลองยกตัวอย่างและนำเสนอให้ง่ายที่สุดเท่าที่พอจะทำได้
     
    ตัวอย่าง  ข้อใดทำให้เกิด อุปสงค์ส่วนเกินขึ้น
                (๑) ปริมาณการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น             (๒)ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากขึ้น
                (๓) จำนวนผู้ผลิตสินค้าลดลง                  (๔) ราคาสินค้าต่ำกว่าราคาดุลยภาพ
     
     
     
     
     
     
     
    จากโจทย์สามารถเขียนแผนภาพได้ดังนี้

     

               
     UploadImage
                             
                             
     
    จะเห็นได้ว่าข้อนี้ถามถึง สาเหตุ (จากโจทย์ว่า ข้อใดทำให้  ) ดังนั้นต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิด อุปสงค์ส่วนเกิน ซึ่งหากแปลความออกมาจาก ภาษาทางเศรษฐศาสตร์นั้นจะมีความหมายว่า ความต้องการสินค้าจากผู้บริโภคมีสูง และสาเหตุก็เนื่องมาจาก ปริมาณอุปสงค์ หรือนั่นก็หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากราคา เช่น เมื่อราคา ๓ บาท(ซึ่งเป็นราคาดุลยภาพ) เราจะต้องการสินค้านี้เท่ากับ ๓ชิ้น แต่หากผุ้ขายลดราคาเหลือ ๑ บาท ผู้ซื้อรู้สึกว่าราคาลดลงเลยอยากได้เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผลคือ ผู้ขายไม่ค่อยอยากขายเพราะอาจจะขาดทุนได้ หรือไม่ค่อยมีกำไร แต่ผู้ซื้ออยากซื้อเพราะคิดว่าราคาลงได้ของเพิ่มขึ้น ดังนั้นการผลิตสินค้าดังกล่าวอาจมีปริมาณน้อยลง แต่จำนวนผู้ซื้ออยากซื้อมากเพราะราคาลง เป็นเหตุให้ สินค้าขาดตลาด นั่นเอง กลไกนี้เกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของราคาที่ต่ำกว่าจุดดุลยภาพหรือในแผนภาพคือจุด CD นั่นเอง
                ข้อ ๑ ปริมาณการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น นั้นจะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า อุปทานส่วนเกิน หรือหมายถึงราคาสูงกว่าจุดดุลยภาพ ทำให้ผู้ขายอยากขายสินค้า แต่ความเป็นจริงคือ ราคาแพงเกินกว่าที่ผู้บริโภคจะรับได้ และอาจหันไปบริโภคสินค้าชนิดอื่นแทน ปรากฏการณ์ดังกล่าวจงส่งผลต่อตลาดคือ สินค้าล้นตลาด มีแต่ผู้ขายไม่ค่อยมีผู้ซื้อหรือที่เรียกว่าจุด AB จำนวนความต้องการสินค้าลดลง
                ข้อ ๒ ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น อันนี้เป็นผลของ ข้อ ๔ (ซึ่งเป็นคำตอบที่ถูก) โจทย์ถามว่า ข้อใดทำให้เกิด อุปสงค์ส่วนเกิน ไม่ได้ถามว่าข้อใดอยู่ในภาวะของ อุปสงค์ส่วนเกินได้ทำงานในกลไกตามราคาตลาด ซึ่งคำตอบข้อนี้จะตรงกับความหมายของอุปสงค์ส่วนเกินแต่ก็มิใช่คำตอบที่ถูกต้องเพราะ ไม่ได้ถามลักษณะ
                ข้อ ๓ จำนวนผู้ซื้อสินค้าลดลง อันนี้สอดคล้องกับคำตอบที่ ๑ คือ ภาวะอุปทานส่วนเกินทำให้การซื้อสินค้าของผู้บริโภคลดลง
               
                ๒.๒ เทคนิคการแยกแยะคำถามในโจทย์ออกเป็นส่วนๆ เพื่ทำความเข้าใจเชิงจินตภาพ[2]และสำรวจหาคำตอบที่ถูกต้อง เทคนิคดังกล่าวนั้นฟังดูแรกๆอาจจะเข้าใจได้ว่ามีความยาก แต่ถ้าหากผู้ทำข้อสอบฝึกหัดบ่อยๆเชื่อได้ว่าจะมีความชำนาญต่อการวิเคราะห์โจทย์ วิธีการดังกล่าวนั้นจะต้องอ่านโจทย์ ๒ รอบ รอบแรกอ่านเพื่อเข้าใจ รอบที่สอง อ่านเพื่อหาความเฉพาะเจาะจงที่ข้อสอบเน้นหรือระบุให้หา ผู้เขียนลองทำการทดลองกับตนเองถึงสองครั้งเพื่อใช้แนวคิดตามการวิจัยเชิงทดลองโดยการทำข้อสอบในกลุ่มวิชาทางเศรษฐศาสตร์ นั้นพบว่า หากอ่านโจทย์เพียงรอบเดียวเลยมักจะประสบกับปัญหาการด่วนตัดสินใจเร็วเกินไป ทำให้ตอบผิด
    ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาคือ การอ่านโจทย์สองรอบ โดยผู้เขียนเลือกอ่านโจทย์รอบแรกและพยายามสังเกตว่ามีคำถามซ้อนหรือไม่ เช่นคำว่า ไม่ หรือ แตกต่าง กรณีนี้คงเหมือนกับแนวการศึกษาดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในบทที่เกี่ยวกับเทคนิคการดูข้อสอบเพื่อตีโจทย์กลุ่มกลุ่มสาระด้าน หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตในสังคม แต่อาจมีความแตกต่างไปคือ ต้องรอบคอบกว่ากลุ่มสาระนี้ เพราะหารวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ค่อนข้างมีหลักเหตุและผล บางทีหากผู้ทำข้อสอบไม่ใส่ใจก็จะพบว่าคำที่มีความใกล้กันแต่ความหมายต่างกันโดยสิ้นเชิง หรือไม่ก็ พลาดในส่วนของคำถามที่ซ้อนมาด้วย จึงต้องระมัดระวังกับสิ่งที่ผู้เขียนเสนอไว้ตรงนี้เป็นพิเศษจะได้ตีความโจทย์และใช้กระบวนการได้ตรงจุด
     ตัวอย่าง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สัดส่วนสินค้าอุคสาหกรรมในสินค้าส่งออกของไทยเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ มีหลายประการยกเว้นข้อใด (O NET ๒๕๕๐)

    1. มูลค่าผลิตผลทางการเกษตรมีแนวโน้มลดลง
    2. แรงงานไทยมีทักษะความชำนาญในการผลิตเพิ่มมากขึ้น
    3. มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในการผลิตเพิ่มมากขึ้น
    4. มีการพัฒนาผลิตผลอุตสาหกรรมใหม่ๆ เพื่อการส่งออก
    จะเห็นได้ว่าโจทย์นั้นมีคำว่า ยกเว้น หากบางทีเราอ่านแบบเร็วๆและไม่รอบคอบก็มักจะพลาดได้ เพราะคิดว่าโจทย์ถามว่า ปัจจัยใด ซึ่งนักเรียกอาจจะเลือกข้อ ๑ ๒ หรือ ๓ ก็เป็นได้ ขึ้นอยู่กับใช้วิธีการสนับสนุนคำตอบที่ที่ทบทวนเนื้อหามาแบบไหน แต่หากสังเกตให้ดัโดยอ่านโจทย์ก็จะพบว่ามีคำถามที่ซ่อนอยู่คือ ไม่ใช่ แม้ว่าโดยรวมจะกล่าวถึงปัจจัยที่ส่งผลก็ตาม และหากเพิ่มความเที่ยงตรงที่การวิเคราะห์ข้อสอบอย่างเป็นเหตุเป็นผลก็จะต้องใช้ จินตนาการเข้าร่วมด้วย ผู้เขียนเห็นว่ากลุ่มสาระวิชาดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ จินตภาพทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของเทคนิคการทำข้อสอบสังคมแนวใหม่ที่ผู้เขียนกำลังคิดค้นและปรับปรุงขึ้นเพื่อให้เหมาะสำหรับการตีโจทย์ O - NET และ A NET
     
