ทวีปอเมริกาใต้ - ทวีปอเมริกาใต้ นิยาย ทวีปอเมริกาใต้ : Dek-D.com - Writer

    ทวีปอเมริกาใต้

    ผู้เข้าชมรวม

    183

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    1

    ผู้เข้าชมรวม


    183

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    3
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  26 ก.ย. 57 / 00:23 น.


    ข้อมูลเบื้องต้นของเรื่องนี้

    ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ

    http://image.dek-d.com/21/1257776/101847381
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น

      ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ

      ภูมิหลังทางประวัติศสาสตร์

      ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต

      ทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่บนซีกโลกใต้เป็นส่วนมากโดยอยู่ระหว่างละติจูดที่ 12 อาศาเหนือ ถึง 56 องศาใต้ และลองจิจูด 35 องศาตะวันออก ถึง 117 องศาตะวันตก มีเนื้อที่ประมาณ 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยล่ะ 14 ของแผ่นดินโลก ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และมีเนื่อที่แผ่นดินติดต่อกันทำให้ชายฝั่งของทะเลมีน้อยเมื่อเทียบกับขนาดของทวีป โดยทวีปอเมริกาใต้มีแผ่นดินใหญ่รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม

      อาณาเขต

      ทวีปอเมริกาใต้มีอาณาเขตติดต่อกับทวีปต่างๆดังนี้

      ทิศเหนือ ติดต่อกับทวีปอเมริกากลาง และจดทะเลแคริบเบียน

      ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก อาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะจอร์เจียใต้

      ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และอาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะอีสเตอร์ของประเทศชิลี

      ทิศใต้ จดช่องแคบเดรกในทวีปแอนตาร์กติกา และ อาณาเขตสิ้นสุดที่แหลมฮอร์นของประเทศชิลี

      ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วย 12 ประเทศ และ 3 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะภูมิประเทศได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

       

      เขตที่สูงกายอานา อยู่ทางตอนเหนือของทวีป มี 4 ประเทศ คือ ประเทศกายอานา ซูรินาม เวเนซุเอลา และโคลอบเบีย ประเทศโคลอมเบียมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้

      เขตที่เทือกเขาแอนดีส อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีป ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ ประเทศเปรู เอกวาดอร์ โบลิเวีย และ ชิลี ประเทศโบลิเวียมีเนื้อที่มากที่สุด ส่วนประเทศเปรูมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้

      เขตลุ่มน้ำตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาแอนดิส ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา ปารากวัย และ อุรุกวัย ประเทศอาร์เจนตินามีเนื้อที่และประชากรมากที่สุดในเขตนี้

      เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่ราบสูงบราซิล ได้แก่ ประเทศบราซิล ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร

      ตารางแสดงประเทศในทวีปอเมริกาใต้

      ประเทศ

      พื้นที่
      (km²)

      ประชากร
      (1 กรกฎาคม 2548)

      ความหนาแน่น
      (per km²)

      เมืองหลวง

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/99/Flag_of_Guyana.svg/23px-Flag_of_Guyana.svg.pngกายอานา

      214,970

      765,283

      3.6

      จอร์จทาวน์

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/78/Flag_of_Chile.svg/23px-Flag_of_Chile.svg.pngชิลี [1]

      756,950

      15,980,912

      21.1

      ซานเตียโก

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/60/Flag_of_Suriname.svg/23px-Flag_of_Suriname.svg.pngซูรินาม

      163,270

      438,144

      2.7

      ปารามารีโบ

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/05/Flag_of_Brazil.svg/22px-Flag_of_Brazil.svg.pngบราซิล

      8,514,877

      187,550,726

      22.0

      บราซีเลีย

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/27/Flag_of_Paraguay.svg/23px-Flag_of_Paraguay.svg.pngปารากวัย

      406,750

      6,347,884

      15.6

      อะซุนซิออง

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/8/83/Flag_of_the_Falkland_Islands.svg/23px-Flag_of_the_Falkland_Islands.svg.pngหมู่เกาะฟอล์กแลนด์

      12,173

      2,967

      0.24

      สแตนลีย์

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1a/Flag_of_Argentina.svg/23px-Flag_of_Argentina.svg.pngอาร์เจนตินา

      2,766,890

      39,537,943

      14.3

      บัวโนสไอเรส

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/fe/Flag_of_Uruguay.svg/23px-Flag_of_Uruguay.svg.pngอุรุกวัย

      176,220

      3,415,920

      19.4

      มอนเตวิเดโอ

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/ed/Flag_of_South_Georgia_and_the_South_Sandwich_Islands.svg/23px-Flag_of_South_Georgia_and_the_South_Sandwich_Islands.svg.pngเกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช (สหราชอาณาจักร)

