ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติดนตรีไทยในยุคสมัยต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #4 : สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.71K
      15
      12 ต.ค. 49

    สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
    การดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีนับได้ว่า
    มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก เพราะประชาชนนิยมเล่นดนตรีกันมาก ซึ่งเครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนใหญ่ได้รับมาจากกรุงสุโขทัย แต่ก็ได้มีการปรับปรุงรูปร่าง ตลอดจนการประสมวงดนตรี และได้มีการพัฒนา คิดค้นเรื่องดนตรีเพิ่มเติม เช่น จะเข้ เป็นต้น ด้วยความเจริญรุ่งเรืองในการดนตรีไทย มีประชาชนนิยมเล่นดนตรีไทยกันอย่างกว้างขวางจะเล่นดนตรีกันจนเกินขอบเขต จนต้องออกกฏมณเฑียรบาล ในรัชสมัยของพระบรมไตรโลกนารถ ( พ.ศ.1991 - 2031 ) ว่า “…ห้ามขับร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ตีโทนทับ ในเขตพระราชฐาน” (ปัญญา รุ่งเรือง. 2517 : 43) ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ปรากฏเครื่องดนตรีครบทุกประเภท ดังนี้

    เครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ จะเข้ พิณเพี้ยะ พิณน้ำเต้า
    เครื่องสี ได้แก่ ซอสามสาย ซออู้ ซอด้วง
    เครื่องตีไม้ ได้แก่ กรับพวง กรับคู่ กรับเสภา ระนาดเอก

    เครื่องตีโลหะ ได้แก่ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องคู่ ฆ้องชัย ฆ้องโหม่ง ฉิ่งฉับ มโหระทึก
    เครื่องตีหนัง ได้แก่ ตะโพน (ทับ) โทน รำมะนา กลองทัด กลองตุ๊ก
    เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ใน ปี่กลาง (คงมีพวกปี่มอญและปี่ชวาด้วย) ขลุ่ย แตรงอน
    สรุปได้ว่า การดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องจากสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี และ มีการคิดค้นเครื่องดนตรีเพิ่มเติม ประชาชนนิยมเล่นดนตรีไทย กันอย่างกว้างขวาง แม้แต่ในเขตพระราชฐาน จนต้องมีการออกกฎมณเฑียรบาลเกี่ยวกับการห้ามเล่นดนตรีไทยในเขตพระราชฐาน


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×