    วิธีการค้นหาคำตอบทำได้ดังนี้
    ๒.๒.๑ อ่านโจทย์รอบแรกว่าเนื้อหาสาระสำคัญมีอะไรโดยในข้อนี้เขาถามเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไทยเพิ่มขึ้น และถ้าอ่านโจทย์อีกรอบเพื่อให้เกิดความชัดเจน ก็จะพบว่ามีคำถามซ่อนอยู่คือ ยกเว้น ดังนั้นจำเป็นจะต้องแยกส่งว่าโจทย์มีความเป้นเนื้อเดียวกันกับคำถามหรือไม่ หรือไม่เช่นนั้นก็ลองสังเกตดูว่า คำตอบ ที่เป็นตัวเลือก ข้อไหนแตกต่างจากพวก วิธีการนี้ก็คล้ายๆกับ การจำแนกความแตกต่างที่เคยเสนอไว้แล้ว แต่สำหรับโจทย์ทางเศรษฐศาสตร์อาจมีความซับซ้อนและชวนให้สับสนได้ง่ายกว่ากลุ่มสาระเรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตในสังคม
    ๒.๒.๒ลองดูคำตอบแต่ละข้อและคิดหรือจินตนาการตามว่า ข้อไหนทำให้ การส่งออกไทยสูงขึ้นบ้างและข้อไหนไม่เกี่ยวหรือ ไม่สามารถทำให้การส่งออกเพิ่มสูงขึ้น ตามแนวจินตภาพทางเศรษฐศาสตร์
                ข้อ ๑ มูลค่าผลผลิตการเกษตรมีแนวโน้มต่ำลง ข้อนี้เห็นชัดว่า ไม่เกี่ยวข้องใดใดเลยเนื่องจาก เป็นข้อมูลสะท้อนถึง ภาพการเกษตรซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้อกับวิธีการผลิตในอุตสาหกรรม ที่ดีหรือทำให้เพิ่มสูงขึ้น
                ข้อ ๒ แรงงานไทยมีทักษะความชำนาญในการผลิตมากขึ้น ข้อนี้ หากลองจินตนาการตามโจทย์ ก็จะเห็นภาพว่า แรงงานคือ ปัจจัยการผลิตสินค้าในกระบวนการ หากแรงงานเก่งขึ้น ดีขึ้น เช่นได้ไปอบรมเฉพาะทางด้านการเชื่อมเหล็ก ทำให้สินค้ามีคุณภาพ ส่งผลคือ ยอดการนำเข้าจากต่างประเทศอาจเพิ่มสูงขึ้นเพราะสินค้าที่เกิดจากแรงงานที่มีความชำนาญนั้นสามารถสร้างมาตราฐานที่ดีกว่าคู่แข่งในขณะที่ราคาใกล้เคียงกัน จึงเป็นเหตุให้ผู้สั่งซื้อสินค้าต้องการสินค้าไทยเพิ่มขึ้น
                ข้อ ๓ มีการนำเทคโนโลยีการผลิตมาใช้ในการผลิตมากขึ้น ข้อนี้แน่นอนว่าหากเป็นการผลิตในเชิงพานิชย์แล้ว ย่อมจะต้องมีจำนวนมากขึ้น ยกตัวอย่างง่ายๆคือ หากเราใช้เทคโนโลยีในระดับธรรมดาต่อการผลิตสินค้า จะทำให้เราผลิตสินค้าได้จำนวนชิ้นต่อชั่วโมงสมมุติที่ ๒๐๐ ชิ้น แต่หากเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีต่อการผลิตก็จะพบว่า จำนวนชิ้นงานต่อชั่วโมงสูงขึ้นเป็น ๓๐๐ ชิ้น เนื่องจากเทคโนโลยีที่สูงขึ้นน่าจะใช้เวลาการผลิตต่อชิ้นน้อยลงและที่สำคัญอาจจะทำให้ชิ้นงานมีคูณภาพมากขึ้น ส่งผลต่อการส่งออกที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้นตามคำสั่งซื้อของตลาด และสามารถส่งได้ทันกำหนดเวลา เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า อาจมีเทคโนโลยี การตัดเย็บ การย้อม ที่รวดเร็วขึ้นจากเทคโนโลยีตัวใหม่ ทำให้ยอดส่งออกอาจสูงขึ้นตามความต้องการของตลาด สามารถชนะคู่แข่งในเรื่องประสิทธิภาพของการผลิตได้
                ข้อ ๔ มีการพัฒนาผลิตผลอุตสาหกรรมใหม่ๆ เพื่อการส่งออก ข้อนี้ทำให้เห็นถึงการปรับปรุง สินค้า ลองนึกตัวอย่างง่ายๆคือ การปรับปรุงข้าวหอมมะลิ ซึ่งพยายามปรับปรุงพัฒนาพันธุ์ข้าวไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาดจนทำให้เป็นที่ติดตลาดไปยังทุกทั่วภูมิภาคในโลก
     
    ๒.๓เทคนิคการใช้เหตุและผลตามหลักตรรกะ (Logic)วิธีการดังกล่าวคือ การหาคำอธิบายเพื่อสนับสนุนอย่างสมเหตุสมผลที่สุด เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์หาคำตอบ แม้ว่าจะยากแต่ผู้เขียนเห็นว่าเทคนิคนี้จำเป็นมากที่สุดในเรื่องเศรษฐศาสตร์ เพราะโดยธรรมชาติของกลุ่มสาระวิชาเศรษฐศาสตร์มีเนื้อหาซึ่งต้องทิศทางการหาคำตอบแบบนี้ อาจเป็นไปได้ว่าคำตอบที่หาได้นั้นอาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นแต่ก็น่าเชื่อถือได้ในระดับหนึ่ง ดังนั้นจึงต้องอาศัยทักษะเฉพาะบุคคลหรือการฝึกฝนจากความถนัดด้านการใช้เหตุและผล มาเป็นตัวช่วยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ผู้เขียนเชื่อว่าทักษะการใช้เหตุและผลนั้นสามารถฝึกฝนได้ เช่นเดียวกับทุกทักษะ[3] แต่ต้องมีความขยันหมั่นเพียรและฝึกตีความโจทย์บ่อยๆ ยิ่งมากเท่าไรก็ยิ่งทำให้ชำนาญมากขึ้นจนสามารถเข้าใจโจทย์ได้อย่างกระจ่างชัด มีความน่าเชื่อถือตามหลักวิเคราะห์ และดูมีน้ำหนัก
    การฝึกฝนเทคนิคนี้จำเป็นจะต้องอาศัยหลักตรรกศาสตร์ ดูความสอดคล้องหรือสหสัมพันธ์ของโจทย์และคำตอบว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เทคนิคนี้จำเป็นต้องบูรณาการความรู้ ฝึกการอธิบายมากกว่าเลือกคำตอบเพียงอย่างเดียวเช่น เลือก ก. แต่ไม่สามารถให้คำตอบว่า เลือก ก. เพราะเหตุใด ทำไมถึงไม่เลือก ข. ค. ง.  หากมีการฝึกใช้เหตุและผล เช่นเดียวกับกลุ่มเนื้อหา ทางกฏหมาย รัฐศาสตร์ ก็สามารถใช้วิธีการดังกล่าวมาวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบในกลุ่ม เศรษฐศาสตร์ได้ และที่สำคัญหากยิ่งประสานกับ จินตภาพทางสังคมศึกษา ก็ยิ่งทำให้หลักการวิเคราะห์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
     