      3,093

      0

      0

      คิงเอดเวิร์ดพอยต์

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/cf/Flag_of_Peru.svg/23px-Flag_of_Peru.svg.pngเปรู

      1,285,220

      27,925,628

      21.7

      ลิมา

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/c/c3/Flag_of_France.svg/23px-Flag_of_France.svg.pngเฟรนช์เกียนา (ฝรั่งเศส)

      91,000

      195,506

      2.1

      กาแยน

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/0/06/Flag_of_Venezuela.svg/23px-Flag_of_Venezuela.svg.pngเวเนซุเอลา

      912,050

      25,375,281

      27.8

      การากัส

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e8/Flag_of_Ecuador.svg/23px-Flag_of_Ecuador.svg.pngเอกวาดอร์

      283,560

      13,363,593

      47.1

      กีโต

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/21/Flag_of_Colombia.svg/23px-Flag_of_Colombia.svg.pngโคลอมเบีย

      1,138,910

      42,954,279

      37.7

      โบโกตา

      http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/4/48/Flag_of_Bolivia.svg/22px-Flag_of_Bolivia.svg.pngโบลิเวีย

      1,098,580

      8,857,870

      8.1

      ซูเกร

       

      ลักษณะภูมิประเทศ

      แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่

      เขตที่สูงกายอานา

      เขตที่สูงกายอานาประกอบด้วย เขตที่สูงกายอานา (Guiana Highland) และที่ลุ่มยาโนส (Llanos) เป็นพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีป เป็นหินอัคนีหรือหินแกรนิต มีความยาวในแนวตะวันออกถึงตะวันตกมากว่า 1,600 กิโลเมตร พื้นที่สูงเริ่มจากตอนใต้ของประเทศเวเนซุเอลาไปถึงเหนือสุดของประเทศบราซิล ประกอบด้วยที่ราบสูง มีร่องน้ำลึกมาก มีน้ำตกที่สูงสุดของโลก คือ น้ำตกแองเจิล ซึ่งสูง 979 เมตร

      ที่ลุ่มยาโนสอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของที่สูงกายอานา เป็นพื้นที่ราบลุ่มระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่สูงกายอานา อยู่ในประเทสโคลอมเบียและเวเนซุเอลา มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ โอริโนโค (Orinoco) และสาขา ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำทำให้เป็นที่ราบลุ่มสมบูรณ์

      เขตเทือกเขาแอนดีส

      เทือกเขาแอนดิส เป็นเทือกเขาแคบวางตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้เลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เริ่มตั่งแต่แหลมเหนือสุดของทวีปอเมริกาใต้ เป็นแนวยาวลงไปจนสุดแหลมฮอร์นของประเทศชิลี ด้านทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก มีชายฝั่งแคบมากและภูเขาสูงชัน มีแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก บางบริเวณเป็นเขตแห้งแล้งหรือหนาวเย็นจัด ด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสจะมีความลาดชันน้อยกว่าซีกตะวันตก และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ เช่นแม่น้ำแอมะซอน เป็นต้น

      เขตลุ่มน้ำภาคใต้

      เขตลุ่มน้ำภาคใต้อยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส เริ่มตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศโบลิเวียไปจนสุดแหลมภาคใต้ของประเทศอาร์เจนตินา ประกอบด้วยที่ราบแพมพาส (Pampas) และปาตาโกเนีย (Patagonia) ในประเทศอาร์เจนตินา

      ที่ราบแพมพาสมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านไปลงสู่อ่าวริโอ เดอ ลา พลาตา (Rio de la Plata) ระหว่างเมืองหลวงของประเทศอุรุกวัยและอาร์เจนตินา

      ที่ราบปาตาโกเนีย มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายหนาวเย็น อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา มีพื้นที่ค่อนข้างขรุขระและมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น พื้นที่บางส่วนเป็นธารน้ำแข็งและทะเลสาบ ชายฝั่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกเพนกวิน แมวน้ำ และวาฬ และสัตว์อื่นๆอีกนานาชนิดที่เข้ามาอาศัยอยู่

      เขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิล[แก้]

      เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิลในประเทศบราซิล เริ่งตั้งแต่ด้านตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในเปรูจนถึงด้านตะวันออกของบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกลุ่มน้ำแอมะซอน หรือเรียกสั้นๆ ว่า "แอมะโซเนีย" (Amazonia) เป็นพื้นที่ราบต่ำ มีระดับความสูงต่ำกว่า 200 เมตร มีความลาดเทน้อยมาก แม่น้ำมีความยาว 6,570 กิโลเมตร คลุมพื้นที่มากกว่า 8 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่เต็มไปด้วยป่าดิบชื้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนที่สูงบราซิลอยู่ทางทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มตั้นแต่ตอนกลางของประเทศบราซิลลงไปติดประเทศอุรุกวัย มีความยาวประมาณ 1,280 กิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขาไม่สูงมากนัก นอกจากภูมิประเทศทั้ง 4 เขต แล้ว ทวีปอเมริกาใต้ยังมีชายฝั่งทะเล โดยทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของทวีปจะเป็นฟยอร์ด (Fjord) ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของธารน้ำแข็ง และมีสัตว์และนกหลายชนิดอาศัยอยู่

      ทางตอนเหนือของทวีปมีแม่น้ำไหลลงทะเลแคริบเบียน แม่น้ำแอมะซอนไหลจากเทือกเขาแอนดีสลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เมืองมาคาปา (Macapa) ประเทศบราซิล โดยบริเวณปากแม่น้ำนั้นมีเกาะจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำปารากวัย แม่น้ำอุรุกวัย แม่น้ำซาลาโต แม่น้ำโคโลราโด แม่น้ำซูบัต และแม่น้ำสายสั้นๆ อีกไหลจากทางทิศตะวันตกของทวีปไปลงมหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันออก

      ลักษณะภุมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

      ลักษณะภูมิอากาศ

      ทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 80 อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น โดยเฉพาะทางตอนเหนือของทวีป จะมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อนจนถึงแบบอบอุ่น ส่วนในทางใต้จะได้รับอิทธิพลจากขั้วโลกใต้ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น สามารถแบ่งภูมิอากาศตามแบบเคิปเปนได้ดังนี้

      เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือฝนตกชุกเขตร้อน (Af) และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มีฝนตกชุกมากทั้งปี เช่น พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกและตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ตอนเหนือและชายฝั่งตะวันออกของประเทศบราซิล เป็นต้น

      เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) เป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นที่ในฤดูหนาวอากาศจะเย็นและแห้งแล้ง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศบราซิลและทางทิศตะวันตกของประเทศเอกวาดอร์

      เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี เช่น พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลาที่ติดกับทะเลแคริบเบียน เป็นต้น

      เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตหนาว (BWk) เป็นเขตภูมิอากาศแบบทะทะเลทรายแต่มีอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอนดีส ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศเปรูและชิลี

      เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าสเตปป์ (BSh) เป็นเขตภูมมิอากาศแบบแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบปี 380-760 มิลลิเมตร ได้แก่ พื้นที่ทางเหนือสุดของทวีปในประเทศโคลอมเบียและทางตอนกลางของอาร์เจนตินา

      เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) เป็นเขตที่มีฝนตกชุก เนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก มีกระแสน้ำอุ่นบราซิลไหลเลียบชายฝั่งลงมาทางทิศใต้ เช่น บริเวณประเทศอาร์เจนตินาและอุรุกวัยที่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก

      เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cfb) มีฤดูหนาวยาวนาน ได้แก่ พื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศชิลีและปลายแหลมของทวีป

      เขตภูมิอากาศแบบเขตขั้วโลก (E) มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี ได้แก่ บริเวณพื้นที่ปลายแหลมของทวีป

      เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H) เป็นภูมิอากาศที่หนาวเย็นบนเทือกเขาสูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส

      ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ

      ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในโลก โดยลุ่มน้ำแอมะซอนนั้นเป็นพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนที่สำคัญ พืชพรรณธรรมชาติในทวีปอเมริกาแบ่งออกได้เป็นเขตดังนี้

      ป่าดิบชื้น

      เป็นป่าไม้ที่มีลำต้นสูง ไม่มีกิ่งสาขาในระดับต่ำ รากมีลักษณะเป็นแนวนูนขึ้นมาบนต้น ใบใหญ่ และมีสีเขียวตลอดปี พันธุ์ไม้มีความหลากหลายมาก มักพบกล้วยไม้ ไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์ เฟิร์น และ มอส เป็นต้น ป่าดิบชื้นในลุ่มน้ำแอมะซอนเป็นป่าไม้ประมาณร้อยล่ะ 25 ของพื้นที่ป่าไม้โลก นอกจากนั้นยังพบป่าดินชื้นในประเทศเวเนซุเอลา โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ อีกด้วย

      นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      คำนิยม Top

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      คำนิยมล่าสุด

      ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

      ความคิดเห็น

      ×