ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ประวัติดนตรีไทยในยุคสมัยต่างๆ

    ลำดับตอนที่ #3 : สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.79K
      3
      12 ต.ค. 49

    สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี
    การดนตรีในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีนับเป็นสมัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เพราะว่า เรื่องราวชนชาติไทยปรากฏหลักฐานเด่นชัดขึ้นในสมัยสุโขทัย เมื่อพ่อขุนรามคำแหงได้ประดิษฐ์อักษรไทยและจารึกเรื่องราวต่างๆ ลงในศิลา และจากศิลาจารึกสมัยสุโขทัยนี้ ทำให้ทราบประวัติศาสตร์สุโขทัยอย่างดี ( เฉลิม พงศ์อาจารย์. 2529 : 90)เพราะในหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงที่จารึกเป็นคำสั้นๆ ว่า เสียงพาทย์ เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ( สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540: 9 อ้างใน ณรงค์ชัย ปิฎกรัชน์. 2528 : 17) ทำให้เราทราบถึงดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยได้เป็นอย่างดีมีความกว้างขวางมากมาย เสียงพาทย์ หมายถึง การบรรเลงวงปี่พาทย์ เสียงพิณ หมายถึง วงเครื่องสาย เป็นต้น ทวีสิทธิ์ ไทยวิจิตร ได้กล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย โดยสันนิษฐานว่า เครื่องดนตรีไทย มีกลองสองหน้า แตรงอน (คล้ายเขาสัตว์ทำด้วยโลหะ ) แตรสังข์ (ทำจากหอยสังข์) ตะโพน ฆ้อง กลองทัด ฉิ่ง บัณเฑาะ กรับ กังสดาล มโหระทึก ซอสามสาย ระนาด ปี่ไฉน (สงบศึก ธรรมวิหาร. 2540 : 9) สรุปได้ว่า เครื่องดนตรีไทยในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานีนั้น เครื่องดนตรีมีครบทั้ง 4 ประเภท อย่างเช่นสมัยปัจจุบัน คือ
    เครื่องดีด ได้แก่ พิณ เป็นต้น
    เครื่องเป่า ได้แก่ ปี่ ขลุ่ย เป็นต้น

    เครื่องตี ได้แก่ ระนาด ฆ้อง กลอง เป็นต้น
    เครื่องสี ได้แก่ ซอ เป็นต้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×