     
     
    วิธีการใช้เทคนิคด้านตรรกะเพื่อวิเคราะห์โจทย์ทางเศรษฐศาสตร์
              ๒.๓.๑พยายามดูโจทย์ว่ามีการถามในเรื่องการหาความสัมพันธ์หรือไม่ โดยคำถามอาจจะชี้มูลเหตุหรือผล ไว้ในคำถามแต่อาจให้เราหาเหตุหรือผลซึ่งจะอยู่ในตัวเลือกที่กำหนดให้กรณีนี้จะคล้ายกับหลักการตีความโจทย์ในกลุ่สาระวิชาสังคมในเรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตในสังคมในเรื่องการดูแบบองค์รวม และการแยกแยะความแตกต่าง
                ๒.๓.๒ แจกแจงคำตอบแต่ละข้อดูความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ที่จำนำไปสู่เหตุหรือคำถามในโจทย์ได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด โดยอาศัยหลักความเป็นไปได้ บางทีอาจกำกับไว้ใต้คำตอบที่เป็นตัวเลือกโดยดินสอ หรือเศษกระดาษ (แต่ถ้าหากฝึกจนชำนาญก็สามารถคิดในใจได้) โดยให้ใช้กลุ่มคำดังกล่าวใส่ลงในท้ายคำตอบที่เป็นตัวเลือกคำว่า เป็นไปได้มากที่สุด น่าจะเป็นไปได้ ไม่น่าจะเป็นไปได้ เป็นไปไม่ได้เลย ไว้เพื่อเลือกคำตอบที่มีความน่าจะเป็นมากที่สุดตามวิธีวิเคราะห์เชิงตรรกะ
                ๒.๓.๓ ประเมินและเลือกตามน้ำหนั วิธีการดังกล่าวอาจเขียนเหตุผลหรือนึกเหตุผลไว้ในใจก็ได้เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ เพราะทุกอย่างที่เราเลือกนั้นไม่ได้เลือกมาอย่างลอยๆแต่ได้ผ่านการบวนการคิดเชิงวิเคราะห์และเชื่อมโยงความสัมพันธ์อย่างเป็นเหตุเป็นผล(ยกเว้นเสียแต่ว่าจะคาดเดาอย่างไร้ซึ่งเหตุและผล)[4]
     
    ตัวอย่าง นโยบายใดจะทำให้ประเทศมีศักยภาพและความได้เปรียบในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศได้
    (๑) การใช้นโยบายการค้าคุ้มกันการผลิต                (๒) การระดมเงินออมเพื่อการลงทุน
    (๓) การชำระหนี้ต่างประเทศก่อนกำหนด               (๔) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 
     
    ผู้ทำข้อสอบลองแก้ปัญหาตามกระบวนการ ๓ ขั้น ดังนี้
     
                ขั้นที่ ๑ โจทย์ในข้อนี้ถามว่า นโยบายใดจะทำให้ประเทศมีศักยภาพและความได้เปรียบในด้านการค้าระหว่างประเทศ ประเด็นนี้หมายถึง ผลลัพธ์ คือ การได้เปรียบด้านการค้าระหว่างประเทศ คำถามที่เราเห็นมิได้ให้เราหาสาเหตุโดยตรง แต่จากการตีความโจทย์ก็คือการหาเหตุ เนื่องจากหากเราเห็นคำตอบในตัวเลือกเราก็จะทราบได้ทันที คือวิธีการต่างๆนานาที่ใช้เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศเกิดข้อได้เปรียบ แต่ข้อใดถุกนั้นค่อยว่ากันในขั้นต่อไป
                ขั้นที่ ๒ พยายามแจกแจงทีละข้อ ตามหลักความน่าจะเป็น อาจใส่ตัวช่วยคือ การกำกับคำพูดที่กำหนดไว้ข้างต้น ร่วมกับ นำข้อมูลมาสนับสนุน ตามหลังว่า เพราะ...........?ก็จะทำให้ทิศทางในการวิเคราะห์มีน้ำหนักมากขึ้นตามหลักตรรกะ
    ตัวอย่าง

    1. การใช้นโยบายคุ้มกันการผลิตเมื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนจะได้รายละเอียดคือ การคุ้มกันนั้นเป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตภายในประเทศเพื่อที่จะสามารถแข่งขันกันในสินค้าต่างๆระหว่างผู้ผลิตภายในประเทศ และผู้ผลิตต่างประเทศ ไม่ให้มีความเสียเปรียบในเรื่องราคาโดยถ้าสินค้าต่างประเทศอาจมีการกำหนดโควต้า หรือการตั้งกำแพงภาษีในราคาสูง ก็ได้ เพื่อให้ราคาสินค้าต่างประเทศมีราคาแพงกว่าสินค้าในประเทศ ทำให้ผู้บริโภคที่อยู่ภายใต้กลไกตลาดเลือกซื้อสินค้าในประเทศมากกว่า เพราะสินค้าต่างประเทศมีราคาสูง
    2. การระดมเงินออมเพื่อการลงทุน เมื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนจะได้รายละเอียดคือ การระดมเงินออมนั้นส่วนใหญ่ใช้เพื่อการลงทุนหรือการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในการใช้จ่ายหรือนโยบายด้านการคลัง และส่วนใหญ่เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์มหภาคในด้าน การใช้จ่ายเงิน หรืออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ
    3. การชำระหนี้ต่างประเทศก่อนกำหนดเมื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนจะได้รายละเอียดคือ การชำระหนี้ต่างประเทศก่อนมิได้ทำให้การค้าดีขึ้น เพียงแค่ทำให้หนี้หมดเร็วขึ้นเท่านั้นเอง ทำให้เรามีเครดิตดีขึ้นหรือสามารถปลดหนี้ได้เร็วกว่ากำหนด
    4. การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อหาเหตุผลมาสนับสนุนจะได้รายละเอียดคือ การพัฒนาสารสนเทศทำให้ข้อมูลทางธุรกิจมีจำนวนมากขึ้นในสารระบบในภาวะการแข่งขันจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบการพิจารณาในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ ข้อได้เปรียบ ข้อเสียเปรียบ เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการค้า แต่จะส่งผลโดยอ้อมเพราะว่า มาตราการดังกล่าวมิได้เป็นวิธีการหลักเพื่อแข่งขันทางการค้า แต่เป็นเพียงตัวเสริมให้การแข่งขันมีความได้เปรียบมากยิ่งขึ้นเท่านั้นเอง และไม่สามารถเห็นผลได้อย่างชัดเจนในระยะสั้น
     
    ขั้นที่ ๓ประเมินความเป็นไปได้มากที่สุดตามหลักเหตุและผล จะเห็นได้ว่าหากเราใส่เหตุผลลงไปแล้ว เราควรกำกับไว้ด้วยว่าข้อไหน เป็นไปได้มากที่สุด เป็นไปได้ น่าจะเป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เลย (ไม่จำเป็นว่าจะต้องมีทั้ง ๔ คำสำคัญกำกับไว้ให้ครบ เพราะว่าอาจใช้เพียงสองหรือสามลักษณะก็ได้) จะพบว่า ข้อ ๑ และข้อ ๔มีความเป็นไปได้ ในขณะที่ข้อ ๒ และ ข้อ ๓ เป็นไปไม่ได้เลยเพราะไม่เกี่ยวข้องเลย ดังนั้นคำตอบที่เหลือจึงมีเพียงสองข้อ แต่วิธีการให้เหตุผลจึงทำให้เราเลือกข้อ ๑ เป็นไปได้มากที่สุด เพราะเป็นนโยบายที่เห็นผลโดยตรงและเป็นมาตราการโดยตรงที่ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อแข่งขันทางการค้าระหว่างผู้ผลิตภายในประเทศกับผู้ผลิตต่างประเทศ
     
    ข้อแนะนำคือการใช้เทคนิคดังกล่าวนั้นอาจสามารถใช้ร่วมกันได้โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่ง ซึ่งผุ้ทำข้อสอบควรประยุกต์ใช้ตามแต่ดุลยพินิจของผู้ใช้ ผู้เขียนเองก็ได้ลองวิเคราะห์ข้อสอบ (O NET) และหาคำตอบจากหลายๆเทคนิค บางทีอาจมีการประสมกันไปมาตามความเหมาะสม
     

    1. การวิเคราะห์โจทย์ให้ตรงกับวัตถุประสงค์หรือลักษณะเด่นที่ผู้วัดผลต้องการทดสอบโดยผู้ทำข้อสอบสามารถตีความโจทย์ตามประเภทที่กำหนดไว้ ในส่วนนี้ผู้เขียนได้เคยเสนอไว้แล้วในบทเรื่อง การวิเคราะห์ข้อสอบสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในกลุ่มสาระเรื่อง หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตในสังคม ซึ่งมี ๔ ทักษะดังนี้
    ๓.๑ทักษะการแยกแยะความรู้และจำแนกความแตกต่างได้ ในวิธีการดังกล่าวก็มีความคล้ายคลึงกับบทแรก แต่ข้อกำชับที่ต้องการแนะนำคือ ความรอบคอบในการอ่านโจทย์ เพราะผู้เขียนลองทดสอบกับตนเองพบว่า การอ่านโจทย์ทางเศรษฐศาสตร์ จำเป็นจะต้องอ่านโจทย์และคำตอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนมากกว่าทุกกลุ่มสาระวิชา แต่ก็มิได้หมายความว่าให้ละเลยสาขาอื่นไป โดยไม่อ่านให้ละเอียด เพราะว่า เศรษฐศาสตร์ นั้นมีภาษาที่เข้าใจยากและมีศัพท์เฉพาะทางมากที่สุด การเข้าใจนิยามคำศัพท์ก็มิใช่เพียงแค่รู้ แต่ต้องใช้ได้และ ประยุกต์ให้สอดคล้องกับโจทย์คำถาม นี่คือความยากและท้าทายของกลุ่มสาระวิชานี้
    การตั้งคำถามก็เช่นเดียวกันคือมีคำว่า ไม่ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สอดคล้อง แตกต่าง ไม่ใช่ ประกอบในส่วนของคำถาม ดังนั้นเมื่อผู้ทำข้อสอบหาคำสำคัญดังกล่าวได้แล้ว จึงเริ่มลงมือแยกแยะความแตกต่างของ ตัวเลือก เพื่อหา จุดร่วม ของตัวเลือก จัดกลุ่มประเภทที่เหมือนกัน และหาตัวเลือกที่แตกต่างจากพวก
    ข้อเสนอแนะ  ตัวเลือกบางตัวหากดูโดยผิวเผินอาจเหมือนกับ คำตอบในตัวเลือกอื่นๆที่โจทย์กำหนดให้ แต่หากพิจารณาโดยละเอียดและลองแยกแยะออกมาจะพบว่า ตัวเลือกนั้นมีคำศัพท์ที่ไว้ใช้ลวงให้ผู้ทำข้อสอบเข้าใจสับสนและมักคิดว่า เหมือนกับตัวเลือกอื่นๆ แต่ตัวเลือกบางตัวที่คิดว่าน่าจะเป็นคำตอบที่ถุกต้องหากดูละเอียดแล้วอาจไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องก็ได้ ในประเด็นนี้ผู้เขียนจึงเสนอว่า อย่าเชื่ออะไรโดยง่ายนัก เพราะอาจทำให้เลือกคำตอบที่ผิด ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับ คำศัพท์เฉพาะทางเศรษฐศาสตร์ ทั้งในแง่ของนิยาม แนวคิด การนำไปใช้ เพื่อที่จะจำแนกหาความแตกต่างได้ตรงตามเนื้อหาที่แท้จริง
     
    ตัวอย่างข้อใดไม่ใช่วิธีการหาเงินมาใช้จ่ายในกรณีที่รัฐบาลมีงบประมาณแบบขาดดุล
     (O NET ๒๕๕๑)
    (๑)การนำเงินคงคลังออกมาใช้                 (๒) การกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ
    (๓) การออกพันธบัตรขายประชาชน           (๔) การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
    จากโจทย์ มีคำว่า ไม่ นั่นย่อมแสดงว่า คำตอบ คือการจำแนกระหว่างงบประมาณแบบ ขาดดุล กับ งบประมาณเกินดุล แต่ทว่า เราลองหาคำตอบเกี่ยวกับงบประมาณขาดดุลว่า วิธีการ หรือ มาตราการที่ใช้ ในกรณีดังกล่าวมีอะไรบ้าง

    1. การนำเงินคงคลังออกมาใช้จ่าย นั้น เป็นมาตราการทางการคลังที่ใช้ในภาวะ ของงบประมาณขาดดุล[5] เป็นหนึ่งในมาตราการวิธีหาเงินมาใช้ร่วมกับการกู้เงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือส่งเสริมการลงทุนของภาครัฐ
    2. การกู้เงินจากต่างประเทศเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการชดเชยภาวะการขาดดุล ด้วยเหตุผลของการกู้เงิน อาจนำมาลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหรือการพัฒนาประเทศ หรืออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบให้เกิดสภาพคล่อง
    3. การออกพันธบัตรขายประชาชน เป็นวิธีการระดมทุนแบบหนึ่งที่เป็นการระดมทุนภายในประเทศเพื่อนำเงินมาใช้ วิธีการดังกล่าวก็เคยใช้ในรัฐบาลอภิสิทธิ์เพื่อที่จะระดมทุนจากประชาชนมาใช้ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งมีผู้เข้าซื้อพันธบัตรเป็นจำนวนมาก
    4. การเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าจะเป็นนโยบายจัดเก็บเงินเข้าคลังเพื่อให้คลังมีเงินมากขึ้น แต่ในกรณีดังกล่าวแล้วมิได้ใช้กับการทำงบประมาณขาดดุลแตจะต้องใช้ในภาวะ อัตราเงินเฟ้อ เพื่อซับเงินที่ไหลออกเข้าสู่ระบบ สร้างความสมดุลให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่จำเป็นจะต้องควบคุมอัตราเงินเฟ้อมิให้สูงจนเกินไป หรืออยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจขาขึ้น มีเงินไหลเข้ามาก ซึ่ง น่าจะอยู่ในช่วงงบประมาณเกินดุลมากกว่า
    ข้อ ๔ จึงแตกต่างจากข้ออื่น  โดยใช้วิธีการวิเคราะห์และให้เหตุผลสนับสนุนอย่างละเอียด
                ๓.๒ ทักษะความเข้าใจเนื้อหารอบด้าน ในกระบวนการออกข้อสอบนั้นโดยเฉพาะวิชาเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีเนื้อหาละเอียด แต่การออกข้อสอบวัดผลที่ดีจึงต้องมีการวัดที่ครอบคลุมอย่างรอบด้าน ดังนั้นผู้เขียนจึงยืนกรานตามบทแรกคือ ในส่วนของการแยกแยะเนื้อหามีส่วนสำคัญต่อการถามที่เป็นองค์รวม หรือรอบด้าน เพื่อวัดความเข้าใจในเนื้อหาอย่างครบถ้วนในกลุ่มสาระวิชาทางเศรษฐศาสตร์ การออกข้อสอบเพื่อวัดผลนั้นจึงเน้นความเข้าใจและการนำไปใช้เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ตามที่โจทย์กำหนด
                วิธีการดูคำถามว่ามีเนื้อหาวัดความเข้าใจเนื้อหานั้น มักมีความใกล้เคียงทั้ง แยกแยะความแตกต่าง ความเข้าใจในแนวคิด คำนิยาม จึงจำเป็นจะต้องนำมาประกอบร่วมกันในการวิเคราะห์ เพราะว่าข้อสอบในเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ เป็นสาขาที่จำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษพร้อมกับวิธีการมองโจทย์มากกว่าทุกกลุ่มสาระวิชาในรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม คำถามนั้น อาจจะมีคำว่า ไม่ เช่นเดียวกับทักษะแรก เพราะว่าการจำแนกนั้นโดยส่วนใหญ่ของคำตอบที่เป็นตัวเลือก มักจะเป็นการวัดเนื้อหาอย่างรอบด้าน
     
    ตัวอย่าง สถาบันในข้อใดไม่ ได้ให้บริการ ทางการเงินแก่บุคคลทั่วไป (O NET ๒๕๔๙)
                (๑) ธนาคารกลาง                       (๒) ธนาคารอาคารสงเคราะห์
                (๓) บริษัทหลักทรัพย์                   (๔) บริษัทแครดิตฟองซิเอร์
                การเลือกวิธีหาคำตอบนั้นมีความเหมือนกับทักษะแรก คือต้องแยกแยะความแตกต่าง แต่ที่ผู้เขียนพยายามจะเพิ่มเติมคือ คำถามดังกล่าวมีการวัดความเข้าใจในเนื้อหาอย่างรอบด้านด้วย กล่าวคือ มักจะวัดว่าเรามีความเข้าใจต่อ ธนาคารหรือธุรกิจการเงินในแต่ละประเภทหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้หมายถึง เราทราบหรือไม่เกี่ยวกับ สถาบันการเงินในเชิงพานิชย์ และ และธนาคารกลางว่ามีหน้าที่เหมือนหรือต่างอย่างไร มีความเกี่ยวพันธ์อย่างไร นั่นเอง ซึ่งในวัตถุประสงค์การออกข้อสอบดังกล่าวสามารถครอบคลุมถึงเนื้อหาเรื่อง เงิน และสถาบันการเงิน ในกลุ่มสาระทางเศรษฐศาสตร์ ได้
                ผู้ทำข้อสอบจึงควรใช้ทักษะการแยกแยะเข้าช่วย เพราะโดยธรรมชาติของข้อสอบประเภทนี้มักจะ มีความเหมือนกัน ๓ ข้อ และแตกต่างโดยสิ้นเชิง ๑ ข้อ ซึ่งถ้าผู้ทำข้อสอบใช้หลักการวิเคราะห์แบบที่ได้กล่าวมาข้างต้นก็ถือว่าได้ถุกทดสอบความรู้แบบความเข้าใจเนื้อหารอบด้านไปด้วยกัน

    1. ธนาคารกลาง มีหน้าที่ ควบคุมปริมาณเงินในประเทศทั้งกระแสเงินสดที่หมุนเวียนเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและการประกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากธนาคารพานิชย์ โดยการรับฝากเงินจากธนาคารพานิชย์ การใช้นโยบายทางการเงินในเรื่องอัตราดอกเบื้ยให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ควบคุมการประกอบการให้ธนาคารและสถาบันการเงินเชิงพานิชย์ให้อยู่ในกฏระเบียบเพื่อรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงิน ดูแลการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ รักษาทุนสำรองระหว่างประเทศ จัดการหนี้สาธารณะ การกู้เงินของรัฐบาลและหน่วยงานรัฐ[6] ดังนั้นการประกอบการของธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทยจึงมิใช่เป็นการประกอบธุระกิจ
    2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีหน้าที่ ให้เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยจัดเป็นธนาคารที่ปล่อยกู้ให้บุคคลทั่วไปเพื่อซื้อหรือปรับปรุงบ้านเป็นหลัก เน้นผู้กู้รายย่อยและเป็นธนาคารเชิงพานิชย์แก่บุคคลทั่วไป
    3. บริษัทหลักทรัพย์ เป็นธุรกิจเพื่อระดมทุนโดยนำเงินไปลงทุนและทำกำไรในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาด รวมไปถึงตราสารหนี้ในตลาดทุนและตลาดเงิน เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน โดยสามารถให้บุคคลทั่วไปเข้าจับจองซื้อขายได้[7]ในกองทุนเปิด ส่วนกองทุนปิดไม่รับซื้อคืน
    4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นสถาบันธุรกิจหลักทรัพย์ โดยมีธุรกิจให้กู้ยืมโดยวิธีรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ การรับซื้ออสังหาริมทรัพย์โดยการขายฝาก เพื่อการค้าและการประกอบกิจการอื่นตามที่ได้รับอนุญาติ เป็นการให้สินเชื่อเพื่ออสังหาริมทรัพย์โดยตรง คล้ายกับธนาคารอาคารสงเคาะห์แตกต่างเพียงเป็นสถาบันของเอกชน
     
    ดังนั้น ข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ จึงเป็นธุระกิจสถาบันการเงินเพื่อการพานิชย์ เน้นกระจายเงินทุนสู่ผู้กู้ทั่วไป หน้าที่จึงแตกต่างจากข้อ ๑ ธนาคารกลางหรือธนาคารแห่งประเทศไทยที่เน้นการช่วยหรือหรือเป็นนายธนาคารให้กับธนาคารด้วยกัน
     
    ๓.๓ ทักษะความเข้าใจต่อนิยามคำศัพท์แนวคิดในเรื่องเศรษฐศาสตร์ ในเรื่องนี้ถือว่ามีความสำคัญที่สุดและเป็นหัวใจสำคัญในการวัดผลเกี่ยวกับกลุ่มสาระวิชานี้ เนื่องด้วยสาระวิชาเศรษฐศาสตร์ มีเนื้อหาแบบ เฉพาะทาง ดังนั้นการตีความเกี่ยวกับเรื่องคำศัพท์ หรือแนวคิด จึงจำเป็นจะต้องรอบคอบอย่างยิ่งกว่ากลุ่มสาระวิชาทางสังคมแขนงอื่น เพราะคำศัพท์หากเราไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ก็ยากที่จะเลือกคำตอบที่ถูกต้องได้ ยิ่งเนื้อหาทางเศรษฐศาสตร์ที่มักออกข้อสอบนั้นมุ่งเน้นวัดความเข้าใจเป้นหลักหากเทียบกับการทดสอบความจำ ก็ยิ่งจะต้องฝึกฝนให้เข้าใจนิยามและความหมายเชิงจินตนาการโดยการจำลองภาพ หรือคิดตามตัวเลือกที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ที่กำหนด เพื่อให้วิเคราะห์ความเป็นไปได้ ตามที่ได้เคยเสนอซึ่งอาจจะต้องใช้เทคนิคแผนภาพ หรือจินตภาพเข้าช่วยในการเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุด
    กรณีนี้จะต้องเข้าใจความแตกต่างของกลุ่มคำว่าแนวคิดนั้นใช้ในทิศทางใด เช่น นโยบายทางการเงิน กับนโยบายทางการคลัง กรณีนี้มีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในแง่แนวคิด แต่ในทางปฏิบัตินั้นย่อมใช้ร่วมกันเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศให้สอดคล้องกับสถานการณ์  โดยเราจะต้องแจกแจงรายละเอียดเกี่ยวกับแนวคิดนั้นว่าเราเข้าใจอย่างไร ตัวอย่างนโยบายการเงิน หากคิดง่ายๆตามความเข้าใจน่าจะหมายถึง ค่าเงิน ซึ่งอาจจะขึ้นลงตามภาวะการไหลเข้าออก ดังนั้นนโยบายการเงินจึงเกี่ยวข้องกับ ธนาคารแห่งประเทศไทยที่น่าจะแทรกแทรง หาก ค่าเงินส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ เช่น การส่งออกมีปัญหาเพราะเงินแข็งตัวกว่าเงินสกุลหลัก อันนั้นนโยบายกลางจะต้องเข้ามาแทรกแทรงให้อยู่ในภาวะที่เหมาะสมโดยการทำให้ค่าเงินอ่อน ลง เพื่อให้การส่งออกมีความได้เปรียบ หรือ นโยบายด้านการคลัง หมายถึง การจัดเก็บรายได้ การใช้จ่าย นึกง่ายๆว่าคลังทำหน้าที่อย่างไร ก็เหมือนกับนโยบายการคลัง เช่น กระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนโดยลดภาษี หรือ ให้สิทธิพิเศษเกี่ยวกับภาษีสินค้าบางอย่าง แม้ว่าคลังจะมีรายได้ลดลงแต่ก็ทำให้ประชาชนถือครองเงินมากขึ้นเพื่อไหลเวียนในภาคเศรษฐกิจครัวเรือนซึ่งจะส่งผลต่อเสณษฐกิจมหภาคด้วย
    ส่วนใหญ่ในกลุ่มสาระนี้มักจะทดสอบความเข้าใจนิยามแนวคิด เช่นเรื่อง กฏอุปสงค์ อุปทาน ราคาดุลยภาพ ปริมาณดุลยภาพ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง หนี้สาธารณะ  ภาวะเงินฝืด ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะขาดสภาพคล่อง บัญชีเดินสะพัด อื่นๆ ดังนั้นดูเหมือนคำถามอาจจะมิได้ซับซ้อนอะไร แต่ที่น่าสังเกตคือตัวเลือกนั้นมักทำให้ผู้ทำข้อสอบสับสนมาก หากไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้และรอบคอบ
    ตัวอย่าง ข้อใดเป็นไปตามหลักกฏอุปสงค์(O- NET ๒๕๔๙)

    1. แดงซื้อหนังสือ เพราะต้องใช้เรียน
    2. ดำซื้อเสื้อ ๓ ตัว เพราะชอบสีสดใส
    3. เขียวซื้อกระเป๋า ๒ ใบ เพราะร้านขายลดราคาสินค้า
    4. เหลืองซื้อโทรศัพท์ใหม่ เพราะทันสมัยกว่าของเดิม
    จากข้อนี้จะเห็นได้ว่าเป็นการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง นิยาม แนวคิด ซึ่งหากเราเข้าใจแนวคิดเรื่อง อุปสงค์ ก็จะเลือกคำตอบที่ถูกต้องได้
    อุปสงค์นั้นเป็นเรื่องของ กลไกราคา ที่สัมพันธ์กับปริมาณซื้อของผู้ซื้อ มีลักษณะผกผันตามราคา คือ ราคาแพงคนมีความต้องการสินค้าน้อย แต่ถ้าราคาสินค้าถูกลง คนเริ่มมีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น อุปสงค์จึงมีทิศทางตรงกันข้ามกับอุปทาน

    1. แดงซื้อหนังสือ เพราะต้องใช้เรียนนั้น ไม่มีเรื่องราคาสินค้ามาเกี่ยวข้องจึงไม่ใช้ข้อที่ถูกต้อง
    2. ดำซื้อเสื้อ ๓ ตัว เพราะชอบสีสดใส นั้นเป็นการเลือกสินค้าตามความชอบ และไม่มีความเกี่ยวข้องกับราคาจึงไม่ใช่ข้อที่ถูกต้อง
    3. เขียวซื้อกระเป๋า ๒ ใบ เพราะร้านขายลดราคาสินค้า ในข้อนี้จะเห็นว่ามีเรื่องราคามาเกี่ยวข้องเพราะการตัดสินใจซื้อที่เพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการลดราคาของผู้ขาย จึงทำให้มีความต้องการสินค้าที่เพิ่มขึ้น
    4. เหลืองซื้อโทรศัพท์ใหม่ เพราะทันสมัยกว่าของเดิม ข้อนี้เป็นการตัดสินใจเพราะรสนิยมส่วนตัวและอยู่ในเงื่อนไขของ ความพึงพอใจและที่สำคัญผู้ซื้ออาจมีจำนวนเงินที่เพียงพอต่อการซื้อ ราคาอาจไม่ใช่อุปสรรค จึงตัดสินใจซื้อด้วยปัจจัยที่เกื้อหนุนนั่นเอง
    ตัวอย่างข้อใดแสดงว่าเงินทำหน้าที่วัดมูลค่า (O NET ๒๕๕๐)
    1. สุธีเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกาข้อมือ ๑ เรือน ราคาเรือนละ ๓๐๐๐๐ บาท
    2. พิศาลซื้อโทรทัศน์ ๑ เครื่อง โดยการผ่อนชำระ ๖ งวด งวดละ ๑๐๐๐๐ บาท
    3. แอนมีเงิน ๒๐ บาท ซื้อข้าวสารได้ไม่ถึง ๑ กิโลกรัม
    4. สรชัยนำธนบัตรไทยชนิดราคา ๑๐๐ บาท ไปแลกธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาทได้๒ใบ
     
    ข้อนี้นั้นจำเป็นจะต้องอ่านโจทย์ให้ดีเพราะมีคำถามซ้อนอยู่สองเรื่อง แม้ว่าจะเป็นการทดสอบความเข้าใจในนิยามหรือแนวคิดเกี่ยวกับ เงิน และ การนับมูลค่า หรือการแทนค่าของเงินว่ามีค่าเท่าไร ดังนั้นจึงต้องแปลงคำตอบทีละข้อดังนี้

    1. สุธีเขียนเช็คส่วนตัวซื้อนาฬิกาข้อมือ ๑ เรือน ราคาเรือนละ ๓๐๐๐๐ บาท เป็นการแทนมูลค่าเงินในหน่วยที่ ๓๐๐๐๐ บาท เป็นรูปของ เช็ค ซึ่งในคำนิยามเรื่องเงินก็จัดว่าเช็คเงินสดเป็นมีความหมายเป็นเงินที่มูลค่าชนิดหนึ่ง
    2. พิศาลซื้อโทรทัศน์ ๑ เครื่อง โดยการผ่อนชำระ ๖ งวด งวดละ ๑๐๐๐๐ บาท นี้ไม่ได้บอกในเรื่องการแทนมูลค่าของเงินอย่างแท้จริง ซึ่งในการผ่อนนั้นอาจมีการเสียค่าทำเนียมเกิดขึ้นจึงไม่ใช่ตัวเงินที่แท้จริง
    3. แอนมีเงินแค่ ๒๐ บาท ซื้อข้าวสารได้ไม่ถึง ๑ กิโลกรัม กรณีนี้ก็ไม่มีการแนค่าต่อหน่วยเป็นตัวเงินอย่างชัดเจน จึงไม่สามารถบอกราคาที่แท้จริงต่อหน่วยได้
    4. สรชัยนำธนบัตรไทยชนิดราคา ๑๐๐ บาท ไปแลกธนบัตรชนิดราคา ๕๐ บาทได้๒ใบ เป็นเพียงการแลกเงินเท่านั้น ไม่มีการเทียบมูลค่าต่อหน่วยสินค้าหรือบริการเลย
    คำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ๑
    ๓.๔ การวัดทักษะความเข้าใจเชิงซ้อน หรือการมองโจทย์คำถามที่มีความหมายที่ต้องตีความหลายชั้น
                ข้อสอบที่มีลักษณะนี้ มักมีผล หรือคำตอบ หลายช่วง เช่นเกิดเหตุการแบบนี้ขึ้นส่งผลอย่างไรบ้าง หรือ ให้เปรียบเทียบข้อมูลโดยมีคำตอบสองเพื่อให้เราวิเคราะห์และวัดความเข้าใจ อันที่จริงแล้วข้อสอบในลักษระนี้มีจำนวนไม่มาก แต่มีความแยกเพราะต้องใช้ทั้ง ๓ ทักษะร่วมกัน จึงจะแก้โจทย์ได้ เนื่องจากคำถามมักถามหลายอย่าง หรือให้จำแนกเพื่อวัดความเข้าใจ แต่ต้องแจกแจงแบบละเอียดมิใช่ทดสอบแบบง่ายหรือความจำ ดังนั้นจึงต้องอ่านโจทย์อย่างน้อยถึงสองรอบน่าจะช่วยให้การวิเคราะห์ถูกต้องมากที่สุด
     
    ตัวอย่าง การเกษตรแบบทฤษฎีใหม่ขั้นต้นมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อแก้ปัญหาใดให้เกษตรกร

    1. การสูญเสียที่ดินทำกิน
    2. การพึ่งพาระบบน้ำตามธรรมชาติ
    3. การขาดการรวมพลังในรุปของกลุ่ม
    4. การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจน้อยเกินไป
     
    ข้อสอบนี้แม้จะดูเหมือนไม่มีความยาก แต่หากดูคำตอบแล้วมีความใกล้เคียงกัน นอกจากวัดความเข้าใจแล้ว ยังต้องลองใช้เหตุผลเพื่อหาความเป็นไปได้ว่าอันไหนเป็นไปได้มากที่สุดด้วย

    1. เช่นการสูญเสียที่ดิน ซึ่งหากเรามองว่าการสูญเสียที่ดินนั้นไม่ใช่เหตุผลของเกษตรทฤฎีใหม่ เพราะว่าไม่ใช่เรื่องการถือครองหรือแต่หมายถึงการทำการเกษตรที่วางแผนจัดการกับที่ดินอย่างเหมาะสมเท่าที่มีอยู่
    2. การพึ่งพาระบบน้ำตามธรรมชาติ อยู่ในเกษตรทฤษฏีใหม่ เพราะว่า นี่คือเป็นการใช้แหล่งน้ำที่มีอยู่มากกว่ารอระบบชลประทานขนาดใหญ่ซึ่งเป็นลักษณะของการเกษตรเชิงพานิชย์
    3. การขาดการรวมพลังในรุปของกลุ่ม ไม่เหมือนกับสหกรณ์ที่เน้นเรื่องการรวมกลุ่ม แต่การใช้เกษตรทฤษฎีใหม่คือ การเน้นครัวเรือนผลิตและใช้แรงงานตามกำลังที่ตนเองมีอยู่
    4. การปลูกพืชเศรษฐกิจน้อยเกินไป นั้นเป็นแนวคิดของเกษตรเชิงพานิชย์ จะแตกต่างกับเกษตรทฤษฏีใหม่ที่มักปลูกพืชที่เก็บกินได้ พืชอาหาร หรือพืชที่เน้นการบริโภคภายในครัวเรือนเป็นหลัก
    ตัวอย่างสภาพการณ์ใดบ่งบอกว่าเกิดภาวะเงินเฟ้อขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
    1. ประชาชนมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น
    2. อำนาจซื้อของเงินที่มีอยู่ในมือของประชาชนลดลง
    3. สินค้าและบริการต่างๆ มีราคาสูงขึ้น
    4. เงินจำนวนเท่าเดิม ไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการตามที่ต้องการได้
    จากข้อดังกล่าวจะเห็นว่า ข้อสอบมีความเป้นไปได้เหมือนๆกัน แต่เราจะต้องกลับมาอ่านตัวเลือกอีกทีว่าข้อไหนเป็นข้อที่ถูก
    1. ประชาชนมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้นนั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าการที่เงินเฟ้อมักจะทำให้ ค่าของเงินที่มีอยู่ในมือลดลง หมายถึงว่า มีเงินมาก แต่ ราคาสินค้าสูงขึ้น ทำให้เงินที่เคยมีอยู่ แต่ก่อนอาจเทียบเท่าจำนวนเต็ม เช่น เงิน ๑๐๐ บาท เมื่อสมัยก่อน ก็คงต่างกับ ปัจจุบัน สังเกตได้จาก การซื้อของแม้ว่าจำนวนเงินเท่ากัน แต่มูลค่าในการซื้อต่างกัน ทำให้รายได้ที่ได้รับแม้ว่าจะดูสูงกว่าสมัยก่อน แต่พอควรนวนเพื่อเทียบกับอัตรเงินเฟ้อที่สูงมากก็อาจจะทำให้รู้สึกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่ได้หมายความว่าจะมีมูลค่าตามนั้น เพราะว่าบางทีอาจอยู่ในภาวะที่เรียกว่า เงินเฟ้อสูง รายได้สูง แต่ไม่พอที่จะจ่าย ทั้งๆที่การบริโภคเหมือนเดิม แต่ราคาสินค้าแพงขึ้น
     
    1. อำนาจซื้อของที่มีอยู่ในมือของประชาชนลดลง ข้อนี้มีความเป็นไปได้สูง ดังที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้นจากคำตอบข้อที่ ๑ ตรงนี้มักใช้เทียบค่าระหว่างเงิน กับ อัตราเงินเฟ้อ เพื่อดูมูลค่าที่แท้จริง หากลดลงมาก ซึ่งหมายถึงว่าเงินเฟ้อสูงก็จะทำให้อยู่ในภาวะที่เรียกว่า อำนาจซื้อของเงินลดลง เช่นเงิน ๑๐๐ บาท หากมีภาวะเงินเฟ้อมากอาจเหลือค่าที่แท้จริงประมาณ ๙๐ บาทก็ได้ ประเทศที่มีภาวะเงินเฟ้อมากอย่าง เงินแทบจะไม่มีอำนาจซื้อเลย เช่นซิมบับเวย์ ต้องใช้เงินจำนวนมากในการซื้อของต่อหน่วย
     
    1.            สินค้าและบริการต่างๆ มีราคาสูงขึ้น แม้ว่าข้อนี้จะมีความเป็นไปได้สูงเช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่เป็นจริงตามนั้นเสมอไป ตัวราคาสินค้าแม้ว่าจะพยากรณ์ภาพเศรษฐกิจได้แต่ก็ต้อง ใช้ตัวอื่นชี้วัดด้วย เช่นราคาสินค้าสูงขึ้นมากไม่ได้บอกราคาที่แท้จริงว่ามากเท่าไร และราคาสินค้าสูงขึ้น อาจไม่ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อก็ได้ เพราะว่าสินค้าอาจกำหนดราคาสูงขึ้นเอง เช่นสินค้าบางประเภท หรือการบริการบางประเภท เช่นการนอนในห้องพักโรงแรม ก็เป็นสินค้าบริการที่มีราคาสูง หรืออาจปรับตัวสูงขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวชี้วัดภาพเศรษฐกิจทั้งหมดว่าจะมีอัตราเงินเฟ้อหรือไม่ แต่ต้องยอมรับว่าข้อนี้เลือกยากมากเพราะเรื่องราคาสินค้าสูงก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนภาวะเงินเฟ้อได้ แต่มักจะเป็นลักษระสินค้าต้นทุน เช่น น้ำมัน วัตถุดิบ สินค้าปโภคบริโภค  ไฟฟ้า น้ำปะปา เพราะว่าสิ่งเหล่านี้จำเป็นต่อการผลิตพื้นฐาน หากราคามีความผกผันและมีแนวโน้มสูงขึ้น ก็มีโอกาสทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นด้วย เพราะเห็นจะไหลเข้าในกระแสเศรษฐกิจมาก ราคาก็จะถีบตัวสูงขึ้น จนทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า ซื้อของแพงขึ้น แต่มีเงินเท่าเดิม อันนี้ต้องมีการปรับรายได้ให้สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อด้วย เช่นภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ดังนั้นคำตอบข้อ ๓ จะมีส่วนถูกแต่ก็ต้องเจาะให้ลึกซึ้งถึงภาวะนั้นจริงๆจากการจำลองหรือเชื่อมโยงกับข่าวสารที่เราติดาม
    2.             เงินจำนวนเท่าเดิม ไม่สามารถซื้อสินค้าและบริการตามที่ต้องการได้ อันนี้ยังไม่ถูกต้องเสียทีเดียวเพราะว่า มันอาจจะมีปัจจัยอื่นแทรกเช่น ผู้ขายต้องการปรับเพิ่มราคา แต่อาจไม่ใช่เพราะต้นทุน แต่อาจเป็นความต้องการของผู้ขายที่ต้องการทำกำไรเพิ่มขึ้น ก็เลยเพิ่มราคา ึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์มหภาคเลย
     
    ดังนั้นคำตอบที่ถูกต้องคือ ข้อ ๓
     

     
    รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม
               การทำข้อสอบในส่วนของเนื้อหาทาง เศรษฐศาสตร์นั้น ผู้ทำข้อสอบจะต้อง เข้าใจนิยามคำศัพท์ ทางเศรษฐศาสตร์ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของวิชาดังกล่า ต้องแปลความมาเป็นกราฟ หรือแจกแจงสถานการณ์ ว่ามีลักษณะอย่างไร เพราะธรรมชาติของเสณษฐศาสตร์ก็คือ ความมีเหตุมีผล ความเป็นไปได้ต่อการจำลองรูปแบบตามลักษณะที่เกิดขึ้น โดยมุมของเศรษฐศาสตร์ จึงจำเป็นต้องรอบคอบ ใช้เทคนิคที่จำเป็นด้านเศรษฐศาสตร์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวเลือกหรือคำตอบ ผู้ทำข้อสอบต้องหมั่นทบทวนนิยาม คำศัพท์ แนวคิด ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งในเรื่อง พื้นฐานของวิชาเศรษฐศาสตร์ หน่วยธุรกิจ กฏอุปสงค์ อุปทาน ภาวะเงินเฟ้อ ภาวะเงินฝืด เงิน ธนาคารกลาง ธนาคารพานิชย์ เศรษฐกิจพอเพียง ราคาดุลยภาพ ปริมาณดุลยภาพ การค้าแบบเสรี การค้าแบบคุมกัน ตลาดร่วม สหภาพศุลกากร นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง ทุนสำรองระหว่างประเทศ บัญชีเดินสะพัด ภาวะ ขาดดุลการค้า สมดุล หรือ เกินดุล การจำนำสินค้าการเกษตร การประกันราคาสินค้า แบบ ราคาขั้นสูง ขั้นต่ำ ตรงส่วนนี้จะยิ่งทำให้การทำข้อสอบในกลุ่ม เศรษฐศาสตร์ง่ายยิ่งขึ้น 
     
     


    [1]ติวเตอร์รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีความสนใจด้าน การเรียนรู้กลุ่มสาระวิชาสังคมเชิงบูรณาการ และ จินตภาพทางสังคมศึกษา กำลังทำวิจัยและคิดค้นเพื่อออกแบบการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับ O-NET และ A- NET รายวิชาสังคม 
    [2]เป็นแนวคิดที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอเพื่อใช้วิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ โดยเฉพาะการคิดเชิงจินตภาพจะช่วยให้มองเห็นลักษณะจากภาษาทางเศรษฐศาสตร์มาเป็น ภาพ ที่ชัดเจน และยังช่วยให่มองเห็นทิศทางได้หลายหลายต่อการวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบที่เหมาะสม
    [3]วิชาเศรษฐศาสตร์ต้องนำทักษะทางวิชาการมาใช้เช่น การใช้เหตุและผล มิติสัมพันธ์ ภาษา แต่เป็นการประยุกต์ให้เหมาะสมกับการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ก็จะทำให้ทำข้อสอบได้ดียิ่งขึ้น
    [4]เป้นการคาดเดาที่ไม่มีหลักการ เช่น ไม่สามารถตอบได้ว่า ทำไมถึงเลือก ก. มากกว่าจะเลือก ข. และบางทีเหตุผลบางอย่างก็ไม่มีความสมเหตุสมผล เช่น ก. เพราะว่าจิ้มเอา หรือข้อที่แล้ว ค. มาก เลยเลือก ก. น่าจะมีโอกาสถูกมากกว่า ซึ่งแม้ว่าจะมีโอกาสถูกแต่ก็น้อยมาก เพราะไม่ได้เป็นไปตามหลักวิชาเศรษฐศาสตร์เลย
    [5]สามารถค้นคว้าหรืออ่านเพิ่มเติมได้ที่ รัตนา สายคณิต และ ชลลดา จามรกุล, เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น, (กรุงเทพ :สำนักพิมพ์ จุฬาฯ,2544)
    [6]อ้างแล้ว,เรื่องเดิม
    [7]อ้างแล้ว, เรื่องเดิม

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น